คือข้อพิสูจน์..ประธานศาลรัฐธรรมนูญไม่มีสถานะเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ต่อไป

แสดงความคิดเห็น

ความพยายามในการบ่อนเซาะทำลายศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิของศาลรัฐธรรมนูญ ด้วยการยกเรื่องนี้เรื่องนั้นมากล่าวหานั้นยังมีมาไม่เลิกรา

วันนี้ มีตัวอย่างของเรื่องราวที่ไม่น่าจะเป็นเรื่องเมื่อมีผู้อ้างถึงการดำรง ตำแหน่งของ นายชัช ชลวร ที่พ้นจากตำแหน่ง ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ว่าไม่มีสถานะเป็น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อีกต่อไป

มีการอ้างอิงถึง พระบรมราชโองการ แต่งตั้ง นายวสันต์ สร้อย- พิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ คนใหม่เป็นหลักฐาน

ดัง นั้น ต้องมาดูกันถึงความใน พระบรมราชโองการ ฉบับนั้นที่ ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษ 138 ง 17 พฤศจิกายน 2554 ที่มีความว่า

“พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้ง นายชัช ชลวร เป็น ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตามประกาศลงวันที่ 28 พฤษภาคม พุทธศักราช 2551 แล้วนั้น

บัดนี้ นายชัช ชลวร ได้ขอลาออกจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้พ้นจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ

อาศัย อำนาจตามความในมาตรา 204 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้ง นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตามคำแนะนำของวุฒิสภาตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 26 ตุลาคม พุทธศักราช 2554 เป็นปีที่ 66 ในรัชกาลปัจจุบัน ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอกธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา”

พิจารณาเพียงเท่านี้อาจจะมีข้อสงสัยกันได้บ้าง แต่ถ้าใช้ความรอบคอบย้อนไปดูสิ่งที่เคยปฏิบัติสืบมาแล้วจะเห็นชัดเจนว่าอะไรเป็นอะไร

ในอดีตเคยมี พระบรมราชโองการ ในลักษณะนี้มาแล้วแต่เป็นเรื่องของการแต่งตั้ง ประธานองคมนตรี ซึ่งมีความว่า

“พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรม

ราช โองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นประธานองคมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2518 แล้วนั้น

บัดนี้ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ประธานองคมนตรี ได้ขอลาออกจากตำแหน่งประธานองคมนตรี เนื่องจากสุขภาพไม่สมบูรณ์ ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้พ้นจากตำแหน่งประธานองคมนตรี

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 12 มาตรา 13 และ มาตรา 16 ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรี เป็นประธานองคมนตรีตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 4 กันยายน พุทธศักราช 2541 เป็นปีที่ 53 ในรัชกาลปัจจุบัน ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา”

ความ จริงที่ปรากฏคือ หลังจากวันที่ 4 กันยายน 2541 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ยังคงดำรงตำแหน่ง องคมนตรี ต่อไปจนถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 6 มกราคม 2545 อีกกว่า 3 ปีให้หลัง.

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/column/pol/corner/344305

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 พ.ค.56
วันที่โพสต์: 13/05/2556 เวลา 02:37:50

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ความพยายามในการบ่อนเซาะทำลายศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิของศาลรัฐธรรมนูญ ด้วยการยกเรื่องนี้เรื่องนั้นมากล่าวหานั้นยังมีมาไม่เลิกรา วันนี้ มีตัวอย่างของเรื่องราวที่ไม่น่าจะเป็นเรื่องเมื่อมีผู้อ้างถึงการดำรง ตำแหน่งของ นายชัช ชลวร ที่พ้นจากตำแหน่ง ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ว่าไม่มีสถานะเป็น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อีกต่อไป มีการอ้างอิงถึง พระบรมราชโองการ แต่งตั้ง นายวสันต์ สร้อย- พิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ คนใหม่เป็นหลักฐาน ดัง นั้น ต้องมาดูกันถึงความใน พระบรมราชโองการ ฉบับนั้นที่ ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษ 138 ง 17 พฤศจิกายน 2554 ที่มีความว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้ง นายชัช ชลวร เป็น ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตามประกาศลงวันที่ 28 พฤษภาคม พุทธศักราช 2551 แล้วนั้น บัดนี้ นายชัช ชลวร ได้ขอลาออกจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้พ้นจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ อาศัย อำนาจตามความในมาตรา 204 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้ง นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตามคำแนะนำของวุฒิสภาตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 26 ตุลาคม พุทธศักราช 2554 เป็นปีที่ 66 ในรัชกาลปัจจุบัน ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอกธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา” พิจารณาเพียงเท่านี้อาจจะมีข้อสงสัยกันได้บ้าง แต่ถ้าใช้ความรอบคอบย้อนไปดูสิ่งที่เคยปฏิบัติสืบมาแล้วจะเห็นชัดเจนว่าอะไรเป็นอะไร ในอดีตเคยมี พระบรมราชโองการ ในลักษณะนี้มาแล้วแต่เป็นเรื่องของการแต่งตั้ง ประธานองคมนตรี ซึ่งมีความว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรม ราช โองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นประธานองคมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2518 แล้วนั้น บัดนี้ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ประธานองคมนตรี ได้ขอลาออกจากตำแหน่งประธานองคมนตรี เนื่องจากสุขภาพไม่สมบูรณ์ ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้พ้นจากตำแหน่งประธานองคมนตรี อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 12 มาตรา 13 และ มาตรา 16 ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรี เป็นประธานองคมนตรีตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 4 กันยายน พุทธศักราช 2541 เป็นปีที่ 53 ในรัชกาลปัจจุบัน ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา” ความ จริงที่ปรากฏคือ หลังจากวันที่ 4 กันยายน 2541 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ยังคงดำรงตำแหน่ง องคมนตรี ต่อไปจนถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 6 มกราคม 2545 อีกกว่า 3 ปีให้หลัง. ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/column/pol/corner/344305

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...