พรเพชรแนะยึดบทเฉพาะกาล รธน.ก่อนบทหลักทำกม.ลูก

พรเพชรแนะยึดบทเฉพาะกาลรธน.ก่อนบทหลักทำกม.ลูก

'พรเพชร'แนะกมธ. พิจารณากฎหมายลูก ยึดบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญก่อนบทหลัก ย้ำมุ่งพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยของประเทศชาติ

นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. เป็นประธานเปิดการสัมมนาเพื่อพิจารณาร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง และ ร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย กกต. โดยมีคณะกรรมาธิการ ซึ่งพิจารณาในชั้นกรรมาธิการเข้าร่วม โดย ประธาน สนช. ได้ให้ข้อสังเกตต่อคณะกรรมาธิการฯ ถึงกระบวนการพิจารณากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่แตกต่างจากกฎหมายทั่วไปว่า เนื่องจากกฎหมายทั่วไปนั้น การพิจารณาจะเน้นไปในเรื่องของนโยบายรัฐบาลเป็นหลัก สนช.ทำหน้าที่ในลักษณะตรวจพิจารณาความเหมาะสมของกฏหมายเท่านั้นว่าต้องมีการแก้ไขหรือไม่ แต่การพิจารณาร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญนั้น ต้องดูที่บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเป็นหลัก โดยพิจารณาจากบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญก่อนไปพิจารณาบทหลักของรัฐธรรมนูญ และเน้นคำนึงถึงผลประโยชน์ขอบประเทศชาติเป็นหลัก เพื่อพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยของประเทศชาติ

อย่างไรก็ตามแม้ว่า ในบทเฉพาะกาลจะไม่ได้ให้ ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาความขัดแย้งในกฏหมายขององค์กรอื่น แต่ในบทหลักให้อำนาจศาลวินิจฉัยความขัดแย้งทางกฎหมายได้ ผ่านช่องทางต่างๆ ตามมาตรา 148 ของรัฐธรรมนูญ ไม่ว่ากฎหมายนั้นจะประกาศใช้แล้ว หรือยังไม่นำขึ้นทูลเกล้าฯ ก็ตาม

นอกจากนี้ นายพรเพชร ยังกล่าวถึงกระบวนการตามบทเฉพาะกาลมาตรา 267 ว่า แม้ในบทบัญญัติ จะไม่ได้ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญในการตีความกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับหน่วยงานตน แต่หากเกิดปัญหาว่า กฎหมายใด หรือ บทบัญญัติใด ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ นั้น ในมาตรา 148 ได้ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้วินิจฉัยผ่านขั้นตอนต่าง ๆ อาทิ ในระหว่างก่อนการนำร่างกฎหมายขึ้นทูลเกล้าฯ หาก ส.ส./ส.ว. หรือ สนช. จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 เห็นว่า ร่างกฎหมาย ขัดต่อรัฐธรรมนูญ สามารถเสนอความเห็นต่อประธาน ส.ส. หรือ ประธาน ส.ว. เพื่อแจ้งไปยังศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา และให้นายกรัฐมนตรีรับทราบ หรือหากนายกรัฐมนตรี เห็นว่า ร่างกฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็สามารถส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรงได้

ขอบคุณ... http://news.sanook.com/2232286/ (ขนาดไฟล์: 0 )

ที่มา: sanook.com/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 พ.ค.60
วันที่โพสต์: 23/05/2560 เวลา 10:38:00 ดูภาพสไลด์โชว์ พรเพชรแนะยึดบทเฉพาะกาล รธน.ก่อนบทหลักทำกม.ลูก