ประชามติคือทางออก

แสดงความคิดเห็น

การยุบสภาอาจจะไม่ได้เป็นแค่คำขู่แต่อาจกลายเป็นจริงได้ นายภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่นว่า ถ้าความขัดแย้งระหว่างศาลรัฐธรรมนูญกับฝ่ายนิติบัญญัติหาข้อยุติไม่ได้ รัฐบาลอาจหาทางออกด้วยการยุบสภาเลือกตั้งใหม่ตรงกับที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทยบางคนเคยเปิดเผยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็พูดถึงการยุบสภา

ความขัดแย้งในขณะนี้กลายเป็น “วิกฤติรัฐธรรมนูญ” เพราะเป็นความขัดแย้งระหว่างสมาชิกรัฐสภาบางส่วนกับศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับ อำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลและ ส.ว.บางส่วนเห็นว่ารัฐสภามีอำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญ การที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องของ ส.ว.ที่คัดค้านการแก้ไขมาตรา 68 ไว้พิจารณาเป็นการก้าวก่ายอำนาจนิติบัญญัติ

เป็นความขัดแย้งเรื่อง อำนาจการแก้ไขรัฐธรรมนูญและไม่สามารถหาข้อยุติได้ เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญผู้มีอำนาจวินิจฉัยกลายเป็นคู่ขัดแย้งเสียเอง จึงไม่ทราบว่าองค์กรใดจะมีอำนาจชี้ขาด การขอแก้ไขรัฐธรรมนูญของฝ่ายรัฐบาล ทั้งที่มุ่งจะแก้ไขทั้งฉบับ และขอแก้ไขเป็นรายมาตรา จึงสะดุดอยู่ในสภา ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่ได้ชี้ขาดว่าแก้ไขได้หรือไม่?

ฝ่ายรัฐบาลจึงอาจ หาทางออกด้วยการยุบสภา เพื่อให้เลือกตั้ง ส.ส.ใหม่ทั้งประเทศ แต่ก็ไม่มั่นใจว่าจะยุติความขัดแย้งได้หรือไม่? ถึงแม้พรรคเพื่อไทยจะชนะเลือกตั้งท่วมท้นก็ไม่ได้ตอบคำถามอย่างตรงๆว่าจะให้ ยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 และยกร่างขึ้นใหม่หรือไม่? และอาจเป็นเพียงการใช้เสียงข้างมากท้าทายและข่มขู่ศาล ไม่ได้ยุติความขัดแย้ง

ถ้ารัฐบาลยืนยันที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ไม่ควรใช้วิธีสับขาหลอกหรือลับลวงพรางอีกต่อไป แต่ควรให้ลงประชามติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 165 ถามประชาชนอย่างตรงไปตรงมาว่า “เห็นด้วย” หรือ “ไม่เห็นด้วย” และทำการรณรงค์ชี้แจงต่อคนทั้งประเทศ จะแก้ไขประเด็นใดบ้าง? จะยุบหรือลดอำนาจศาลและองค์กรอิสระ? หรือจะเปลี่ยนที่มาองค์กรอิสระ?

ถ้าเสียงข้างมากของผู้ลงประชามติ เห็นชอบกับการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ ความขัดแย้งเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญระหว่างศาลรัฐธรรมนูญกับฝ่ายรัฐบาล ก็เป็นอันยุติตามคำชี้ขาดของประชาชน ไม่เสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงขั้วอำนาจเหมือนกับการยุบสภา ฝ่ายรัฐบาลยังเป็นรัฐบาล การบริหารประเทศไม่หยุดชะงัก ส่วนฝ่ายค้านก็เป็นฝ่ายค้านต่อไป

แต่ถ้ารัฐบาลยังไม่พร้อมที่จะให้ ประชาชนตัดสินก็อาจทำตามคำแนะนำของประชาชนผ่านเอแบคโพลเมื่อต้นเดือนมกราคม ที่ผ่านมา 73.1% เห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ใช่เวทีการขจัดความขัดแย้ง 87.8% เชื่อว่าจะทำให้ขัดแย้ง 85.9% ให้แก้ปัญหาปากท้องของประชาชนก่อน 89.6% ให้แก้ไขนิสัยไม่ดีของนักการเมืองก่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ขอบคุณ http://www.thairath.co.th/column/pol/editor/344661

