ปัญหาการบังคับศีลธรรมโดยกฎหมาย: กรณีของจีนและไทย

แสดงความคิดเห็น

ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช

บทนำ

เมื่อเร็วๆนี้ มีข่าวว่า มารดาวัย 77 ปีชาวจีน ได้ยื่นฟ้องบุตรสาว หลังจากเธอปฏิเสธที่จะดูแลมารดาอีกต่อไป โดยศาลเมืองอู๋ซีได้ตัดสินให้ลูกต้องไปเยี่ยมแม่ของเธอทุกๆ 2 เดือนเป็นอย่างน้อย มิฉะนั้นจะต้องจ่ายค่าชดเชย ทั้งนี้ศาลได้ตัดสินให้เป็นไปตากฎหมายใหม่คือกฎหมายการคุ้มครองผู้สูงอายุ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. ที่ผ่านมา ผู้เขียนอ่านข่าวนี้แล้วเห็นว่ามีประเด็นเกี่ยวข้องกับปัญหาทางนิติปรัชญา แฝงอยู่จึงอยากตั้งเป็นข้อสังเกตเผื่อว่าอาจเป็นประโยชน์ต่อการอภิปรายถก เถียงต่อไปในสังคมไทย

1. ควรหรือไม่ที่จะมีการบังคับทางศีลธรรมโดยกฎหมาย

หนึ่งในบรรดาคำถามสำคัญในทางนิติปรัชญาที่ยังโต้เถียงกันอยู่ทุกวันนี้ คือควรหรือไม่ที่รัฐจะบังคับให้ประชาชนในสังคมมีศีลธรรมโดยผ่านทางการคับใช้ กฎหมาย กล่าวอีกนัยหนึ่ง ควรหรือไม่ที่จะให้การกระทำที่ผิดศีลธรรมเป็นความผิดทางอาญาไปด้วย ปัญหานี้เกิดขึ้นมาหลายทศวรรษแล้วที่ประเทศอังกฤษ โดยสมัยก่อน พฤติกรรมรักร่วมเพศ (Homosexuality) เป็นความผิดอาญา ต่อมาได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมา 1 ชุด โดยมี John Wolfenden เป็นประธาน โดยคณะกรรมาธิการชุดนี้ได้จัดทำรายงานขึ้นมา 1 ฉบับ เป็นที่รู้จักกันดีในนาม Wolfenden Report โดยเสนอว่าไม่ควรให้พฤติกรรมรักร่วมเพศเป็นความผิดอาญาอีกต่อไป โดยให้เหตุผลว่าควรแยกเรื่อง “บาป” (sin) ออกจาก “อาชญากรรม” ในเรื่องที่แม้จะไม่ถูกศีลธรรมส่วนตัว แต่ก็ไม่ใช่ธุระของกฎหมาย (not the law’s business)[1]

