กสม.เสนอรัฐแก้ กม.หลักสิทธิมนุษยชนให้สอดคล้องกับ กม.ระหว่างประเทศ

แสดงความคิดเห็น

รัฐสภา 21 มิ.ย.-กมธ.สิทธิฯ วุฒิสภา จัดเวทีเสวนาสาธารณะ 81 ปี ประชาธิปไตยไทยฯ กรรมการสิทธิฯ จี้รัฐแก้กฎหมายให้สอดคล้องกฎหมายระหว่างประเทศ ไม่เลือกปฏิบัติหรืออคติ

เมื่อเวลา 09.00 น. คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ที่มีนายตวง อันทะไชย เป็นประธาน จัดเวทีเสวนาสาธารณะ “81 ปี ประชาธิปไตยไทย กับสิทธิเลือกตั้งที่ยังเข้าไม่ถึง : ปัญหาและทางออก” โดยเชิญคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นักวิชาการ ตัวแทนภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงปัญหาและอุปสรรคในการ ใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชน

นายตวงกล่าวเปิดการเสวนาว่า จากการตรวจสอบพบว่าปัจจุบันมีคนไทยที่ยังเข้าไม่ถึงสิทธิการเลือกตั้งกว่า 100,000 คน เนื่องจากไม่มีสถานะทางทะเบียน และปัจจุบันมีกลุ่มคนที่ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิการเลือกตั้งได้ 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มผู้มีสิทธิแต่ถูกกระทำให้เสียสิทธิ เช่น เยาวชนอายุครบ 18 ปี ที่ติดภารกิจการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ผู้สูงอายุและผู้ป่วย กลุ่มผู้มีสิทธิที่ถูกเจ้าหน้าที่ตัดสิทธิจากการตีความว่าขาดคุณสมบัติ เช่น นักบวช รวมถึงกลุ่มคนพิการ ซึ่งมีความยากลำบากในการมาลงคะแนน ตลอดจนเชื่อว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากความเข้าใจผิดในการใช้สิทธิตามระบอบประชาธิปไตย

ด้านนางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า รัฐบาลควรแก้ไขกฎหมายของไทยเกี่ยวกับเรื่องหลักสิทธิมนุษยชนให้สอดคล้องกับ กฎหมายระหว่างประเทศ ต้องกำหนดเกณฑ์หรือระเบียบต่างๆ เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงสิทธิการเลือกตั้ง และให้เกิดความเคารพและคุ้มครองสิทธิของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง รวมถึงต้องมีนโนบายที่ชัดเจนในการสนับสนุนสิทธิมนุษยชน โดยยกให้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิได้อย่างครอบคลุม อีกปัญหาหนึ่งของการละเมิดสิทธิมนุษยชนคือการเลือกปฏิบัติ ซึ่งตามหลักสิทธิมนุษยชนนั้นการปฏิบัติต้องปราศจากอคติ มิเช่นนั้นจะเกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในเวทีเสวนามีการเสนอปัญหาเกี่ยวกับการเข้าไม่ถึงสิทธิเลือกตั้งจากผู้เข้า ร่วม อาทิ นางศรีประภา เพชรมีศรี อาจารย์ประจำศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้แลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องการเข้าไม่ถึงสิทธิเลือกตั้ง ว่าคนสองกลุ่มได้รับผลกระทบจากการเข้าไม่ถึงสิทธิการเลือกตั้ง คือมีสิทธิแต่ถูกตัดสิทธิ คือพระ นักบวช รวมถึงนักโทษ และมีสิทธิแต่เข้าไม่ถึงคือ ผู้ป่วย ผู้พิการ และที่น่ากังวลที่สุดคือกลุ่มคนที่เข้าถึงสิทธิเลือกตั้ง แต่กลับเข้าไม่ถึงสิทธิของระบอบประชาธิปไตย ทำให้การเลือกตั้งขาดประสิทธิภาพ จึงขอเชิญชวนให้คนไทยตระหนักถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในการเลือกตั้งว่าเป็น หน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ เพื่อให้ประเทศเป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ พร้อมเรียกร้องให้ กกต. ออกระเบียบมาคุ้มครองให้ผู้ที่ไม่มีสถานะทางกฎหมายรองรับหรือผู้เข้าข่ายถูก ละเมิดสิทธิ มีโอกาสเข้าถึงการเลือกตั้งมากขึ้น และควรเปิดโอกาสให้องค์กรอิสระเข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการเลือกตั้ง ด้วย.-สำนักข่าวไทย

ขอบคุณ http://www.mcot.net/site/content?id=51c3f801150ba00c260003c2#.UcT7iTcs2yg (ขนาดไฟล์: 175)