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 พ.ค.56
วันที่โพสต์: 15/05/2556 เวลา 03:30:31

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

การยุบสภาอาจจะไม่ได้เป็นแค่คำขู่แต่อาจกลายเป็นจริงได้ นายภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่นว่า ถ้าความขัดแย้งระหว่างศาลรัฐธรรมนูญกับฝ่ายนิติบัญญัติหาข้อยุติไม่ได้ รัฐบาลอาจหาทางออกด้วยการยุบสภาเลือกตั้งใหม่ตรงกับที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทยบางคนเคยเปิดเผยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็พูดถึงการยุบสภา ความขัดแย้งในขณะนี้กลายเป็น “วิกฤติรัฐธรรมนูญ” เพราะเป็นความขัดแย้งระหว่างสมาชิกรัฐสภาบางส่วนกับศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับ อำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลและ ส.ว.บางส่วนเห็นว่ารัฐสภามีอำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญ การที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องของ ส.ว.ที่คัดค้านการแก้ไขมาตรา 68 ไว้พิจารณาเป็นการก้าวก่ายอำนาจนิติบัญญัติ เป็นความขัดแย้งเรื่อง อำนาจการแก้ไขรัฐธรรมนูญและไม่สามารถหาข้อยุติได้ เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญผู้มีอำนาจวินิจฉัยกลายเป็นคู่ขัดแย้งเสียเอง จึงไม่ทราบว่าองค์กรใดจะมีอำนาจชี้ขาด การขอแก้ไขรัฐธรรมนูญของฝ่ายรัฐบาล ทั้งที่มุ่งจะแก้ไขทั้งฉบับ และขอแก้ไขเป็นรายมาตรา จึงสะดุดอยู่ในสภา ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่ได้ชี้ขาดว่าแก้ไขได้หรือไม่? ฝ่ายรัฐบาลจึงอาจ หาทางออกด้วยการยุบสภา เพื่อให้เลือกตั้ง ส.ส.ใหม่ทั้งประเทศ แต่ก็ไม่มั่นใจว่าจะยุติความขัดแย้งได้หรือไม่? ถึงแม้พรรคเพื่อไทยจะชนะเลือกตั้งท่วมท้นก็ไม่ได้ตอบคำถามอย่างตรงๆว่าจะให้ ยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 และยกร่างขึ้นใหม่หรือไม่? และอาจเป็นเพียงการใช้เสียงข้างมากท้าทายและข่มขู่ศาล ไม่ได้ยุติความขัดแย้ง ถ้ารัฐบาลยืนยันที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ไม่ควรใช้วิธีสับขาหลอกหรือลับลวงพรางอีกต่อไป แต่ควรให้ลงประชามติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 165 ถามประชาชนอย่างตรงไปตรงมาว่า “เห็นด้วย” หรือ “ไม่เห็นด้วย” และทำการรณรงค์ชี้แจงต่อคนทั้งประเทศ จะแก้ไขประเด็นใดบ้าง? จะยุบหรือลดอำนาจศาลและองค์กรอิสระ? หรือจะเปลี่ยนที่มาองค์กรอิสระ? ถ้าเสียงข้างมากของผู้ลงประชามติ เห็นชอบกับการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ ความขัดแย้งเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญระหว่างศาลรัฐธรรมนูญกับฝ่ายรัฐบาล ก็เป็นอันยุติตามคำชี้ขาดของประชาชน ไม่เสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงขั้วอำนาจเหมือนกับการยุบสภา ฝ่ายรัฐบาลยังเป็นรัฐบาล การบริหารประเทศไม่หยุดชะงัก ส่วนฝ่ายค้านก็เป็นฝ่ายค้านต่อไป แต่ถ้ารัฐบาลยังไม่พร้อมที่จะให้ ประชาชนตัดสินก็อาจทำตามคำแนะนำของประชาชนผ่านเอแบคโพลเมื่อต้นเดือนมกราคม ที่ผ่านมา 73.1% เห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ใช่เวทีการขจัดความขัดแย้ง 87.8% เชื่อว่าจะทำให้ขัดแย้ง 85.9% ให้แก้ปัญหาปากท้องของประชาชนก่อน 89.6% ให้แก้ไขนิสัยไม่ดีของนักการเมืองก่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญ ขอบคุณ http://www.thairath.co.th/column/pol/editor/344661

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...