ยุติธรรมแปดริ้วรุกหนัก เดินหน้าเข้าถึงชุมชน แนะรู้ทันสิทธิทางกฎหมาย

แสดงความคิดเห็น

สำนักงานยุติธรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้จัดให้มีเวทีการ “เสวนาหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา” ฉะเชิงเทรา - สนง.ยุติธรรมแปดริ้ว เดินหน้ารุกหนักโครงการเข้าถึงชุมชน แนะช่องให้ประชาชนได้รู้ทันในสิทธิของตนเองทางกฎหมาย พร้อมขนทีมงานระดมนักกฎหมายระดับสูง พร้อมผู้ทรงคุณวุฒิจากองค์กรภาครัฐ ร่วมสร้างความมั่นใจ และเข้าถึงประชาชนได้อย่างใกล้ชิด

วันนี้ (10 ก.ค.) สำนักงานยุติธรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้จัดให้มีเวทีการ “เสวนาหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา” เพื่อบรรยายความรู้ทางกฎหมาย และสิทธิของประชาชน รวมทั้งการเข้าถึงกระบวนการทางกฎหมายของประชาชนจากองค์กรของรัฐ ทางด้านกระบวนการยุติธรรม ที่โรงแรมแกรนด์ รอยัล พลาซ่า อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมรับฟัง ประกอบด้วย ตัวแทนภาคประชาชนจากชุมชนต่างๆ ข้าราชการในกระบวนการยุติธรรม ทั้งตำรวจ อัยการ เจ้าหน้าที่ราชทันฑ์ ผู้พิพากษาฯลฯ และนักศึกษากว่า 500 คน

ผู้เข้าร่วมงาน“เสวนาหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา” โดยผู้ร่วมวงเสวนาให้ความรู้ในครั้งนี้นั้น เป็นนักกฎหมายในกระบวนการยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูง ประกอบด้วย พ.ต.อ.ดร.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ นายศราวุธ เบญจกุล รองเลขาธิการสำนักงานยุติธรรมศาลยุติธรรม นายกุลพล พลวัน อัยการอาวุโส สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นกลุ่มแรก โดยมีนายบัณฑิตย์ เทวีทิวารักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา มาร่วมเป็นประธานในการเปิดงานเวทีเสวนา และชี้แจงถึงสิทธิต่างๆ ให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบผ่านทางองค์กรเครือข่ายในระดับพื้นที่

ขณะเดียวกัน ยังมีวิทยากรร่วมจากในพื้นที่ ประกอบด้วย นายอุทัย ทวีโชติ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา นายเนติพันธ์ บุญมา ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดฉะเชิงเทรา นายสุรพงษ์ ศันติวิชยะ อัยการจังหวัด มาขึ้นร่วมในเวทีเสวนาให้ความรู้แก่ประชาชน เป็นวิทยากรชุดที่ 2 ในการนำเสนอผลงานด้านบทบาทหน้าที่ขององค์กรในกระบวนการยุติธรรม ทั้ง 10 หน่วยงานในพื้นที่

นางเตือนใจ เจริญพงษ์ ผอ.สำนักงานยุติธรรมจังหวัด กล่าวว่า จังหวัดฉะเชิงเทรา ถือเป็นเพียงหนึ่งใน 10 จังหวัดจากทั่วประเทศ ซึ่งเป็นจังหวัดนำร่องในการจัดตั้งสำนักงานยุติธรรมประจำจังหวัดในระดับ ภูมิภาคขึ้นมา เพื่อเป็นแกนหลักในการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อกระบวนการ ยุติธรรมของรัฐในระดับพื้นที่ ซึ่งประกอบด้วย ศาลจังหวัด อัยการจังหวัด ศาลเยาวชนและครอบครัว อัยการคดีเยาวชนและครอบครัว สำนักงานยุติธรรมจังหวัด เรือนจำจังหวัด สำนักงานคุมประพฤติ สำนักงานบังคับคดี และฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ

เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนได้เข้าถึงสิทธิต่างๆ เช่น การเข้าถึงกองทุนยุติธรรมช่วยเหลือประชาชน ในการวางเงินประกันการปล่อยตัวชั่วคราว การจ้างทนายความ ค่าธรรมเนียมขึ้นศาล และค่าธรรมเนียมอื่นๆ ในคดีแพ่ง และคดีปกครอง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการตรวจพิสูจน์ ค่าใช้จ่ายอื่นของผู้ขอรับการสนับสนุน เช่น ค่าพาหนะเดินทาง ค่าที่พัก ค่าใช้จ่ายเพื่อคุ้มครองช่วยเหลือให้ได้รับความปลอดภัย ค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากความเสียหายที่เกิดจากการกระทำความผิดในคดีอาญาที่ มีผลกระทบต่อกลุ่มบุคคลตั้งแต่ 10 รายขึ้นไป รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนยุติธรรม

นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถเข้ามาขอใช้สิทธิ ขอรับค่าตอบแทนผู้เสียหายในคดีอาญา กรณีถูกทำร้ายร่างกาย โดนลูกหลง หรือถูกข่มขืนกระทำชำเราโดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมถึงการคุ้มครองพยาน ตลอดจนค่าตอบแทน และค่าใช้จ่ายแก่พยานในคดีอาญา เพื่อเป็นการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนในระดับพื้นที่ได้อย่างเป็นธรรม และทั่วถึงมากขึ้น

โดยที่ผ่านมา จากการลงพื้นที่ไปให้ความรู้แก่ประชาชนยังศูนย์ยุติธรรมชุมชนตามอำเภอต่างๆ นั้น ได้รับการตอบรับจากประชาชนกลับมาเป็นอย่างดี และประชาชนได้ให้ความสนใจมากที่จะได้เข้าถึง ได้พบปะพุดคุย และปรึกษาปัญหาด้านกฎหมายอย่างใกล้ชิด จากเจ้าหน้าที่ยุติธรรมจังหวัด ศาลจังหวัด และอัยการจังหวัด ที่ชาวบ้านส่วนใหญ่นั้นหวั่นเกรง และไม่กล้าที่จะเข้าถึงมาก่อน

ขอบคุณ... http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9560000084381 (ขนาดไฟล์: 185)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 ก.ค.56
วันที่โพสต์: 11/07/2556 เวลา 04:06:00 ดูภาพสไลด์โชว์ ยุติธรรมแปดริ้วรุกหนัก เดินหน้าเข้าถึงชุมชน แนะรู้ทันสิทธิทางกฎหมาย

