เปลี่ยนเก้าอี้ประธานศาลรัฐธรรมนูญการเมืองบนสถานการณ์‘น้ำนิ่งไหลลึก’

แสดงความคิดเห็น

วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์

ยังเป็นที่สงสัยกันอยู่ว่าสาเหตุ ’ที่แท้จริง“ ที่ วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ลาออกจากประธานศาลรัฐธรรมนูญเกิดจากสาเหตุประการอะไรกันแน่

กระแสส่วนใหญ่พุ่งน้ำหนักไปที่ ’สัญญาสุภาพบุรุษ“ ที่วสันต์เคยระบุไว้ครั้งเข้ามาทำหน้าที่ประธานศาลรัฐธรรม นูญแทน ชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญท่านก่อนหน้านี้ที่ลาออกจากเก้าอี้ลงมาทำหน้าที่ตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญอยู่ในปัจจุบัน

แม้จะเป็น “สัญญาสุภาพบุรุษ” แต่หากเทียบกับภาระหน้าที่และการอาสาเข้ามาทำหน้าที่แล้วเป็นเรื่องที่ไม่ น่าสมเหตุสมผลเท่าไหร่นักโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์บ้านเมืองที่ต้องมี ผู้รักษากติกาคอยชี้ความถูกความผิด

นับตั้งแต่ วสันต์ เข้ามารับตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2554 จนกระทั่งถึงวันลาออกที่ให้มีผลทางกฎหมายในวันที่ 1 สิงหาคม 2556 รวมแล้วก็เกือบจะครบ 2 ปีพอดี ตลอดเวลาของการทำหน้าที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญมีคดีความสำคัญชี้ “ความเป็นไป” ของบ้านเมืองอยู่หลายต่อหลายครั้ง

แต่ที่ต้องถือเป็นเรื่อง ’สำคัญที่สุด“ คือ กรณีการแก้ไขมาตรา 291 ที่พรรคเพื่อไทยอ้างว่าได้รับฉันทามติมาจากการเลือกตั้ง การแก้ไขครั้งนั้นแม้จะเป็นการแก้ไขรายมาตราแต่มีเจตนามุ่งหมายเพื่อจะนำไป สู่การให้มี สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือ ส.ส.ร. เพื่อมาแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ คดีนี้ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญยื่นเรื่องให้ตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญวินิจฉัยจนที่สุดมีคำพิพากษาที่กลายเป็น ’บรรทัดฐาน“ ที่ว่าหากจะแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับจะต้องคำนึงถึงประชาชนเพราะรัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบันมาจากการทำ ’ประชามติ“

ปมสำคัญของคำพิพากษาคือ สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญในมาตรา 68

’วงใน“ ระบุว่า วสันต์ เคยปรารภกับบางคนไว้ก่อนหน้านี้แล้วว่า จะลาออกจากการทำหน้าที่ก็ต่อเมื่อถึงช่วงระยะเวลา ’ที่เหมาะสม“ ซึ่งแน่นอนว่าไม่น่าจะใช่ในช่วงเวลาขณะนี้

มุมหนึ่งที่น่าสนใจคือการระบุช่วงเวลาในการพ้นจากตำแหน่งว่าให้มีผลในวันที่ 1 สิงหาคม 2556 นั้นน่าจะมาจากการคำนวณระยะเวลาของการได้ซึ่งตุลาการศาลรัฐธรรม นูญไว้แล้ว กล่าวคือ วสันต์นั้นมี ’ที่มา“ จากผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 206 วรรค 2 (3) ระบุว่าให้กรรมการสรรหาคนใหม่ภายใน 30 วัน เพื่อส่งชื่อให้วุฒิสภาให้ความเห็นชอบ

กรรมการสรรหาที่ว่านั้นประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครอง ประธานรัฐสภา ผู้นำฝ่ายค้าน และ ประธานองค์กรอิสระ ที่เลือกกันเองมา 1 คน

โดยทั้งหมดต้องสรรหาให้เสร็จภายในวันที่ 31 สิงหาคม เพื่อส่งให้วุฒิสภาเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบภายใน 30 วัน หากเกิดกรณีไม่เห็นชอบก็ให้สรรหาคนใหม่ แต่หากกรรม การสรรหามีมติ ’เอกฉันท์“ ยืนยันชื่อเดิมก็ให้ นิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภานำชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ

ในเดือนกันยายนนี้ ประธานศาลฎีกาจะเกษียณ ขณะที่ประธานองค์กรอิสระก็มีประธาน กกต. อภิชาต สุขัคคานนท์ ที่จะครบวาระในวันที่ 20 กันยายนนี้