หลังจากที่รายงานฉบับนี้ทำออกมารัฐสภาก็แก้ไขกฎหมายยกเลิกความผิดฐาน รักร่วมเพศในอีกไม่กี่ปีต่อมา หลังไรก็ตาม รายงานฉบับนี้ได้สร้างประเด็นถกเถียงปัญหาทางนิติปรัชญา จนกลายเป็นวิวาทะระหว่างผู้สนับสนุนและผู้คัดค้านรายงานนี้ และเป็นประเด็นใหญ่ที่วงการกฎหมายกฎหมายทั่วโลกต่างพากันให้ความสำคัญโดยผู้ คัดค้านได้แก่ ผู้พิพากษา Patrick Devlin กับผู้สนับสนุนคือศาสตราจารย์ H.A.L. Hart แห่งมหาวิทยาลัย Oxford ผู้พิพากษา Devlin เห็นว่า รัฐอำนาจที่จะตรากฎหมายบังคับเรื่องศีลธรรม และหน้าที่ของกฎหมายอาญาคือการบังคับเรื่องศีลธรรม[2] นอกจากนี้ สังคมมีสิทธิที่จะปกป้องศีลธรรมของส่วนรวมด้วย หากปล่อยให้มีการกระทำผิดศีลธรรม สังคมนั้นอาจล่มสลายได้ ในขณะที่ ศาสตราจารย์ Hart เห็นด้วยกับนักปรัชญาชาวอังกฤษ อย่างจอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill) ที่เห็นว่า ผู้ปกครองจะเข้ามารุกล้ำหรือจำกัดเสรีภาพของประชาชนได้ต่อเมื่อการกระทำนั้น เป็นภัยหรืออันตรายแก่ผู้อื่น[3] หากการกระทำใดไม่เป็นอันตรายแก่ผู้อื่นแล้ว รัฐไม่ควรตราให้การกระทำนั้นเป็นความผิดอาญาแม้ว่ากระทำนั้นจะไม่ถูกศีลธรรม ก็ตาม นอกจากนี้ Hart ยังให้เหตุผลอีกว่าการมีศีลธรรมนั้นควรเป็นเรื่องของความสมัครใจ การอบรมสั่งสอนมากกว่าการบังคับหรือการลงโทษทางกฎหมายหากละเว้นไม่กระทำ[4]

ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับศีลธรรมนั้นจัดว่าเป็นปัญหา หนึ่งที่สำคัญที่สุดในทางนิติปรัชญาและเป็นปัญหาละเอียดอ่อนที่มีทั้งผู้ สนับสนุนและคัดค้าน

2. ปัญหาของกฎหมายจีน

หลังจากที่จีนเปิดตลาดการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศมากขึ้นเป็นผลให้ ประเทศจีนมีการเปลี่ยนแปลงในหลายๆด้านและหนึ่งในนั้นก็คือการเปลี่ยนแปลงทาง สังคมวัฒนธรรม การที่จีนออกกฎหมายบังคับให้ลูกต้องไปเยี่ยมพ่อแม่นั้นเกิดคำถามตามมามากมาย ว่า อะไรคือมูลฐานของกฎหมายฉบับนี้ๆจะมีผลใช้บังคับได้จริงหรือ หากพิจารณาในมุมของ Devlin จีนมีความชอบธรรมที่จะตรากฎหมายฉบับนี้ เพื่อให้คนจีนมีความกตัญญูรู้คุณของพ่อแม่ หรือให้มีความเคารพนับถือผู้หลักผู้ใหญ่ การปล่อยปละละเลยไม่สนใจปัญหานี้นานๆเข้าอาจทำให้สังคมเสื่อมลง แต่หากพิจารณาในมุมของ Mill และ ศาสตราจารย์ Hart แล้ว กฎหมายฉบับนี้เข้าไปก้าวก่ายเรื่องส่วนตัวของปัจเจกชน อีกทั้งการบังคับให้ปฎิบัติตามกฎหมายก็มิได้แสดงถึงความเป็นผู้มีศีลธรรมแต่ อย่างใด เนื่องจากการไปเยี่ยมพ่อแม่นั้นอาจมิได้มาจากใจที่แท้จริงแต่มาจากความกลัว จากการถูกกฎหมายลงโทษ

ปัญหาการบังคับศีลธรรมโดยใช้กฎหมายหรือปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมาย กับศีลธรรมนั้นเป็นปัญหาที่ยุ่งยากสลับซับซ้อนมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและโต้ แย้งเสมอ และอาจไม่ยุติด้วยการทำประชามติเพราะก็จะมีข้อโต้แย้งเรื่อง “เสียงข้างมากลากไป” อีก

3. ปัญหากฎหมายกับศีลธรรมในสังคมไทย

หันมาดูกฎหมายไทยบ้าง มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง กำหนดวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒ ตามประกาศนี้ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันพระใหญ่ 4 วัน ได้แก่ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา โดยมีข้อยกเว้นกรณีการขายในโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม เพื่อเป็นการส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยวในประเทศไทยและกระตุ้นเศรษฐกิจของ ภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แต่ประกาศนี้ก็แฝงคำถามที่ชวนสงสัยดังนี้