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 มิ.ย.56
วันที่โพสต์: 22/06/2556 เวลา 03:03:03

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

รัฐสภา 21 มิ.ย.-กมธ.สิทธิฯ วุฒิสภา จัดเวทีเสวนาสาธารณะ 81 ปี ประชาธิปไตยไทยฯ กรรมการสิทธิฯ จี้รัฐแก้กฎหมายให้สอดคล้องกฎหมายระหว่างประเทศ ไม่เลือกปฏิบัติหรืออคติ เมื่อเวลา 09.00 น. คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ที่มีนายตวง อันทะไชย เป็นประธาน จัดเวทีเสวนาสาธารณะ “81 ปี ประชาธิปไตยไทย กับสิทธิเลือกตั้งที่ยังเข้าไม่ถึง : ปัญหาและทางออก” โดยเชิญคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นักวิชาการ ตัวแทนภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงปัญหาและอุปสรรคในการ ใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชน นายตวงกล่าวเปิดการเสวนาว่า จากการตรวจสอบพบว่าปัจจุบันมีคนไทยที่ยังเข้าไม่ถึงสิทธิการเลือกตั้งกว่า 100,000 คน เนื่องจากไม่มีสถานะทางทะเบียน และปัจจุบันมีกลุ่มคนที่ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิการเลือกตั้งได้ 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มผู้มีสิทธิแต่ถูกกระทำให้เสียสิทธิ เช่น เยาวชนอายุครบ 18 ปี ที่ติดภารกิจการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ผู้สูงอายุและผู้ป่วย กลุ่มผู้มีสิทธิที่ถูกเจ้าหน้าที่ตัดสิทธิจากการตีความว่าขาดคุณสมบัติ เช่น นักบวช รวมถึงกลุ่มคนพิการ ซึ่งมีความยากลำบากในการมาลงคะแนน ตลอดจนเชื่อว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากความเข้าใจผิดในการใช้สิทธิตามระบอบประชาธิปไตย ด้านนางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า รัฐบาลควรแก้ไขกฎหมายของไทยเกี่ยวกับเรื่องหลักสิทธิมนุษยชนให้สอดคล้องกับ กฎหมายระหว่างประเทศ ต้องกำหนดเกณฑ์หรือระเบียบต่างๆ เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงสิทธิการเลือกตั้ง และให้เกิดความเคารพและคุ้มครองสิทธิของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง รวมถึงต้องมีนโนบายที่ชัดเจนในการสนับสนุนสิทธิมนุษยชน โดยยกให้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิได้อย่างครอบคลุม อีกปัญหาหนึ่งของการละเมิดสิทธิมนุษยชนคือการเลือกปฏิบัติ ซึ่งตามหลักสิทธิมนุษยชนนั้นการปฏิบัติต้องปราศจากอคติ มิเช่นนั้นจะเกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในเวทีเสวนามีการเสนอปัญหาเกี่ยวกับการเข้าไม่ถึงสิทธิเลือกตั้งจากผู้เข้า ร่วม อาทิ นางศรีประภา เพชรมีศรี อาจารย์ประจำศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้แลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องการเข้าไม่ถึงสิทธิเลือกตั้ง ว่าคนสองกลุ่มได้รับผลกระทบจากการเข้าไม่ถึงสิทธิการเลือกตั้ง คือมีสิทธิแต่ถูกตัดสิทธิ คือพระ นักบวช รวมถึงนักโทษ และมีสิทธิแต่เข้าไม่ถึงคือ ผู้ป่วย ผู้พิการ และที่น่ากังวลที่สุดคือกลุ่มคนที่เข้าถึงสิทธิเลือกตั้ง แต่กลับเข้าไม่ถึงสิทธิของระบอบประชาธิปไตย ทำให้การเลือกตั้งขาดประสิทธิภาพ จึงขอเชิญชวนให้คนไทยตระหนักถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในการเลือกตั้งว่าเป็น หน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ เพื่อให้ประเทศเป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ พร้อมเรียกร้องให้ กกต. ออกระเบียบมาคุ้มครองให้ผู้ที่ไม่มีสถานะทางกฎหมายรองรับหรือผู้เข้าข่ายถูก ละเมิดสิทธิ มีโอกาสเข้าถึงการเลือกตั้งมากขึ้น และควรเปิดโอกาสให้องค์กรอิสระเข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการเลือกตั้ง ด้วย.-สำนักข่าวไทย ขอบคุณ http://www.mcot.net/site/content?id=51c3f801150ba00c260003c2#.UcT7iTcs2yg

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...