จะเห็นว่า กระบวนการสรรหา ไม่ได้ยืดเยื้อจนกระทั่งมีผลจนทำให้เกิดปัญหาขึ้นในตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพราะแค่ในขณะนี้มีอยู่ 8 คนก็ยังทำหน้าที่ลงมติวินิจฉัยได้อยู่

ตามขั้นตอนเมื่อครบองค์คณะทั้ง 9 คน ก็จะทำการเลือกประธานศาลรัฐธรรมนูญ แต่ในระหว่างนี้ก็ให้ จรูญ อินทจาร ผู้มีความอาวุโสสูงสุดปฏิบัติหน้าที่ประธานไปพลาง ๆ ก่อน

ประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่จะชื่ออะไรนั้นถือว่ามีความสำคัญไม่น้อย แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าคือ งานในอนาคตอันใกล้ที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องเผชิญซะมากกว่า

ประเด็นใหญ่ที่จะกลายเป็นปัญหาหากฝ่ายการเมืองอย่างพรรคเพื่อไทยเดินหน้า นั่นคือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ที่ก่อนหน้านี้เกิดข้อถกเถียงกันว่าต้องผ่านอัยการสูงสุดก่อนเท่านั้น จะพุ่งตรงไปที่ศาลรัฐธรรมนูญเลยไม่ได้ ปมดังกล่าวนำมาซึ่งความคิดจากอีกฝ่ายหนึ่งว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรานั้นสามารถทำได้เพราะเป็นอำนาจของฝ่าย นิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการอย่างศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจยับยั้ง กรณีดังกล่าวมีการส่งเรื่องไปที่ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งปัจจุบันได้รับเรื่องไว้ พิจารณาท่ามกลางการไม่ยอมรับของผู้ที่กำลังแก้ไขที่นำโดย ส.ส.พรรคเพื่อไทยและ ส.ว.ส่วนหนึ่งด้วยการไม่ส่งคำชี้แจง

กรณีการแก้ไขมาตรา 68 นี้กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมร่วมรัฐสภา ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นโอกาสจะเกิด “วิกฤติ” อันเป็นผลมาจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นแน่

อย่าลืมว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ก็ยังอยู่ในวาระของที่ประชุมร่วมรัฐสภา ท่ามกลางข้อถกเถียงกันว่าตกไปหรือไม่ตกไป กรณีนี้มีความพยายามจากบางฝ่ายของพรรคเพื่อไทยผลักดันให้เดินหน้าโหวตในวาระ ที่ 3 ขณะที่บางฝ่ายของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยมองว่า หากเดินหน้าโหวตจะ “สุ่มเสี่ยง” ที่จะกระทบกับ “เสถียรภาพ” ของรัฐบาลได้

ใช่แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญเท่านั้น ศาลรัฐธรรมนูญยังมีหน้าที่วินิจฉัยด้วยว่าร่างกฎหมายที่ผ่านสภาออกมาบังคับ ใช้ว่าขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่

กรณีนี้มีผู้จับตาไปถึงร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทซึ่งเป็นอีกเรื่อง “ชี้เป็นชี้ตาย” เพราะก่อนหน้านี้คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายที่มี ดร.คณิต ณ นคร เป็นประธานก็ให้ความเห็นว่าหมิ่นเหม่ที่จะขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 169 ขณะที่ที่ปรึกษากฎหมายของรัฐบาลอย่างกฤษฎีกายืนยันว่าทำได้ แต่ท้ายที่สุดผู้ที่จะตัดสินเรื่องนี้ก็คือศาลรัฐธรรมนูญ

ด้วย 2 เรื่องร้อนดังกล่าวที่ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายเห็นตรงกันว่าจะเกิดปัญหา มีหรือที่วสันต์นักกฎหมายระดับอาจารย์ ผู้ทำหน้าที่โดยคำนึงถึงบ้านเมืองเหนือผลประโยชน์อื่นใดจะมองไม่เห็น การปล่อยให้ผู้ที่อยู่เผชิญปัญหาโดยที่ตัวเองลาออกไปจึงไม่น่าจะใช่วสันต์ ที่ทุกคนเห็น

การลาออกของวสันต์ จึงเป็นปรากฏการณ์ที่สั่นสะเทือนอย่างยิ่ง ส่วนจะสั่นสะเทือนไปทางไหน บอกอย่างอื่นไม่ได้นอกจากต้องบอกว่า โปรดติดตามตอนต่อไป และ อย่าได้กะพริบตาเป็นอันขาด.

ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/politics/220377 (ขนาดไฟล์: 167)

เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ก.ค.56

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ก.ค.56
วันที่โพสต์: 21/07/2556 เวลา 02:12:32 ดูภาพสไลด์โชว์ เปลี่ยนเก้าอี้ประธานศาลรัฐธรรมนูญการเมืองบนสถานการณ์‘น้ำนิ่งไหลลึก’

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ยังเป็นที่สงสัยกันอยู่ว่าสาเหตุ ’ที่แท้จริง“ ที่ วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ลาออกจากประธานศาลรัฐธรรมนูญเกิดจากสาเหตุประการอะไรกันแน่ กระแสส่วนใหญ่พุ่งน้ำหนักไปที่ ’สัญญาสุภาพบุรุษ“ ที่วสันต์เคยระบุไว้ครั้งเข้ามาทำหน้าที่ประธานศาลรัฐธรรม นูญแทน ชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญท่านก่อนหน้านี้ที่ลาออกจากเก้าอี้ลงมาทำหน้าที่ตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญอยู่ในปัจจุบัน แม้จะเป็น “สัญญาสุภาพบุรุษ” แต่หากเทียบกับภาระหน้าที่และการอาสาเข้ามาทำหน้าที่แล้วเป็นเรื่องที่ไม่ น่าสมเหตุสมผลเท่าไหร่นักโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์บ้านเมืองที่ต้องมี ผู้รักษากติกาคอยชี้ความถูกความผิด นับตั้งแต่ วสันต์ เข้ามารับตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2554 จนกระทั่งถึงวันลาออกที่ให้มีผลทางกฎหมายในวันที่ 1 สิงหาคม 2556 รวมแล้วก็เกือบจะครบ 2 ปีพอดี ตลอดเวลาของการทำหน้าที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญมีคดีความสำคัญชี้ “ความเป็นไป” ของบ้านเมืองอยู่หลายต่อหลายครั้ง แต่ที่ต้องถือเป็นเรื่อง ’สำคัญที่สุด“ คือ กรณีการแก้ไขมาตรา 291 ที่พรรคเพื่อไทยอ้างว่าได้รับฉันทามติมาจากการเลือกตั้ง การแก้ไขครั้งนั้นแม้จะเป็นการแก้ไขรายมาตราแต่มีเจตนามุ่งหมายเพื่อจะนำไป สู่การให้มี สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือ ส.ส.ร. เพื่อมาแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ คดีนี้ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญยื่นเรื่องให้ตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญวินิจฉัยจนที่สุดมีคำพิพากษาที่กลายเป็น ’บรรทัดฐาน“ ที่ว่าหากจะแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับจะต้องคำนึงถึงประชาชนเพราะรัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบันมาจากการทำ ’ประชามติ“ ปมสำคัญของคำพิพากษาคือ สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญในมาตรา 68 ’วงใน“ ระบุว่า วสันต์ เคยปรารภกับบางคนไว้ก่อนหน้านี้แล้วว่า จะลาออกจากการทำหน้าที่ก็ต่อเมื่อถึงช่วงระยะเวลา ’ที่เหมาะสม“ ซึ่งแน่นอนว่าไม่น่าจะใช่ในช่วงเวลาขณะนี้ มุมหนึ่งที่น่าสนใจคือการระบุช่วงเวลาในการพ้นจากตำแหน่งว่าให้มีผลในวันที่ 1 สิงหาคม 2556 นั้นน่าจะมาจากการคำนวณระยะเวลาของการได้ซึ่งตุลาการศาลรัฐธรรม นูญไว้แล้ว กล่าวคือ วสันต์นั้นมี ’ที่มา“ จากผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 206 วรรค 2 (3) ระบุว่าให้กรรมการสรรหาคนใหม่ภายใน 30 วัน เพื่อส่งชื่อให้วุฒิสภาให้ความเห็นชอบ กรรมการสรรหาที่ว่านั้นประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครอง ประธานรัฐสภา ผู้นำฝ่ายค้าน และ ประธานองค์กรอิสระ ที่เลือกกันเองมา 1 คน โดยทั้งหมดต้องสรรหาให้เสร็จภายในวันที่ 31 สิงหาคม เพื่อส่งให้วุฒิสภาเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบภายใน 30 วัน หากเกิดกรณีไม่เห็นชอบก็ให้สรรหาคนใหม่ แต่หากกรรม การสรรหามีมติ ’เอกฉันท์“ ยืนยันชื่อเดิมก็ให้ นิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภานำชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ ในเดือนกันยายนนี้ ประธานศาลฎีกาจะเกษียณ ขณะที่ประธานองค์กรอิสระก็มีประธาน