ประการแรก อะไรคือวัตถุประสงค์ของกฎหมายฉบับนี้ ในเบื้องแรกเห็นได้ชัดว่า กฎหมายฉบับนี้มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนไทยมีสุขภาพที่ดี เพราะประกาศนี้ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันสำคัญทางศาสนาพุทธ 4 วัน การห้ามขายเพียง 4 วันใน 1 ปีไม่พอที่จะให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีขึ้นมาได้ ฉะนั้นประกาศนี้จึงมิได้ออกมาโดยอยู่บนพื้นฐานของเหตุผลทางสุขภาพ จึงชวนคิดต่อไปว่า หรือว่าประกาศฉบับนี้มีเหตุผลทางศีลธรรมรองรับ กล่าวคือ เพื่อต้องการให้เป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี จึงจำเป็นต้องห้ามขายเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ในวันดังกล่าว แต่มีคำถามว่า การจะเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีจำเป็นต้องอาศัยแรงบังคับของกฎหมายเพื่อให้ชาว พุทธต้องไม่ละเมิดศีลข้อที่ 5 สุราเมรัยหรือไม่ การที่ชาวพุทธจะงดเว้นจากการดื่มเหล้าในวันสำคัญทางศาสนาหรือวันอื่นๆก็ตาม ควรมาจากจิตใจมโนธรรมสำนึกของผู้นั้นจะดีกว่า การงดซื้อเหล้าเพราะ “กลัวกฎหมาย” กับการงดซื้อเหล้าเพราะ “กลัวผิดศีลข้อที่ 5” ย่อมสะท้อนพื้นฐานทางจิตใจที่ต่างกันอย่างแน่นอน อีกทั้งการงดซื้อเหล้าเพียงแค่ 4 วันใน 365 วัน ก็มิได้ทำให้เป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีขึ้นมาได้

ประการที่สอง กฎหมายนี้มีข้อยกเว้นคือให้ขายได้ในโรงแรมโดยให้เหตุผลว่าต้องการกระตุ้น เศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวซึ่งดูเหมือนว่ารัฐให้คุณค่า “ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ” มากกว่า “ความเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี” ใช่หรือไม่ และในกรณีที่ทั้งสองอย่างไปด้วยกันไม่ได้ รัฐเลือกสนับสนุนอย่างแรกมากกว่า

ประการที่สาม ประกาศนี้น่าจะสะท้อนความอ่อนแอของวงการพระสงฆ์ ที่ไม่สามารถทำหน้าที่เผยแผ่หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาได้แม้แต่เรื่อง พื้นฐานอย่างศีล 5 จนกระทั่งรัฐต้องยื่นมือเข้ามาบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด แต่กลับกลายเป็นว่า “รัฐ” กำลังทำหน้าที่แทน “พระสงฆ์”

นอกจากนี้ สังคมไทยก็ไม่หลีกเลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องเผชิญปัญหาความสัมพันธ์ระหว่าง กฎหมายกับศีลธรรมว่าควรมีความเกี่ยวข้องกันมากน้อยแค่ไหนเพียงไร ในอนาคตสังคมไทยอาจเผชิญกับปัญหาเรื่องการยกเลิกโทษประหารชีวิต การุณยฆาต (Euthanasia) การเรียกร้องให้มีการยอมรับการสมรสของเพศเดียวกัน (same sex marriage) ควรทำให้การพนัน (การเปิดบ่อนพนัน) เป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายหรือไม่ หรือแม้กระทั่งปัญหาว่าการสมรสซ้อน (Bigamy) สมควรเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ซึ่งหลายประเทศถือว่าเป็นความผิดอาญา

