พท.เสนอกฎหมายป้องกันปฏิวัติ ตั้งกองกำลังต่อต้านรัฐประหาร

แสดงความคิดเห็น

นายประสพ บุษราคัม เลขานุการประธานรัฐสภา ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาปรับปรุงกฎหมายให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบันของ สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยกับสำนักข่าวเนชั่นว่าขณะนี้ ตนได้ร่างกฎหมาย "ร่าง พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่....) พ.ศ...." โดยมีสาระสำคัญเพื่อป้องกันการปฏิวัติ ด้วยการให้อำนาจการเมืองอยู่เหนือฝ่ายทหาร ซึ่งล่าสุด กรรมาธิการการทหาร ที่มี พล.อ.สมชาย วิษณุวงศ์ ส.ส.กาญจนบุรี พรรคเพื่อไทย เป็นประธานกรรมาธิการฯ ได้รับเรื่องนี้ไปพิจารณา โดยตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณา และได้เชิญ นายทหารพระธรรมนูญ - มือกฎหมายของกองทัพ มาร่วมพิจารณา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับสาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวเป็นการ เป็นการดูแลในกรณีที่มีการปฏิวัติรัฐประหาร โดยระบุ ในมาตรา 5 ว่า ในกรณีที่มีความจำเป็น เพื่อการรบหรือการสงคราม ปราบปรามล้มล้างรัฐธรรมนูญหรือกบฎ กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดหน่วยงานและ แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ทางทหารพร้อมทั้งกำหนดอำนาจหน้าที่ได้ตามความเหมาะสมแก่ การปฏิบัติภารกิจ ทั้งนี้เพื่อให้กลไกการใช้อำนาจรัฐเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ส่วนการควบคุมอำนวยการยุทธและการควบคุมบังคับบัญชากองกำลังเฉพาะกิจร่วมที่ จัดตั้งขึ้น โดยกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่การกระทรวงกลาโหมหรือตามที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมอบหมาย ทั้งนี้เพื่อให้กลไกการใช้อำนาจรัฐเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ

รวมทั้งกำหนดใน หมวด 6 เรื่องการถวายอารักขา ระบุว่าให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีหน้าที่สนับสนุนภารกิจของกรมราชองครักษ์ ในการถวายอารักขา ความปลอดภัยองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ พระราชอคันตุกะ ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ในกรณีที่มีการปฏิวัติ รัฐประหาร กบฏ หรือการกระทำอื่นใดในลักษณะเดียวกันให้สมุหราชองครักษ์มีหน้าที่จัดกองกำลัง เพื่อถวายอารักขา ความปลอดภัยองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ พระราชอคันตุกะ และให้มีอำนาจเรียกกำลังพลทหาร ข้าราชการและตำรวจมาประจการยังกองกำลังที่จัดตั้งขึ้นเพื่อถวายอารักขา และมีอำนาจสั่งใช้อาวุธยุทธภัณฑ์ทางทหารเพื่อการดังกล่าว และให้กำลังพลที่เรียกมาพ้นจากการกำกับบังคับบัญชาของต้นสังกัดเดิม และให้อยู่ใต้บังคับบัญชาของสมุหราชองครักษ์ และให้มีหน้าที่ต่อต้านการปฏิวัติรัฐประหาร ถ้ามีการฝ่าฝืนให้ถือเป็นการทำความผิดร้ายแรง ส่วนผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่จะได้บำเหน็จความดีความชอบ

นอกจากนี้แล้วยังเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหมปี 2551 เกี่ยวกับการจัดกำลังพลในกองมัพ โดยเพิ่มเติม กำหนดเกี่ยวกับการจัดอัตรากำลังพล ชั้นนายพลของส่วนราชการในกระทรวงกลาโหมและระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวง และส่วนราชการในกองทัพไทยใหม่ โดยแต่เดิมกำหนดให้มีคณะกรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธาน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบกผู้บัญชาการทหารเรือ และผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นกรรมการ ปลัดกระทรวงกลาโหมเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้เจ้ากรมเสมียนตราเป็นผู้ช่วยเลขานุการมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณา

แต่ตามร่างใหม่นี้กำหนดให้ มีคณะกรรมการแบบเดิม แต่เพิ่มเติมว่า "เมื่อพิจารณาเสร็จแล้วให้เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมให้ความเห็น ชอบ"

ทั้งนี้ยังมีการปรับปรุงให้สมาชิกสภากลาโหมผู้ทรงคุณวุฒิต้องมาจากอดีตผู้ บัญชาการเหล่าทัพหรือผู้ทรงคุณวุฒิทางทหารและภาคเอกชนจำนวนไม่เกิน 7 คน ซึ่งแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อให้สมาชิกสภากลาโหมเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถทางทหารอย่างแท้จริง และเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการใช้อำนาจรัฐในการเป็นสมาชิก สภากลาโหมตามแนวรัฐธรรมนูญกำหนดด้วย

ซึ่งแต่เดิมระบุสัดส่วนผู้ทรงคุณวุฒิในสภากลาโหมว่า เป็นผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญเป็นที่ประจักษ์ทั่วไปในด้านการทหาร ด้านความมั่นคง ด้านการบริหารราชการ ด้านกฎหมายหรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม จำนวนไม่เกินสามคนซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแต่งตั้งตามมติของสภา กลาโหม

ขอบคุณ http://breakingnews.nationchannel.com/home/read.php?newsid=689966&lang=T&cat=

