น้อมรำลึก 'สมเด็จพระญาณสังวรฯ' พระสังฆราชองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

แสดงความคิดเห็น

ริ้วขบวนเคลื่อนพระศพ 'พระสังฆราชฯ'

สมเด็จพระสังฆราช ทรงมีคุณูปการอันทรงคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา และประเทศชาติอย่างอเนกอนันต์ ในฐานะ ประมุขสงฆ์สูงสุด ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจและพระศาสนกิจได้ครบถ้วน ทั้งยังดำเนินงานพระธรรมทูตในต่างประเทศ...

เป็นเวลากว่า 730 วัน ที่พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยโศกเศร้ากับข่าวการสิ้นพระชนม์ของ "สมเด็จพระสังฆราช" ด้วยพระชันษา 100 ปี ทรงเป็น "สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์" ที่ทรงมีคุณูปการอย่างใหญ่หลวงแก่วงการศาสนาไทย ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ จึงรวมพระประวัติของ "สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก" และพระอาการประชวร พร้อมทั้งการเลื่อนชั้นยศพระโกศถึง 2 ครั้ง สำหรับใช้ในพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงมีพระนามเดิม ว่า “เจริญ คชวัตร” ถือกำเนิด ณ อ.เมืองกาญจนบุรี เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2456 โยมบิดาชื่อน้อย และโยมมารดาชื่อ กิมน้อย คชวัตร ทรงเป็นบุตรคนที่ 1 ในจำนวนบุตรชาย 3 คนของครอบครัว เมื่อพระชนมายุย่าง 14 ปี ถือบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดเทวสังฆาราม ต่อมาทรงย้ายมาศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดเสน่หา อ.เมืองนครปฐม 2 พรรษา ก่อนจะย้ายมาศึกษาต่อที่วัดบวรนิเวศวิหาร ในสมัยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงครองอาราม ทรงสอบได้ประโยคต่างๆ มาโดยลำดับ จนถึงเปรียญธรรม 9 ประโยค

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

พ.ศ.2476 ช่วงออกพรรษาทรงกลับมาอุปสมบทอีกครั้งหนึ่ง เพื่อญัตติเป็นธรรมยุต ณ วัดบวรนิเวศ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ครั้งยังเป็นสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ และพระรัตนธัชมุนี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงผนวชและประทับ ณ วัดบวรนิเวศ สมเด็จพระญาณสังวรได้รับหน้าที่เป็นพระอภิบาลโดยตลอด

เมื่อพระชนมายุ 59 พรรษา ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร พ.ศ.2532 ทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นพระองค์แรกที่ใช้พระนามเดิมเฉกนี้ และทรงให้ถือเป็นแบบธรรมเนียมตราในกฎมหาเถรสมาคมสืบมา พระองค์ทรงมีคุณูปการอันทรงคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา และประเทศชาติอย่างอเนกอนันต์ ในฐานะประมุขสงฆ์สูงสุด พระองค์ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจและพระศาสนกิจได้ครบถ้วน ทั้งยังดำเนินงานพระธรรมทูตในต่างประเทศอย่างเป็นรูปธรรม

จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 14 ต.ค. 56 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 เรื่อง พระอาการประชวรของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ โดยคณะแพทย์ผู้ถวายการรักษาได้รายงานว่า พระอาการทรงมีความดันโลหิตต่ำ เนื่องมาจากการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต ทั้งนี้ยังตรวจพบว่าพระอันตะ (ลำไส้ใหญ่) และพระอันตคุณ (ลำไส้เล็ก) ขาดพระโลหิตและมีแผลติดเชื้อ จึงถวายการรักษาด้วยการผ่าตัดพระอันตะและพระอันตคุณบางส่วนออก ภายหลังการผ่าตัดปรากฏว่า พระอาการโดยรวมดีขึ้น จากนั้นก็มีแถลงการณ์ของทาง รพ. เกี่ยวกับพระอาการประชวรของสมเด็จพระสังฆราชออกมาให้ประชาชนติดตามเรื่อยๆ

