หน้าที่หลักของผู้ซื้อบ้านจัดสรร - กฎหมายรอบรั้ว

แสดงความคิดเห็น

การอยู่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านจัดสรร หากเพียงต้องการเพื่อหลีกหนีจากสังคม ญาติพี่น้อง ผู้คนจำนวนมาก และไม่ต้องการยุ่งเกี่ยวกับใคร การซื้อบ้านจัดสรรท่ามกลางคนแปลกหน้า และไม่ต้องการเกี่ยวพันกับใคร เพราะธุระไม่ใช่ หรืออยู่เฉย ๆ ในบ้านดีกว่า อย่างนี้อาจจะไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของการซื้อบ้านนะครับ

เพราะตามกฎหมายจัดสรร ได้กำหนดให้ผู้ซื้อบ้านจัดสรรหรือที่ดินจัดสรรทุกแปลงจะกลายเป็นสมาชิกของ นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรโดยอัตโนมัติ เพื่อต้องการให้มีส่วนร่วมเสนอแนะกฎเกณฑ์การอยู่อาศัย การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ส่วนกลาง ฯลฯ (ซึ่งหมายความว่าผู้ซื้อบ้านจัดสรรต้องมีหน้าที่เข้าร่วมประชุมในที่ประชุม ใหญ่ประจำปีของหมู่บ้านเป็นอย่างน้อย)

สำหรับบ้านหรือที่ดินจัดสรร บางแปลงที่ยังขายไม่ได้ เจ้าของโครงการหรือผู้จัดสรรจะต้องทำหน้าที่เป็นสมาชิกแทนไปก่อน โดยหน้าที่หลักสำคัญของสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรคือการจ่ายเงินค่าส่วน กลางให้แก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร จะเป็นรายเดือนหรือรายปี แล้วแต่ข้อบังคับ ทั้งนี้เพื่อนำเงินที่ได้ไปบริหารจัดการสาธารณูปโภค หรือทรัพย์สินส่วนกลางต่าง ๆ อาทิ ถนน ท่อระบายน้ำ สวนสาธารณะ สระว่ายน้ำ สโมสร ฯลฯ เพื่อให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้อย่างปกติ

ค่าส่วนกลางนั้นมักจะจ่ายตามขนาดพื้นที่ หรือตามประเภทของการใช้งาน หน้าที่ของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรจะอยู่ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการหมู่ บ้านจัดสรรและอยู่ภายใต้ที่ประชุมใหญ่ประจำปีของสมาชิกหมู่บ้านจัดสรรในทุก เรื่อง โดยเฉพาะเรื่องการกำหนดอัตราเรียกเก็บเงินค่าส่วนกลางรายเดือนจะต้องได้รับ ความเห็นชอบจากมติของที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกหมู่บ้านด้วย (ดังนั้นผู้ซื้อ หรือผู้ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านจัดสรร จึงควรจะเข้าประชุมสมาชิกหมู่บ้านทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการประชุมใหญ่ประจำปี หรือประชุมวิสมสัม เพื่อเป็นการปกป้องสิทธิประโยชน์ของผู้ซื่อ) โดยอัตราค่าเรียกเก็บเงินค่าส่วนกลางมักจะเท่า ๆ กันในหมู่บ้านจัดสรรที่มีขนาดเท่ากันและใช้ประโยชน์จากบ้านเพื่อการอยู่ อาศัยอย่างเดียว

สำหรับหมู่บ้านจัดสรรที่มีบ้านขนาดพื้นที่ดินแตกต่างกันไป เช่นบ้านเดี่ยว บ้านแฝด คฤหาสน์ ฯลฯ เจ้าของบ้านที่มีขนาดแตกต่างกันก็มีหน้าที่จ่ายเงินค่าส่วนกลางในอัตราที่ เพิ่มขึ้นตามขนาดของพื้นที่ หรือหากมีการนำบ้านไปทำธุรกิจ เช่นเปิดเป็นร้านอาหาร เป็นโรงเรียนอนุบาล หรือเปิดเป็นที่ตั้งของบริษัท และอื่น ๆ เป็นต้น การใช้ประโยชน์ในที่ดินที่นอกเหนือจากการอยู่อาศัยปกติ ก็ควรที่จะต้องจ่ายเงินค่าส่วนกลางต่างออกไป ซึ่งก็แล้วแต่จะตกลงในที่ประชุมใหญ่ประจำหมู่บ้านครับ