เนชั่นแชลแนลออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ก.ค.56

ที่มา: เนชั่นแชลแนลออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ก.ค.56
วันที่โพสต์: 25/07/2556 เวลา 03:58:14

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายประสพ บุษราคัม เลขานุการประธานรัฐสภา ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาปรับปรุงกฎหมายให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบันของ สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยกับสำนักข่าวเนชั่นว่าขณะนี้ ตนได้ร่างกฎหมาย "ร่าง พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่....) พ.ศ...." โดยมีสาระสำคัญเพื่อป้องกันการปฏิวัติ ด้วยการให้อำนาจการเมืองอยู่เหนือฝ่ายทหาร ซึ่งล่าสุด กรรมาธิการการทหาร ที่มี พล.อ.สมชาย วิษณุวงศ์ ส.ส.กาญจนบุรี พรรคเพื่อไทย เป็นประธานกรรมาธิการฯ ได้รับเรื่องนี้ไปพิจารณา โดยตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณา และได้เชิญ นายทหารพระธรรมนูญ - มือกฎหมายของกองทัพ มาร่วมพิจารณา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับสาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวเป็นการ เป็นการดูแลในกรณีที่มีการปฏิวัติรัฐประหาร โดยระบุ ในมาตรา 5 ว่า ในกรณีที่มีความจำเป็น เพื่อการรบหรือการสงคราม ปราบปรามล้มล้างรัฐธรรมนูญหรือกบฎ กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดหน่วยงานและ แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ทางทหารพร้อมทั้งกำหนดอำนาจหน้าที่ได้ตามความเหมาะสมแก่ การปฏิบัติภารกิจ ทั้งนี้เพื่อให้กลไกการใช้อำนาจรัฐเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ส่วนการควบคุมอำนวยการยุทธและการควบคุมบังคับบัญชากองกำลังเฉพาะกิจร่วมที่ จัดตั้งขึ้น โดยกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่การกระทรวงกลาโหมหรือตามที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมอบหมาย ทั้งนี้เพื่อให้กลไกการใช้อำนาจรัฐเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ รวมทั้งกำหนดใน หมวด 6 เรื่องการถวายอารักขา ระบุว่าให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีหน้าที่สนับสนุนภารกิจของกรมราชองครักษ์ ในการถวายอารักขา ความปลอดภัยองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ พระราชอคันตุกะ ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ในกรณีที่มีการปฏิวัติ รัฐประหาร กบฏ หรือการกระทำอื่นใดในลักษณะเดียวกันให้สมุหราชองครักษ์มีหน้าที่จัดกองกำลัง เพื่อถวายอารักขา ความปลอดภัยองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ พระราชอคันตุกะ และให้มีอำนาจเรียกกำลังพลทหาร ข้าราชการและตำรวจมาประจการยังกองกำลังที่จัดตั้งขึ้นเพื่อถวายอารักขา และมีอำนาจสั่งใช้อาวุธยุทธภัณฑ์ทางทหารเพื่อการดังกล่าว และให้กำลังพลที่เรียกมาพ้นจากการกำกับบังคับบัญชาของต้นสังกัดเดิม และให้อยู่ใต้บังคับบัญชาของสมุหราชองครักษ์ และให้มีหน้าที่ต่อต้านการปฏิวัติรัฐประหาร ถ้ามีการฝ่าฝืนให้ถือเป็นการทำความผิดร้ายแรง ส่วนผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่จะได้บำเหน็จความดีความชอบ นอกจากนี้แล้วยังเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหมปี 2551 เกี่ยวกับการจัดกำลังพลในกองมัพ โดยเพิ่มเติม กำหนดเกี่ยวกับการจัดอัตรากำลังพล ชั้นนายพลของส่วนราชการในกระทรวงกลาโหมและระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวง และส่วนราชการในกองทัพไทยใหม่ โดยแต่เดิมกำหนดให้มีคณะกรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธาน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบกผู้บัญชาการทหารเรือ และผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นกรรมการ ปลัดกระทรวงกลาโหมเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้เจ้ากรมเสมียนตราเป็นผู้ช่วยเลขานุการมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณา แต่ตามร่างใหม่นี้กำหนดให้ มีคณะกรรมการแบบเดิม แต่เพิ่มเติมว่า "เมื่อพิจารณาเสร็จแล้วให้เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมให้ความเห็น ชอบ" ทั้งนี้ยังมีการปรับปรุงให้สมาชิกสภากลาโหมผู้ทรงคุณวุฒิต้องมาจากอดีตผู้ บัญชาการเหล่าทัพหรือผู้ทรงคุณวุฒิทางทหารและภาคเอกชนจำนวนไม่เกิน 7 คน ซึ่งแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อให้สมาชิกสภากลาโหมเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถทางทหารอย่างแท้จริง และเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการใช้อำนาจรัฐในการเป็นสมาชิก สภากลาโหมตามแนวรัฐธรรมนูญกำหนดด้วย ซึ่งแต่เดิมระบุสัดส่วนผู้ทรงคุณวุฒิในสภากลาโหมว่า เป็นผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญเป็นที่ประจักษ์ทั่วไปในด้านการทหาร ด้านความมั่นคง ด้านการบริหารราชการ ด้านกฎหมายหรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม จำนวนไม่เกินสามคนซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแต่งตั้งตามมติของสภา กลาโหม ขอบคุณ http://breakingnews.nationchannel.com/home/read.php?newsid=689966&lang=T&cat= เนชั่นแชลแนลออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ก.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...