เปิดแผนปฏิบัติการ รับมือภัยพิบัติ-เหตุฉุกเฉิน

แสดงความคิดเห็น

ยังคงเป็นเรื่องสำคัญอยู่ทุกเวลา สำหรับการเตือนภัยพิบัติ-เหตุ ฉุกเฉิน ซึ่งนับวันจะมองดูเหมือนเรื่องไกลตัว แต่ก็คงไม่มีใครปฏิเสธว่า หากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นจะไม่ส่งผลกระทบกับทุกฝ่าย ด้วยเหตุนี้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทร คมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะหน่วยงานกลาง จึงจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการแนวทางปฏิบัติของสื่อมวลชนเกี่ยวกับการนำเสนอ ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินในกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์ เพื่อประสาน เชื่อมโยงทุกภาคส่วนให้มีแนวทางปฏิบัติเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องและมี ประสิทธิภาพ และสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้ประกอบกิจการและหน่วยงานภาครัฐ ที่เกี่ยวข้อง

เนื่อง จากข้อมูลข่าวสารในปัจจุบันมีอยู่หลากหลาย อาจทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของสื่อดำเนินการไม่สอดคล้องกับหน่วยงานของรัฐที่ มีอำนาจหน้าที่ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารหรือระงับยับยั้งเหตุโดยตรง ในทางปฏิบัติที่แท้จริงของสื่อมวลชนอาจเกิดอุปสรรคและปัญหาหลายประการที่ไม่ สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของหน่วยงานภาครัฐได้ กสทช. ในฐานะผู้มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์ จึงควรแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หาทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อเกี่ยวกับ การแจ้งเตือนภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน

นอก จากนี้ ยังกระตุ้นให้สื่อมวลชนตระหนักถึงการนำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับภัยพิบัติหรือ เหตุฉุกเฉินอย่างระมัดระวัง รวมถึงเป็นการสร้างความสัมพันธ์ในระยะยาวกับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายการแจ้งรายงานข้อมูลข่าวสารในระยะยาว

นาย ประเสริฐ อภิปุญญา รองเลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า สถานการณ์ภัยพิบัติที่เคยเกิดขึ้นกับประเทศไทยนั้น สร้างความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน สิทธิ หรือเสรีภาพของประชาชนในวงกว้างอยู่เสมอ การปฏิบัติงานของผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์จึงมีความ สำคัญในการเผยแพร่และนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นต่อการเตรียมพร้อม เพื่อป้องกัน แก้ไขและบรรเทาเหตุภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้น

ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 กำหนดให้ กสทช. มีอำนาจกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เพื่อให้ผู้ รับบริการได้รับบริการที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ รวดเร็ว ถูกต้องและเป็นธรรม กสทช. จึงได้ออกประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติงานของผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์ในกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ปฏิบัติ หน้าที่เป็นไปในแนวทางเดียวกันเพื่อประโยชน์สูงสุดในการนำเสนอข่าวสารที่จำ เป็นต่อสาธารณะ

รอง เลขาธิการ กสทช. กล่าวต่อว่า แผนของกรมประชาสัมพันธ์ มีความชัดเจนมากที่สุด และสามารถปฏิบัติได้จริง โดยได้นำมาใช้จริงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เป็นตัวอย่างที่ดีได้ ขณะที่แผนของช่องอื่นๆ ยังขาดรายละเอียด และความชัดเจนอยู่บ้าง แต่แผนนี้จะไม่ได้นำมาใช้เป็นหลักปฏิบัติของทุกสถานี

