ระยะสุดท้ายของชีวิต

แสดงความคิดเห็น

พระสงฆ์เยี่ยมผู้ป่วยสูงอายุ นอนเตียงภายในโรงพยาบาล สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้เป็นแกนนำในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ระดับชาติว่าด้วยการสร้างเสริมสุขภาวะในระยะสุดท้ายของชีวิต พ.ศ. ๒๕๕๖-๒๕๕๙ โดยระดมความคิดจากทุกภาคส่วน ภายใต้เป้าหมายสูงสุดให้ทุกคนบนแผ่นดินไทยมีสิทธิเข้าถึงการมีสุขภาวะในช่วง ท้ายของชีวิตและตายดี ในขณะนี้ได้ผ่านการรับฟังความเห็นและจัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นครั้งที่ ๑ ไปแล้ว พร้อมกันนี้ยังได้จัดทำคู่มือสำหรับประชาชนการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบ ประคับประคอง ( Palliative Care) ครอบคลุมทั้งการดูแลสุขภาพร่างกายเบื้องต้น การดูแลทางจิตอารมณ์ ความรู้สึกของผู้ป่วยและญาติ นอกจากนี้ยังมีส่วนเนื้อหาการดูแลตามหลักศาสนา พุทธ อิสลาม และคริสต์

มือญาติจับผู้ป่วยสูงอายุ ทั้งนี้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายหมายถึง ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยแล้วว่า สภาพการป่วยไข้เป็นระยะลุกลาม เรื้อรัง หรือเข้าสู่ระยะท้าย ๆ ของโรค ซึ่งไม่มีวันรักษาให้หายได้ โดยมากจะมีชีวิตอยู่น้อยกว่า ๑ ปีแนวคิดการดูแลผู้ป่วยวิถีพุทธ แม้ว่าในศาสนาพุทธแบบเถรวาท จะไม่มีพิธีกรรมอะไรเป็นพิเศษแต่มีผู้สรุปแนวคิดในการดูแลผู้ป่วยตามวิถีพุทธ ไว้ดังนี้ ๑.การดูแลสุขภาพกาย โดยเน้นเรื่องปัจจัยที่จำเป็นพื้นฐาน คืออาหาร ยา เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม และที่พักอาศัย ให้มีความสะอาด สงบ เหมาะสมกับสภาพผู้ป่วย อีกทั้งดูแลการใช้ตา หู จมูก ลิ้น และกาย อย่างระมัดระวัง และให้เป็นไปในทางกุศล ๒. การดูแลในมิติทางศีล คือมีความสัมพันธ์ที่ดี เกื้อกูล เห็นอกเห็นใจ เข้าใจต่อกันระหว่างผู้ป่วย ญาติ และผู้ดูแล ๓. การดูแลในมิติทางจิตใจ โดยส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีสภาวะจิตที่เข้มแข็ง มีคุณธรรม มีสุขภาพจิตที่ดี ไม่เครียด มีความสงบ ซึ่งอาจทำได้โดยการทำสมาธิ ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และคุณงามความดีที่ได้กระทำมา ๔. การดูแลในมิติทางปัญญา เช่น การรับฟังรายละเอียด การดูแลการรักษาจากแพทย์ แล้วใคร่ครวญอย่างมีสติ เข้าใจชีวิตและอาการของโรคตามความเป็นจริง มีกำลังใจที่จะดูแลตนเองให้ดี

