'อหิงสา'มรรคาสู่สันติ(๒)เราต่างดำรงอยู่ในกันและกัน

แสดงความคิดเห็น

'อหิงสา'มรรคาสู่สันติ(๒)เราต่างดำรงอยู่ในกันและกัน

'อหิงสา'มรรคาสู่สันติ(๒)เราต่างดำรงอยู่ในกันและกัน : คันฉ่องและโคมฉาย โดยว.วชิรเมธี

อริยมรรคข้อที่ ๑ อันว่าด้วยสัมมาทิฐินั้น ถ้าเราปฏิบัติอย่างถูกต้อง จะช่วยให้รากฐานแห่งสันติภาพที่แท้ ทั้งสันติภาพภายในและสันติภาพภายนอกเกิดขึ้นมาได้ทันที เพราะการมีสัมมาทิฐิจะช่วยให้เรามองเห็นถึงความเชื่อมโยงของโลกและสรรพสิ่ง ว่า ล้วนอิงอาศัยซึ่งกันและกัน (อิทัปปัจจยตา) เราแต่ละคนล้วนดำรงอยู่ในกันและกัน แต่ละคนล้วนมีสายสัมพันธ์บางอย่างเชื่อมโยงอยู่กับคนทั้งโลก

ความสงบของคนหนึ่งจะส่งผลถึงอีกคนหนึ่งเสมอไป ความรุนแรงในใจของคนหนึ่งก็จะส่งผลถึงอีกคนหนึ่งเช่นกัน

หัวใจสำคัญของสัมมาทิฐิก็คือ การไม่มองอะไรแยกส่วนออกเป็นเสี่ยงๆ เสี้ยวๆ อันทำให้เราเห็นความจริงไม่ครบและนำไปสู่การแบ่งแยกกัน ทะเลาะกัน ทุ่มเถียงกัน เอารัดเอาเปรียบกัน เย็นชาต่อกัน ประหัตประหารกัน โกรธเกลียดชิงชังกัน เหยียดหยันกันและกันว่าสูงต่ำดำขาว ดีกว่าด้อยกว่ากันและกัน

เมื่อไหร่ก็ตามที่เราสามารถมองโลก มองชีวิต มองสังคม มองธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือสรรพสิ่งว่าล้วนแล้วแต่มีความสัมพันธ์อิง อาศัยซึ่งกันและกันอย่างใกล้ชิดเสมือนหนึ่งเป็นเครือข่ายใยโยงอันเดียวกัน เมื่อนั้น ปรีชาญาณที่เห็นความเชื่อมโยงของสรรพสิ่งและความรักที่แท้อันได้แก่เมตตาและ ไมตรีก็จะเกิดขึ้น เมื่อเราไม่อาจแยกตัวเองออกจากคนอื่น สิ่งอื่น ชีวิตอื่น เราก็ไม่อาจกระทำการรุนแรงต่อคนอื่น สิ่งอื่น ชีวิตอื่นได้อีกต่อไป

สันติภาพที่แท้จึงเริ่มต้นจากการมีโลกทัศน์ที่ถูกต้อง และโลกทัศน์ที่ถูกต้องก็คือ การมองเห็นความเป็นองค์รวมที่ดำรงอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง

ด้วยโลกทัศน์อันไม่แบ่งแยกอย่างที่กล่าวมานี้เอง สันติภาพจะผลิบานขึ้นมาในใจของเราแต่ละคน และจากใจที่ตื่นจากความเห็นผิดก็จะกลายเป็นรากฐานของสันติภาพในระดับโลกต่อ ไป

ความจริงอริยมรรคทุกข้อคือองค์ร่วมขององค์รวมแห่งการสร้างสันติภาพที่แท้ แต่กล่าวสำหรับคนทั่วไปที่มีเวลาน้อย การเลือกปฏิบัติอริยมรรคเพียงบางข้อก็นับว่าเพียงพอแล้วต่อการบ่มเพาะ หล่อเลี้ยง บำรุง เมล็ดพันธุ์แห่งสันติภาพให้งอกงามขึ้นมาในเรือนใจ อริยมรรคบางข้อนี้ก็คือ การเจริญสติ (สัมมาสติ) ในชีวิตประจำวัน

การเจริญสติ หมายถึง การนำเอาพลังงานของจิตและกายมาผนึกรวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน เมื่อกายและจิตถูกผนึกรวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน พลังงานชนิดหนึ่งจะปรากฏตัวขึ้น พลังงานนี้เอง คือ ต้นธารของสันติภาพในเรือนใจ เราเรียกพลังงานนี้ว่า สติ (รู้สึก) สัมปชัญญะ (รู้ชัด) หรือความรู้สึกตัวทั่วพร้อม (Mindfulness)

ความรู้ตัวทั่วพร้อมนี้ มีลักษณะพิเศษ คือ จะทำให้ปัจเจกบุคคลเกิดความกระจ่างชัดในตัวเอง จิตใจจะแจ่มกระจ่างสว่างใส ไม่ฟุ้งซ่าน ปัญญาจะเรืองรอง ความรู้สึกสดชื่นรื่นเย็นจะอุบัติขึ้น และความตื่นตัวต่อปัจจุบันขณะ ณ ที่นี่เดี๋ยวนี้ ขณะจิตนี้ จะปรากฏตัวออกมาอย่างชัดเจน

