'หัดเป็นคนที่สองเสียบ้าง'กุศโลบายจาก'พุทธทาสภิกขุ'

แสดงความคิดเห็น

'หัดเป็นคนที่สองเสียบ้าง'กุศโลบายจาก'พุทธทาสภิกขุ'

'หัดเป็นคนที่สองเสียบ้าง'กุศโลบายจาก 'พุทธทาสภิกขุ' : วิปัสสนาบนหน้าข่าว โดยมนสิกุล โอวาทเภสัชช์

จากรายงานผลการสำรวจพื้นที่และข้อเสนอแนะการปรับปรุงพื้นที่รอบพระอุโบสถเขา พุทธทอง สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี โดย นพ.บัญชา พงษ์พานิช ระบุว่า หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ได้รับมอบหมายจากพระอาจารย์สุชาติ ปัญญาทีโป เจ้าอาวาสวัดธารน้ำไหล สวนโมกขพลาราม ในการเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิทัศน์สถาปัตยกรรมและการดูแลรักษาต้นไม้ใหญ่ ซึ่งมีความศรัทธาในธรรมเดินทางมาดูเพื่อชี้แนะ หลังจากที่ท่านเจ้าอาวาสได้ให้หยุดดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณรอบพระ อุโบสถเขาพุทธทองแล้ว รวมทั้งได้ทำการปรับสภาพ รื้อถอนโครงก่อสร้างบันไดทั้งหมดออกแล้วด้วย และได้มีการประกาศเมื่อวันงานประเพณีทำบุญรับตายายเดือนสิบของสวนโมกข์ เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา ณ ลานหินโค้ง

"โดยภาพรวม คณะผู้เชี่ยวชาญได้ใช้แนวคิด 'เป็นไปตามธรรมชาติ ธรรมคือธรรมชาติ' โดยน้อมนำขอบเขตวิสุงคามสีมาที่กำหนดไว้แต่เดิมเป็นกรอบในลักษณะของ "มณฑลแห่งพระรัตนตรัย" มีพระพุทธรูปปูนปั้นเป็นประธาน เสมือนพระพุทธองค์ทรงประทับอยู่บนลานทรายใต้ร่มไม้ใหญ่ในบรรยากาศแห่ง ธรรมชาติ คือพระธรรมที่แท้ และมีแท่งหินอนุสรณ์สรีระฌาปนสถานของท่านอาจารย์พุทธทาส วางอยู่ล่างลงไป ในฐานะพระสงฆ์สาวกของพระพุทธองค์ ครบองค์สาม"

สุจิตต์ พันธุมนาวิน นายช่างผู้ถวายงานท่านพุทธทาสในการขุดสระนาฬิเกร์ที่สวนโมกขพลาราม เมื่อประมาณ ๕๐ ปีก่อนให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า "เป็นการดีที่ต้องอนุรักษ์ไว้ให้เหมือนเดิม ผมขอให้ทุกท่านทุกคนระลึกถึงคำท่านเจ้าคุณอาจารย์พุทธทาสว่า สวนโมกข์สอนอย่างไร จุดมุ่งหมายสูงสุดคืออย่างไร การดำรงอยู่ของสวนโมกข์ควรจะเป็นแบบไหน ไม่จำเป็นต้องมาสร้างสิ่งเพิ่มเติม และไม่ควรจะเถียงกัน เพราะเถียงกันก็ผิดหลักท่านอาจารย์"

"โบสถ์จึงไม่จำเป็นต้องวิลิศมาหรา ไม่ทำลายธรรมชาติ ท่านอาจารย์เพียงแค่ปักหลัก ฝังลูกนิมิต แล้วฝังเสาไว้รอบๆ ว่านี่เป็นเขตวิสุงคามสีมา เป็นเขตของสงฆ์สำหรับทำพิธีกรรม จริงๆ แล้ว 'นิมิต' หมายถึง เครื่องหมายไว้แสดงว่า นี่เป็นเขตที่ฆราวาสห้ามเข้าไปขณะที่สงฆ์กำลังทำพิธีกรรมอยู่ ทีนี้ในที่อื่นมันก็เพี้ยนไปหมด กลายเป็นนิยมไปฝังลูกนิมิต ๙ วัดตายไปไม่ตกนรก นี่มันก็เพี้ยนไปหมดอย่างนี้"