ญาติเข้าเยี่ยมผู้ป่วยนอนเตียงภายในโรงพยาบาล สำหรับการสร้างสมาธิ ให้ผู้ป่วยเกิดสมาธิและจดจ่อกับสิ่งดีงาม สามารถเสริมด้วยการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การทำบุญ ทั้งการทำบุญแก่พระศาสนาการใส่บาตร การถวายสังฆทาน การสวดมนต์ หากผู้ป่วยไม่สามารถสวดเองได้ ญาติอาจสวดมนต์ให้ฟัง นอกจากนี้ ยังสามารถทำสมาธิด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การกำหนดลมหายใจเข้าออก การจดจ่อกับท้องที่พองและยุบ ทุกครั้งที่หายใจเข้าและออก หรือการจดจ่อกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น การกะพริบตา ขยับมือ รวมถึงการระลึกถึงความดีที่ได้ทำมาด้วยความภาคภูมิ ไม่ว่าจะเป็นความดีที่ได้ทำกับพ่อแม่ ลูกหลาน ญาติมิตร เพื่อนร่วมงานหลักปฏิบัติ สำหรับผู้ป่วยที่นับถือศาสนามุมสลิมนั้น แม้จะเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายแต่ชาวมุสลิมต้องปฏิบัติตามหลัก ๕ ประการในการดำเนินชีวิต ๑. การปฏิญาณตน คือการกล่าวปฏิญาณตนว่า “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลเลาะห์ และนบีมูฮัมมัดเป็นศาสนทูตของพระองค์ ๒. การละหมาด โดยมุสลิมทุกคนที่มีสติสัมปชัญญะและบรรลุศาสนภาวะ ต้องทำละหมาดเป็นกิจวัตรประจำวัน วันละ ๕ เวลา ในเวลาต่าง ๆ ที่ศาสนากำหนด ในกรณีเจ็บป่วยสามารถทำได้ดังนี้ หากไม่สามารถยืนละหมาดได้ อนุญาตให้ผู้ป่วยนั่งละหมาด หากไม่สามารถนั่งได้ให้นอนตะแคงขวาโดยหันหน้าไปทางกิบละฮ์ ถ้าไม่สามารถนอนตะแคงได้ให้นอนหงายโดยเหยียดเท้าทั้งสองไปทาง กิบละฮ์ ถ้าทำไม่ได้ก็ทำเท่าที่จะสามารถทำได้ ผู้ป่วยที่ไม่สามารถขยับเขยื้อนศีรษะหรือร่างกายได้ ให้กะพริบตาแทน ผู้ป่วยที่ไม่สามารถแม้กะพริบตาได้ ก็ให้ตั้งเจตนาละหมาดในใจ ๓. การบริจาคทานตามกำหนด เพื่อลดความหวงแหนในทรัพย์สินของผู้บริจาค ๔. การถือศีลอด คือการบังคับตนเองให้งดรับประทาน งดดื่ม งดความต้องการทางเพศ พยายามทำจิตให้บริสุทธิ์ ในช่วงเวลาตั้งแต่รุ่งเช้าจนตะวันลับขอบฟ้า ในทุก ๆ วันมีกำหนด ๑ เดือนของเดือนรอมฎอน ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถถือศีลอดได้ ในช่วงเดือนรอมฎอนให้ถือศีลอดชดเชยภายหลัง แต่ถ้าประสบความยากลำบากก็ให้ชดเชยด้วยการจ่ายอาหารแก่คนยากจนแทน ๕. การประกอบพิธีฮัจย์ ๑ ครั้งในชีวิต

สำหรับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามหลักศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิกนั้น ชาวคริสต์เชื่อว่า พระเจ้าเป็นของทั้งผู้เป็นและผู้ตาย ทุกคำสอนในศาสนาคริสต์จึงเป็นเรื่องการเป็นอยู่ การส่งเสริมการมีชีวิตส่งเสริมการยอมรับ กระตุ้นการมีชีวิต โดยเน้นให้มนุษย์ดำเนินชีวิตอยู่บนฐานของความรัก การรับใช้และการปฏิบัติ เพื่อให้ทุกคนได้สัมผัสกับจุดมุ่งหมายของการมีชีวิต และเชื่อว่าพระเจ้าประทานชีวิตและกำหนดความตายไว้แล้ว ความตายไม่ใช่การสิ้นสุด เพราะการตายเป็นการแยกจิตวิญญาณออกจากร่างกาย เพื่อกลับไปอยู่กับพระเจ้าตลอดกาล

ดังนั้นจึงควรส่งเสริมการแจ้งแก่ผู้ป่วยให้ทราบถึงสภาพของเขา ตอบคำถามของผู้ป่วยด้วยความซื่อสัตย์ รักษาอาการทางกายโดยให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วม และตระหนักอยู่เสมอว่าผู้ป่วยมีจิตวิญญาณ โดยใช้หลักพื้นฐานง่าย ๆ แต่สงบสุข เช่น ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่ามีเพื่อน มีคนอยู่เคียงข้าง ไม่ได้เป็นผู้น่ารังเกียจ พูดคุยถามไถ่อาการ ผ่อนคลายอริยาบถและดูแลอาการต่าง ๆ ให้ผู้ป่วยรู้สึกสุขสบาย

แม้โลกจะก้าวหน้าไปมากมายขนาดไหน แต่การพรากจากคนที่รัก ยังต้องใช้ความรัก ความห่วงใยที่ตั้งอยู่บนขนบประเพณีที่ดีงามตลอดไป.

