นักวิชาการจี้รัฐรื้อผังเมือง แก้ไขน้ำท่วมแบบยั่งยืน

แสดงความคิดเห็น

นักวิจัยจุฬา ชี้รัฐใช้งบแก้ปัญหาน้ำท่วมและการบริหารจัดการน้ำไปแล้วกว่า 8 แสนล้านบาท แต่กลับไม่มีมาตรการจัดการผังเมือง อนาคต เผยหากเกิดภัยพิบัติอีกครั้งจะเสียหายมากกว่าเดิมถึง 30 เท่าตัว

วันที่ 26 มีนาคม 2556 ที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการจัดเสวนาวิชาการเรื่อง “รื้อผังเมือง เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมแบบยั่งยืน“ โดยศาสตราจารย์ ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ตนได้ร่วมมือกับทางคณะอนุกรรมาธิการศึกษางบประมาณที่เหมาะสมกับการบริหารจัดการน้ำ วุฒิสภา ทำการศึกษากรณีมหาอุทกภัยปี 2554 กับการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทย ซึ่งถือได้ว่ามหาอุทกภัยครั้งดังกล่าวเป็นเหตุการณ์พิบัติภัยครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย และได้สร้างความเสียหายประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท และมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจไทย ทำให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ หรือจีดีพี ในปี2554 ของประเทศลดลงถึง 3.1% และหากเปรียบเทียบกับพิบัติภัยที่ทำความเสียหายมากที่สุดกับประเทศต่างๆ ของโลกตั้งแต่ปี ค.ศ.1965 เป็นต้นมาพบว่า มหาอุทกภัยของไทยปี 2554 จัดอยู่ในอันดับที่ 8 ของโลก ที่ทำความเสียหายมากที่สุด ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทย ได้ความเสียหายมากจากน้ำท่วมครั้งนี้ เพราะในอดีต 50 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทย ไม่ได้มีการเตรียมระบบการป้องกันน้ำท่วมขนาดใหญ่ไว้ อีกทั้งมีการขยายตัวของชุมชนเมืองในลุ่มน้ำท่วมถึง อย่างมากมาย

ศาสตราจารย์ ดร.ธนวัฒน์ กล่าวว่า จากผลการศึกษางบประมาณที่เหมาะสมกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งก่อนและหลังเกิดวิกฤติการณ์มหาอุทกภัย ปี 2554 พบว่า ประเทศไทยได้ใช้งบประมาณแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและการบริหารจัดการน้ำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา รวมทั้งสิ้นกว่า 8 แสนล้านบาท (รวมงบประมาณ พ.ร.ก. เงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท ) ซึ่งเป็นงบประมาณลงทุนการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ จำนวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย แต่พบว่าไม่มีมาตรการใดๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำผังเมืองและการใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคต รวมถึงไม่มีการบังคับใช้กฎหมายใด ๆ ที่จะสามารถควบคุมการใช้ที่ดิน เพื่อเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของประเทศได้

ทั้งนี้หากสภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกทำให้มีแนวโน้มก่อให้เกิดพิบัติภัยขนาดใหญ่ของประเทศมีมากขึ้น ปัญหาผังเมืองของประเทศ ไม่สามารถแก้ไขได้และระบบบริหารจัดการเพื่อการลดความเสี่ยงภัยของน้ำท่วมที่ไม่เหมาะสมแล้ว จะส่งให้มหาอุทกภัยในอนาคตมีผลกระทบต่อประชาชนและเกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศมากกว่าน้ำท่วมในปี 2554 ถึง 30 เท่าตัวหรือประมาณมูลค่าความเสียหายมากถึง 30 ล้านล้านบาท ภายในปี พ.ศ. 2613

ศาสตราจารย์ ดร.ธนวัฒน์ ได้ตั้งข้อสังเกตต่างๆ ไว้ 5 ข้อดังนี้ คือ 1. การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งก่อนและหลังเกิดวิกฤติการณ์มหาอุทกภัย ปี 2554 ประเทศไทยได้ใช้งบประมาณแก้ไขปัญหา ไปแล้ว กว่า 8 แสนล้านบาท การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมส่วนใหญ่ เน้นมาตรการที่ใช้สิ่งก่อสร้างเป็นหลัก แต่พบว่าไม่มีมาตรการใดๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำผังเมืองและการใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคต เพื่อการแก้ไขป้องกันและลดความเสียหายของประชาชนอันเกิดจากน้ำท่วมในระยะยั่งยืน