นางสาวอัมพวัน เจริญกุล รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กล่าวว่า แนวทางในการออกอากาศของหน่วยงานสื่อ (ขณะเกิดเหตุ) ประกอบด้วย 12 ข้อ คือ 1.ศึกษาข้อมูลความเป็นมา แนวโน้มเหตุการณ์ การดำเนินงานของหน่วยงาน บุคคลที่เกี่ยวข้อง 2.รายงานข่าวต่อเนื่องและ บันทึกภาพนิ่งไว้ ในกรณีของสื่อโทรทัศน์ต้องเก็บภาพและเสียงความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์รวม ทั้งที่มองเห็นใกล้ตัวจากสถานี และส่งภาพออกอากาศทันที 3.เปิดตัวรายการพิเศษเพื่อรายงานข่าวด่วน 4.ต้อง รายงานข่าวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะภาพข่าวโทรทัศน์ไม่ควรใช้ภาพข่าวเดิมซ้ำไปซ้ำมา ทั้งนี้ต้องใช้ภาพถ่ายใหม่ตลอดเวลาเพื่อให้เห็นพัฒนาการของเหตุการณ์ 5.ปรับเปลี่ยนมุมมองประเด็นข่าวและรายการให้ทันเหตุการณ์ตลอดเวลา 6.ขณะ ออกอากาศควรรายงานข่าวหรือขึ้นตัววิ่ง การยกเลิกเที่ยวบิน การคมนาคม เช่น รถไฟรถยนต์ไปด้วยรวมถึงสายด่วน หรือหมายเลขโทรศัพท์ของโรงพยาบาล ศูนย์บัญชาการหรือศูนย์ที่ให้ข้อมูลข่าวสารได้

7.ขณะเกิดกรณีเกี่ยวข้องกับชาวต่างชาติ หรือนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ต้องให้ข้อมูลข่าวสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษตลอดเวลา 8.เอื้อเฟื้อแลกเปลี่ยนข่าวและภาพกับสื่ออื่นๆ เพื่อให้การรายงานเหตุการณ์แพร่กระจายออกไปอย่างรวดเร็วและได้ผล คิดถึงประชาชนเป็นหลัก 9.พยายามเก็บภาพการทำงานของฝ่ายต่างๆ ไว้ด้วย การจัดเก็บต้องลำดับผลการทำงานให้เป็นระบบ 10.การรายงานข้อมูลในลักษณะการเตือนภัย ต้องห้ามแสดงความคิดเห็น 11.ในกรณีสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์หรือถ่ายทอดสดจากผู้สื่อข่าวในท้องที่ เจ้าหน้าที่หรือผู้ประสบภัยพิบัติต้องบันทึกชื่อของผู้ให้ข้อมูล และ 12.การ รายงานข่าว /การนำเสนอต้องยึดหลักข้อบังคับกรมประชาสัมพันธ์ว่าด้วยมาตรฐานทางจริยธรรม ของการประกอบวิชาชีพในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ของกรมประชา สัมพันธ์ พ.ศ.2555

ส่วนขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อมีการเตือนภัยของโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทรท.) แบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ประกอบด้วย 3 ข้อ ได้แก่ 1. ออกตัววิ่งประกาศเตือนภัยเมื่อได้รับประกาศเตือนภัยจากศูนย์ภัยพิบัติแห่งชาติ ในห้วงเวลาที่เหมาะสมระหว่างการถ่ายทอดสด 2. ประสานศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ขอข้อมูลเพิ่มเติมของสถานการณ์เพื่อออกอักษรตัววิ่งที่ถูกต้องและทันต่อเวลา โดยส่งข้อมูลโดยตรงมายังศูนย์ถ่ายทอดสดของโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศ ไทย

ขั้นที่ 2 ประกอบด้วย 1.เมื่อ เกิดสถานการณ์ระดับต่างๆ ตามความรุนแรงของสถานการณ์ให้สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ในฐานะแม่ข่ายในการออกอากาศประกาศเตือนพิจารณาถอดสัญญาณออกจากรายการสดได้ ตามความเหมาะสม 2.สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยพีบีเอสและสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท.11) ซึ่งโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยขอความร่วมมือในการถ่ายทอดสด พิจารณาถอดสัญญาณออกจากการถ่ายทอดสดได้ตลอดเวลา 3.สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อ.ส.ม.ท. สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี และสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม (TGN) ยังคงดำเนินรายการถ่ายทอดสดต่อไปจนกว่าจะจบภารกิจ

ขั้นที่ 3 ประกอบด้วย 1.กรณี ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ประสานขอความร่วมมือจากสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกให้เตรียมห้องถ่ายทอดสด พร้อมออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกในฐานะแม่ข่ายทางฮอตไลน์ 2.สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกถ่ายทอดสดชี้แจงสถานการณ์เตือนภัยและเตือนภัยพิบัติ 3.สถานี วิทยุโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย พิจารณารับสัญญาณถ่ายทอดสดการชี้แจงสถานการณ์การเตือนภัยจากสถานีวิทยุ โทรทัศน์กองทัพบก