การจ่ายเงินค่าส่วนกลางล่าช้า จะมีผลให้ถูกปรับตามอัตราที่กำหนดจากที่ประชุมใหญ่ ถ้าค้างการชำระค่าส่วนเกิน 3 เดือนขึ้นไป อาจถูกระงับการใช้สิทธิในสาธารณูปโภค เช่นห้ามใช้สวนสาธารณะ ห้ามใช้สโมสรหรือสระว่ายน้ำ เป็นต้น แต่ก็ยังไม่ถึงกับการห้ามใช้ถนน หรือห้ามเอารถเข้าออกหมู่บ้านครับ เพราะกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจไว้ แต่หากมีการค้างชำระค่าส่วนกลางตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ผู้ซื้อบ้านจัดสรรอาจจะถูกระงับสิทธิในการจดทะเบียนนิติกรรมซื้อขาย จนกว่าผู้ซื้อบ้านจัดสรรจะจ่ายค่าส่วนกลาง พร้อมกับเบี้ยปรับเงินเพิ่มจนหมดเสียก่อนนะครับ

และหากเป็นกรณีที่บ้านจัดสรรถูกบังคับคดียึดทรัพย์ออกขายทอดตลาด เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดจำนวนแรกต้องนำมาใช้หนี้ค่าส่วนกลางที่ค้างให้ แก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรก่อน เนื่องจากกฎหมายได้กำหนดให้หนี้ค่าส่วนกลางเป็นหนี้บุริมสิทธิเหนือตัวบ้าน จัดสรรนั่นเอง....โดย ดินสอพอง

ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/article/950/218569 (ขนาดไฟล์: 167)

เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 ก.ค.56

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 ก.ค.56
วันที่โพสต์: 14/07/2556 เวลา 03:17:59