การอนุรักษ์โบสถ์ธรรมชาติบนเขาพุทธทองไว้ให้เป็นไปดั่งสมัยพุทธกาลจึงเป็น สิ่งสำคัญที่คนรุ่นหลังจะได้ทราบถึงที่มาที่ไปของราก หรือที่มาของพิธีกรรมที่จะนำไปสู่การหลุดพ้นจากความทุกข์ มิใช่ให้ติด หรือเมาอยู่ในความเชื่อที่ไม่เป็นแก่นสารอันจะพาหลงวนอยู่สังสารวัฏไม่จบ สิ้น กับการปรับปรุงให้สมสมัยและอยู่ในวิถีแห่งธรรมจึงมีความจำเป็น

หลักการสร้างที่อิงธรรมชาตินี้ สุจิตต์พบกับประสบการณ์ตรงจากท่านพุทธทาส ตั้งแต่เมื่อท่านให้เป็นตัวหลักในการสร้างสระนาฬิเกร์เพื่อเป็นกุศโลบายใน การสอนธรรมจากบทกล่อมลูกที่มีความหมายไปจนถึงนิพพาน สุจิตต์เล่าให้ฟังว่า ตอนแรกไม่ทราบเลยว่าท่านจะให้ขุดสระนาฬิเกร์ ตอนนั้น คุณวรุฬ สมบูรณ์ศิลป์ เป็นอธิบดีกรมสหกรณ์ที่ดินสมัยนั้น กำลังจะเกษียณราชการพอดี ก็อยากทำบุญในพระพุทธศาสนา มาพบกับท่านอาจารย์พุทธทาส ท่านก็บอกว่า อยากทำบุญก็ให้ทำถนนเข้าสวนโมกข์สิ แล้วก็ให้ผมช่วยดูแลนิดๆ หน่อยๆ

"ตั้งแต่เริ่มช่วยงานสร้างถนนเข้าวัด ท่านอาจารย์ก็บอกกับผมว่า ดูแลที่พักอาศัยให้กับทีมงานด้วย ผมก็บอกว่า ครับๆ แล้วก็เดินหันหลังกลับ พอคล้อยหลังไปสองสามก้าว ท่านก็ทักว่า สุจิตต์ กลับมานี่หน่อย ผมก็หันไปหา คิดว่าท่านจะมีอะไรสั่งเพิ่มเติม แล้วท่านก็พูดว่า "หัดเป็นคนที่สองเสียบ้าง" แล้วท่านก็เดินเข้ากุฏิไปเลย

"ผมเข้าใจความหมายเลยว่า ทำงานอย่าอวดเก่ง ลดตัวตนซะบ้าง"

นี่คือหลักสำคัญในการทำงาน ให้เป็นการปฏิบัติธรรมที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ทางใจได้ โดยไม่เอาตัวกู ของกูมานำหน้าในการทำงาน สุจิตต์ในวันนั้นอายุประมาณ ๓๐ ปี แม้วันนี้อายุ ๘๒ ปีแล้ว หากคำสอนของท่านอาจารย์พุทธทาสยังแจ่มชัดในความทรงจำที่ทำให้เขาใช้ชีวิตใน บั้นปลายอย่างไร้ตัวตนได้อย่างสมถะใน จ.นครสวรรค์อย่างสงบสุข

"๑๑ ปีที่อยู่ช่วยงานท่านอาจารย์สอนอะไรผมมากทีเดียว โดยเฉพาะเรื่องลดตัวตน เพราะการมอบหน้าที่ให้ผมคุมงาน มันสร้างตัวตนได้อย่างดี ยิ่งทีมที่มาช่วยสร้างถนนเป็นทั้งรุ่นพี่และรุ่นน้องสถาบันเทคโนโลยีช่างกล ปทุมวัน ผมเองอยู่ตรงกลาง อีกทั้งยังเป็นนักเรียนที่สอบชิงทุนได้ไปเรียนที่อังกฤษ เขาก็ขึ้นบอร์ดชื่อผม คนที่มาก็จำผมได้ งานการก็สะดวก แต่ท่านอาจารย์ก็เตือนไว้แต่แรก ทำให้เราไม่อวดเก่ง"