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content/Article/206988/ระยะสุดท้ายของชีวิต (ขนาดไฟล์: 167)

เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 ม.ค.57

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 ม.ค.57
วันที่โพสต์: 15/01/2557 เวลา 04:17:17 ดูภาพสไลด์โชว์ ระยะสุดท้ายของชีวิต

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

พระสงฆ์เยี่ยมผู้ป่วยสูงอายุ นอนเตียงภายในโรงพยาบาล สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้เป็นแกนนำในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ระดับชาติว่าด้วยการสร้างเสริมสุขภาวะในระยะสุดท้ายของชีวิต พ.ศ. ๒๕๕๖-๒๕๕๙ โดยระดมความคิดจากทุกภาคส่วน ภายใต้เป้าหมายสูงสุดให้ทุกคนบนแผ่นดินไทยมีสิทธิเข้าถึงการมีสุขภาวะในช่วง ท้ายของชีวิตและตายดี ในขณะนี้ได้ผ่านการรับฟังความเห็นและจัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นครั้งที่ ๑ ไปแล้ว พร้อมกันนี้ยังได้จัดทำคู่มือสำหรับประชาชนการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบ ประคับประคอง ( Palliative Care) ครอบคลุมทั้งการดูแลสุขภาพร่างกายเบื้องต้น การดูแลทางจิตอารมณ์ ความรู้สึกของผู้ป่วยและญาติ นอกจากนี้ยังมีส่วนเนื้อหาการดูแลตามหลักศาสนา พุทธ อิสลาม และคริสต์ มือญาติจับผู้ป่วยสูงอายุทั้งนี้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายหมายถึง ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยแล้วว่า สภาพการป่วยไข้เป็นระยะลุกลาม เรื้อรัง หรือเข้าสู่ระยะท้าย ๆ ของโรค ซึ่งไม่มีวันรักษาให้หายได้ โดยมากจะมีชีวิตอยู่น้อยกว่า ๑ ปีแนวคิดการดูแลผู้ป่วยวิถีพุทธ แม้ว่าในศาสนาพุทธแบบเถรวาท จะไม่มีพิธีกรรมอะไรเป็นพิเศษแต่มีผู้สรุปแนวคิดในการดูแลผู้ป่วยตามวิถีพุทธ ไว้ดังนี้ ๑.การดูแลสุขภาพกาย โดยเน้นเรื่องปัจจัยที่จำเป็นพื้นฐาน คืออาหาร ยา เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม และที่พักอาศัย ให้มีความสะอาด สงบ เหมาะสมกับสภาพผู้ป่วย อีกทั้งดูแลการใช้ตา หู จมูก ลิ้น และกาย อย่างระมัดระวัง และให้เป็นไปในทางกุศล ๒. การดูแลในมิติทางศีล คือมีความสัมพันธ์ที่ดี เกื้อกูล เห็นอกเห็นใจ เข้าใจต่อกันระหว่างผู้ป่วย ญาติ และผู้ดูแล ๓. การดูแลในมิติทางจิตใจ โดยส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีสภาวะจิตที่เข้มแข็ง มีคุณธรรม มีสุขภาพจิตที่ดี ไม่เครียด มีความสงบ ซึ่งอาจทำได้โดยการทำสมาธิ ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และคุณงามความดีที่ได้กระทำมา ๔. การดูแลในมิติทางปัญญา เช่น การรับฟังรายละเอียด การดูแลการรักษาจากแพทย์ แล้วใคร่ครวญอย่างมีสติ เข้าใจชีวิตและอาการของโรคตามความเป็นจริง มีกำลังใจที่จะดูแลตนเองให้ดี ญาติเข้าเยี่ยมผู้ป่วยนอนเตียงภายในโรงพยาบาล สำหรับการสร้างสมาธิ ให้ผู้ป่วยเกิดสมาธิและจดจ่อกับสิ่งดีงาม สามารถเสริมด้วยการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การทำบุญ ทั้งการทำบุญแก่พระศาสนาการใส่บาตร การถวายสังฆทาน การสวดมนต์ หากผู้ป่วยไม่สามารถสวดเองได้ ญาติอาจสวดมนต์ให้ฟัง นอกจากนี้ ยังสามารถทำสมาธิด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การกำหนดลมหายใจเข้าออก การจดจ่อกับท้องที่พองและยุบ ทุกครั้งที่หายใจเข้าและออก