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

การอยู่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านจัดสรร หากเพียงต้องการเพื่อหลีกหนีจากสังคม ญาติพี่น้อง ผู้คนจำนวนมาก และไม่ต้องการยุ่งเกี่ยวกับใคร การซื้อบ้านจัดสรรท่ามกลางคนแปลกหน้า และไม่ต้องการเกี่ยวพันกับใคร เพราะธุระไม่ใช่ หรืออยู่เฉย ๆ ในบ้านดีกว่า อย่างนี้อาจจะไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของการซื้อบ้านนะครับ เพราะตามกฎหมายจัดสรร ได้กำหนดให้ผู้ซื้อบ้านจัดสรรหรือที่ดินจัดสรรทุกแปลงจะกลายเป็นสมาชิกของ นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรโดยอัตโนมัติ เพื่อต้องการให้มีส่วนร่วมเสนอแนะกฎเกณฑ์การอยู่อาศัย การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ส่วนกลาง ฯลฯ (ซึ่งหมายความว่าผู้ซื้อบ้านจัดสรรต้องมีหน้าที่เข้าร่วมประชุมในที่ประชุม ใหญ่ประจำปีของหมู่บ้านเป็นอย่างน้อย) สำหรับบ้านหรือที่ดินจัดสรร บางแปลงที่ยังขายไม่ได้ เจ้าของโครงการหรือผู้จัดสรรจะต้องทำหน้าที่เป็นสมาชิกแทนไปก่อน โดยหน้าที่หลักสำคัญของสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรคือการจ่ายเงินค่าส่วน กลางให้แก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร จะเป็นรายเดือนหรือรายปี แล้วแต่ข้อบังคับ ทั้งนี้เพื่อนำเงินที่ได้ไปบริหารจัดการสาธารณูปโภค หรือทรัพย์สินส่วนกลางต่าง ๆ อาทิ ถนน ท่อระบายน้ำ สวนสาธารณะ สระว่ายน้ำ สโมสร ฯลฯ เพื่อให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้อย่างปกติ ค่าส่วนกลางนั้นมักจะจ่ายตามขนาดพื้นที่ หรือตามประเภทของการใช้งาน หน้าที่ของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรจะอยู่ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการหมู่ บ้านจัดสรรและอยู่ภายใต้ที่ประชุมใหญ่ประจำปีของสมาชิกหมู่บ้านจัดสรรในทุก เรื่อง โดยเฉพาะเรื่องการกำหนดอัตราเรียกเก็บเงินค่าส่วนกลางรายเดือนจะต้องได้รับ ความเห็นชอบจากมติของที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกหมู่บ้านด้วย (ดังนั้นผู้ซื้อ หรือผู้ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านจัดสรร จึงควรจะเข้าประชุมสมาชิกหมู่บ้านทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการประชุมใหญ่ประจำปี หรือประชุมวิสมสัม เพื่อเป็นการปกป้องสิทธิประโยชน์ของผู้ซื่อ) โดยอัตราค่าเรียกเก็บเงินค่าส่วนกลางมักจะเท่า ๆ กันในหมู่บ้านจัดสรรที่มีขนาดเท่ากันและใช้ประโยชน์จากบ้านเพื่อการอยู่ อาศัยอย่างเดียว สำหรับหมู่บ้านจัดสรรที่มีบ้านขนาดพื้นที่ดินแตกต่างกันไป เช่นบ้านเดี่ยว บ้านแฝด คฤหาสน์ ฯลฯ เจ้าของบ้านที่มีขนาดแตกต่างกันก็มีหน้าที่จ่ายเงินค่าส่วนกลางในอัตราที่ เพิ่มขึ้นตามขนาดของพื้นที่ หรือหากมีการนำบ้านไปทำธุรกิจ เช่นเปิดเป็นร้านอาหาร เป็นโรงเรียนอนุบาล หรือเปิดเป็นที่ตั้งของบริษัท และอื่น ๆ เป็นต้น การใช้ประโยชน์ในที่ดินที่นอกเหนือจากการอยู่อาศัยปกติ ก็ควรที่จะต้องจ่ายเงินค่าส่วนกลางต่างออกไป ซึ่งก็แล้วแต่จะตกลงในที่ประชุมใหญ่ประจำหมู่บ้านครับ การจ่ายเงินค่าส่วนกลางล่าช้า จะมีผลให้ถูกปรับตามอัตราที่กำหนดจากที่ประชุมใหญ่ ถ้าค้างการชำระค่าส่วนเกิน 3 เดือนขึ้นไป อาจถูกระงับการใช้สิทธิในสาธารณูปโภค เช่นห้ามใช้สวนสาธารณะ ห้ามใช้สโมสรหรือสระว่ายน้ำ เป็นต้น แต่ก็ยังไม่ถึงกับการห้ามใช้ถนน หรือห้ามเอารถเข้าออกหมู่บ้านครับ เพราะกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจไว้ แต่หากมีการค้างชำระค่าส่วนกลางตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ผู้ซื้อบ้านจัดสรรอาจจะถูกระงับสิทธิในการจดทะเบียนนิติกรรมซื้อขาย จนกว่าผู้ซื้อบ้านจัดสรรจะจ่ายค่าส่วนกลาง พร้อมกับเบี้ยปรับเงินเพิ่มจนหมดเสียก่อนนะครับ และหากเป็นกรณีที่บ้านจัดสรรถูกบังคับคดียึดทรัพย์ออกขายทอดตลาด เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดจำนวนแรกต้องนำมาใช้หนี้ค่าส่วนกลางที่ค้างให้ แก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรก่อน เนื่องจากกฎหมายได้กำหนดให้หนี้ค่าส่วนกลางเป็นหนี้บุริมสิทธิเหนือตัวบ้าน จัดสรรนั่นเอง....โดย ดินสอพอง ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/article/950/218569 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 ก.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...