แผน..คำรับสารภาพ มองผ่านตร.ถึงสิทธิผู้ต้องหา

แสดงความคิดเห็น

ยังเป็นข้อกังขาของสังคมถึงกระบวนการทำงานของตำรวจต่อคดีฆาตกรรม "เอกยุทธ อัญชันบุตร" กรณีนำตัวผู้ต้องสงสัยมาแถลงข่าวต่อหน้าสื่อมวลชน ทั้งที่ข้อเท็จจริงยังดูสับสนขัดต่อหลักฐานที่พบในตัวผู้ต้องสงสัยและในรถตู้คันที่เกิดเหตุ ตลอดจนรีบนำตัวไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพ ท่ามกลางความเคลือบแคลงสงสัยของผู้ที่เกี่ยวข้องในคดีและสาธารณชน ในมุมมองของตำรวจ นักสิทธิมนุษยชน และผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม มีทัศนะต่อเรื่องนี้อยางไร?!!

พล.ต.อ.วันชัย ศรีนวลนัด กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ อธิบายว่า การนำผู้ต้องหาไปชี้ที่เกิดเหตุนั้น เรียกให้ถูกต้องคือ "การทำแผนประทุษกรรมผู้ต้องหานำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพ" ดังนั้นต้องมีส่วนประกอบสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1. คำรับสารภาพ 2.มีที่เกิดเหตุ 3.ผู้ต้องหานำชี้ หมายความว่าต้องเป็นผู้ต้องหาเท่านั้นที่นำเดินหรือนำทางไป ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเดินนำหรือชี้บังคับไม่ได้ ทำได้เพียงรับฟังและบันทึกเอกสาร บันทึกภาพถ่ายและภาพวีดีโอเท่านั้น

"วิธีนี้ถือเป็นวิธีสากลพนักงานสอบสวนทั่วโลกใช้ แต่สิ่งที่ระวังคือ ต้องไม่บังคับให้ผู้ต้องหารับสารภาพหรือถามชี้นำ หรือไปเดินนำหน้าพาไป หลายครั้งที่เจอผู้ต้องหากลับคำรับสารภาพในชั้นศาล เพราะถูกบังคับจากตำรวจให้สารภาพทั้งที่ไม่ได้ทำผิดจริง จึงอยากเตือนให้ตำรวจระวังในการทำคดีอย่างนี้ และที่สำคัญคือสื่อมวลชนที่ตามไปทำข่าว หรือบันทึกรายการออกทีวีหรือหนังสือพิมพ์นั้น ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ต้องหา เพราะเขาแค่อยู่ระหว่างดำเนินคดีศาลยังไม่ได้ตัดสินว่าผิดจริง ลำพังแค่คำรับสารภาพและพาไปชี้ที่เกิดเหตุไม่ได้เป็นหลักฐานแน่ชัดหรือผูก มัดว่าศาลจะต้องตัดสินว่ามีความผิดจริง"

พล.ต.อ.วันชัย ยอมรับว่า คณะกรรมการสิทธิฯ พยายามเผยแพร่ข้อมูลส่วนนี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่และสื่อมวลชนรับทราบ แต่ยังมีการออกข่าวแบบนี้ แสดงให้เห็นว่ายังไม่มีใครตระหนักในสิทธิของผู้ต้องหาอย่างแท้จริง อาจเป็นไปได้ในอนาคตที่จะมีผู้ต้องหาฟ้องกรณีข้างต้น จะเป็นคดีตัวอย่างให้สังคมได้ตระหนักถึงสิทธิของทุกฝ่าย

สอดคล้องกับที่ "พนม บุญตะเขียว" ตัวแทนเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน กล่าวถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิของผู้ต้องหาเอาไว้ในมาตรา 39 มาตรา 40 (2) ในคดีอาญาต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุด จะมาปฏิบัติต่อผู้ต้องหาเหมือนเป็นนักโทษที่ศาลตัดสินความผิดแล้วไม่ได้ ยิ่งไปกว่านั้นผู้เสียหาย ผู้ต้องหา โจทก์ จำเลย คู่กรณี ผู้มีส่วนได้เสีย หรือพยานในคดี มีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งสิทธิในการได้รับการสอบสวนอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรมและการไม่ให้ถ้อยคำเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง

