ก.ไอซีที เดินหน้าให้ความรู้ สร้างความพร้อมรับมือภัยพิบัติในพื้นที่เสี่ยงภัยทั่วประเทศ

แสดงความคิดเห็น

นายไชยยันต์ พึ่งเกียรติไพโรจน์ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินโครงการ “สร้างองค์ความรู้ด้านระบบเตือนภัยพิบัติของพื้นที่เสี่ยงภัยและสร้างเครือ ข่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติภาคประชาชนเพื่อป้องกันและบรรเทาภัย ประจำปี 2556” ว่า กระทรวงไอซีที โดยศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่ มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยพิบัติและระบบการเตือนภัยของศูนย์เตือนภัย พิบัติแห่งชาติ

เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการช่วยเหลือประชาชนต่อไป รวมทั้งให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยได้มีความรู้ ความเข้าใจถึงระบบการแจ้งเตือนภัย เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งจะทำให้มีเวลาเตรียมความพร้อมเมื่อเผชิญกับภัยพิบัติและช่วยเหลือตัวเอง และชุมชนได้ โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยตามแนว 25 ลุ่มน้ำที่ประสบภัยพิบัติเกี่ยวกับน้ำท่วม น้ำหลาก และดินโคลนถล่มเป็นประจำแทบทุกปี ซึ่งโครงการนี้จะช่วยให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ และประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย มีความเข้าใจในระบบการแจ้งเตือนภัยของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โดยเฉพาะการแจ้งผ่านหอเตือนภัย หอกระจายข่าว เครื่องรับสัญญาณเตือนภัยผ่านดาวเทียม สถานีถ่ายทอดสัญญาณเตือนภัย เครื่องรับสัญญาณเตือนภัยในท้องที่ เพื่อสามารถเฝ้าระวัง ป้องกัน ตลอดจนเตรียมการในการอพยพหลบภัยได้อย่างถูกวิธีและเป็นมาตรฐาน

ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธุ์เป็นต้นมา กระทรวงฯ ได้ลงพื้นที่ให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่ เสี่ยงภัยแล้วกว่า 10 พื้นที่ อาทิ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เป็นต้น และล่าสุดที่อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากประชาชนในพื้นที่โดยเฉพาะกลุ่มแกนนำ หมู่บ้าน นอกจากประชาชนที่เข้ารับการอบรมจะได้รับความรู้เรื่องการเตือนภัยแล้ว ยังได้รับเกียรติจากวิทยากรพิเศษหมุนเวียนกันไปตามแต่ละพื้นที่ เพื่อมาบอกเล่าถึงประสบการณ์การเผชิญภัยพิบัติในอดีต ทำให้ทราบถึงวิธีการเตรียมตัวก่อนเกิดภัยพิบัติ วิธีการสังเกตความผิดปกติของสภาพอากาศ สภาพแวดล้อมธรรมชาติก่อนเกิดภัยพิบัติ นอกจากนั้นศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ยังได้ทราบถึงพฤติกรรมการใช้เครื่องมือติดต่อสื่อสาร และความต้องการโดยตรงของประชาชน ในแต่ละพื้นที่อีกด้วย ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการปรับปรุงรูปแบบและวิธีการเตือนภัยของ ศูนย์ฯ ให้เหมาะสมกับพื้นที่นั้นๆ

พร้อมกันนั้นยังได้จัดให้มีการฝึกซ้อมภาคปฏิบัติด้านการเตือนภัยและการสื่อ สาร ภายใต้โครงการ “ฝึกซ้อมการปฏิบัติด้านการเตือนภัยและการสื่อสารเพื่อเตรียมความพร้อม ประจำปี 2556” ควบคู่ไปกับการสร้างความรู้ ความเข้าใจ เพื่อเตรียมความพร้อมในการฝึกซ้อมให้แก่แกนนำ กรรมการหมู่บ้าน มูลนิธิ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หน่วยงานส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ รวมทั้งจัดตั้งศูนย์บัญชาการ และจัดเตรียมระบบในการติดต่อสื่อสารระหว่างศูนย์บัญชาการในแต่ละระดับ เพื่อแจ้งภัย การจัดการกับภัยพิบัติ การบรรเทาภัย และการอพยพ หลบภัย หลังจากนั้นจึงดำเนินการฝึกซ้อมเพื่อให้เป็นไปตามแผนเตรียมความพร้อมในการ เผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติซึ่งภายหลังการฝึกซ้อมเสร็จแล้วยังจัดให้มีการ สรุปผลและประเมินผลโครงการอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนภาคประชาชนให้เข้าใจถึงระบบการเตือนภัย บทบาท หน้าที่ ภารกิจ และสามารถใช้ระบบเครือข่ายสื่อสารหลักและสำรองได้ทั้งในภาวะปกติและภาวะ วิกฤติ เพื่อลดการเสี่ยงภัยพิบัติทางธรรมชาติ

ขณะนี้กระทรวงฯ ได้วางแผนลงพื้นที่ให้ความรู้กับประชาชนในอีก 5 พื้นที่ทั่วประเทศ ได้แก่ อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี อำเภอพิปูน จังหวัดนครราชสีมา อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง และอำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในเดือนสิงหาคม 2556 หลังจากนั้นจะพิจารณาพื้นที่เพื่อลงไปให้ความรู้เพิ่มเติมอีก 5 จังหวัดโดยจะกระจายให้ครบทุกภาคทั่วประเทศ