บทส่งท้าย

ทั้งกฎหมายจีนและกฎหมายไทยเป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนถึงวิธีคิดเกี่ยว กับการบังคับ “ศีลธรรม” โดยผ่านกลไกของ “กฎหมาย” กล่าวอีกนัยหนึ่ง เป็นการยืมมือกฎหมายบังคับให้ “พลเมือง” เป็น “คนดี”นั่นเอง แต่คำถามมีว่า การบังคับใช้กฎหมายแบบนี้บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ แน่นอน กฎหมายย่อมมีพื้นฐานมาจากศีลธรรมและแยกออกจากศีลธรรมไม่ได้ แต่กฎหมายไม่สามารถบังคับให้เป็นคนดี หรือพุทธศาสนาสนิกชนที่ดีได้ ศีลธรรมหรือคุณธรรมเป็นเรื่องของการปลูกฝังอบรมมาตั้งแต่ครอบครัวและใน โรงเรียนมายาวนาน อย่างที่ Immanuel Kant อธิบาย เจตจำนงเสรี (Free will) เป็นรากฐานของศีลธรรมโดยที่ไม่มีปัจจัยภายนอก (ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ) เข้ามามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของบุคคลนั้น

ประการสุดท้าย น่าคิดว่ากฎหมายจีนฉบับนี้สะท้อนปัญหาอะไร สะท้อนความล้มเหลวของนโยบายให้มีลูกคนเดียว (One child policy) เพราะหากมีลูกหลายคน ก็สามารถแบ่งผลัดหน้าที่ไปเยี่ยมเยียนพ่อแม่ได้ หรือสะท้อนด้านมืดของระบบทุนนิยมที่คนในวัยทำงาน (ถูกบังคับกลายๆ) ต้องมุ่งหาเงินและดาหน้าเข้าสู่เมืองใหญ่ปล่อยให้คนแก่ชราอยู่เฝ้าบ้านเพียง ลำพัง หรือสะท้อนความหมดอิทธิพลของปรัชญาตะวันออกอย่างลัทธิขงจื้อ จึงทำให้เกิดปัญหาเช่นนี้ในสังคมจีน และในอนาคตสังคมไทยจะมีการออกกฎหมายแบบนี้หรือไม่เป็นปัญหาที่น่าคิด

วันนี้คุณกลับไปเยี่ยมพ่อแม่แล้วหรือยัง!!!

ขอบคุณ... http://www.prachatai.com/journal/2013/07/47662

ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 12 ก.ค.56

ที่มา: ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 12 ก.ค.56
วันที่โพสต์: 13/07/2556 เวลา 02:37:26