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

สำนักงานยุติธรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้จัดให้มีเวทีการ “เสวนาหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา”ฉะเชิงเทรา - สนง.ยุติธรรมแปดริ้ว เดินหน้ารุกหนักโครงการเข้าถึงชุมชน แนะช่องให้ประชาชนได้รู้ทันในสิทธิของตนเองทางกฎหมาย พร้อมขนทีมงานระดมนักกฎหมายระดับสูง พร้อมผู้ทรงคุณวุฒิจากองค์กรภาครัฐ ร่วมสร้างความมั่นใจ และเข้าถึงประชาชนได้อย่างใกล้ชิด วันนี้ (10 ก.ค.) สำนักงานยุติธรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้จัดให้มีเวทีการ “เสวนาหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา” เพื่อบรรยายความรู้ทางกฎหมาย และสิทธิของประชาชน รวมทั้งการเข้าถึงกระบวนการทางกฎหมายของประชาชนจากองค์กรของรัฐ ทางด้านกระบวนการยุติธรรม ที่โรงแรมแกรนด์ รอยัล พลาซ่า อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมรับฟัง ประกอบด้วย ตัวแทนภาคประชาชนจากชุมชนต่างๆ ข้าราชการในกระบวนการยุติธรรม ทั้งตำรวจ อัยการ เจ้าหน้าที่ราชทันฑ์ ผู้พิพากษาฯลฯ และนักศึกษากว่า 500 คน ผู้เข้าร่วมงาน“เสวนาหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา” โดยผู้ร่วมวงเสวนาให้ความรู้ในครั้งนี้นั้น เป็นนักกฎหมายในกระบวนการยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูง ประกอบด้วย พ.ต.อ.ดร.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ นายศราวุธ เบญจกุล รองเลขาธิการสำนักงานยุติธรรมศาลยุติธรรม นายกุลพล พลวัน อัยการอาวุโส สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นกลุ่มแรก โดยมีนายบัณฑิตย์ เทวีทิวารักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา มาร่วมเป็นประธานในการเปิดงานเวทีเสวนา และชี้แจงถึงสิทธิต่างๆ ให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบผ่านทางองค์กรเครือข่ายในระดับพื้นที่ ขณะเดียวกัน ยังมีวิทยากรร่วมจากในพื้นที่ ประกอบด้วย นายอุทัย ทวีโชติ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา นายเนติพันธ์ บุญมา ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดฉะเชิงเทรา นายสุรพงษ์ ศันติวิชยะ อัยการจังหวัด มาขึ้นร่วมในเวทีเสวนาให้ความรู้แก่ประชาชน เป็นวิทยากรชุดที่ 2 ในการนำเสนอผลงานด้านบทบาทหน้าที่ขององค์กรในกระบวนการยุติธรรม ทั้ง 10 หน่วยงานในพื้นที่ นางเตือนใจ เจริญพงษ์ ผอ.สำนักงานยุติธรรมจังหวัด กล่าวว่า จังหวัดฉะเชิงเทรา ถือเป็นเพียงหนึ่งใน 10 จังหวัดจากทั่วประเทศ ซึ่งเป็นจังหวัดนำร่องในการจัดตั้งสำนักงานยุติธรรมประจำจังหวัดในระดับ ภูมิภาคขึ้นมา เพื่อเป็นแกนหลักในการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อกระบวนการ ยุติธรรมของรัฐในระดับพื้นที่ ซึ่งประกอบด้วย ศาลจังหวัด อัยการจังหวัด ศาลเยาวชนและครอบครัว อัยการคดีเยาวชนและครอบครัว สำนักงานยุติธรรมจังหวัด เรือนจำจังหวัด สำนักงานคุมประพฤติ สำนักงานบังคับคดี และฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนได้เข้าถึงสิทธิต่างๆ เช่น การเข้าถึงกองทุนยุติธรรมช่วยเหลือประชาชน ในการวางเงินประกันการปล่อยตัวชั่วคราว การจ้างทนายความ ค่าธรรมเนียมขึ้นศาล และค่าธรรมเนียมอื่นๆ ในคดีแพ่ง และคดีปกครอง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการตรวจพิสูจน์ ค่าใช้จ่ายอื่นของผู้ขอรับการสนับสนุน เช่น ค่าพาหนะเดินทาง ค่าที่พัก ค่าใช้จ่ายเพื่อคุ้มครองช่วยเหลือให้ได้รับความปลอดภัย ค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากความเสียหายที่เกิดจากการกระทำความผิดในคดีอาญาที่ มีผลกระทบต่อกลุ่มบุคคลตั้งแต่ 10 รายขึ้นไป รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนยุติธรรม นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถเข้ามาขอใช้สิทธิ ขอรับค่าตอบแทนผู้เสียหายในคดีอาญา กรณีถูกทำร้ายร่างกาย โดนลูกหลง หรือถูกข่มขืนกระทำชำเราโดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมถึงการคุ้มครองพยาน ตลอดจนค่าตอบแทน และค่าใช้จ่ายแก่พยานในคดีอาญา เพื่อเป็นการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนในระดับพื้นที่ได้อย่างเป็นธรรม และทั่วถึงมากขึ้น โดยที่ผ่านมา จากการลงพื้นที่ไปให้ความรู้แก่ประชาชนยังศูนย์ยุติธรรมชุมชนตามอำเภอต่างๆ นั้น ได้รับการตอบรับจากประชาชนกลับมาเป็นอย่างดี และประชาชนได้ให้ความสนใจมากที่จะได้เข้าถึง ได้พบปะพุดคุย และปรึกษาปัญหาด้านกฎหมายอย่างใกล้ชิด จากเจ้าหน้าที่ยุติธรรมจังหวัด ศาลจังหวัด และอัยการจังหวัด ที่ชาวบ้านส่วนใหญ่นั้นหวั่นเกรง และไม่กล้าที่จะเข้าถึงมาก่อน ขอบคุณ... http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9560000084381

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...