"พอทำถนนใกล้จะสำเร็จ น้ำป่ามาเนื่องจากใกล้ฤดูมรสุมของภาคใต้ เดือนกันยายน ต่อตุลาคม ท่านอาจารย์ก็ปรารภว่า อยากจะขอรถแทรกเตอร์ไว้ใช้งานเล็กๆ น้อยๆ สักหน่อย สักคันหนึ่งจะขัดข้องไหม หัวหน้าเขาไม่ขัดข้อง เพราะเขารู้ว่าผมใช้รถเป็น เขาก็มอบกุญแจให้ลุงเลย แล้วเขาก็กลับกัน ท่านอาจารย์ก็พาผมมาที่บริเวณที่จะเป็นสระนาฬิเกร์ ตอนนั้นเป็นป่ายาง ซึ่งมีต้นมะพร้าวอยู่สามต้น ต้นใหญ่ มะพร้าวเก่าแก่ ท่านก็ชี้ว่า ต้นนั้นไม่เอา ต้นนี้ไม่เอา เอาต้นนี้เก็บไว้นะ แล้วพยายามเอาดินมาเสริมให้กว้างดูเป็นเกาะหน่อย ก่อนน้ำจะมาก็หาหินมาล้อมเกาะนี้ไว้ กันมันพังทลายลง พอจะปล่อยน้ำเข้าท่าก็หาหินก้อนใหญ่ๆ รูปร่างแปลกๆ อย่าให้ซ้ำกันสัก ๗ ก้อน ไปวางบนเกาะ แล้วท่านอาจารย์พาผมขึ้นไปบนยอดเขาพุทธทอง ชี้บอกว่า สวนโมกข์มีภูเขา มีป่า มีทะเล ขาดอย่างเดียวคือ ถ้ำ อยากจะสร้างถ้ำ แล้วปากถ้ำสองข้าง อย่าให้เห็นตรงกัน ให้มีส่วนโค้ง เธอเจาะภูเขาให้ได้แล้วเราจะหล่อเป็นถ้ำ แล้วหาดินมากลบข้างบนให้เป็นลักษณะถ้ำ"

แต่ในที่สุด สุจิตต์ บอกว่า ถ้ำก็ยังไม่ได้สร้าง ได้แต่อาศัยหินบริเวณที่จะสร้างถ้ำมาไว้บนเกาะ ก้อนหิน ๗ ก้อนเป็นเครื่องหมายแสดงสัญลักษณ์ว่า "โพชฌงค์ ๗" อันเป็นองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ หรือในอีกความหมายหนึ่งก็คือ การกระทำอะไรก็ตามต้องใช้หลัก "สัปปุริสธรรม ๗" หมายถึง ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ คุณสมบัติของคนดี จึงจะสำเร็จประโยชน์

"ตอนนั้นผมก็ยังไม่รู้ว่าท่านจะให้สร้างสระนาฬิเกร์ ท่านให้ขุดก็ขุด ให้กว้างเท่านั้น ยาวเท่านั้น ก็ขุดตามคำสั่ง ขุดทรายเอาขึ้นมาเป็นคันสระ ทั้งสี่ทิศมีแต่ทราย เกลี่ยให้เป็นขอบสระเสมอกัน โอ้โห รู้สึกหนักใจว่า แล้วนี่จะทนไหวหรือถ้าโดนฝน เพราะมันเป็นทราย เผอิญโชคดีขุดไปอีกนิด ดินเหนียวม้วนขึ้นมาบนหน้าฐานใบมีด เลยหยุดทันทีลงไปก้มดู ดินเหนียวนี่เหนียวดี มันอยู่ข้างล่างมี ความชื้นชุ่มน้ำ ไม่แห้งกรัง หยุดรถเลย ไปกราบเรียนท่านอาจารย์ให้สั่งซื้อพลั่วเสียมสำหรับแทงดิน ให้พอกับจำนวนพระที่อยู่ในสวนโมกข์ และเผื่ออุบาสกด้วยเลย แล้วก็มาสอนพระแทงพลั่วดิน ซ้อนดินขึ้นมาเป็นชั้นๆ ทำให้ท่านดู พอขุดเสร็จเรียบร้อยก็หาวิธีปล่อยน้ำเข้าจนเกือบเปี่ยมสระ ฝนใหญ่มาสระไม่พังเลย อยู่แน่น ใช้เวลาไม่เกินสองอาทิตย์ จนกระทั่งสระเสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านจึงตั้งชื่อเป็นสระนาฬิเกร์ แล้วเล่าเรื่องที่มาที่ไปให้ฟัง"

จนถึงวันนี้ บทเพลงกล่อมลูก ยังเอื้อนเอ่ยสัจธรรมตลอดเวลา หากแต่ว่าเราได้ยินหรือไม่

"มะพร้าวนาฬิเกร์ ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง กลางทะเลขี้ผึ้ง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญเอย"

