ศักยภาพในการแข่งขัน : มิติสิทธิ

แสดงความคิดเห็น

โดย : ชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ

เป้าหมายยุทธศาสตร์ประเทศไทยสู่ประชาคมอาเซียนเน้นเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ลดความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้

และเสริมสร้างความเสมอภาคและเท่า เทียมให้กับผู้ด้อยโอกาสในสังคมเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสู่อนาคตที่สดใส ของอาเซียน แต่ทิศทางของการที่จะบรรลุเป้าหมายจำเป็นจะต้องมีกรอบแนวคิดและวิธีการที่ สอดคล้องต้องกันกับความเป็นจริงในสังคม เพื่อให้ทุกคนในสังคมขับเคลื่อนไปด้วยกันได้

การพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันจะต้องกระทำทั้งในระดับปัจเจก ชุมชน และในระดับประเทศ อีกทั้งกระบวนการดังกล่าวจะต้องมีหลักคิดที่เหมาะสมตามหลักการและแนวทางของ กฎบัตรอาเซียนที่มุ่งเน้นการยอมรับและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ดังนั้น กรอบแนวคิดและหลักการพื้นฐานสิทธิมนุษยชนจึงน่าจะเป็นทิศทางสำคัญในการนำ ยุทธศาสตร์ประเทศไทยไปสู่การปฏิบัติ

หลักการพื้นฐานสิทธิมนุษยชน มีความสอดคล้องกับหลักนิติธรรม และหลักการประชาธิปไตยซึ่งทั้ง 3 หลักการนี้มีแกนสำคัญคือ มนุษย์เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ดังนั้นการพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันให้กับคนไทยและสังคมไทยจึงควรนำแกนหรือ สาระสำคัญของหลักการดังกล่าวมาเป็นทิศทางและวิธีการ ตลอดจนกระบวนการของการพัฒนาคนและสังคม

ความเสมอภาคและเท่าเทียมกันโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ เป็นประตูสำคัญในการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ เพราะเท่ากับว่าสังคมนั้นๆ มีความชัดเจนในการยอมรับและเคารพปัจเจกชนไม่ว่าจะมีเพศ ภาษา อายุ อาชีพ ชาติพันธุ์ หรือมีความคิดเห็นทางการเมืองอย่างไรก็ตาม ซึ่งก็เท่ากับเป็นการยืนยันต่อทุกฝ่ายว่าสังคมไทยยอมรับและเคารพศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ของทุกคน และเป็นหลักประกันการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของสมาชิกในสังคมทุกคน

ในแง่มุมของการพัฒนาตามหลักการสิทธิมนุษยชน จึงเป็นการพัฒนาศักยภาพทั้งเชิงโครงสร้างและระบบ ซึ่งหมายถึงเป็นกระบวนการที่กลุ่มเป้าหมายมีความตระหนัก เข้าใจ และมีส่วนร่วมในกระบวนการเสมือนเป็นเจ้าของโครงการด้วยตนเอง ซึ่งด้วยแนวคิดและวิธีนี้จะส่งผลให้ทุกคนปลดปล่อยศักยภาพของตนได้อย่างเต็ม ที่

นอกจากนั้น การนำหลักนิติธรรมมาใช้ในการพัฒนาขีดความสามารถ จะส่งผลให้การดำเนินการมีความชอบธรรมและมีความยุติธรรมเป็นการส่งเสริมให้ เกิดวัฒนธรรมสังคมนิติธรรม เพราะความชอบธรรมถือว่าเป็นขอบเขตของการใช้อำนาจรัฐมิให้มีการแสวงหา ประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบจากกระบวนการหรือการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง หรือเป็นการป้องกันมิให้มีการล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคล รวมทั้งเป็นกลไกในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และเป็นที่มาของการเยียวยาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นด้วย

องค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญของหลักการประชาธิปไตยก็เป็นสิ่งสำคัญของการ พัฒนาขีดความสามารถของมนุษย์ในมิติของสิทธิมนุษยชนเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักการมีส่วนร่วมและการเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย การพัฒนาขีดความสามารถที่ยั่งยืนจะต้องมีความชัดเจนทั้งในเชิงโครงสร้างและ การปฏิบัติ นอกจากนั้นจะต้องมีความเป็นรูปธรรมมากพอที่จะพัฒนาไปสู่การเป็นสถาบันทาง สังคมที่ทุกคนยอมรับได้

