สิทธิ'กะเทย'เท่า'ผู้หญิง' ศาลสั่งฮ่องกงปรับกฎหมาย

แสดงความคิดเห็น

พาเหรดขบวนการ LGBT ฮ่องกง

บรรดา "สาวประเภทสอง" ในฮ่องกงได้เฮกันถ้วนหน้า หลังศาลฎีกาฮ่องกงมีมติว่า การห้ามสาวประเภทสองแต่งงานกับผู้ชาย เพราะไม่ยอมรับว่าสาวประเภทสองเป็นผู้หญิงตามกฎหมายนั้น

ขัดต่อหลักเสรีภาพในรัฐธรรมนูญ!

คดี ฮือฮานี้เกิดมาจากสตรีข้ามเพศนิรนามคนหนึ่ง ซึ่งใช้ชื่อสมมติว่า W อักษรต้นของคำว่า Woman ยื่นฟ้องศาลฮ่องกงไว้ตั้งแต่ปี 2553 โดยระบุว่าตนต้องการแต่งงานกับแฟนหนุ่ม และผ่าตัดแปลงเพศนานแล้ว อีกทั้งยังใช้ชีวิตราวกับผู้หญิงมาตลอด แต่กลับถูกปฏิเสธจากเจ้าหน้าที่สำนักงานเขต เพราะในสูติบัตรระบุว่าเธอเกิดมาเป็นเพศชาย และกฎหมายระบุว่าการแต่งงานต้องเป็นเพศชายกับหญิงเท่านั้น

ศาล ชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้ W แพ้คดีจนกระทั่งมาถึงศาลฎีกาที่พลิกคำตัดสินครั้งนี้ พร้อมสั่งว่ารัฐบาลต้องแก้กฎหมายให้ครอบคลุมบุคคลแปลงเพศอย่างชัดเจน

ให้เวลา 12 เดือนในการร่างกฎหมายใหม่

ถึง แม้เรื่องนี้จะสิ้นสุดลงแล้วทางตุลาการ แต่เชื่อได้ว่ากรณีของ W จะทำให้เกิดการถกเถียงและเป็นประเด็นใหญ่ในสังคมฮ่องกงได้อีกนานพอควร

ศาล ฎีกาฮ่องกงระบุว่า ปัจจุบันสังคมฮ่องกงได้เปลี่ยน แปลงไปมาก มีความเปิดกว้างทางวัฒน ธรรมมากขึ้น และผู้คนก็ให้ความหมายต่อคำว่า "ผู้หญิง" หรือ "ผู้ชาย" เปลี่ยนไป ไม่จำกัดว่าต้องเป็นเพศที่บุคคลนั้นๆ เกิดมา

คำ ตัดสินนี้ถือได้ว่าสอดคล้องกับฝ่ายสนับสนุนสิทธิบุคคลข้ามเพศ ที่มักกล่าวว่าจริงอยู่ที่มนุษย์เราเกิดมาเป็น "เพศชาย" (male) และ "เพศหญิง" (female) ซึ่งร่างกายกำหนดไว้ชัดเจนตามหลักชีววิทยา ทั้งโครโมโซม ดีเอ็นเอ และอวัยวะสืบพันธุ์ต่างๆ แต่ในสังคมมนุษย์นั้น เพศยังเป็นเรื่องการแสดงออกของบุคคลด้วย

ฝ่ายสนับสนุนมองว่า ถ้าหากบุคคลที่เกิดมาเป็นเพศชาย มองว่าตนเองเป็นผู้หญิง ใช้ชีวิตดังผู้หญิง มีลักษณะท่าทางและบทบาททางวัฒนธรรมเหมือนผู้หญิงเกือบทุกประการ สังคมก็ควรยอมรับบุคคลนั้นเป็นผู้หญิงด้วย