"การเอาผู้ต้องหาไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพแล้วมีสื่อมวลชนไปทำข่าวถ่ายทอด ออกทั่วประเทศนั้น เป็นการละเมิดสิทธิตามรัฐธรรมนูญอย่างเห็นได้ชัด ศาลอาจตัดสินคดีให้เขาบริสุทธิ์ก็ได้ แต่ไปเผยแพร่ชื่อและหน้าหมดแล้ว ขั้นตอนแบบนี้ตำรวจไม่จำเป็นต้องมาออกข่าว ในหมู่นักกฎหมายมีการถกประเด็นนี้กันหลายครั้งแล้ว อยากให้มีผู้ถูกกล่าวหาสักคนที่เจอแบบนี้แล้วมาฟ้องให้เป็นคดีตัวอย่าง" พนมกล่าวแนะนำ

ด้าน พล.ต.อ.เจตน์ มงคลหัตถี ที่ปรึกษา (สบ10) รับผิดชอบงานกฎหมายและคดี 2 กล่าวถึงการทำแผนประกอบคำรับสารภาพของผู้ต้องหาในคดีต่างๆ ว่า การทำแผนประกอบคำรับสารภาพของผู้ต้องหามีระเบียบปฏิบัติของสำนักงานตำรวจ แห่งชาติให้พนักงานสอบสวนควบคุมตัวผู้ต้องหาไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพเพื่อ ใช้ประกอบสำนวนการสอบสวน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อรูปคดี จะอธิบายลำดับเหตุการณ์ต่างๆ รวมถึงพฤติการณ์การก่อเหตุของผู้ต้องหาได้อย่างชัดเจน รวมทั้งช่วยในการตรวจทานในสิ่งที่ผู้ต้องหารับสารภาพว่าเป็นจริงสอดคล้องกับ สิ่งที่ยอมรับ หรือสอดคล้องกับพยานหลักฐานแวดล้อมอื่นๆ หรือไม่

"คนเราหากไม่ได้ทำจริงอย่างที่บอกเวลานำตัวไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพจะแสดง ท่าทีงกๆ เงิ่นๆ ไม่เป็นธรรมชาติ ซึ่งจะบ่งบอกจากพฤติการณ์ได้ทันทีว่าสิ่งที่เขารับสารภาพมานั้นไม่ได้เป็น จริง แต่ถ้าเขาทำจริงอย่างที่บอกการทำแผนก็จะไม่ติดๆ ขัดๆ ทั้งนี้ การทำแผนไม่ได้มีใครบังคับหรือใครชี้แนะให้ทำตาม" พล.ต.อ.เจตน์ กล่าว

พล.ต.อ.เจตน์ กล่าวด้วยว่า การทำแผนประกอบคำรับสารภาพยังมีประโยชน์ในการค้นหาหลักฐานแวดล้อมอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ต้องหารับสารภาพว่าใช้อาวุธปืนฆ่าผู้อื่นถึงแก่ความตายหลังเกิดเหตุได้นำ อาวุธปืนไปโยนทิ้งตามสถานที่ต่างๆ เมื่อผู้ต้องหารับสารภาพและนำไปทำแผนชี้จุดทิ้งอาวุธปืน ตำรวจจะตรวจค้นบริเวณนั้นตามที่ผู้ต้องหาบอก เมื่อเจออาวุธปืนนั้นตามที่ผู้ต้องหาบอกก็เชื่อได้ว่าผู้ต้องหากระทำผิดจริง

พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ ที่ปรึกษา (สบ10) รับผิดชอบงานกฎหมายและคดี 1 เสริมว่า การทำแผนประกอบคำรับสารภาพ จะต้องได้รับความยินยอมจากตัวผู้ต้องหาเอง ไม่ได้ถูกบังคับหรือขู่เข็ญ ซึ่งเป็นไปตามระเบียบปฏิบัติภายในของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่อิงมาจากคำพิพากษาของศาล เพราะการจัดทำแผนประกอบคำรับสารภาพเป็นการตรวจทานคำให้การของผู้ต้องหาว่า สิ่งที่ให้การมานั้นได้กระทำเช่นนั้นจริง ไม่ใช่ให้การเพราะถูกบังคับ ขู่เข็ญ หรือมีใครว่าจ้างมาให้ยอมรับผิดแทน

"การรับสารภาพและการทำแผนประกอบคำรับสารภาพ ยังเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้ต้องหาเอง ซึ่งในการพิจารณาคดีในชั้นศาลหลายคดีผู้พิพากษานำเรื่องดังกล่าวมาพิจารณาใน การบรรเทาโทษให้แก่ผู้ต้องหา เพราะเห็นว่ามีการสำนึกผิดให้ความร่วมมือในการสอบสวน โดยคำรับสารภาพเป็นเหตุให้ควรบรรเทาโทษ" พล.ต.อ.ชัชวาลย์ กล่าว

ขณะที่ อดีตผู้พิพากษาศาลอาญารายหนึ่ง กล่าวว่า คดีอาชญากรรมทุกคดี ตำรวจไม่สามารถนำตัวผู้ต้องหามาแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนหรือนำตัวผู้ต้องหาไปทำ แผนประกอบคำรับสารภาพ เพราะถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลอย่างชัดเจน เพราะกฎหมายไทยเป็นระบบกล่าวหาไว้ก่อน ตราบใดที่ศาลยังไม่ตัดสิน ผู้ที่ถูกกล่าวหาในคดีอาญา ถือว่ายังเป็นผู้บริสุทธิ์

"ผู้ที่ถูกกล่าวหาในคดีอาญามีสิทธิ์ที่จะให้การหรือไม่ให้การใดๆ ก็ได้ในชั้นสอบสวน หากไม่ให้การและไม่ต้องการทำแผนประกอบคำรับสารภาพ ก็ให้พนักงานสอบสวนบันทึกไว้ในสำนวนและสอบถามสาเหตุ เช่นเดียวกัน หากผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญาให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนก็มีสิทธิ์ที่จะไปทำ แผนประกอบคำรับสารภาพหรือมีสิทธิ์ที่จะไม่ไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพ แต่พนักงานสอบสวนต้องบันทึกไว้"

ต่อข้อสอบถามการทำแผนประกอบคำรับสารภาพมีประโยชน์ต่อรูปคดีหรือไม่ อดีตผู้พิพากษาศาลอาญารายเดิม อธิบายว่า ผู้พิพากษาสามารถใช้ดุลพินิจในการตัดสินคดีได้ หากผู้ต้องหาให้การรับสารภาพและทำแผนประกอบคำรับสารภาพก็เป็นประโยชน์ให้ศาล ใช้ดุลพิจในการตัดสินคดีนั้นๆ แต่อย่าลืมว่าการทำแผนประกอบคำรับสารภาพบางครั้ง ผู้ต้องหาในคดีอาญาอาจกลับคำ หรืออาจมีเหตุอื่นใด ส่วนใหญ่ศาลจะรับฟังพยานหลักฐานทั้งหมดมากกว่าการทำแผนประกอบคำรับสารภาพ

"มีหลายคดีที่ผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญา แม้ทำแผนประกอบคำรับสารภาพ ศาลก็ยกฟ้องเนื่องจากว่าผู้พิพากษาสงสัยในพยานหลักฐานหรือคำซัดทอดของผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญา ส่วนใหญ่ผู้พิพากษาจะยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลย ฉะนั้นการทำแผนประกอบคำรับสารภาพอาจไม่มีประโยชน์เท่าใดนัก แต่สิ่งที่มีประโยชน์คือพยานหลักฐาน" อดีตผู้พิพากษาอาญา กล่าวทิ้งท้าย

ขอบคุณ http://www.komchadluek.net/detail/20130616/161110/แผน..คำรับสารภาพมองผ่านตร.ถึงสิทธิผู้ต้องหา.html#.UcMOSTcs2y (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 มิ.ย.56
วันที่โพสต์: 21/06/2556 เวลา 02:52:03