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช บทนำ เมื่อเร็วๆนี้ มีข่าวว่า มารดาวัย 77 ปีชาวจีน ได้ยื่นฟ้องบุตรสาว หลังจากเธอปฏิเสธที่จะดูแลมารดาอีกต่อไป โดยศาลเมืองอู๋ซีได้ตัดสินให้ลูกต้องไปเยี่ยมแม่ของเธอทุกๆ 2 เดือนเป็นอย่างน้อย มิฉะนั้นจะต้องจ่ายค่าชดเชย ทั้งนี้ศาลได้ตัดสินให้เป็นไปตากฎหมายใหม่คือกฎหมายการคุ้มครองผู้สูงอายุ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. ที่ผ่านมา ผู้เขียนอ่านข่าวนี้แล้วเห็นว่ามีประเด็นเกี่ยวข้องกับปัญหาทางนิติปรัชญา แฝงอยู่จึงอยากตั้งเป็นข้อสังเกตเผื่อว่าอาจเป็นประโยชน์ต่อการอภิปรายถก เถียงต่อไปในสังคมไทย 1. ควรหรือไม่ที่จะมีการบังคับทางศีลธรรมโดยกฎหมาย หนึ่งในบรรดาคำถามสำคัญในทางนิติปรัชญาที่ยังโต้เถียงกันอยู่ทุกวันนี้ คือควรหรือไม่ที่รัฐจะบังคับให้ประชาชนในสังคมมีศีลธรรมโดยผ่านทางการคับใช้ กฎหมาย กล่าวอีกนัยหนึ่ง ควรหรือไม่ที่จะให้การกระทำที่ผิดศีลธรรมเป็นความผิดทางอาญาไปด้วย ปัญหานี้เกิดขึ้นมาหลายทศวรรษแล้วที่ประเทศอังกฤษ โดยสมัยก่อน พฤติกรรมรักร่วมเพศ (Homosexuality) เป็นความผิดอาญา ต่อมาได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมา 1 ชุด โดยมี John Wolfenden เป็นประธาน โดยคณะกรรมาธิการชุดนี้ได้จัดทำรายงานขึ้นมา 1 ฉบับ เป็นที่รู้จักกันดีในนาม Wolfenden Report โดยเสนอว่าไม่ควรให้พฤติกรรมรักร่วมเพศเป็นความผิดอาญาอีกต่อไป โดยให้เหตุผลว่าควรแยกเรื่อง “บาป” (sin) ออกจาก “อาชญากรรม” ในเรื่องที่แม้จะไม่ถูกศีลธรรมส่วนตัว แต่ก็ไม่ใช่ธุระของกฎหมาย (not the law’s business) หลังจากที่รายงานฉบับนี้ทำออกมารัฐสภาก็แก้ไขกฎหมายยกเลิกความผิดฐาน รักร่วมเพศในอีกไม่กี่ปีต่อมา หลังไรก็ตาม รายงานฉบับนี้ได้สร้างประเด็นถกเถียงปัญหาทางนิติปรัชญา จนกลายเป็นวิวาทะระหว่างผู้สนับสนุนและผู้คัดค้านรายงานนี้ และเป็นประเด็นใหญ่ที่วงการกฎหมายกฎหมายทั่วโลกต่างพากันให้ความสำคัญโดยผู้ คัดค้านได้แก่ ผู้พิพากษา Patrick Devlin กับผู้สนับสนุนคือศาสตราจารย์ H.A.L. Hart แห่งมหาวิทยาลัย Oxford ผู้พิพากษา Devlin เห็นว่า รัฐอำนาจที่จะตรากฎหมายบังคับเรื่องศีลธรรม และหน้าที่ของกฎหมายอาญาคือการบังคับเรื่องศีลธรรม นอกจากนี้ สังคมมีสิทธิที่จะปกป้องศีลธรรมของส่วนรวมด้วย หากปล่อยให้มีการกระทำผิดศีลธรรม สังคมนั้นอาจล่มสลายได้ ในขณะที่ ศาสตราจารย์ Hart เห็นด้วยกับนักปรัชญาชาวอังกฤษ อย่างจอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill) ที่เห็นว่า ผู้ปกครองจะเข้ามารุกล้ำหรือจำกัดเสรีภาพของประชาชนได้ต่อเมื่อการกระทำนั้น เป็นภัยหรืออันตรายแก่ผู้อื่น หากการกระทำใดไม่เป็นอันตรายแก่ผู้อื่นแล้ว รัฐไม่ควรตราให้การกระทำนั้นเป็นความผิดอาญาแม้ว่ากระทำนั้นจะไม่ถูกศีลธรรม ก็ตาม นอกจากนี้ Hart ยังให้เหตุผลอีกว่าการมีศีลธรรมนั้นควรเป็นเรื่องของความสมัครใจ การอบรมสั่งสอนมากกว่าการบังคับหรือการลงโทษทางกฎหมายหากละเว้นไม่กระทำ ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับศีลธรรมนั้นจัดว่าเป็นปัญหา หนึ่งที่สำคัญที่สุดในทางนิติปรัชญาและเป็นปัญหาละเอียดอ่อนที่มีทั้งผู้ สนับสนุนและคัดค้าน 2. ปัญหาของกฎหมายจีน