ขณะที่ภายหลังเกิดเหตุ 1.อธิบดี กรมประชาสัมพันธ์ รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ที่ได้รับมอบหมายหัวหน้าหน่วยงานในพื้นที่หรือผู้ ที่อธิบดีมอบหมายพิจารณาประกาศใช้แผนพระอินทร์ 1 (สถานการณ์ปกติ) เป็นลายลักษณ์อักษรหรือวิธีอื่นใดก็ได้ในกรณีหัวหน้าหน่วยงานในพื้นที่หรือ ผู้ที่อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์มอบหมายเป็นผู้ประกาศใช้แผนหลังจากประกาศให้ รายงานอธิบดี รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ที่ได้รับมอบหมายและศูนย์ IOC กรมประชาสัมพันธ์ทราบด่วน 2.ผู้อำนวยการสถานีฯ แจ้งยกเลิกสถานการณ์ตามข้อมูลหรือคำสั่งจากหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ 3. หน่วยงานสื่อจัดรายงานข้อมูล ผลการดำเนินการนำเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น ก่อนส่งมารวบรวมที่ศูนย์ IOC เพื่อแจ้งต่อสำนักงาน กสทช. ภายใน 30วัน โดยประกอบด้วย 3.1 รายชื่อผู้รับผิดชอบของรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐ ในกรณีที่มีการร้องขอให้ออกอากาศแจ้งข่าวหรือเตือนภัยแก่ประชาชนพร้อมวิธีการร้องขอ 3.2 ผังรายการในการออกอากาศกรณีแจ้งข่าว หรือเตือนภัยที่ออกไปแล้ว 3.3 เอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการดำเนินการออกอากาศแจ้งข่าวหรือเตือนภัยแก่ศูนย์ IOC ภายใน 15 วันหลังจากประกาศแจ้งยกเลิกสถานการณ์

ขอบคุณ http://www.thairath.co.th/content/tech/336514

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 เม.ย.56
วันที่โพสต์: 16/04/2556 เวลา 04:10:48