ทั้งนี้ ประเด็นที่ทำให้กลุ่มอนุรักษนิยมในฮ่องกง รู้สึกตุ๊มๆ ต้อมๆ ไม่น่าจะเป็นประเด็นการตีความเกี่ยวกับเพศ แต่น่าจะเป็นเพราะคำตัดสินของศาลอาจนำไปสู่การแก้กฎหมายให้เกย์สมรสกันได้

ปัจจุบัน กฎหมายสมรสของฮ่องกงยังไม่อนุญาตให้คนเพศเดียวกันแต่งงานกัน (ศาลให้ W แต่งงานกับแฟนหนุ่มของตนได้ เพราะศาลมองว่า W เป็นผู้หญิง ไม่ใช่ผู้ชาย) อีกทั้งฮ่องกงมีผู้นับถือศาสนาคริสต์จำนวนมาก และบรรดานิกายคริสต์ สายเคร่งต่างๆ ก็ตั้งด่านไว้แล้วว่าจะคัดค้านกฎหมายสมรสเกย์อย่างแน่นอน

หลัง คำตัดสินในกรณีของ W นั้น โบสถ์นิกายหนึ่งออกมาต่อต้านแล้วว่า เป็นการทำลายคุณค่าและประเพณีของสังคม แต่นิกายโรมัน คาทอลิก ซึ่งเป็นหัวหอกด้านการต่อต้านสิทธิ์เกย์ในหลายประเทศทั่วโลก ระบุว่ายังพิจารณาท่าทีต่อคำตัดสินนี้อยู่

เคยมีสำรวจความคิดเห็นชาวฮ่องกงว่า ประชากรราว 1 ใน 5 มองว่าชาวเกย์ไม่ควรออกมาเรียกร้องด้านสิทธิ์ของตนเอง

อย่าง ไรก็ตาม ที่ผ่านมามีการเรียกร้องสิทธิ์เกย์ในฮ่องกงอยู่บ้าง และนักวิเคราะห์บางส่วนมองว่า ขบวนการด้านสิทธิ์เลสเบี้ยน-เกย์- ไบเซ็กชวล-คนข้ามเพศ หรือเรียกรวมๆ ว่า "LGBT" จะยิ่งฮึกเหิมหลังได้เห็นศาลฎีกาเปิดกว้างมากขึ้น จนอาจผลักดันกฎหมายสมรสเกย์ในฮ่องกงครั้งใหญ่ได้ในอนาคต

โดย เฉพาะในปัจจุบัน การต่อสู้เพื่อสิทธิ์ทาง "เพศสภาพ" (gender) กำลังเป็นประเด็นสำคัญในหลายประเทศ และเห็นกระแสความเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจนในช่วงที่ผ่านมา

นิวซีแลนด์ และฝรั่งเศสผ่านกฎหมายให้เกย์แต่งงานได้ ขณะที่บราซิลก็เปิดทางเรื่องนี้เช่นกัน ส่วนในสหรัฐอเมริกา ซึ่งกลุ่มเคร่งศาสนามีอิทธิพลสูงมาก หลายรัฐก็เริ่มผ่านกฎหมายสมรสเกย์ตามๆ กัน เช่น มินเนโซตา และแมรี่แลนด์ ฯลฯ

ราวกับตัวโดมิโนทางสังคมกำลังล้มลง

ที่ ผ่านมา "ศึกเพศสภาพ" ดูเหมือนจะอยู่ในประเทศตะวันตกเป็นส่วนใหญ่ แต่กรณีของ W ในฮ่องกง อาจจะเป็นสัญญาณว่าปรากฏการณ์เช่นนี้อาจจะเกิดขึ้นในเอเชียได้เช่นกัน?