กกต. อภิชาต สุขัคคานนท์ ที่จะครบวาระในวันที่ 20 กันยายนนี้ จะเห็นว่า กระบวนการสรรหา ไม่ได้ยืดเยื้อจนกระทั่งมีผลจนทำให้เกิดปัญหาขึ้นในตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพราะแค่ในขณะนี้มีอยู่ 8 คนก็ยังทำหน้าที่ลงมติวินิจฉัยได้อยู่ ตามขั้นตอนเมื่อครบองค์คณะทั้ง 9 คน ก็จะทำการเลือกประธานศาลรัฐธรรมนูญ แต่ในระหว่างนี้ก็ให้ จรูญ อินทจาร ผู้มีความอาวุโสสูงสุดปฏิบัติหน้าที่ประธานไปพลาง ๆ ก่อน ประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่จะชื่ออะไรนั้นถือว่ามีความสำคัญไม่น้อย แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าคือ งานในอนาคตอันใกล้ที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องเผชิญซะมากกว่า ประเด็นใหญ่ที่จะกลายเป็นปัญหาหากฝ่ายการเมืองอย่างพรรคเพื่อไทยเดินหน้า นั่นคือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ที่ก่อนหน้านี้เกิดข้อถกเถียงกันว่าต้องผ่านอัยการสูงสุดก่อนเท่านั้น จะพุ่งตรงไปที่ศาลรัฐธรรมนูญเลยไม่ได้ ปมดังกล่าวนำมาซึ่งความคิดจากอีกฝ่ายหนึ่งว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรานั้นสามารถทำได้เพราะเป็นอำนาจของฝ่าย นิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการอย่างศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจยับยั้ง กรณีดังกล่าวมีการส่งเรื่องไปที่ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งปัจจุบันได้รับเรื่องไว้ พิจารณาท่ามกลางการไม่ยอมรับของผู้ที่กำลังแก้ไขที่นำโดย ส.ส.พรรคเพื่อไทยและ ส.ว.ส่วนหนึ่งด้วยการไม่ส่งคำชี้แจง กรณีการแก้ไขมาตรา 68 นี้กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมร่วมรัฐสภา ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นโอกาสจะเกิด “วิกฤติ” อันเป็นผลมาจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นแน่ อย่าลืมว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ก็ยังอยู่ในวาระของที่ประชุมร่วมรัฐสภา ท่ามกลางข้อถกเถียงกันว่าตกไปหรือไม่ตกไป กรณีนี้มีความพยายามจากบางฝ่ายของพรรคเพื่อไทยผลักดันให้เดินหน้าโหวตในวาระ ที่ 3 ขณะที่บางฝ่ายของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยมองว่า หากเดินหน้าโหวตจะ “สุ่มเสี่ยง” ที่จะกระทบกับ “เสถียรภาพ” ของรัฐบาลได้ ใช่แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญเท่านั้น ศาลรัฐธรรมนูญยังมีหน้าที่วินิจฉัยด้วยว่าร่างกฎหมายที่ผ่านสภาออกมาบังคับ ใช้ว่าขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ กรณีนี้มีผู้จับตาไปถึงร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทซึ่งเป็นอีกเรื่อง “ชี้เป็นชี้ตาย” เพราะก่อนหน้านี้คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายที่มี ดร.คณิต ณ นคร เป็นประธานก็ให้ความเห็นว่าหมิ่นเหม่ที่จะขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 169 ขณะที่ที่ปรึกษากฎหมายของรัฐบาลอย่างกฤษฎีกายืนยันว่าทำได้ แต่ท้ายที่สุดผู้ที่จะตัดสินเรื่องนี้ก็คือศาลรัฐธรรมนูญ ด้วย 2 เรื่องร้อนดังกล่าวที่ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายเห็นตรงกันว่าจะเกิดปัญหา มีหรือที่วสันต์นักกฎหมายระดับอาจารย์ ผู้ทำหน้าที่โดยคำนึงถึงบ้านเมืองเหนือผลประโยชน์อื่นใดจะมองไม่เห็น การปล่อยให้ผู้ที่อยู่เผชิญปัญหาโดยที่ตัวเองลาออกไปจึงไม่น่าจะใช่วสันต์ ที่ทุกคนเห็น การลาออกของวสันต์ จึงเป็นปรากฏการณ์ที่สั่นสะเทือนอย่างยิ่ง ส่วนจะสั่นสะเทือนไปทางไหน บอกอย่างอื่นไม่ได้นอกจากต้องบอกว่า โปรดติดตามตอนต่อไป และ อย่าได้กะพริบตาเป็นอันขาด. ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/politics/220377 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ก.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...