ขอบคุณ http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=185236:2013-05-31-12-00-33&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524

ที่มา: ฐานเศรษฐกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 31 พ.ค..56
วันที่โพสต์: 2/06/2556 เวลา 03:33:56

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายไชยยันต์ พึ่งเกียรติไพโรจน์ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินโครงการ “สร้างองค์ความรู้ด้านระบบเตือนภัยพิบัติของพื้นที่เสี่ยงภัยและสร้างเครือ ข่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติภาคประชาชนเพื่อป้องกันและบรรเทาภัย ประจำปี 2556” ว่า กระทรวงไอซีที โดยศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่ มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยพิบัติและระบบการเตือนภัยของศูนย์เตือนภัย พิบัติแห่งชาติ เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการช่วยเหลือประชาชนต่อไป รวมทั้งให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยได้มีความรู้ ความเข้าใจถึงระบบการแจ้งเตือนภัย เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งจะทำให้มีเวลาเตรียมความพร้อมเมื่อเผชิญกับภัยพิบัติและช่วยเหลือตัวเอง และชุมชนได้ โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยตามแนว 25 ลุ่มน้ำที่ประสบภัยพิบัติเกี่ยวกับน้ำท่วม น้ำหลาก และดินโคลนถล่มเป็นประจำแทบทุกปี ซึ่งโครงการนี้จะช่วยให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ และประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย มีความเข้าใจในระบบการแจ้งเตือนภัยของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โดยเฉพาะการแจ้งผ่านหอเตือนภัย หอกระจายข่าว เครื่องรับสัญญาณเตือนภัยผ่านดาวเทียม สถานีถ่ายทอดสัญญาณเตือนภัย เครื่องรับสัญญาณเตือนภัยในท้องที่ เพื่อสามารถเฝ้าระวัง ป้องกัน ตลอดจนเตรียมการในการอพยพหลบภัยได้อย่างถูกวิธีและเป็นมาตรฐาน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธุ์เป็นต้นมา กระทรวงฯ ได้ลงพื้นที่ให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่ เสี่ยงภัยแล้วกว่า 10 พื้นที่ อาทิ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เป็นต้น และล่าสุดที่อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากประชาชนในพื้นที่โดยเฉพาะกลุ่มแกนนำ หมู่บ้าน นอกจากประชาชนที่เข้ารับการอบรมจะได้รับความรู้เรื่องการเตือนภัยแล้ว ยังได้รับเกียรติจากวิทยากรพิเศษหมุนเวียนกันไปตามแต่ละพื้นที่ เพื่อมาบอกเล่าถึงประสบการณ์การเผชิญภัยพิบัติในอดีต ทำให้ทราบถึงวิธีการเตรียมตัวก่อนเกิดภัยพิบัติ วิธีการสังเกตความผิดปกติของสภาพอากาศ สภาพแวดล้อมธรรมชาติก่อนเกิดภัยพิบัติ นอกจากนั้นศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ยังได้ทราบถึงพฤติกรรมการใช้เครื่องมือติดต่อสื่อสาร และความต้องการโดยตรงของประชาชน ในแต่ละพื้นที่อีกด้วย ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการปรับปรุงรูปแบบและวิธีการเตือนภัยของ ศูนย์ฯ ให้เหมาะสมกับพื้นที่นั้นๆ พร้อมกันนั้นยังได้จัดให้มีการฝึกซ้อมภาคปฏิบัติด้านการเตือนภัยและการสื่อ สาร ภายใต้โครงการ “ฝึกซ้อมการปฏิบัติด้านการเตือนภัยและการสื่อสารเพื่อเตรียมความพร้อม ประจำปี 2556” ควบคู่ไปกับการสร้างความรู้ ความเข้าใจ เพื่อเตรียมความพร้อมในการฝึกซ้อมให้แก่แกนนำ กรรมการหมู่บ้าน มูลนิธิ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หน่วยงานส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ รวมทั้งจัดตั้งศูนย์บัญชาการ และจัดเตรียมระบบในการติดต่อสื่อสารระหว่างศูนย์บัญชาการในแต่ละระดับ เพื่อแจ้งภัย การจัดการกับภัยพิบัติ การบรรเทาภัย และการอพยพ หลบภัย หลังจากนั้นจึงดำเนินการฝึกซ้อมเพื่อให้เป็นไปตามแผนเตรียมความพร้อมในการ เผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติซึ่งภายหลังการฝึกซ้อมเสร็จแล้วยังจัดให้มีการ สรุปผลและประเมินผลโครงการอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนภาคประชาชนให้เข้าใจถึงระบบการเตือนภัย บทบาท หน้าที่ ภารกิจ และสามารถใช้ระบบเครือข่ายสื่อสารหลักและสำรองได้ทั้งในภาวะปกติและภาวะ วิกฤติ เพื่อลดการเสี่ยงภัยพิบัติทางธรรมชาติ ขณะนี้กระทรวงฯ ได้วางแผนลงพื้นที่ให้ความรู้กับประชาชนในอีก 5 พื้นที่ทั่วประเทศ ได้แก่ อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี อำเภอพิปูน จังหวัดนครราชสีมา อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง และอำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในเดือนสิงหาคม 2556 หลังจากนั้นจะพิจารณาพื้นที่เพื่อลงไปให้ความรู้เพิ่มเติมอีก 5 จังหวัดโดยจะกระจายให้ครบทุกภาคทั่วประเทศ ขอบคุณ … http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=185236:2013-05-31-12-00-33&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...