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130919/168548/หัดเป็นคนที่สองเสียบ้างกุศโลบายจากพุทธทาสภิกขุ.html#.Ujqfy1Oja8o (ขนาดไฟล์: 167)

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

\'หัดเป็นคนที่สองเสียบ้าง\'กุศโลบายจาก\'พุทธทาสภิกขุ\' 'หัดเป็นคนที่สองเสียบ้าง'กุศโลบายจาก 'พุทธทาสภิกขุ' : วิปัสสนาบนหน้าข่าว โดยมนสิกุล โอวาทเภสัชช์ จากรายงานผลการสำรวจพื้นที่และข้อเสนอแนะการปรับปรุงพื้นที่รอบพระอุโบสถเขา พุทธทอง สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี โดย นพ.บัญชา พงษ์พานิช ระบุว่า หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ได้รับมอบหมายจากพระอาจารย์สุชาติ ปัญญาทีโป เจ้าอาวาสวัดธารน้ำไหล สวนโมกขพลาราม ในการเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิทัศน์สถาปัตยกรรมและการดูแลรักษาต้นไม้ใหญ่ ซึ่งมีความศรัทธาในธรรมเดินทางมาดูเพื่อชี้แนะ หลังจากที่ท่านเจ้าอาวาสได้ให้หยุดดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณรอบพระ อุโบสถเขาพุทธทองแล้ว รวมทั้งได้ทำการปรับสภาพ รื้อถอนโครงก่อสร้างบันไดทั้งหมดออกแล้วด้วย และได้มีการประกาศเมื่อวันงานประเพณีทำบุญรับตายายเดือนสิบของสวนโมกข์ เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา ณ ลานหินโค้ง "โดยภาพรวม คณะผู้เชี่ยวชาญได้ใช้แนวคิด 'เป็นไปตามธรรมชาติ ธรรมคือธรรมชาติ' โดยน้อมนำขอบเขตวิสุงคามสีมาที่กำหนดไว้แต่เดิมเป็นกรอบในลักษณะของ "มณฑลแห่งพระรัตนตรัย" มีพระพุทธรูปปูนปั้นเป็นประธาน เสมือนพระพุทธองค์ทรงประทับอยู่บนลานทรายใต้ร่มไม้ใหญ่ในบรรยากาศแห่ง ธรรมชาติ คือพระธรรมที่แท้ และมีแท่งหินอนุสรณ์สรีระฌาปนสถานของท่านอาจารย์พุทธทาส วางอยู่ล่างลงไป ในฐานะพระสงฆ์สาวกของพระพุทธองค์ ครบองค์สาม" สุจิตต์ พันธุมนาวิน นายช่างผู้ถวายงานท่านพุทธทาสในการขุดสระนาฬิเกร์ที่สวนโมกขพลาราม เมื่อประมาณ ๕๐ ปีก่อนให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า "เป็นการดีที่ต้องอนุรักษ์ไว้ให้เหมือนเดิม ผมขอให้ทุกท่านทุกคนระลึกถึงคำท่านเจ้าคุณอาจารย์พุทธทาสว่า สวนโมกข์สอนอย่างไร จุดมุ่งหมายสูงสุดคืออย่างไร การดำรงอยู่ของสวนโมกข์ควรจะเป็นแบบไหน ไม่จำเป็นต้องมาสร้างสิ่งเพิ่มเติม และไม่ควรจะเถียงกัน เพราะเถียงกันก็ผิดหลักท่านอาจารย์" "โบสถ์จึงไม่จำเป็นต้องวิลิศมาหรา ไม่ทำลายธรรมชาติ ท่านอาจารย์เพียงแค่ปักหลัก ฝังลูกนิมิต แล้วฝังเสาไว้รอบๆ ว่านี่เป็นเขตวิสุงคามสีมา เป็นเขตของสงฆ์สำหรับทำพิธีกรรม จริงๆ แล้ว 'นิมิต' หมายถึง เครื่องหมายไว้แสดงว่า นี่เป็นเขตที่ฆราวาสห้ามเข้าไปขณะที่สงฆ์กำลังทำพิธีกรรมอยู่ ทีนี้ในที่อื่นมันก็เพี้ยนไปหมด กลายเป็นนิยมไปฝังลูกนิมิต ๙ วัดตายไปไม่ตกนรก นี่มันก็เพี้ยนไปหมดอย่างนี้" การอนุรักษ์โบสถ์ธรรมชาติบนเขาพุทธทองไว้ให้เป็นไปดั่งสมัยพุทธกาลจึงเป็น สิ่งสำคัญที่คนรุ่นหลังจะได้ทราบถึงที่มาที่ไปของราก หรือที่มาของพิธีกรรมที่จะนำไปสู่การหลุดพ้นจากความทุกข์ มิใช่ให้ติด หรือเมาอยู่ในความเชื่อที่ไม่เป็นแก่นสารอันจะพาหลงวนอยู่สังสารวัฏไม่จบ สิ้น กับการปรับปรุงให้สมสมัยและอยู่ในวิถีแห่งธรรมจึงมีความจำเป็น หลักการสร้างที่อิงธรรมชาตินี้ สุจิตต์พบกับประสบการณ์ตรงจากท่านพุทธทาส ตั้งแต่เมื่อท่านให้เป็นตัวหลักในการสร้างสระนาฬิเกร์เพื่อเป็นกุศโลบายใน การสอนธรรมจากบทกล่อมลูกที่มีความหมายไปจนถึงนิพพาน สุจิตต์เล่าให้ฟังว่า ตอนแรกไม่ทราบเลยว่าท่านจะให้ขุดสระนาฬิเกร์ ตอนนั้น คุณวรุฬ สมบูรณ์ศิลป์ เป็นอธิบดีกรมสหกรณ์ที่ดินสมัยนั้น กำลังจะเกษียณราชการพอดี ก็อยากทำบุญในพระพุทธศาสนา มาพบกับท่านอาจารย์พุทธทาส ท่านก็บอกว่า อยากทำบุญก็ให้ทำถนนเข้าสวนโมกข์สิ แล้วก็ให้ผมช่วยดูแลนิดๆ หน่อยๆ "ตั้งแต่เริ่มช่วยงานสร้างถนนเข้าวัด ท่านอาจารย์ก็บอกกับผมว่า ดูแลที่พักอาศัยให้กับทีมงานด้วย ผมก็บอกว่า ครับๆ แล้วก็เดินหันหลังกลับ พอคล้อยหลังไปสองสามก้าว ท่านก็ทักว่า สุจิตต์ กลับมานี่หน่อย ผมก็หันไปหา คิดว่าท่านจะมีอะไรสั่งเพิ่มเติม แล้วท่านก็พูดว่า "หัดเป็นคนที่สองเสียบ้าง" แล้วท่านก็เดินเข้ากุฏิไปเลย "ผมเข้าใจความหมายเลยว่า ทำงานอย่าอวดเก่ง ลดตัวตนซะบ้าง" นี่คือหลักสำคัญในการทำงาน ให้เป็นการปฏิบัติธรรมที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ทางใจได้ โดยไม่เอาตัวกู ของกูมานำหน้าในการทำงาน สุจิตต์ในวันนั้นอายุประมาณ ๓๐ ปี แม้วันนี้อายุ ๘๒ ปีแล้ว หากคำสอนของท่านอาจารย์พุทธทาสยังแจ่มชัดในความทรงจำที่ทำให้เขาใช้ชีวิตใน บั้นปลายอย่างไร้ตัวตนได้อย่างสมถะใน จ.นครสวรรค์อย่างสงบสุข "๑๑ ปีที่อยู่ช่วยงานท่านอาจารย์สอนอะไรผมมากทีเดียว โดยเฉพาะเรื่องลดตัวตน เพราะการมอบหน้าที่ให้ผมคุมงาน มันสร้างตัวตนได้อย่างดี ยิ่งทีมที่มาช่วยสร้างถนนเป็นทั้งรุ่นพี่และรุ่นน้องสถาบันเทคโนโลยีช่างกล ปทุมวัน ผมเองอยู่ตรงกลาง อีกทั้งยังเป็นนักเรียนที่สอบชิงทุนได้ไปเรียนที่อังกฤษ เขาก็ขึ้นบอร์ดชื่อผม คนที่มาก็จำผมได้ งานการก็สะดวก แต่ท่านอาจารย์ก็เตือนไว้แต่แรก ทำให้เราไม่อวดเก่ง" "พอทำถนนใกล้จะสำเร็จ น้ำป่ามาเนื่องจากใกล้ฤดูมรสุมของภาคใต้ เดือนกันยายน ต่อตุลาคม ท่านอาจารย์ก็ปรารภว่า อยากจะขอรถแทรกเตอร์ไว้ใช้งานเล็กๆ น้อยๆ สักหน่อย สักคันหนึ่งจะขัดข้องไหม หัวหน้าเขาไม่ขัดข้อง เพราะเขารู้ว่าผมใช้รถเป็น เขาก็มอบกุญแจให้ลุงเลย