ความรู้จักประเมินตน (การประเมินตนเอง 10 ประการ)

แสดงความคิดเห็น

ความรู้จักประเมินตน (การประเมินตนเอง 10 ประการ)

การรู้จักประเมินตน คือความสำรวมระวัง การพิจารณามองหาข้อบกพร่องของตนอยู่เป็นนิจ องค์สมเด็จพระบรมศาสดาได้วางมาตรการตรวจสอบตนเองและประเมินตนเองไว้ 10 ประการ คือ

ประการที่ 1 ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า บัดนี้เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว อาการกิริยาใดอันสมควรแก่สมณะ เราต้องประพฤติปฏิบัติอาการกิริยานั้น ข้อนี้ทรงมุ่งสอนไปที่ภิกษุ แต่คฤหัสถ์หรือฆราวาสก็สามารถนำไปประยุกต์ปฏิบัติได้ โดยพิจารณาสถานะของตนว่าตนอยู่ในสถานะใด ก็ประพฤติกาย วาจา ใจให้เหมาะแก่สถานะนั้นๆ

ประการที่ 2 ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า ความดำรงชีวิตของเราเนื่องด้วยผู้อื่น เราควรทำตัวให้เป็นคนเลี้ยงง่าย ข้อนี้ก็สามารถประยุกต์ใช้ได้ โดยวางตัวให้เป็นคนเลี้ยงง่าย หรือที่ภาษาคนทั่วไปเขาเรียกว่า เป็นคนติดดิน เป็นคนไม่เย่อหยิ่งในฐานะยศศักดิ์

ประการที่ 3 ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า กิริยามารยาทที่เราต้องประพฤติปฏิบัติให้ดีขึ้นไปกว่านี้ยังมีอีก ไม่ได้มีเพียงแค่นี้ เพราะทุกคนสามารถพัฒนาตนได้เสมอตราบใดที่ยังไม่เป็นพระอรหันตขีณาสพก็ต้อง พัฒนาตนกันเรื่อยไป

ประการที่ 4 ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า ตัวเราเองติเตียนตัวเราเนื่องจากมีข้อบกพร่องทางศีลธรรมได้หรือไม่ เรายังประพฤติผิดหรือย่อหย่อนในกิริยามารยาทใดบ้าง หรือแม้ในการทำงานในหน้าที่ เรามีส่วนบกพร่องประการใดบ้าง ไม่ต้องรอให้ใครผู้ใดมาติเตียน

ประการที่ 5 ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์หรือเพื่อนผู้ร่วมงาน ซึ่งเป็นผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญ ตำหนิเราโดยศีลหรือโดยหน้าที่ที่รับผิดชอบได้หรือไม่

ประการที่ 6 ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เราจะต้องพลัดพราก ต้องแยกจากสิ่งที่เรารักเราหวงแหนไป ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งหน้าที่การงาน หรือทรัพย์สิน หรือแม้กระทั่งชีวิต เพราะว่านี่เป็นเรื่องธรรมดา

ประการที่ 7 ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ถ้าเราทำดีต้องได้ผลดี เราทำกรรมชั่วเราก็ต้องได้ผลไม่ดี เราต้องยอมรับกรรมที่เราทำลงไปทุกประการ

ประการที่ 8 ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า วันเวลาล่วงไปๆ ไม่เคยหยุดนิ่ง คร่าเอาอายุและชีวิตเราไปทุกขณะ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่ เหลือเวลาแห่งชีวิตเราสักเท่าไร เพื่อจะได้ไม่ตั้งตนอยู่ในความประมาทมัวเมาจนลืมตัว

ประการที่ 9 ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรายินดีในความสงบสงัดหรือไม่ หรือมัวแต่วุ่นอยู่กับความวุ่นวายต่างๆ นานา จนหาความสุขสงบให้แก่ชีวิตไม่ได้เลย

ประการที่ 10 อันเป็นข้อสุดท้าย ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีคุณวิเศษหรือความสามารถพิเศษใดๆ อยู่บ้างหรือไม่ ถ้ายังไม่มีรีบสร้างสมขึ้นมาได้หรือไม่ ที่จะทำให้เราไม่เก้อไม่เขิน เมื่อถูกใครถามในโอกาสข้างหน้า เมื่อคนอื่นเขามีได้ เราก็สามารถทำให้มีได้

คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด

บทความโดย พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. 9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร

ขอบคุณ http://www.itti-patihan.com/ความรู้จักประเมินตน-การประเมินตนเอง-10-ประการ.html

