ม.อ.ปัตตานี กระตุ้นทุกภาคส่วนตื่นตัวรับมือภัยพิบัติ ยกเหตุไฟดับ 14 จังหวัดภาคใต้บทเรียน

แสดงความคิดเห็น

นักวิชาการ ม.อ. ปัตตานี ชี้เหตุการณ์ไฟดับ 14 จังหวัดภาคใต้ ถือเป็นบทเรียนการเฝ้าระวังให้รับมือภัยพิบัติ แนะประชาชนต้องเฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับความเสี่ยงด้านสาธารณูปโภค พื้นฐานทั้งไฟฟ้า ประปา และโทรศัพท์ เชื่อมีโอกาสเกิดซ้ำ

ดร.สมพร ช่วยอารีย์ ประธานโครงการเฝ้าระวังภัยพิบัติลุ่มน้ำปัตตานีและนักวิชาการคณะวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี (Mr.Somporn Chuai-Aree Faculty of Science and Technology, Prince of Songkla University, Pattani Campus / Chairman of Pattani Bay Watch Project) หรือ PB Watch เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์ไฟฟ้าดับพร้อมกันใน 14 จังหวัดภาคใต้ ถือเป็นบทเรียนแก่ชุมชนในยุคปัจจุบันที่การดำรงชีวิตต้องพึ่งพาปัจจัย พื้นฐาน 3 อย่าง ได้แก่ ไฟฟ้า ประปา และโทรศัพท์มือถือ ที่ประชาชนต้องเรียนรู้และเตรียมตัวที่จะใช้ชีวิตให้ได้ หากเกิดภัยพิบัติที่ส่งผลกระทบจนทำให้ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีน้ำประปาและการสื่อสารถูกตัดขาด

โดยหลังจากนี้ ประชาชนทุกภาคส่วนจะต้องเตรียมตัว ป้องกัน รับมือและฟื้นฟู โดยก่อนเกิดภัย ต้องมีการเตรียมพร้อมสำหรับการเผชิญเหตุการณ์และเตรียมป้องกันล่วง หน้า เช่น เตรียมพร้อมตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ว่ายังใช้งานได้หรือไม่ หรือในขณะเกิดเหตุต้องมีแผนรับมือทั้งการดูแลตัวเองและผู้อื่น รวมถึงหลังเกิดเหตุต้องมีการเยียวยาฟื้นฟูรักษาผลกระทบที่เกิดขึ้น

“น้ำประปา ไฟฟ้า และการติดต่อสื่อสาร มักมีปัญหาหากเกิดภัยพิบัติ ดังนั้น ประชาชนจึงต้องเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ภัยพิบัติอยู่ตลอดเวลา ภูมิปัญญาที่เคยใช้เมื่อหลายสิบปีก่อนถูกหลงลืมกันไป จากที่เคยเตรียมเทียนไข ตะเกียง น้ำมันก๊าด มาสู่การใช้ไฟฉาย ซึ่งเมื่อถึงเวลาจริงๆ ต้องเสียเวลาค้นหาไฟฉายในความมืด หรืออุปกรณ์บางอย่างถูกเก็บไว้นานโดยไม่ได้รับการตรวจสอบ จึงไม่สามารถนำมาใช้ได้หากเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติขึ้น ดังนั้น ประชาชนจึงต้องหมั่นตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้และลดความเดือดร้อนจากการดำ เนินชีวิตให้สามารถอยู่ได้ในภาวะใกล้เคียงกับภาวะปกติมากที่สุด” ดร.สมพร กล่าว

ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/prg/1660353

ที่มา: ThaiPR.net ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 พ.ค.56
วันที่โพสต์: 30/05/2556 เวลา 03:13:43

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นักวิชาการ ม.อ. ปัตตานี ชี้เหตุการณ์ไฟดับ 14 จังหวัดภาคใต้ ถือเป็นบทเรียนการเฝ้าระวังให้รับมือภัยพิบัติ แนะประชาชนต้องเฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับความเสี่ยงด้านสาธารณูปโภค พื้นฐานทั้งไฟฟ้า ประปา และโทรศัพท์ เชื่อมีโอกาสเกิดซ้ำ ดร.สมพร ช่วยอารีย์ ประธานโครงการเฝ้าระวังภัยพิบัติลุ่มน้ำปัตตานีและนักวิชาการคณะวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี (Mr.Somporn Chuai-Aree Faculty of Science and Technology, Prince of Songkla University, Pattani Campus / Chairman of Pattani Bay Watch Project) หรือ PB Watch เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์ไฟฟ้าดับพร้อมกันใน 14 จังหวัดภาคใต้ ถือเป็นบทเรียนแก่ชุมชนในยุคปัจจุบันที่การดำรงชีวิตต้องพึ่งพาปัจจัย พื้นฐาน 3 อย่าง ได้แก่ ไฟฟ้า ประปา และโทรศัพท์มือถือ ที่ประชาชนต้องเรียนรู้และเตรียมตัวที่จะใช้ชีวิตให้ได้ หากเกิดภัยพิบัติที่ส่งผลกระทบจนทำให้ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีน้ำประปาและการสื่อสารถูกตัดขาด โดยหลังจากนี้ ประชาชนทุกภาคส่วนจะต้องเตรียมตัว ป้องกัน รับมือและฟื้นฟู โดยก่อนเกิดภัย ต้องมีการเตรียมพร้อมสำหรับการเผชิญเหตุการณ์และเตรียมป้องกันล่วง หน้า เช่น เตรียมพร้อมตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ว่ายังใช้งานได้หรือไม่ หรือในขณะเกิดเหตุต้องมีแผนรับมือทั้งการดูแลตัวเองและผู้อื่น รวมถึงหลังเกิดเหตุต้องมีการเยียวยาฟื้นฟูรักษาผลกระทบที่เกิดขึ้น “น้ำประปา ไฟฟ้า และการติดต่อสื่อสาร มักมีปัญหาหากเกิดภัยพิบัติ ดังนั้น ประชาชนจึงต้องเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ภัยพิบัติอยู่ตลอดเวลา ภูมิปัญญาที่เคยใช้เมื่อหลายสิบปีก่อนถูกหลงลืมกันไป จากที่เคยเตรียมเทียนไข ตะเกียง น้ำมันก๊าด มาสู่การใช้ไฟฉาย ซึ่งเมื่อถึงเวลาจริงๆ ต้องเสียเวลาค้นหาไฟฉายในความมืด หรืออุปกรณ์บางอย่างถูกเก็บไว้นานโดยไม่ได้รับการตรวจสอบ จึงไม่สามารถนำมาใช้ได้หากเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติขึ้น ดังนั้น ประชาชนจึงต้องหมั่นตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้และลดความเดือดร้อนจากการดำ เนินชีวิตให้สามารถอยู่ได้ในภาวะใกล้เคียงกับภาวะปกติมากที่สุด” ดร.สมพร กล่าว ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/prg/1660353

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...