ทุกฝ่ายในงานเสวนาของ กมธ.สิทธิฯ ประสานเสียงหนุน ปชช.ทุกกลุ่มมีสิทธิเลือกตั้ง

แสดงความคิดเห็น

กมธ.สิทธิฯ ร่วมจัดเสวนา 81 ปีปชต. กับสิทธิเลือกตั้งที่ยังเข้าไม่ถึง อ.ศูนย์สิทธิฯศึกษา ม.มหิดล ติง รธน.มีข้อห้ามสมณเพศเลือกตั้ง ชี้เป็นสิทธิพื้นฐานไม่ควรกีดกัน กก.กสม.หนุน แนะ กกต.แก้ไข รวมถึงคนด้อยโอกาส-นักโทษ “ไพบูลย์” ย้อนแนวคิดเก่า ปัจจุบันควรเปิดโอกาส เลขาฯ สมาคมพิทักษ์ รธน. หนุนตาม แต่ติง ส.พระปกเกล้าให้ความรู้ ปชช.ให้เข้าใจ แทนการจัดหลักสูตรให้นักการเมือง

วันที่ 21 มิ.ย. กรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ร่วมกับมูลนิธิอันเฟรล, เครือข่ายเอเซียเพื่อการเลือกตั้งเสรี จัดเสวนาสาธารณะเรื่อง 81 ปีประชาธิปไตยไทย กับสิทธิการเลือกตั้งที่ยังเข้าไม่ถึง : ปัญหาและทางออก โดยมีนักวิชาการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเวที โดยนางศรีประภา เพชรมีศรี อาจารย์ประจำศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า สิทธิการเลือกตั้งถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกคน โดยที่องค์กรระหว่างประเทศ รวมถึงกฎหมายที่ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนให้การรับรองไว้ แต่ของประเทศไทยกลับพบว่าในรัฐธรรมนูญระบุให้มีข้อห้ามให้บุคคลในสมณเพศใช้ สิทธิเลือกตั้ง ในหลักการของสิทธิมนุษยชนการใช้สิทธิ ต้องไม่ใช่การกีดกันคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งออกไป ทั้งนี้ ในประเทศที่เป็นประชาธิปไตย เช่น ศรีลังกา ยังเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งได้ ขณะเดียวกันที่ประเทศเวียดนามได้อนุญาตให้พระสงฆ์สามารถลงสมัครรับเลือกตั้ง ได้ด้วย

ด้าน นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวว่า ตามหลักสิทธิมนุษยชนในระบอบประชาธิปไตย คือ การปกครองโดยกฎหมาย การทำให้ประเทศเป็นนิติรัฐ ดังนั้น สิทธิการเลือกตั้งที่กลุ่มคนด้อยโอกาส, นักโทษ นักบวชเข้าไม่ถึง คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ต้องมีระเบียบมาคุ้มครอง หรือออกแบบระเบียบเพื่อให้กลุ่มดังกล่าวใช้สิทธิขั้นพื้นฐานได้ และรัฐต้องให้การคุ้มครองสิทธิประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 87 ว่าด้วยแนวนโยบายการมีส่วนร่วมของประชาชน

ขณะที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา กล่าวว่าการจะคืนสิทธิให้ผู้ที่จำกัดสิทธิการเลือกตั้ง ต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 100 (1) ด้วยการห้ามภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวชห้ามใช้สิทธิเลือกตั้ง ส่วนตัวมองว่าการกำหนดห้ามกลุ่มดังกล่าวใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นแนวความคิด เมื่อ 81 ปีที่ผ่านมา แต่ปัจจุบันการจำกัดสิทธิดังกล่าวหมดเวลาแล้ว ส่วนกรณีที่แม่ชีถูกตัดสิทธิการลงคะแนนเลือกตั้งด้วยนั้น เพราะถือว่าเป็นนักบวช ประเด็นนี้ตนมองว่าแก้ไขได้ โดยการทำหนังสือไปยังราชบัณฑิตยสถานให้แก้ไขคำแปลของแม่ชีใหม่ ให้เป็นประเภทของอุบาสิกา ซึ่งไม่ใช่นักบวชก็จะทำให้แม่ชีมีสิทธิเลือกตั้งได้

ส่วนนายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย กล่าวว่าการเลือกตั้งถือเป็นหน้าที่ของคนไทย ดังนั้น กกต.ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลการเลือกตั้งจำเป็นต้องกำหนดให้คนทุกกลุ่ม เข้าถึง อาทิ การออกประกาศหรือระเบียบ กกต. ให้ผู้ด้อยโอกาส, คนชายขอบ ผู้พิการเข้าถึงการใช้สิทธิ นอกจากนั้นแล้วตนอยากฝากไปยังสถาบันพระปกเกล้า ที่ควรทำหน้าที่ให้ความรู้กับคนที่ไม่รู้ ไม่ใช่จัดอบรมหรือหลักสูตรให้กับนักการเมือง รวมถึงสถาบันพระปกเกล้าต้องส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิด้วย เช่น การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดยเจ้าหน้าที่สถาบันอาจไปรับฟังความเห็น และการสะท้อนปัญหาจากประชาชน แล้วนำมาเสนอต่อสภาฯ เพื่อให้มีการออกกฎหมายแก้ไข