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ยังคงเป็นเรื่องสำคัญอยู่ทุกเวลา สำหรับการเตือนภัยพิบัติ-เหตุ ฉุกเฉิน ซึ่งนับวันจะมองดูเหมือนเรื่องไกลตัว แต่ก็คงไม่มีใครปฏิเสธว่า หากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นจะไม่ส่งผลกระทบกับทุกฝ่าย ด้วยเหตุนี้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทร คมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะหน่วยงานกลาง จึงจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการแนวทางปฏิบัติของสื่อมวลชนเกี่ยวกับการนำเสนอ ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินในกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์ เพื่อประสาน เชื่อมโยงทุกภาคส่วนให้มีแนวทางปฏิบัติเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องและมี ประสิทธิภาพ และสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้ประกอบกิจการและหน่วยงานภาครัฐ ที่เกี่ยวข้อง เนื่อง จากข้อมูลข่าวสารในปัจจุบันมีอยู่หลากหลาย อาจทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของสื่อดำเนินการไม่สอดคล้องกับหน่วยงานของรัฐที่ มีอำนาจหน้าที่ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารหรือระงับยับยั้งเหตุโดยตรง ในทางปฏิบัติที่แท้จริงของสื่อมวลชนอาจเกิดอุปสรรคและปัญหาหลายประการที่ไม่ สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของหน่วยงานภาครัฐได้ กสทช. ในฐานะผู้มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์ จึงควรแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หาทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อเกี่ยวกับ การแจ้งเตือนภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน นอก จากนี้ ยังกระตุ้นให้สื่อมวลชนตระหนักถึงการนำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับภัยพิบัติหรือ เหตุฉุกเฉินอย่างระมัดระวัง รวมถึงเป็นการสร้างความสัมพันธ์ในระยะยาวกับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายการแจ้งรายงานข้อมูลข่าวสารในระยะยาว นาย ประเสริฐ อภิปุญญา รองเลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า สถานการณ์ภัยพิบัติที่เคยเกิดขึ้นกับประเทศไทยนั้น สร้างความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน สิทธิ หรือเสรีภาพของประชาชนในวงกว้างอยู่เสมอ การปฏิบัติงานของผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์จึงมีความ สำคัญในการเผยแพร่และนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นต่อการเตรียมพร้อม เพื่อป้องกัน แก้ไขและบรรเทาเหตุภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 กำหนดให้ กสทช. มีอำนาจกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เพื่อให้ผู้ รับบริการได้รับบริการที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ รวดเร็ว ถูกต้องและเป็นธรรม กสทช. จึงได้ออกประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติงานของผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์ในกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ปฏิบัติ หน้าที่เป็นไปในแนวทางเดียวกันเพื่อประโยชน์สูงสุดในการนำเสนอข่าวสารที่จำ เป็นต่อสาธารณะ รอง เลขาธิการ กสทช. กล่าวต่อว่า แผนของกรมประชาสัมพันธ์ มีความชัดเจนมากที่สุด และสามารถปฏิบัติได้จริง โดยได้นำมาใช้จริงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เป็นตัวอย่างที่ดีได้ ขณะที่แผนของช่องอื่นๆ ยังขาดรายละเอียด และความชัดเจนอยู่บ้าง แต่แผนนี้จะไม่ได้นำมาใช้เป็นหลักปฏิบัติของทุกสถานี นางสาวอัมพวัน เจริญกุล รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กล่าวว่า แนวทางในการออกอากาศของหน่วยงานสื่อ (ขณะเกิดเหตุ) ประกอบด้วย 12 ข้อ คือ 1.ศึกษาข้อมูลความเป็นมา แนวโน้มเหตุการณ์ การดำเนินงานของหน่วยงาน บุคคลที่เกี่ยวข้อง 2.รายงานข่าวต่อเนื่องและ บันทึกภาพนิ่งไว้ ในกรณีของสื่อโทรทัศน์ต้องเก็บภาพและเสียงความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์รวม ทั้งที่มองเห็นใกล้ตัวจากสถานี และส่งภาพออกอากาศทันที 3.เปิดตัวรายการพิเศษเพื่อรายงานข่าวด่วน 4.ต้อง รายงานข่าวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะภาพข่าวโทรทัศน์ไม่ควรใช้ภาพข่าวเดิมซ้ำไปซ้ำมา ทั้งนี้ต้องใช้ภาพถ่ายใหม่ตลอดเวลาเพื่อให้เห็นพัฒนาการของเหตุการณ์ 5.ปรับเปลี่ยนมุมมองประเด็นข่าวและรายการให้ทันเหตุการณ์ตลอดเวลา 6.ขณะ ออกอากาศควรรายงานข่าวหรือขึ้นตัววิ่ง การยกเลิกเที่ยวบิน การคมนาคม เช่น รถไฟรถยนต์ไปด้วยรวมถึงสายด่วน หรือหมายเลขโทรศัพท์ของโรงพยาบาล ศูนย์บัญชาการหรือศูนย์ที่ให้ข้อมูลข่าวสารได้ 7.