แล้วเขาก็กลับกัน ท่านอาจารย์ก็พาผมมาที่บริเวณที่จะเป็นสระนาฬิเกร์ ตอนนั้นเป็นป่ายาง ซึ่งมีต้นมะพร้าวอยู่สามต้น ต้นใหญ่ มะพร้าวเก่าแก่ ท่านก็ชี้ว่า ต้นนั้นไม่เอา ต้นนี้ไม่เอา เอาต้นนี้เก็บไว้นะ แล้วพยายามเอาดินมาเสริมให้กว้างดูเป็นเกาะหน่อย ก่อนน้ำจะมาก็หาหินมาล้อมเกาะนี้ไว้ กันมันพังทลายลง พอจะปล่อยน้ำเข้าท่าก็หาหินก้อนใหญ่ๆ รูปร่างแปลกๆ อย่าให้ซ้ำกันสัก ๗ ก้อน ไปวางบนเกาะ แล้วท่านอาจารย์พาผมขึ้นไปบนยอดเขาพุทธทอง ชี้บอกว่า สวนโมกข์มีภูเขา มีป่า มีทะเล ขาดอย่างเดียวคือ ถ้ำ อยากจะสร้างถ้ำ แล้วปากถ้ำสองข้าง อย่าให้เห็นตรงกัน ให้มีส่วนโค้ง เธอเจาะภูเขาให้ได้แล้วเราจะหล่อเป็นถ้ำ แล้วหาดินมากลบข้างบนให้เป็นลักษณะถ้ำ" แต่ในที่สุด สุจิตต์ บอกว่า ถ้ำก็ยังไม่ได้สร้าง ได้แต่อาศัยหินบริเวณที่จะสร้างถ้ำมาไว้บนเกาะ ก้อนหิน ๗ ก้อนเป็นเครื่องหมายแสดงสัญลักษณ์ว่า "โพชฌงค์ ๗" อันเป็นองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ หรือในอีกความหมายหนึ่งก็คือ การกระทำอะไรก็ตามต้องใช้หลัก "สัปปุริสธรรม ๗" หมายถึง ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ คุณสมบัติของคนดี จึงจะสำเร็จประโยชน์ "ตอนนั้นผมก็ยังไม่รู้ว่าท่านจะให้สร้างสระนาฬิเกร์ ท่านให้ขุดก็ขุด ให้กว้างเท่านั้น ยาวเท่านั้น ก็ขุดตามคำสั่ง ขุดทรายเอาขึ้นมาเป็นคันสระ ทั้งสี่ทิศมีแต่ทราย เกลี่ยให้เป็นขอบสระเสมอกัน โอ้โห รู้สึกหนักใจว่า แล้วนี่จะทนไหวหรือถ้าโดนฝน เพราะมันเป็นทราย เผอิญโชคดีขุดไปอีกนิด ดินเหนียวม้วนขึ้นมาบนหน้าฐานใบมีด เลยหยุดทันทีลงไปก้มดู ดินเหนียวนี่เหนียวดี มันอยู่ข้างล่างมี ความชื้นชุ่มน้ำ ไม่แห้งกรัง หยุดรถเลย ไปกราบเรียนท่านอาจารย์ให้สั่งซื้อพลั่วเสียมสำหรับแทงดิน ให้พอกับจำนวนพระที่อยู่ในสวนโมกข์ และเผื่ออุบาสกด้วยเลย แล้วก็มาสอนพระแทงพลั่วดิน ซ้อนดินขึ้นมาเป็นชั้นๆ ทำให้ท่านดู พอขุดเสร็จเรียบร้อยก็หาวิธีปล่อยน้ำเข้าจนเกือบเปี่ยมสระ ฝนใหญ่มาสระไม่พังเลย อยู่แน่น ใช้เวลาไม่เกินสองอาทิตย์ จนกระทั่งสระเสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านจึงตั้งชื่อเป็นสระนาฬิเกร์ แล้วเล่าเรื่องที่มาที่ไปให้ฟัง" จนถึงวันนี้ บทเพลงกล่อมลูก ยังเอื้อนเอ่ยสัจธรรมตลอดเวลา หากแต่ว่าเราได้ยินหรือไม่ "มะพร้าวนาฬิเกร์ ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง กลางทะเลขี้ผึ้ง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญเอย" ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130919/168548/หัดเป็นคนที่สองเสียบ้างกุศโลบายจากพุทธทาสภิกขุ.html#.Ujqfy1Oja8o

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...