ขอบคุณที่มาจาก : คมชัดลึกออนไลน์

ที่มา: มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย
วันที่โพสต์: 11/02/2556 เวลา 02:35:50

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

'อหิงสา'มรรคาสู่สันติ(๒)เราต่างดำรงอยู่ในกันและกัน 'อหิงสา'มรรคาสู่สันติ(๒)เราต่างดำรงอยู่ในกันและกัน : คันฉ่องและโคมฉาย โดยว.วชิรเมธี อริยมรรคข้อที่ ๑ อันว่าด้วยสัมมาทิฐินั้น ถ้าเราปฏิบัติอย่างถูกต้อง จะช่วยให้รากฐานแห่งสันติภาพที่แท้ ทั้งสันติภาพภายในและสันติภาพภายนอกเกิดขึ้นมาได้ทันที เพราะการมีสัมมาทิฐิจะช่วยให้เรามองเห็นถึงความเชื่อมโยงของโลกและสรรพสิ่ง ว่า ล้วนอิงอาศัยซึ่งกันและกัน (อิทัปปัจจยตา) เราแต่ละคนล้วนดำรงอยู่ในกันและกัน แต่ละคนล้วนมีสายสัมพันธ์บางอย่างเชื่อมโยงอยู่กับคนทั้งโลก ความสงบของคนหนึ่งจะส่งผลถึงอีกคนหนึ่งเสมอไป ความรุนแรงในใจของคนหนึ่งก็จะส่งผลถึงอีกคนหนึ่งเช่นกัน หัวใจสำคัญของสัมมาทิฐิก็คือ การไม่มองอะไรแยกส่วนออกเป็นเสี่ยงๆ เสี้ยวๆ อันทำให้เราเห็นความจริงไม่ครบและนำไปสู่การแบ่งแยกกัน ทะเลาะกัน ทุ่มเถียงกัน เอารัดเอาเปรียบกัน เย็นชาต่อกัน ประหัตประหารกัน โกรธเกลียดชิงชังกัน เหยียดหยันกันและกันว่าสูงต่ำดำขาว ดีกว่าด้อยกว่ากันและกัน เมื่อไหร่ก็ตามที่เราสามารถมองโลก มองชีวิต มองสังคม มองธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือสรรพสิ่งว่าล้วนแล้วแต่มีความสัมพันธ์อิง อาศัยซึ่งกันและกันอย่างใกล้ชิดเสมือนหนึ่งเป็นเครือข่ายใยโยงอันเดียวกัน เมื่อนั้น ปรีชาญาณที่เห็นความเชื่อมโยงของสรรพสิ่งและความรักที่แท้อันได้แก่เมตตาและ ไมตรีก็จะเกิดขึ้น เมื่อเราไม่อาจแยกตัวเองออกจากคนอื่น สิ่งอื่น ชีวิตอื่น เราก็ไม่อาจกระทำการรุนแรงต่อคนอื่น สิ่งอื่น ชีวิตอื่นได้อีกต่อไป สันติภาพที่แท้จึงเริ่มต้นจากการมีโลกทัศน์ที่ถูกต้อง และโลกทัศน์ที่ถูกต้องก็คือ การมองเห็นความเป็นองค์รวมที่ดำรงอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง ด้วยโลกทัศน์อันไม่แบ่งแยกอย่างที่กล่าวมานี้เอง สันติภาพจะผลิบานขึ้นมาในใจของเราแต่ละคน และจากใจที่ตื่นจากความเห็นผิดก็จะกลายเป็นรากฐานของสันติภาพในระดับโลกต่อ ไป ความจริงอริยมรรคทุกข้อคือองค์ร่วมขององค์รวมแห่งการสร้างสันติภาพที่แท้ แต่กล่าวสำหรับคนทั่วไปที่มีเวลาน้อย การเลือกปฏิบัติอริยมรรคเพียงบางข้อก็นับว่าเพียงพอแล้วต่อการบ่มเพาะ หล่อเลี้ยง บำรุง เมล็ดพันธุ์แห่งสันติภาพให้งอกงามขึ้นมาในเรือนใจ อริยมรรคบางข้อนี้ก็คือ การเจริญสติ (สัมมาสติ) ในชีวิตประจำวัน การเจริญสติ หมายถึง การนำเอาพลังงานของจิตและกายมาผนึกรวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน เมื่อกายและจิตถูกผนึกรวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน พลังงานชนิดหนึ่งจะปรากฏตัวขึ้น พลังงานนี้เอง คือ ต้นธารของสันติภาพในเรือนใจ เราเรียกพลังงานนี้ว่า สติ (รู้สึก) สัมปชัญญะ (รู้ชัด) หรือความรู้สึกตัวทั่วพร้อม (Mindfulness) ความรู้ตัวทั่วพร้อมนี้ มีลักษณะพิเศษ คือ จะทำให้ปัจเจกบุคคลเกิดความกระจ่างชัดในตัวเอง จิตใจจะแจ่มกระจ่างสว่างใส ไม่ฟุ้งซ่าน ปัญญาจะเรืองรอง ความรู้สึกสดชื่นรื่นเย็นจะอุบัติขึ้น และความตื่นตัวต่อปัจจุบันขณะ ณ ที่นี่เดี๋ยวนี้ ขณะจิตนี้ จะปรากฏตัวออกมาอย่างชัดเจน ขอบคุณที่มาจาก : คมชัดลึกออนไลน์

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...