และเมื่อเวลา 14.00 น. ของวันที่ 24 ต.ค. 56 คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษารายงานว่า สมเด็จพระสังฆราชฯ มีพระอาการโดยรวมทรุดลง ระดับความดันพระโลหิต อยู่ในเกณฑ์ต่ำลง คณะแพทย์ยังคงถวายพระโอสถ และตรวจรักษาอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องตลอด 24 ชม. ในวันเดียวกัน ทางสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ ได้ออกแถลงการณ์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เรื่อง พระอาการประชวร ฉบับที่ 9 ความว่า สมเด็จพระสังฆราชฯ มีพระอาการทรุดหนักลง ได้สิ้นพระชนม์ลงแล้ว เมื่อเวลา 19.30 น. เนื่องจากติดเชื้อในกระแสพระโลหิต จากนั้นได้อัญเชิญพระศพไปประดิษฐาน ณ ตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศวิหาร

ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานเลื่อนชั้นยศพระโกศจากพระโกศกุดั่นน้อยเป็นพระโกศกุดั่นใหญ่ตั้งแต่วันแรกที่สิ้นพระชนม์ ครั้นถึงวาระพระราชทานเพลิงพระศพ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเลื่อนจากพระโกศกุดั่นใหญ่เป็นพระโกศทองน้อยในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพระหว่างวันที่ 15-17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งถือเป็นกรณีพิเศษเพราะยังไม่เคยปรากฏการพระราชทานเลื่อนพระโกศถึงสองครั้งมาก่อน

โดยพระโกศกุดั่นน้อย เป็นพระโกศลำดับที่ 6 ใช้กับ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า เจ้าจอม เจ้านายทรงกรม ผู้สำเร็จราชการ ผู้ได้รับตรานพรัตนราชวราภรณ์ พระโกศกุดั่นใหญ่ เป็นพระโกศลำดับที่ 5 ใช้กับ สมเด็จพระสังฆราชฯ ส่วนพระโกศทองน้อย เป็นพระโกศลำดับที่ 4 ใช้กับ สมเด็จเจ้าฟ้า พระวรราชเทวี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า สมเด็จพระนางเจ้า พระวรราชชายา

อย่างไรก็ตาม สมเด็จพระญาณสังวรฯ เป็นสมเด็จพระสังฆราชเป็นพระสามัญชนองค์แรกที่ได้รับพระราชทาน "พระโกศทองน้อย" พร้อมรับพระราชทานเลื่อนชั้นยศพระโกศถึง 2 ครั้ง