หลักการมีส่วนร่วมจึงเป็นทั้งหลักการและวิธีการในการพัฒนาขีดความสามารถ ในการแข่งขันในแต่ละสังคม เพราะการมีส่วนร่วมทั้งโดยตรงและโดยอ้อมของทุกฝ่ายจะส่งผลให้ทิศทางของการ พัฒนาเป็นไปอย่างถูกต้องและรวดเร็ว ตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมายและเหมาะสมกับสภาวะแวดล้อม ทั้งภายนอกและภายในที่เป็นอยู่ในขณะนั้นและในอนาคตข้างหน้า

โดยทั่วไปแล้ว การพัฒนาศักยภาพของผู้ด้อยโอกาสในสังคมให้มีความเสมอภาคและเท่าเทียมในทุก ด้านมักจะมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพทางกฎหมายของสิทธิด้านแรงงาน สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิในที่ดินทำกิน และสิทธิในการประกอบอาชีพ ด้วยถือว่าเป็นสิทธิที่ล้วนแต่ส่งผลในด้านการพัฒนาทั้งสิ้น

แรงงานนอกระบบเป็นปัญหาสำคัญที่จะต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้มีความ ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และจะต้องคำนึงถึงความเป็นจริงในสังคม เพราะแรงงานเหล่านี้มีพลังในเชิงคุณค่าและส่งผลด้านเศรษฐกิจโดยรวม นอกจากนี้ การรับรองสิทธิในทรัพย์สินสำหรับผู้ด้อยโอกาสที่ไม่อาจเข้าถึงหลักประกันทาง ด้านทรัพย์สินเป็นการพัฒนาโอกาสในการแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจโดยตรง

การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันโดยมิติสิทธิมนุษยชนจะเป็นกระบวนการ ขับเคลื่อนทางสังคมเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งได้ผลทั้งในระดับปัจเจกและในระดับประเทศ ด้วยเหตุที่การพัฒนาด้วยหลักการสิทธิมนุษยชนจะมุ่งให้มนุษย์เป็นศูนย์กลาง และมีความเชื่อมโยงไปยังทุกด้านไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม หรือการเมืองก็ตาม จึงเป็นกระบวนการพัฒนาอย่างรอบด้านโดยแท้จริง

ขอบคุณ http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/charnchao/20130709/515939/ศักยภาพในการแข่งขัน-:-มิติสิทธิ.html (ขนาดไฟล์: 167)

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 ก.ค.56

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 ก.ค.56
วันที่โพสต์: 15/07/2556 เวลา 02:59:08