หลังจากที่จีนเปิดตลาดการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศมากขึ้นเป็นผลให้ ประเทศจีนมีการเปลี่ยนแปลงในหลายๆด้านและหนึ่งในนั้นก็คือการเปลี่ยนแปลงทาง สังคมวัฒนธรรม การที่จีนออกกฎหมายบังคับให้ลูกต้องไปเยี่ยมพ่อแม่นั้นเกิดคำถามตามมามากมาย ว่า อะไรคือมูลฐานของกฎหมายฉบับนี้ๆจะมีผลใช้บังคับได้จริงหรือ หากพิจารณาในมุมของ Devlin จีนมีความชอบธรรมที่จะตรากฎหมายฉบับนี้ เพื่อให้คนจีนมีความกตัญญูรู้คุณของพ่อแม่ หรือให้มีความเคารพนับถือผู้หลักผู้ใหญ่ การปล่อยปละละเลยไม่สนใจปัญหานี้นานๆเข้าอาจทำให้สังคมเสื่อมลง แต่หากพิจารณาในมุมของ Mill และ ศาสตราจารย์ Hart แล้ว กฎหมายฉบับนี้เข้าไปก้าวก่ายเรื่องส่วนตัวของปัจเจกชน อีกทั้งการบังคับให้ปฎิบัติตามกฎหมายก็มิได้แสดงถึงความเป็นผู้มีศีลธรรมแต่ อย่างใด เนื่องจากการไปเยี่ยมพ่อแม่นั้นอาจมิได้มาจากใจที่แท้จริงแต่มาจากความกลัว จากการถูกกฎหมายลงโทษ ปัญหาการบังคับศีลธรรมโดยใช้กฎหมายหรือปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมาย กับศีลธรรมนั้นเป็นปัญหาที่ยุ่งยากสลับซับซ้อนมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและโต้ แย้งเสมอ และอาจไม่ยุติด้วยการทำประชามติเพราะก็จะมีข้อโต้แย้งเรื่อง “เสียงข้างมากลากไป” อีก 3. ปัญหากฎหมายกับศีลธรรมในสังคมไทย หันมาดูกฎหมายไทยบ้าง มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง กำหนดวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒ ตามประกาศนี้ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันพระใหญ่ 4 วัน ได้แก่ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา โดยมีข้อยกเว้นกรณีการขายในโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม เพื่อเป็นการส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยวในประเทศไทยและกระตุ้นเศรษฐกิจของ ภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แต่ประกาศนี้ก็แฝงคำถามที่ชวนสงสัยดังนี้ ประการแรก อะไรคือวัตถุประสงค์ของกฎหมายฉบับนี้ ในเบื้องแรกเห็นได้ชัดว่า กฎหมายฉบับนี้มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนไทยมีสุขภาพที่ดี เพราะประกาศนี้ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันสำคัญทางศาสนาพุทธ 4 วัน การห้ามขายเพียง 4 วันใน 1 ปีไม่พอที่จะให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีขึ้นมาได้ ฉะนั้นประกาศนี้จึงมิได้ออกมาโดยอยู่บนพื้นฐานของเหตุผลทางสุขภาพ จึงชวนคิดต่อไปว่า หรือว่าประกาศฉบับนี้มีเหตุผลทางศีลธรรมรองรับ กล่าวคือ เพื่อต้องการให้เป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี จึงจำเป็นต้องห้ามขายเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ในวันดังกล่าว แต่มีคำถามว่า การจะเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีจำเป็นต้องอาศัยแรงบังคับของกฎหมายเพื่อให้ชาว พุทธต้องไม่ละเมิดศีลข้อที่ 5 สุราเมรัยหรือไม่ การที่ชาวพุทธจะงดเว้นจากการดื่มเหล้าในวันสำคัญทางศาสนาหรือวันอื่นๆก็ตาม ควรมาจากจิตใจมโนธรรมสำนึกของผู้นั้นจะดีกว่า การงดซื้อเหล้าเพราะ “กลัวกฎหมาย” กับการงดซื้อเหล้าเพราะ “กลัวผิดศีลข้อที่ 5” ย่อมสะท้อนพื้นฐานทางจิตใจที่ต่างกันอย่างแน่นอน อีกทั้งการงดซื้อเหล้าเพียงแค่ 4 วันใน 365 วัน ก็มิได้ทำให้เป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีขึ้นมาได้ ประการที่สอง กฎหมายนี้มีข้อยกเว้นคือให้ขายได้ในโรงแรมโดยให้เหตุผลว่าต้องการกระตุ้น เศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวซึ่งดูเหมือนว่ารัฐให้คุณค่า “ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ” มากกว่า “ความเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี” ใช่หรือไม่ และในกรณีที่ทั้งสองอย่างไปด้วยกันไม่ได้ รัฐเลือกสนับสนุนอย่างแรกมากกว่า ประการที่สาม ประกาศนี้น่าจะสะท้อนความอ่อนแอของวงการพระสงฆ์ ที่ไม่สามารถทำหน้าที่เผยแผ่หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาได้แม้แต่เรื่อง พื้นฐานอย่างศีล 5 จนกระทั่งรัฐต้องยื่นมือเข้ามาบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด แต่กลับกลายเป็นว่า “รัฐ” กำลังทำหน้าที่แทน “พระสงฆ์” นอกจากนี้ สังคมไทยก็ไม่หลีกเลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องเผชิญปัญหาความสัมพันธ์ระหว่าง กฎหมายกับศีลธรรมว่าควรมีความเกี่ยวข้องกันมากน้อยแค่ไหนเพียงไร ในอนาคตสังคมไทยอาจเผชิญกับปัญหาเรื่องการยกเลิกโทษประหารชีวิต การุณยฆาต (Euthanasia) การเรียกร้องให้มีการยอมรับการสมรสของเพศเดียวกัน (same sex marriage) ควรทำให้การพนัน (การเปิดบ่อนพนัน) เป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายหรือไม่ หรือแม้กระทั่งปัญหาว่าการสมรสซ้อน (Bigamy) สมควรเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ซึ่งหลายประเทศถือว่าเป็นความผิดอาญา บทส่งท้าย ทั้งกฎหมายจีนและกฎหมายไทยเป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนถึงวิธีคิดเกี่ยว กับการบังคับ “ศีลธรรม” โดยผ่านกลไกของ “กฎหมาย” กล่าวอีกนัยหนึ่ง เป็นการยืมมือกฎหมายบังคับให้ “พลเมือง” เป็น “คนดี”นั่นเอง แต่คำถามมีว่า การบังคับใช้กฎหมายแบบนี้บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ แน่นอน กฎหมายย่อมมีพื้นฐานมาจากศีลธรรมและแยกออกจากศีลธรรมไม่ได้ แต่กฎหมายไม่สามารถบังคับให้เป็นคนดี หรือพุทธศาสนาสนิกชนที่ดีได้ ศีลธรรมหรือคุณธรรมเป็นเรื่องของการปลูกฝังอบรมมาตั้งแต่ครอบครัวและใน โรงเรียนมายาวนาน อย่างที่ Immanuel Kant อธิบาย เจตจำนงเสรี (Free will) เป็นรากฐานของศีลธรรมโดยที่ไม่มีปัจจัยภายนอก (ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ) เข้ามามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของบุคคลนั้น ประการสุดท้าย น่าคิดว่ากฎหมายจีนฉบับนี้สะท้อนปัญหาอะไร สะท้อนความล้มเหลวของนโยบายให้มีลูกคนเดียว (One child policy) เพราะหากมีลูกหลายคน ก็สามารถแบ่งผลัดหน้าที่ไปเยี่ยมเยียนพ่อแม่ได้ หรือสะท้อนด้านมืดของระบบทุนนิยมที่คนในวัยทำงาน (ถูกบังคับกลายๆ) ต้องมุ่งหาเงินและดาหน้าเข้าสู่เมืองใหญ่ปล่อยให้คนแก่ชราอยู่เฝ้าบ้านเพียง ลำพัง หรือสะท้อนความหมดอิทธิพลของปรัชญาตะวันออกอย่างลัทธิขงจื้อ

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...