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ความรู้จักประเมินตน (การประเมินตนเอง 10 ประการ) การรู้จักประเมินตน คือความสำรวมระวัง การพิจารณามองหาข้อบกพร่องของตนอยู่เป็นนิจ องค์สมเด็จพระบรมศาสดาได้วางมาตรการตรวจสอบตนเองและประเมินตนเองไว้ 10 ประการ คือ ประการที่ 1 ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า บัดนี้เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว อาการกิริยาใดอันสมควรแก่สมณะ เราต้องประพฤติปฏิบัติอาการกิริยานั้น ข้อนี้ทรงมุ่งสอนไปที่ภิกษุ แต่คฤหัสถ์หรือฆราวาสก็สามารถนำไปประยุกต์ปฏิบัติได้ โดยพิจารณาสถานะของตนว่าตนอยู่ในสถานะใด ก็ประพฤติกาย วาจา ใจให้เหมาะแก่สถานะนั้นๆ ประการที่ 2 ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า ความดำรงชีวิตของเราเนื่องด้วยผู้อื่น เราควรทำตัวให้เป็นคนเลี้ยงง่าย ข้อนี้ก็สามารถประยุกต์ใช้ได้ โดยวางตัวให้เป็นคนเลี้ยงง่าย หรือที่ภาษาคนทั่วไปเขาเรียกว่า เป็นคนติดดิน เป็นคนไม่เย่อหยิ่งในฐานะยศศักดิ์ ประการที่ 3 ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า กิริยามารยาทที่เราต้องประพฤติปฏิบัติให้ดีขึ้นไปกว่านี้ยังมีอีก ไม่ได้มีเพียงแค่นี้ เพราะทุกคนสามารถพัฒนาตนได้เสมอตราบใดที่ยังไม่เป็นพระอรหันตขีณาสพก็ต้อง พัฒนาตนกันเรื่อยไป ประการที่ 4 ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า ตัวเราเองติเตียนตัวเราเนื่องจากมีข้อบกพร่องทางศีลธรรมได้หรือไม่ เรายังประพฤติผิดหรือย่อหย่อนในกิริยามารยาทใดบ้าง หรือแม้ในการทำงานในหน้าที่ เรามีส่วนบกพร่องประการใดบ้าง ไม่ต้องรอให้ใครผู้ใดมาติเตียน ประการที่ 5 ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์หรือเพื่อนผู้ร่วมงาน ซึ่งเป็นผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญ ตำหนิเราโดยศีลหรือโดยหน้าที่ที่รับผิดชอบได้หรือไม่ ประการที่ 6 ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เราจะต้องพลัดพราก ต้องแยกจากสิ่งที่เรารักเราหวงแหนไป ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งหน้าที่การงาน หรือทรัพย์สิน หรือแม้กระทั่งชีวิต เพราะว่านี่เป็นเรื่องธรรมดา ประการที่ 7 ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ถ้าเราทำดีต้องได้ผลดี เราทำกรรมชั่วเราก็ต้องได้ผลไม่ดี เราต้องยอมรับกรรมที่เราทำลงไปทุกประการ ประการที่ 8 ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า วันเวลาล่วงไปๆ ไม่เคยหยุดนิ่ง คร่าเอาอายุและชีวิตเราไปทุกขณะ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่ เหลือเวลาแห่งชีวิตเราสักเท่าไร เพื่อจะได้ไม่ตั้งตนอยู่ในความประมาทมัวเมาจนลืมตัว ประการที่ 9 ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรายินดีในความสงบสงัดหรือไม่ หรือมัวแต่วุ่นอยู่กับความวุ่นวายต่างๆ นานา จนหาความสุขสงบให้แก่ชีวิตไม่ได้เลย ประการที่ 10 อันเป็นข้อสุดท้าย ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีคุณวิเศษหรือความสามารถพิเศษใดๆ อยู่บ้างหรือไม่ ถ้ายังไม่มีรีบสร้างสมขึ้นมาได้หรือไม่ ที่จะทำให้เราไม่เก้อไม่เขิน เมื่อถูกใครถามในโอกาสข้างหน้า เมื่อคนอื่นเขามีได้ เราก็สามารถทำให้มีได้ คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด บทความโดย พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. 9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร ขอบคุณ… http://www.itti-patihan.com/ความรู้จักประเมินตน-การประเมินตนเอง-10-ประการ.html

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...