ขณะเกิดกรณีเกี่ยวข้องกับชาวต่างชาติ หรือนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ต้องให้ข้อมูลข่าวสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษตลอดเวลา 8.เอื้อเฟื้อแลกเปลี่ยนข่าวและภาพกับสื่ออื่นๆ เพื่อให้การรายงานเหตุการณ์แพร่กระจายออกไปอย่างรวดเร็วและได้ผล คิดถึงประชาชนเป็นหลัก 9.พยายามเก็บภาพการทำงานของฝ่ายต่างๆ ไว้ด้วย การจัดเก็บต้องลำดับผลการทำงานให้เป็นระบบ 10.การรายงานข้อมูลในลักษณะการเตือนภัย ต้องห้ามแสดงความคิดเห็น 11.ในกรณีสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์หรือถ่ายทอดสดจากผู้สื่อข่าวในท้องที่ เจ้าหน้าที่หรือผู้ประสบภัยพิบัติต้องบันทึกชื่อของผู้ให้ข้อมูล และ 12.การ รายงานข่าว /การนำเสนอต้องยึดหลักข้อบังคับกรมประชาสัมพันธ์ว่าด้วยมาตรฐานทางจริยธรรม ของการประกอบวิชาชีพในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ของกรมประชา สัมพันธ์ พ.ศ.2555 ส่วนขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อมีการเตือนภัยของโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทรท.) แบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ประกอบด้วย 3 ข้อ ได้แก่ 1. ออกตัววิ่งประกาศเตือนภัยเมื่อได้รับประกาศเตือนภัยจากศูนย์ภัยพิบัติแห่งชาติ ในห้วงเวลาที่เหมาะสมระหว่างการถ่ายทอดสด 2. ประสานศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ขอข้อมูลเพิ่มเติมของสถานการณ์เพื่อออกอักษรตัววิ่งที่ถูกต้องและทันต่อเวลา โดยส่งข้อมูลโดยตรงมายังศูนย์ถ่ายทอดสดของโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศ ไทย ขั้นที่ 2 ประกอบด้วย 1.เมื่อ เกิดสถานการณ์ระดับต่างๆ ตามความรุนแรงของสถานการณ์ให้สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ในฐานะแม่ข่ายในการออกอากาศประกาศเตือนพิจารณาถอดสัญญาณออกจากรายการสดได้ ตามความเหมาะสม 2.สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยพีบีเอสและสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท.11) ซึ่งโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยขอความร่วมมือในการถ่ายทอดสด พิจารณาถอดสัญญาณออกจากการถ่ายทอดสดได้ตลอดเวลา 3.สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อ.ส.ม.ท. สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี และสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม (TGN) ยังคงดำเนินรายการถ่ายทอดสดต่อไปจนกว่าจะจบภารกิจ ขั้นที่ 3 ประกอบด้วย 1.กรณี ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ประสานขอความร่วมมือจากสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกให้เตรียมห้องถ่ายทอดสด พร้อมออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกในฐานะแม่ข่ายทางฮอตไลน์ 2.สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกถ่ายทอดสดชี้แจงสถานการณ์เตือนภัยและเตือนภัยพิบัติ 3.สถานี วิทยุโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย พิจารณารับสัญญาณถ่ายทอดสดการชี้แจงสถานการณ์การเตือนภัยจากสถานีวิทยุ โทรทัศน์กองทัพบก ขณะที่ภายหลังเกิดเหตุ 1.อธิบดี กรมประชาสัมพันธ์ รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ที่ได้รับมอบหมายหัวหน้าหน่วยงานในพื้นที่หรือผู้ ที่อธิบดีมอบหมายพิจารณาประกาศใช้แผนพระอินทร์ 1 (สถานการณ์ปกติ) เป็นลายลักษณ์อักษรหรือวิธีอื่นใดก็ได้ในกรณีหัวหน้าหน่วยงานในพื้นที่หรือ ผู้ที่อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์มอบหมายเป็นผู้ประกาศใช้แผนหลังจากประกาศให้ รายงานอธิบดี รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ที่ได้รับมอบหมายและศูนย์ IOC กรมประชาสัมพันธ์ทราบด่วน 2.ผู้อำนวยการสถานีฯ แจ้งยกเลิกสถานการณ์ตามข้อมูลหรือคำสั่งจากหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ 3. หน่วยงานสื่อจัดรายงานข้อมูล ผลการดำเนินการนำเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น ก่อนส่งมารวบรวมที่ศูนย์ IOC เพื่อแจ้งต่อสำนักงาน กสทช. ภายใน 30วัน โดยประกอบด้วย 3.1 รายชื่อผู้รับผิดชอบของรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐ ในกรณีที่มีการร้องขอให้ออกอากาศแจ้งข่าวหรือเตือนภัยแก่ประชาชนพร้อมวิธีการร้องขอ 3.2 ผังรายการในการออกอากาศกรณีแจ้งข่าว หรือเตือนภัยที่ออกไปแล้ว 3.3 เอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการดำเนินการออกอากาศแจ้งข่าวหรือเตือนภัยแก่ศูนย์ IOC ภายใน 15 วันหลังจากประกาศแจ้งยกเลิกสถานการณ์ ขอบคุณ http://www.thairath.co.th/content/tech/336514

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...