2. ปัญหาผังเมืองของประเทศไทยที่ผ่านมา พบว่าเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้น้ำท่วมมีความรุนแรงและเสียหายมากขึ้น ทั้งนี้มาตรการควบคุมการใช้ที่ดินและผังเมืองของประเทศ มักเน้นการใช้เฉพาะปัจจัยศักยภาพด้านเศรษฐกิจและสังคมเป็นหลัก แต่ปัจจัยศักยภาพด้านกายภาพและมาตรฐานความเสี่ยงของพิบัติภัยภัยแทบไม่ได้ใช้เลย เช่น แผนที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมเป็นต้น

3. ประเทศไทยควรจะมีแผนแม่บทการพัฒนาเมือง (Regional Urban Planning) ในลุ่มน้ำท่วมถึงทั่วประเทศเพื่อลดความเสียหายของน้ำท่วมต่อชุมชนและเมืองในอนาคต

4. ขนาดพิบัติภัยน้ำท่วมเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (Dynamic) ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางธรรมชาติและกิจกรรมมนุษย์ ประเทศไทยต้องเพิ่มระดับมาตรฐานการลดความเสี่ยงภัยน้ำท่วมของประเทศให้มีขนาดที่เหมาะสม เมื่อเทียบกับโอกาสความเสี่ยงการเกิดพิบัติภัยซึ่งมีแนวโน้มจะมีขนาดใหญ่ขึ้น (ผลจากความแปรปรวนของภูมิอากาศในอนาคต) โดยเฉพาะควรเน้นการใช้มาตรการผังเมืองและการใช้ที่ดินเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเป็นหลักในระยะยั่งยืน

และ 5. ควรมีการรื้อระบบผังเมืองของประเทศให้มีประสิทธิภาพ ควรปรับปรุงกฎหมายควบคุมผังเมืองและการใช้ที่ดินให้ทันสมัย ควรปรับปรุงหน่วยงานที่ดูแล กำกับและบังคับใช้กฎหมายด้านผังเมืองและการใช้ที่ดินของประเทศใหม่ เช่น แยกผังเมืองออกจากโยธาธิการ หรือ ตั้งเป็นกระทรวงใหม่ที่ดูแลทั้งระบบ เป็นต้น

ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/technology/193240

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 มี.ค.56
วันที่โพสต์: 27/03/2556 เวลา 03:36:44