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ยังเป็นข้อกังขาของสังคมถึงกระบวนการทำงานของตำรวจต่อคดีฆาตกรรม "เอกยุทธ อัญชันบุตร" กรณีนำตัวผู้ต้องสงสัยมาแถลงข่าวต่อหน้าสื่อมวลชน ทั้งที่ข้อเท็จจริงยังดูสับสนขัดต่อหลักฐานที่พบในตัวผู้ต้องสงสัยและในรถตู้คันที่เกิดเหตุ ตลอดจนรีบนำตัวไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพ ท่ามกลางความเคลือบแคลงสงสัยของผู้ที่เกี่ยวข้องในคดีและสาธารณชน ในมุมมองของตำรวจ นักสิทธิมนุษยชน และผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม มีทัศนะต่อเรื่องนี้อยางไร?!! พล.ต.อ.วันชัย ศรีนวลนัด กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ อธิบายว่า การนำผู้ต้องหาไปชี้ที่เกิดเหตุนั้น เรียกให้ถูกต้องคือ "การทำแผนประทุษกรรมผู้ต้องหานำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพ" ดังนั้นต้องมีส่วนประกอบสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1. คำรับสารภาพ 2.มีที่เกิดเหตุ 3.ผู้ต้องหานำชี้ หมายความว่าต้องเป็นผู้ต้องหาเท่านั้นที่นำเดินหรือนำทางไป ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเดินนำหรือชี้บังคับไม่ได้ ทำได้เพียงรับฟังและบันทึกเอกสาร บันทึกภาพถ่ายและภาพวีดีโอเท่านั้น "วิธีนี้ถือเป็นวิธีสากลพนักงานสอบสวนทั่วโลกใช้ แต่สิ่งที่ระวังคือ ต้องไม่บังคับให้ผู้ต้องหารับสารภาพหรือถามชี้นำ หรือไปเดินนำหน้าพาไป หลายครั้งที่เจอผู้ต้องหากลับคำรับสารภาพในชั้นศาล เพราะถูกบังคับจากตำรวจให้สารภาพทั้งที่ไม่ได้ทำผิดจริง จึงอยากเตือนให้ตำรวจระวังในการทำคดีอย่างนี้ และที่สำคัญคือสื่อมวลชนที่ตามไปทำข่าว หรือบันทึกรายการออกทีวีหรือหนังสือพิมพ์นั้น ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ต้องหา เพราะเขาแค่อยู่ระหว่างดำเนินคดีศาลยังไม่ได้ตัดสินว่าผิดจริง ลำพังแค่คำรับสารภาพและพาไปชี้ที่เกิดเหตุไม่ได้เป็นหลักฐานแน่ชัดหรือผูก มัดว่าศาลจะต้องตัดสินว่ามีความผิดจริง" พล.ต.อ.วันชัย ยอมรับว่า คณะกรรมการสิทธิฯ พยายามเผยแพร่ข้อมูลส่วนนี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่และสื่อมวลชนรับทราบ แต่ยังมีการออกข่าวแบบนี้ แสดงให้เห็นว่ายังไม่มีใครตระหนักในสิทธิของผู้ต้องหาอย่างแท้จริง อาจเป็นไปได้ในอนาคตที่จะมีผู้ต้องหาฟ้องกรณีข้างต้น จะเป็นคดีตัวอย่างให้สังคมได้ตระหนักถึงสิทธิของทุกฝ่าย สอดคล้องกับที่ "พนม บุญตะเขียว" ตัวแทนเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน กล่าวถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิของผู้ต้องหาเอาไว้ในมาตรา 39 มาตรา 40 (2) ในคดีอาญาต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุด จะมาปฏิบัติต่อผู้ต้องหาเหมือนเป็นนักโทษที่ศาลตัดสินความผิดแล้วไม่ได้ ยิ่งไปกว่านั้นผู้เสียหาย