ประเทศ ไทยมี "สาวประเภทสอง" จำนวนมาก จนเป็นชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก ส่วนประชากร "เกย์-เลสเบี้ยน" ก็มีมากเช่นกัน แต่ดูเหมือนว่ากฎหมายของไทยยังไม่รับรองสิทธิหลายประการของบุคคลเหล่านี้

อีกทั้งยังมีทัศนคติเชิงลบอยู่บ้างต่อกะเทยหรือเกย์ เห็นได้จากการต่อสู้ทางการเมือง ที่ยังหยิบยกประเด็นเช่นนี้มาโจมตีฝ่ายตรงข้าม

ปรัต ถกร นิ่มแสง ประธานองค์กรบางกอกเรนโบว์ ด้านสิทธิ์ชาวเกย์ในประเทศไทย กล่าวว่า กรณีที่ฮ่องกงแสดงให้เห็นว่าฮ่องกงเข้าใจว่าสาวประเภทสองมีสิทธิ์ที่จะได้ รับความคุ้มครองโดยกฎหมาย และฮ่องกงเปิดกว้างมากพอที่สร้างข้อตกลงร่วมกันกับคนในสังคมเกี่ยวกับสิทธิ์ ของสาวประเภทสองได้

ต่อคำถามที่ว่าเหตุการณ์เช่นนี้มีโอกาส เกิดขึ้นในประเทศไทยได้หรือไม่นั้น นาย ปรัตถกรเห็นว่า ก็เป็นไปได้ องค์กรเครือข่ายเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศได้เคย คุยหารือกับหน่วยงานทางภาครัฐและส.ส. แล้ว และได้รับคำแนะนำที่ดีเกี่ยวกับเรื่องนี้

"ทางกลุ่มเราก็ กำลังจัดทำร่างพ.ร.บ. คุ้มครองคู่ชีวิต ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน, การโอนผลประโยชน์ให้กับคู่ชีวิตที่เป็นเกย์ หรือเลสเบี้ยน หรือกะเทยได้ แต่ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาเกี่ยวกับข้อกฎหมายที่อาจจะยังขัดกับ กฎหมายในปัจจุบันอยู่" นายปรัตถกรกล่าว

ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObWIzSXlPVEU0TURVMU5nPT0=&sectionid=TURNd05nPT0=&day=TWpBeE15MHdOUzB4T0E9PQ== (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18พ.ค.56
วันที่โพสต์: 18/05/2556 เวลา 05:19:32 ดูภาพสไลด์โชว์ สิทธิ'กะเทย'เท่า'ผู้หญิง' ศาลสั่งฮ่องกงปรับกฎหมาย