ขอบคุณ http://manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9560000075322 (ขนาดไฟล์: 185)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 มิ.ย.56
วันที่โพสต์: 23/06/2556 เวลา 03:10:42

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กมธ.สิทธิฯ ร่วมจัดเสวนา 81 ปีปชต. กับสิทธิเลือกตั้งที่ยังเข้าไม่ถึง อ.ศูนย์สิทธิฯศึกษา ม.มหิดล ติง รธน.มีข้อห้ามสมณเพศเลือกตั้ง ชี้เป็นสิทธิพื้นฐานไม่ควรกีดกัน กก.กสม.หนุน แนะ กกต.แก้ไข รวมถึงคนด้อยโอกาส-นักโทษ “ไพบูลย์” ย้อนแนวคิดเก่า ปัจจุบันควรเปิดโอกาส เลขาฯ สมาคมพิทักษ์ รธน. หนุนตาม แต่ติง ส.พระปกเกล้าให้ความรู้ ปชช.ให้เข้าใจ แทนการจัดหลักสูตรให้นักการเมือง วันที่ 21 มิ.ย. กรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ร่วมกับมูลนิธิอันเฟรล, เครือข่ายเอเซียเพื่อการเลือกตั้งเสรี จัดเสวนาสาธารณะเรื่อง 81 ปีประชาธิปไตยไทย กับสิทธิการเลือกตั้งที่ยังเข้าไม่ถึง : ปัญหาและทางออก โดยมีนักวิชาการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเวที โดยนางศรีประภา เพชรมีศรี อาจารย์ประจำศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า สิทธิการเลือกตั้งถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกคน โดยที่องค์กรระหว่างประเทศ รวมถึงกฎหมายที่ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนให้การรับรองไว้ แต่ของประเทศไทยกลับพบว่าในรัฐธรรมนูญระบุให้มีข้อห้ามให้บุคคลในสมณเพศใช้ สิทธิเลือกตั้ง ในหลักการของสิทธิมนุษยชนการใช้สิทธิ ต้องไม่ใช่การกีดกันคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งออกไป ทั้งนี้ ในประเทศที่เป็นประชาธิปไตย เช่น ศรีลังกา ยังเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งได้ ขณะเดียวกันที่ประเทศเวียดนามได้อนุญาตให้พระสงฆ์สามารถลงสมัครรับเลือกตั้ง ได้ด้วย ด้าน นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวว่า ตามหลักสิทธิมนุษยชนในระบอบประชาธิปไตย คือ การปกครองโดยกฎหมาย การทำให้ประเทศเป็นนิติรัฐ ดังนั้น สิทธิการเลือกตั้งที่กลุ่มคนด้อยโอกาส, นักโทษ นักบวชเข้าไม่ถึง คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ต้องมีระเบียบมาคุ้มครอง หรือออกแบบระเบียบเพื่อให้กลุ่มดังกล่าวใช้สิทธิขั้นพื้นฐานได้ และรัฐต้องให้การคุ้มครองสิทธิประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 87 ว่าด้วยแนวนโยบายการมีส่วนร่วมของประชาชน ขณะที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา กล่าวว่าการจะคืนสิทธิให้ผู้ที่จำกัดสิทธิการเลือกตั้ง ต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 100 (1) ด้วยการห้ามภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวชห้ามใช้สิทธิเลือกตั้ง ส่วนตัวมองว่าการกำหนดห้ามกลุ่มดังกล่าวใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นแนวความคิด เมื่อ 81 ปีที่ผ่านมา แต่ปัจจุบันการจำกัดสิทธิดังกล่าวหมดเวลาแล้ว ส่วนกรณีที่แม่ชีถูกตัดสิทธิการลงคะแนนเลือกตั้งด้วยนั้น เพราะถือว่าเป็นนักบวช ประเด็นนี้ตนมองว่าแก้ไขได้ โดยการทำหนังสือไปยังราชบัณฑิตยสถานให้แก้ไขคำแปลของแม่ชีใหม่ ให้เป็นประเภทของอุบาสิกา ซึ่งไม่ใช่นักบวชก็จะทำให้แม่ชีมีสิทธิเลือกตั้งได้ ส่วนนายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย กล่าวว่าการเลือกตั้งถือเป็นหน้าที่ของคนไทย ดังนั้น กกต.ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลการเลือกตั้งจำเป็นต้องกำหนดให้คนทุกกลุ่ม เข้าถึง อาทิ การออกประกาศหรือระเบียบ กกต. ให้ผู้ด้อยโอกาส, คนชายขอบ ผู้พิการเข้าถึงการใช้สิทธิ นอกจากนั้นแล้วตนอยากฝากไปยังสถาบันพระปกเกล้า ที่ควรทำหน้าที่ให้ความรู้กับคนที่ไม่รู้ ไม่ใช่จัดอบรมหรือหลักสูตรให้กับนักการเมือง รวมถึงสถาบันพระปกเกล้าต้องส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิด้วย เช่น การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดยเจ้าหน้าที่สถาบันอาจไปรับฟังความเห็น และการสะท้อนปัญหาจากประชาชน แล้วนำมาเสนอต่อสภาฯ เพื่อให้มีการออกกฎหมายแก้ไข ขอบคุณ http://manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9560000075322

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...