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/548993

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 ธ.ค.58
วันที่โพสต์: 16/12/2558 เวลา 13:49:40 ดูภาพสไลด์โชว์ น้อมรำลึก 'สมเด็จพระญาณสังวรฯ' พระสังฆราชองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ริ้วขบวนเคลื่อนพระศพ 'พระสังฆราชฯ' สมเด็จพระสังฆราช ทรงมีคุณูปการอันทรงคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา และประเทศชาติอย่างอเนกอนันต์ ในฐานะ ประมุขสงฆ์สูงสุด ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจและพระศาสนกิจได้ครบถ้วน ทั้งยังดำเนินงานพระธรรมทูตในต่างประเทศ... เป็นเวลากว่า 730 วัน ที่พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยโศกเศร้ากับข่าวการสิ้นพระชนม์ของ "สมเด็จพระสังฆราช" ด้วยพระชันษา 100 ปี ทรงเป็น "สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์" ที่ทรงมีคุณูปการอย่างใหญ่หลวงแก่วงการศาสนาไทย ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ จึงรวมพระประวัติของ "สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก" และพระอาการประชวร พร้อมทั้งการเลื่อนชั้นยศพระโกศถึง 2 ครั้ง สำหรับใช้ในพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงมีพระนามเดิม ว่า “เจริญ คชวัตร” ถือกำเนิด ณ อ.เมืองกาญจนบุรี เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2456 โยมบิดาชื่อน้อย และโยมมารดาชื่อ กิมน้อย คชวัตร ทรงเป็นบุตรคนที่ 1 ในจำนวนบุตรชาย 3 คนของครอบครัว เมื่อพระชนมายุย่าง 14 ปี ถือบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดเทวสังฆาราม ต่อมาทรงย้ายมาศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดเสน่หา อ.เมืองนครปฐม 2 พรรษา ก่อนจะย้ายมาศึกษาต่อที่วัดบวรนิเวศวิหาร ในสมัยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงครองอาราม ทรงสอบได้ประโยคต่างๆ มาโดยลำดับ จนถึงเปรียญธรรม 9 ประโยค สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2476 ช่วงออกพรรษาทรงกลับมาอุปสมบทอีกครั้งหนึ่ง เพื่อญัตติเป็นธรรมยุต ณ วัดบวรนิเวศ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ครั้งยังเป็นสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ และพระรัตนธัชมุนี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงผนวชและประทับ ณ วัดบวรนิเวศ สมเด็จพระญาณสังวรได้รับหน้าที่เป็นพระอภิบาลโดยตลอด เมื่อพระชนมายุ 59 พรรษา ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร พ.ศ.2532 ทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นพระองค์แรกที่ใช้พระนามเดิมเฉกนี้ และทรงให้ถือเป็นแบบธรรมเนียมตราในกฎมหาเถรสมาคมสืบมา พระองค์ทรงมีคุณูปการอันทรงคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา และประเทศชาติอย่างอเนกอนันต์ ในฐานะประมุขสงฆ์สูงสุด พระองค์ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจและพระศาสนกิจได้ครบถ้วน ทั้งยังดำเนินงานพระธรรมทูตในต่างประเทศอย่างเป็นรูปธรรม จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 14 ต.ค. 56 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 เรื่อง พระอาการประชวรของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ โดยคณะแพทย์ผู้ถวายการรักษาได้รายงานว่า พระอาการทรงมีความดันโลหิตต่ำ เนื่องมาจากการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต ทั้งนี้ยังตรวจพบว่าพระอันตะ (ลำไส้ใหญ่) และพระอันตคุณ (ลำไส้เล็ก) ขาดพระโลหิตและมีแผลติดเชื้อ จึงถวายการรักษาด้วยการผ่าตัดพระอันตะและพระอันตคุณบางส่วนออก ภายหลังการผ่าตัดปรากฏว่า พระอาการโดยรวมดีขึ้น จากนั้นก็มีแถลงการณ์ของทาง รพ. เกี่ยวกับพระอาการประชวรของสมเด็จพระสังฆราชออกมาให้ประชาชนติดตามเรื่อยๆ และเมื่อเวลา 14.00 น. ของวันที่ 24 ต.ค. 56 คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษารายงานว่า สมเด็จพระสังฆราชฯ มีพระอาการโดยรวมทรุดลง ระดับความดันพระโลหิต อยู่ในเกณฑ์ต่ำลง คณะแพทย์ยังคงถวายพระโอสถ และตรวจรักษาอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องตลอด 24 ชม. ในวันเดียวกัน ทางสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ ได้ออกแถลงการณ์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เรื่อง พระอาการประชวร ฉบับที่ 9 ความว่า สมเด็จพระสังฆราชฯ มีพระอาการทรุดหนักลง ได้สิ้นพระชนม์ลงแล้ว เมื่อเวลา 19.30 น. เนื่องจากติดเชื้อในกระแสพระโลหิต จากนั้นได้อัญเชิญพระศพไปประดิษฐาน ณ ตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศวิหาร ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานเลื่อนชั้นยศพระโกศจากพระโกศกุดั่นน้อยเป็นพระโกศกุดั่นใหญ่ตั้งแต่วันแรกที่สิ้นพระชนม์ ครั้นถึงวาระพระราชทานเพลิงพระศพ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเลื่อนจากพระโกศกุดั่นใหญ่เป็นพระโกศทองน้อยในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพระหว่างวันที่ 15-17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งถือเป็นกรณีพิเศษเพราะยังไม่เคยปรากฏการพระราชทานเลื่อนพระโกศถึงสองครั้งมาก่อน โดยพระโกศกุดั่นน้อย เป็นพระโกศลำดับที่ 6 ใช้กับ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า เจ้าจอม เจ้านายทรงกรม ผู้สำเร็จราชการ ผู้ได้รับตรานพรัตนราชวราภรณ์ พระโกศกุดั่นใหญ่ เป็นพระโกศลำดับที่ 5 ใช้กับ สมเด็จพระสังฆราชฯ ส่วนพระโกศทองน้อย เป็นพระโกศลำดับที่ 4 ใช้กับ สมเด็จเจ้าฟ้า พระวรราชเทวี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า สมเด็จพระนางเจ้า พระวรราชชายา อย่างไรก็ตาม สมเด็จพระญาณสังวรฯ เป็นสมเด็จพระสังฆราชเป็นพระสามัญชนองค์แรกที่ได้รับพระราชทาน "พระโกศทองน้อย" พร้อมรับพระราชทานเลื่อนชั้นยศพระโกศถึง 2 ครั้ง ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/548993

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...