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

พาเหรดขบวนการ LGBT ฮ่องกง บรรดา "สาวประเภทสอง" ในฮ่องกงได้เฮกันถ้วนหน้า หลังศาลฎีกาฮ่องกงมีมติว่า การห้ามสาวประเภทสองแต่งงานกับผู้ชาย เพราะไม่ยอมรับว่าสาวประเภทสองเป็นผู้หญิงตามกฎหมายนั้น ขัดต่อหลักเสรีภาพในรัฐธรรมนูญ! คดี ฮือฮานี้เกิดมาจากสตรีข้ามเพศนิรนามคนหนึ่ง ซึ่งใช้ชื่อสมมติว่า W อักษรต้นของคำว่า Woman ยื่นฟ้องศาลฮ่องกงไว้ตั้งแต่ปี 2553 โดยระบุว่าตนต้องการแต่งงานกับแฟนหนุ่ม และผ่าตัดแปลงเพศนานแล้ว อีกทั้งยังใช้ชีวิตราวกับผู้หญิงมาตลอด แต่กลับถูกปฏิเสธจากเจ้าหน้าที่สำนักงานเขต เพราะในสูติบัตรระบุว่าเธอเกิดมาเป็นเพศชาย และกฎหมายระบุว่าการแต่งงานต้องเป็นเพศชายกับหญิงเท่านั้น ศาล ชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้ W แพ้คดีจนกระทั่งมาถึงศาลฎีกาที่พลิกคำตัดสินครั้งนี้ พร้อมสั่งว่ารัฐบาลต้องแก้กฎหมายให้ครอบคลุมบุคคลแปลงเพศอย่างชัดเจน ให้เวลา 12 เดือนในการร่างกฎหมายใหม่ ถึง แม้เรื่องนี้จะสิ้นสุดลงแล้วทางตุลาการ แต่เชื่อได้ว่ากรณีของ W จะทำให้เกิดการถกเถียงและเป็นประเด็นใหญ่ในสังคมฮ่องกงได้อีกนานพอควร ศาล ฎีกาฮ่องกงระบุว่า ปัจจุบันสังคมฮ่องกงได้เปลี่ยน แปลงไปมาก มีความเปิดกว้างทางวัฒน ธรรมมากขึ้น และผู้คนก็ให้ความหมายต่อคำว่า "ผู้หญิง" หรือ "ผู้ชาย" เปลี่ยนไป ไม่จำกัดว่าต้องเป็นเพศที่บุคคลนั้นๆ เกิดมา คำ ตัดสินนี้ถือได้ว่าสอดคล้องกับฝ่ายสนับสนุนสิทธิบุคคลข้ามเพศ ที่มักกล่าวว่าจริงอยู่ที่มนุษย์เราเกิดมาเป็น "เพศชาย" (male) และ "เพศหญิง" (female) ซึ่งร่างกายกำหนดไว้ชัดเจนตามหลักชีววิทยา ทั้งโครโมโซม ดีเอ็นเอ และอวัยวะสืบพันธุ์ต่างๆ แต่ในสังคมมนุษย์นั้น เพศยังเป็นเรื่องการแสดงออกของบุคคลด้วย ฝ่ายสนับสนุนมองว่า ถ้าหากบุคคลที่เกิดมาเป็นเพศชาย มองว่าตนเองเป็นผู้หญิง ใช้ชีวิตดังผู้หญิง มีลักษณะท่าทางและบทบาททางวัฒนธรรมเหมือนผู้หญิงเกือบทุกประการ สังคมก็ควรยอมรับบุคคลนั้นเป็นผู้หญิงด้วย ทั้งนี้ ประเด็นที่ทำให้กลุ่มอนุรักษนิยมในฮ่องกง รู้สึกตุ๊มๆ ต้อมๆ ไม่น่าจะเป็นประเด็นการตีความเกี่ยวกับเพศ แต่น่าจะเป็นเพราะคำตัดสินของศาลอาจนำไปสู่การแก้กฎหมายให้เกย์สมรสกันได้ ปัจจุบัน กฎหมายสมรสของฮ่องกงยังไม่อนุญาตให้คนเพศเดียวกันแต่งงานกัน (ศาลให้ W แต่งงานกับแฟนหนุ่มของตนได้ เพราะศาลมองว่า W เป็นผู้หญิง ไม่ใช่ผู้ชาย) อีกทั้งฮ่องกงมีผู้นับถือศาสนาคริสต์จำนวนมาก และบรรดานิกายคริสต์ สายเคร่งต่างๆ ก็ตั้งด่านไว้แล้วว่าจะคัดค้านกฎหมายสมรสเกย์อย่างแน่นอน หลัง คำตัดสินในกรณีของ W นั้น โบสถ์นิกายหนึ่งออกมาต่อต้านแล้วว่า เป็นการทำลายคุณค่าและประเพณีของสังคม แต่นิกายโรมัน คาทอลิก ซึ่งเป็นหัวหอกด้านการต่อต้านสิทธิ์เกย์ในหลายประเทศทั่วโลก ระบุว่ายังพิจารณาท่าทีต่อคำตัดสินนี้อยู่ เคยมีสำรวจความคิดเห็นชาวฮ่องกงว่า ประชากรราว 1 ใน 5 มองว่าชาวเกย์ไม่ควรออกมาเรียกร้องด้านสิทธิ์ของตนเอง อย่าง ไรก็ตาม ที่ผ่านมามีการเรียกร้องสิทธิ์เกย์ในฮ่องกงอยู่บ้าง และนักวิเคราะห์บางส่วนมองว่า ขบวนการด้านสิทธิ์เลสเบี้ยน-เกย์- ไบเซ็กชวล-คนข้ามเพศ หรือเรียกรวมๆ ว่า "LGBT" จะยิ่งฮึกเหิมหลังได้เห็นศาลฎีกาเปิดกว้างมากขึ้น จนอาจผลักดันกฎหมายสมรสเกย์ในฮ่องกงครั้งใหญ่ได้ในอนาคต โดย เฉพาะในปัจจุบัน การต่อสู้เพื่อสิทธิ์ทาง "เพศสภาพ" (gender) กำลังเป็นประเด็นสำคัญในหลายประเทศ และเห็นกระแสความเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจนในช่วงที่ผ่านมา นิวซีแลนด์ และฝรั่งเศสผ่านกฎหมายให้เกย์แต่งงานได้ ขณะที่บราซิลก็เปิดทางเรื่องนี้เช่นกัน ส่วนในสหรัฐอเมริกา ซึ่งกลุ่มเคร่งศาสนามีอิทธิพลสูงมาก หลายรัฐก็เริ่มผ่านกฎหมายสมรสเกย์ตามๆ กัน เช่น มินเนโซตา และแมรี่แลนด์ ฯลฯ ราวกับตัวโดมิโนทางสังคมกำลังล้มลง ที่ ผ่านมา "ศึกเพศสภาพ" ดูเหมือนจะอยู่ในประเทศตะวันตกเป็นส่วนใหญ่ แต่กรณีของ W ในฮ่องกง อาจจะเป็นสัญญาณว่าปรากฏการณ์เช่นนี้อาจจะเกิดขึ้นในเอเชียได้เช่นกัน? ประเทศ ไทยมี "สาวประเภทสอง" จำนวนมาก จนเป็นชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก ส่วนประชากร "เกย์-เลสเบี้ยน" ก็มีมากเช่นกัน แต่ดูเหมือนว่ากฎหมายของไทยยังไม่รับรองสิทธิหลายประการของบุคคลเหล่านี้ อีกทั้งยังมีทัศนคติเชิงลบอยู่บ้างต่อกะเทยหรือเกย์ เห็นได้จากการต่อสู้ทางการเมือง ที่ยังหยิบยกประเด็นเช่นนี้มาโจมตีฝ่ายตรงข้าม ปรัต ถกร นิ่มแสง ประธานองค์กรบางกอกเรนโบว์ ด้านสิทธิ์ชาวเกย์ในประเทศไทย กล่าวว่า กรณีที่ฮ่องกงแสดงให้เห็นว่าฮ่องกงเข้าใจว่าสาวประเภทสองมีสิทธิ์ที่จะได้ รับความคุ้มครองโดยกฎหมาย และฮ่องกงเปิดกว้างมากพอที่สร้างข้อตกลงร่วมกันกับคนในสังคมเกี่ยวกับสิทธิ์ ของสาวประเภทสองได้ ต่อคำถามที่ว่าเหตุการณ์เช่นนี้มีโอกาส เกิดขึ้นในประเทศไทยได้หรือไม่นั้น นาย ปรัตถกรเห็นว่า ก็เป็นไปได้ องค์กรเครือข่ายเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศได้เคย คุยหารือกับหน่วยงานทางภาครัฐและส.ส. แล้ว และได้รับคำแนะนำที่ดีเกี่ยวกับเรื่องนี้ "ทางกลุ่มเราก็ กำลังจัดทำร่างพ.ร.บ. คุ้มครองคู่ชีวิต ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน, การโอนผลประโยชน์ให้กับคู่ชีวิตที่เป็นเกย์ หรือเลสเบี้ยน หรือกะเทยได้ แต่ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาเกี่ยวกับข้อกฎหมายที่อาจจะยังขัดกับ กฎหมายในปัจจุบันอยู่" นายปรัตถกรกล่าว ขอบคุณ...http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObWIzSXlPVEU0TURVMU5nPT0=§ionid=TURNd05nPT0=&day=TWpBeE15MHdOUzB4T0E9PQ==

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...