หรือการจดจ่อกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น การกะพริบตา ขยับมือ รวมถึงการระลึกถึงความดีที่ได้ทำมาด้วยความภาคภูมิ ไม่ว่าจะเป็นความดีที่ได้ทำกับพ่อแม่ ลูกหลาน ญาติมิตร เพื่อนร่วมงานหลักปฏิบัติ สำหรับผู้ป่วยที่นับถือศาสนามุมสลิมนั้น แม้จะเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายแต่ชาวมุสลิมต้องปฏิบัติตามหลัก ๕ ประการในการดำเนินชีวิต ๑. การปฏิญาณตน คือการกล่าวปฏิญาณตนว่า “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลเลาะห์ และนบีมูฮัมมัดเป็นศาสนทูตของพระองค์ ๒. การละหมาด โดยมุสลิมทุกคนที่มีสติสัมปชัญญะและบรรลุศาสนภาวะ ต้องทำละหมาดเป็นกิจวัตรประจำวัน วันละ ๕ เวลา ในเวลาต่าง ๆ ที่ศาสนากำหนด ในกรณีเจ็บป่วยสามารถทำได้ดังนี้ หากไม่สามารถยืนละหมาดได้ อนุญาตให้ผู้ป่วยนั่งละหมาด หากไม่สามารถนั่งได้ให้นอนตะแคงขวาโดยหันหน้าไปทางกิบละฮ์ ถ้าไม่สามารถนอนตะแคงได้ให้นอนหงายโดยเหยียดเท้าทั้งสองไปทาง กิบละฮ์ ถ้าทำไม่ได้ก็ทำเท่าที่จะสามารถทำได้ ผู้ป่วยที่ไม่สามารถขยับเขยื้อนศีรษะหรือร่างกายได้ ให้กะพริบตาแทน ผู้ป่วยที่ไม่สามารถแม้กะพริบตาได้ ก็ให้ตั้งเจตนาละหมาดในใจ ๓. การบริจาคทานตามกำหนด เพื่อลดความหวงแหนในทรัพย์สินของผู้บริจาค ๔. การถือศีลอด คือการบังคับตนเองให้งดรับประทาน งดดื่ม งดความต้องการทางเพศ พยายามทำจิตให้บริสุทธิ์ ในช่วงเวลาตั้งแต่รุ่งเช้าจนตะวันลับขอบฟ้า ในทุก ๆ วันมีกำหนด ๑ เดือนของเดือนรอมฎอน ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถถือศีลอดได้ ในช่วงเดือนรอมฎอนให้ถือศีลอดชดเชยภายหลัง แต่ถ้าประสบความยากลำบากก็ให้ชดเชยด้วยการจ่ายอาหารแก่คนยากจนแทน ๕. การประกอบพิธีฮัจย์ ๑ ครั้งในชีวิต สำหรับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามหลักศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิกนั้น ชาวคริสต์เชื่อว่า พระเจ้าเป็นของทั้งผู้เป็นและผู้ตาย ทุกคำสอนในศาสนาคริสต์จึงเป็นเรื่องการเป็นอยู่ การส่งเสริมการมีชีวิตส่งเสริมการยอมรับ กระตุ้นการมีชีวิต โดยเน้นให้มนุษย์ดำเนินชีวิตอยู่บนฐานของความรัก การรับใช้และการปฏิบัติ เพื่อให้ทุกคนได้สัมผัสกับจุดมุ่งหมายของการมีชีวิต และเชื่อว่าพระเจ้าประทานชีวิตและกำหนดความตายไว้แล้ว ความตายไม่ใช่การสิ้นสุด เพราะการตายเป็นการแยกจิตวิญญาณออกจากร่างกาย เพื่อกลับไปอยู่กับพระเจ้าตลอดกาล ดังนั้นจึงควรส่งเสริมการแจ้งแก่ผู้ป่วยให้ทราบถึงสภาพของเขา ตอบคำถามของผู้ป่วยด้วยความซื่อสัตย์ รักษาอาการทางกายโดยให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วม และตระหนักอยู่เสมอว่าผู้ป่วยมีจิตวิญญาณ โดยใช้หลักพื้นฐานง่าย ๆ แต่สงบสุข เช่น ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่ามีเพื่อน มีคนอยู่เคียงข้าง ไม่ได้เป็นผู้น่ารังเกียจ พูดคุยถามไถ่อาการ ผ่อนคลายอริยาบถและดูแลอาการต่าง ๆ ให้ผู้ป่วยรู้สึกสุขสบาย แม้โลกจะก้าวหน้าไปมากมายขนาดไหน แต่การพรากจากคนที่รัก ยังต้องใช้ความรัก ความห่วงใยที่ตั้งอยู่บนขนบประเพณีที่ดีงามตลอดไป. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content/Article/206988/ระยะสุดท้ายของชีวิต เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 ม.ค.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...