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

โดย : ชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ เป้าหมายยุทธศาสตร์ประเทศไทยสู่ประชาคมอาเซียนเน้นเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ลดความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ และเสริมสร้างความเสมอภาคและเท่า เทียมให้กับผู้ด้อยโอกาสในสังคมเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสู่อนาคตที่สดใส ของอาเซียน แต่ทิศทางของการที่จะบรรลุเป้าหมายจำเป็นจะต้องมีกรอบแนวคิดและวิธีการที่ สอดคล้องต้องกันกับความเป็นจริงในสังคม เพื่อให้ทุกคนในสังคมขับเคลื่อนไปด้วยกันได้ การพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันจะต้องกระทำทั้งในระดับปัจเจก ชุมชน และในระดับประเทศ อีกทั้งกระบวนการดังกล่าวจะต้องมีหลักคิดที่เหมาะสมตามหลักการและแนวทางของ กฎบัตรอาเซียนที่มุ่งเน้นการยอมรับและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ดังนั้น กรอบแนวคิดและหลักการพื้นฐานสิทธิมนุษยชนจึงน่าจะเป็นทิศทางสำคัญในการนำ ยุทธศาสตร์ประเทศไทยไปสู่การปฏิบัติ หลักการพื้นฐานสิทธิมนุษยชน มีความสอดคล้องกับหลักนิติธรรม และหลักการประชาธิปไตยซึ่งทั้ง 3 หลักการนี้มีแกนสำคัญคือ มนุษย์เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ดังนั้นการพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันให้กับคนไทยและสังคมไทยจึงควรนำแกนหรือ สาระสำคัญของหลักการดังกล่าวมาเป็นทิศทางและวิธีการ ตลอดจนกระบวนการของการพัฒนาคนและสังคม ความเสมอภาคและเท่าเทียมกันโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ เป็นประตูสำคัญในการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ เพราะเท่ากับว่าสังคมนั้นๆ มีความชัดเจนในการยอมรับและเคารพปัจเจกชนไม่ว่าจะมีเพศ ภาษา อายุ อาชีพ ชาติพันธุ์ หรือมีความคิดเห็นทางการเมืองอย่างไรก็ตาม ซึ่งก็เท่ากับเป็นการยืนยันต่อทุกฝ่ายว่าสังคมไทยยอมรับและเคารพศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ของทุกคน และเป็นหลักประกันการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของสมาชิกในสังคมทุกคน ในแง่มุมของการพัฒนาตามหลักการสิทธิมนุษยชน จึงเป็นการพัฒนาศักยภาพทั้งเชิงโครงสร้างและระบบ ซึ่งหมายถึงเป็นกระบวนการที่กลุ่มเป้าหมายมีความตระหนัก เข้าใจ และมีส่วนร่วมในกระบวนการเสมือนเป็นเจ้าของโครงการด้วยตนเอง ซึ่งด้วยแนวคิดและวิธีนี้จะส่งผลให้ทุกคนปลดปล่อยศักยภาพของตนได้อย่างเต็ม ที่ นอกจากนั้น การนำหลักนิติธรรมมาใช้ในการพัฒนาขีดความสามารถ จะส่งผลให้การดำเนินการมีความชอบธรรมและมีความยุติธรรมเป็นการส่งเสริมให้ เกิดวัฒนธรรมสังคมนิติธรรม เพราะความชอบธรรมถือว่าเป็นขอบเขตของการใช้อำนาจรัฐมิให้มีการแสวงหา ประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบจากกระบวนการหรือการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง หรือเป็นการป้องกันมิให้มีการล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคล รวมทั้งเป็นกลไกในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และเป็นที่มาของการเยียวยาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นด้วย องค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญของหลักการประชาธิปไตยก็เป็นสิ่งสำคัญของการ พัฒนาขีดความสามารถของมนุษย์ในมิติของสิทธิมนุษยชนเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักการมีส่วนร่วมและการเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย การพัฒนาขีดความสามารถที่ยั่งยืนจะต้องมีความชัดเจนทั้งในเชิงโครงสร้างและ การปฏิบัติ นอกจากนั้นจะต้องมีความเป็นรูปธรรมมากพอที่จะพัฒนาไปสู่การเป็นสถาบันทาง สังคมที่ทุกคนยอมรับได้ หลักการมีส่วนร่วมจึงเป็นทั้งหลักการและวิธีการในการพัฒนาขีดความสามารถ ในการแข่งขันในแต่ละสังคม เพราะการมีส่วนร่วมทั้งโดยตรงและโดยอ้อมของทุกฝ่ายจะส่งผลให้ทิศทางของการ พัฒนาเป็นไปอย่างถูกต้องและรวดเร็ว ตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมายและเหมาะสมกับสภาวะแวดล้อม ทั้งภายนอกและภายในที่เป็นอยู่ในขณะนั้นและในอนาคตข้างหน้า โดยทั่วไปแล้ว การพัฒนาศักยภาพของผู้ด้อยโอกาสในสังคมให้มีความเสมอภาคและเท่าเทียมในทุก ด้านมักจะมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพทางกฎหมายของสิทธิด้านแรงงาน สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิในที่ดินทำกิน และสิทธิในการประกอบอาชีพ ด้วยถือว่าเป็นสิทธิที่ล้วนแต่ส่งผลในด้านการพัฒนาทั้งสิ้น แรงงานนอกระบบเป็นปัญหาสำคัญที่จะต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้มีความ ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และจะต้องคำนึงถึงความเป็นจริงในสังคม เพราะแรงงานเหล่านี้มีพลังในเชิงคุณค่าและส่งผลด้านเศรษฐกิจโดยรวม นอกจากนี้ การรับรองสิทธิในทรัพย์สินสำหรับผู้ด้อยโอกาสที่ไม่อาจเข้าถึงหลักประกันทาง ด้านทรัพย์สินเป็นการพัฒนาโอกาสในการแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจโดยตรง การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันโดยมิติสิทธิมนุษยชนจะเป็นกระบวนการ ขับเคลื่อนทางสังคมเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งได้ผลทั้งในระดับปัจเจกและในระดับประเทศ ด้วยเหตุที่การพัฒนาด้วยหลักการสิทธิมนุษยชนจะมุ่งให้มนุษย์เป็นศูนย์กลาง และมีความเชื่อมโยงไปยังทุกด้านไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม หรือการเมืองก็ตาม จึงเป็นกระบวนการพัฒนาอย่างรอบด้านโดยแท้จริง ขอบคุณ … http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/charnchao/20130709/515939/ศักยภาพในการแข่งขัน-:-มิติสิทธิ.html กรุงเทพธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 ก.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...