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นักวิจัยจุฬา ชี้รัฐใช้งบแก้ปัญหาน้ำท่วมและการบริหารจัดการน้ำไปแล้วกว่า 8 แสนล้านบาท แต่กลับไม่มีมาตรการจัดการผังเมือง อนาคต เผยหากเกิดภัยพิบัติอีกครั้งจะเสียหายมากกว่าเดิมถึง 30 เท่าตัว วันที่ 26 มีนาคม 2556 ที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการจัดเสวนาวิชาการเรื่อง “รื้อผังเมือง เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมแบบยั่งยืน“ โดยศาสตราจารย์ ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ตนได้ร่วมมือกับทางคณะอนุกรรมาธิการศึกษางบประมาณที่เหมาะสมกับการบริหารจัดการน้ำ วุฒิสภา ทำการศึกษากรณีมหาอุทกภัยปี 2554 กับการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทย ซึ่งถือได้ว่ามหาอุทกภัยครั้งดังกล่าวเป็นเหตุการณ์พิบัติภัยครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย และได้สร้างความเสียหายประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท และมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจไทย ทำให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ หรือจีดีพี ในปี2554 ของประเทศลดลงถึง 3.1% และหากเปรียบเทียบกับพิบัติภัยที่ทำความเสียหายมากที่สุดกับประเทศต่างๆ ของโลกตั้งแต่ปี ค.ศ.1965 เป็นต้นมาพบว่า มหาอุทกภัยของไทยปี 2554 จัดอยู่ในอันดับที่ 8 ของโลก ที่ทำความเสียหายมากที่สุด ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทย ได้ความเสียหายมากจากน้ำท่วมครั้งนี้ เพราะในอดีต 50 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทย ไม่ได้มีการเตรียมระบบการป้องกันน้ำท่วมขนาดใหญ่ไว้ อีกทั้งมีการขยายตัวของชุมชนเมืองในลุ่มน้ำท่วมถึง อย่างมากมาย ศาสตราจารย์ ดร.ธนวัฒน์ กล่าวว่า จากผลการศึกษางบประมาณที่เหมาะสมกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งก่อนและหลังเกิดวิกฤติการณ์มหาอุทกภัย ปี 2554 พบว่า ประเทศไทยได้ใช้งบประมาณแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและการบริหารจัดการน้ำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา รวมทั้งสิ้นกว่า 8 แสนล้านบาท (รวมงบประมาณ พ.ร.ก. เงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท ) ซึ่งเป็นงบประมาณลงทุนการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ จำนวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย แต่พบว่าไม่มีมาตรการใดๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำผังเมืองและการใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคต รวมถึงไม่มีการบังคับใช้กฎหมายใด ๆ ที่จะสามารถควบคุมการใช้ที่ดิน เพื่อเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของประเทศได้ ทั้งนี้หากสภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกทำให้มีแนวโน้มก่อให้เกิดพิบัติภัยขนาดใหญ่ของประเทศมีมากขึ้น ปัญหาผังเมืองของประเทศ ไม่สามารถแก้ไขได้และระบบบริหารจัดการเพื่อการลดความเสี่ยงภัยของน้ำท่วมที่ไม่เหมาะสมแล้ว จะส่งให้มหาอุทกภัยในอนาคตมีผลกระทบต่อประชาชนและเกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศมากกว่าน้ำท่วมในปี 2554 ถึง 30 เท่าตัวหรือประมาณมูลค่าความเสียหายมากถึง 30 ล้านล้านบาท ภายในปี พ.ศ. 2613 ศาสตราจารย์ ดร.ธนวัฒน์ ได้ตั้งข้อสังเกตต่างๆ ไว้ 5 ข้อดังนี้ คือ 1. การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งก่อนและหลังเกิดวิกฤติการณ์มหาอุทกภัย ปี 2554 ประเทศไทยได้ใช้งบประมาณแก้ไขปัญหา ไปแล้ว กว่า 8 แสนล้านบาท การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมส่วนใหญ่ เน้นมาตรการที่ใช้สิ่งก่อสร้างเป็นหลัก แต่พบว่าไม่มีมาตรการใดๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำผังเมืองและการใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคต เพื่อการแก้ไขป้องกันและลดความเสียหายของประชาชนอันเกิดจากน้ำท่วมในระยะยั่งยืน 2. ปัญหาผังเมืองของประเทศไทยที่ผ่านมา พบว่าเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้น้ำท่วมมีความรุนแรงและเสียหายมากขึ้น ทั้งนี้มาตรการควบคุมการใช้ที่ดินและผังเมืองของประเทศ มักเน้นการใช้เฉพาะปัจจัยศักยภาพด้านเศรษฐกิจและสังคมเป็นหลัก แต่ปัจจัยศักยภาพด้านกายภาพและมาตรฐานความเสี่ยงของพิบัติภัยภัยแทบไม่ได้ใช้เลย เช่น แผนที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมเป็นต้น 3. ประเทศไทยควรจะมีแผนแม่บทการพัฒนาเมือง (Regional Urban Planning) ในลุ่มน้ำท่วมถึงทั่วประเทศเพื่อลดความเสียหายของน้ำท่วมต่อชุมชนและเมืองในอนาคต 4. ขนาดพิบัติภัยน้ำท่วมเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (Dynamic) ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางธรรมชาติและกิจกรรมมนุษย์ ประเทศไทยต้องเพิ่มระดับมาตรฐานการลดความเสี่ยงภัยน้ำท่วมของประเทศให้มีขนาดที่เหมาะสม เมื่อเทียบกับโอกาสความเสี่ยงการเกิดพิบัติภัยซึ่งมีแนวโน้มจะมีขนาดใหญ่ขึ้น (ผลจากความแปรปรวนของภูมิอากาศในอนาคต) โดยเฉพาะควรเน้นการใช้มาตรการผังเมืองและการใช้ที่ดินเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเป็นหลักในระยะยั่งยืน และ 5. ควรมีการรื้อระบบผังเมืองของประเทศให้มีประสิทธิภาพ ควรปรับปรุงกฎหมายควบคุมผังเมืองและการใช้ที่ดินให้ทันสมัย ควรปรับปรุงหน่วยงานที่ดูแล กำกับและบังคับใช้กฎหมายด้านผังเมืองและการใช้ที่ดินของประเทศใหม่ เช่น แยกผังเมืองออกจากโยธาธิการ หรือ ตั้งเป็นกระทรวงใหม่ที่ดูแลทั้งระบบ เป็นต้น ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/technology/193240

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...