ผู้ต้องหา โจทก์ จำเลย คู่กรณี ผู้มีส่วนได้เสีย หรือพยานในคดี มีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งสิทธิในการได้รับการสอบสวนอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรมและการไม่ให้ถ้อยคำเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง "การเอาผู้ต้องหาไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพแล้วมีสื่อมวลชนไปทำข่าวถ่ายทอด ออกทั่วประเทศนั้น เป็นการละเมิดสิทธิตามรัฐธรรมนูญอย่างเห็นได้ชัด ศาลอาจตัดสินคดีให้เขาบริสุทธิ์ก็ได้ แต่ไปเผยแพร่ชื่อและหน้าหมดแล้ว ขั้นตอนแบบนี้ตำรวจไม่จำเป็นต้องมาออกข่าว ในหมู่นักกฎหมายมีการถกประเด็นนี้กันหลายครั้งแล้ว อยากให้มีผู้ถูกกล่าวหาสักคนที่เจอแบบนี้แล้วมาฟ้องให้เป็นคดีตัวอย่าง" พนมกล่าวแนะนำ ด้าน พล.ต.อ.เจตน์ มงคลหัตถี ที่ปรึกษา (สบ10) รับผิดชอบงานกฎหมายและคดี 2 กล่าวถึงการทำแผนประกอบคำรับสารภาพของผู้ต้องหาในคดีต่างๆ ว่า การทำแผนประกอบคำรับสารภาพของผู้ต้องหามีระเบียบปฏิบัติของสำนักงานตำรวจ แห่งชาติให้พนักงานสอบสวนควบคุมตัวผู้ต้องหาไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพเพื่อ ใช้ประกอบสำนวนการสอบสวน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อรูปคดี จะอธิบายลำดับเหตุการณ์ต่างๆ รวมถึงพฤติการณ์การก่อเหตุของผู้ต้องหาได้อย่างชัดเจน รวมทั้งช่วยในการตรวจทานในสิ่งที่ผู้ต้องหารับสารภาพว่าเป็นจริงสอดคล้องกับ สิ่งที่ยอมรับ หรือสอดคล้องกับพยานหลักฐานแวดล้อมอื่นๆ หรือไม่ "คนเราหากไม่ได้ทำจริงอย่างที่บอกเวลานำตัวไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพจะแสดง ท่าทีงกๆ เงิ่นๆ ไม่เป็นธรรมชาติ ซึ่งจะบ่งบอกจากพฤติการณ์ได้ทันทีว่าสิ่งที่เขารับสารภาพมานั้นไม่ได้เป็น จริง แต่ถ้าเขาทำจริงอย่างที่บอกการทำแผนก็จะไม่ติดๆ ขัดๆ ทั้งนี้ การทำแผนไม่ได้มีใครบังคับหรือใครชี้แนะให้ทำตาม" พล.ต.อ.เจตน์ กล่าว พล.ต.อ.เจตน์ กล่าวด้วยว่า การทำแผนประกอบคำรับสารภาพยังมีประโยชน์ในการค้นหาหลักฐานแวดล้อมอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ต้องหารับสารภาพว่าใช้อาวุธปืนฆ่าผู้อื่นถึงแก่ความตายหลังเกิดเหตุได้นำ อาวุธปืนไปโยนทิ้งตามสถานที่ต่างๆ เมื่อผู้ต้องหารับสารภาพและนำไปทำแผนชี้จุดทิ้งอาวุธปืน ตำรวจจะตรวจค้นบริเวณนั้นตามที่ผู้ต้องหาบอก เมื่อเจออาวุธปืนนั้นตามที่ผู้ต้องหาบอกก็เชื่อได้ว่าผู้ต้องหากระทำผิดจริง พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ ที่ปรึกษา (สบ10) รับผิดชอบงานกฎหมายและคดี 1 เสริมว่า การทำแผนประกอบคำรับสารภาพ จะต้องได้รับความยินยอมจากตัวผู้ต้องหาเอง ไม่ได้ถูกบังคับหรือขู่เข็ญ ซึ่งเป็นไปตามระเบียบปฏิบัติภายในของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่อิงมาจากคำพิพากษาของศาล เพราะการจัดทำแผนประกอบคำรับสารภาพเป็นการตรวจทานคำให้การของผู้ต้องหาว่า สิ่งที่ให้การมานั้นได้กระทำเช่นนั้นจริง ไม่ใช่ให้การเพราะถูกบังคับ ขู่เข็ญ หรือมีใครว่าจ้างมาให้ยอมรับผิดแทน "การรับสารภาพและการทำแผนประกอบคำรับสารภาพ ยังเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้ต้องหาเอง ซึ่งในการพิจารณาคดีในชั้นศาลหลายคดีผู้พิพากษานำเรื่องดังกล่าวมาพิจารณาใน การบรรเทาโทษให้แก่ผู้ต้องหา เพราะเห็นว่ามีการสำนึกผิดให้ความร่วมมือในการสอบสวน โดยคำรับสารภาพเป็นเหตุให้ควรบรรเทาโทษ" พล.ต.อ.ชัชวาลย์ กล่าว ขณะที่ อดีตผู้พิพากษาศาลอาญารายหนึ่ง กล่าวว่า คดีอาชญากรรมทุกคดี ตำรวจไม่สามารถนำตัวผู้ต้องหามาแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนหรือนำตัวผู้ต้องหาไปทำ แผนประกอบคำรับสารภาพ เพราะถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลอย่างชัดเจน เพราะกฎหมายไทยเป็นระบบกล่าวหาไว้ก่อน ตราบใดที่ศาลยังไม่ตัดสิน ผู้ที่ถูกกล่าวหาในคดีอาญา ถือว่ายังเป็นผู้บริสุทธิ์ "ผู้ที่ถูกกล่าวหาในคดีอาญามีสิทธิ์ที่จะให้การหรือไม่ให้การใดๆ ก็ได้ในชั้นสอบสวน หากไม่ให้การและไม่ต้องการทำแผนประกอบคำรับสารภาพ ก็ให้พนักงานสอบสวนบันทึกไว้ในสำนวนและสอบถามสาเหตุ เช่นเดียวกัน หากผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญาให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนก็มีสิทธิ์ที่จะไปทำ แผนประกอบคำรับสารภาพหรือมีสิทธิ์ที่จะไม่ไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพ แต่พนักงานสอบสวนต้องบันทึกไว้" ต่อข้อสอบถามการทำแผนประกอบคำรับสารภาพมีประโยชน์ต่อรูปคดีหรือไม่ อดีตผู้พิพากษาศาลอาญารายเดิม อธิบายว่า ผู้พิพากษาสามารถใช้ดุลพินิจในการตัดสินคดีได้ หากผู้ต้องหาให้การรับสารภาพและทำแผนประกอบคำรับสารภาพก็เป็นประโยชน์ให้ศาล ใช้ดุลพิจในการตัดสินคดีนั้นๆ แต่อย่าลืมว่าการทำแผนประกอบคำรับสารภาพบางครั้ง ผู้ต้องหาในคดีอาญาอาจกลับคำ หรืออาจมีเหตุอื่นใด ส่วนใหญ่ศาลจะรับฟังพยานหลักฐานทั้งหมดมากกว่าการทำแผนประกอบคำรับสารภาพ "มีหลายคดีที่ผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญา แม้ทำแผนประกอบคำรับสารภาพ ศาลก็ยกฟ้องเนื่องจากว่าผู้พิพากษาสงสัยในพยานหลักฐานหรือคำซัดทอดของผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญา ส่วนใหญ่ผู้พิพากษาจะยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลย ฉะนั้นการทำแผนประกอบคำรับสารภาพอาจไม่มีประโยชน์เท่าใดนัก แต่สิ่งที่มีประโยชน์คือพยานหลักฐาน" อดีตผู้พิพากษาอาญา กล่าวทิ้งท้าย ขอบคุณ http://www.komchadluek.net/detail/20130616/161110/แผน..คำรับสารภาพมองผ่านตร.ถึงสิทธิผู้ต้องหา.html#.UcMOSTcs2y

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...