"คณิต ณ นคร" แนะปฏิรูปกฎหมายบนฐานความรู้ ปชช.มีส่วนร่วม

แสดงความคิดเห็น

ศ.ดร.คณิต ณ นคร ประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย

“คณิต ณ นคร” เปลี่ยนกฎหมายจากข้อห้ามเป็นข้อฝึก วางหลักปฏิรูปกฎหมายบนฐานความรู้ ปชช.มีส่วนร่วม

ศ.ดร.คณิต ณ นคร ประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ให้สัมภาษณ์พิเศษเรื่อง “2 ปี คปก.กับการปฏิรูปกฎหมาย” โดยการสัมภาษณ์พิเศษครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสัมมนาวิชาการคณะ กรรมการปฏิรูปกฎหมาย “สองปี คปก.กับการปฏิรูปกฎหมาย สร้างความเป็นธรรม ขจัดความเหลื่อมล้ำ” ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 15 พฤษภาคม 2556 เวลา 9.00-15.00 น. ณ โรงแรมรามาการ์เด้น กรุงเทพมหานคร โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับประเด็นสัมภาษณ์ ดังต่อไปนี้

“...ผมคิดว่า การจะเปลี่ยนแปลงกฎหมายจากมิติการลงโทษไปสู่มิติของการเป็นข้อฝึกมนุษย์นั้น เป็นเรื่องที่ต้องคิด ต้องทำให้คนรู้สึกว่า มนุษย์มีความสำคัญ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ และต้องเข้าใจว่ามนุษย์นั้นฝึกได้”

การปฏิรูปกฎหมายเป็นเรื่องใหม่สำหรับสังคมไทยหรือไม่ และสังคมเข้าใจการปฏิรูปกฎหมายมากน้อยแค่ไหน

“การปฏิรูปกฎหมายในประเทศไทยเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องจากประเทศไทยเข้าไปเกี่ยวข้องกับทางตะวันตก จึงต้องการทำให้เป็นที่เชื่อถือของทางสังคมตะวันตก ต่อมาเข้าใจว่าจะมีเพียงแต่การแก้ไขกฎหมายในตัวอักษรเท่านั้น เท่านั้น ไม่มีการปฏิรูปใดๆ จะมีการปฏิรูปอีกครั้งเมื่อตอนที่มีการร่างรัฐธรรมนูญปี 2540 ซึ่งคิดว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิรูปกฎหมายในสังคมไทยเป็นครั้งแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปฏิรูปการเมือง การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม โดยผมเองได้เข้าไปมีส่วนร่วมมากพอสมควรเพราะได้เข้าเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐ ธรรมนูญ(สสร.)ด้วย สิ่งที่ปฏิรูปอย่างเห็นได้ชัดได้แก่ การออกหมายจับ-หมายค้นของศาล

การแก้ไขกฎหมายในอดีตไม่ค่อยใช้องค์ความรู้ มักใช้เพียงความรู้สึก เช่น กฎหมายขัดข้องควรปรับปรุงให้ดี ประกอบกับผู้แก้ไขคือ รัฐ จึงทำให้กฎหมายกลายเป็นเครื่องมือส่งเสริมอำนาจรัฐ ดังนั้น เมื่อมีการยกร่างรัฐธรรมนูญปี 50 จึงกำหนดให้มีองค์กรปฏิรูปกฎหมายโดยใช้องค์ความรู้เป็นเกณฑ์ นอกจากนี้ยังต้องใช้การมีส่วนร่วมของประชาชน เพราะการแก้ไขกฎหมายในอดีตนั้นประชาชนไม่ได้รับรู้ด้วย เห็นได้ว่า 2 มิตินี้เป็นเรื่องที่สำคัญ

การทำให้เกิดมิติ 2 ประการข้างต้นนั้น คปก.พยายามทำกันอยู่อย่างเต็มที่นั้น ยังกระทำได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย กล่าวคือการใช้องค์ความรู้นั้นควรจะทำงานวิจัยประกอบกันไปด้วย แต่ในปัจจุบันเป็นเพียงการเข้าไปรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในเวทีต่างๆ พยายามเข้าหาประชาชน โดยขณะนี้ก็ยังขับเคลื่อนงานส่วนนี้ต่อไป อย่างไรก็ดี การรับฟังความเห็นประชาชนนั้นก็ถือได้ว่าเป็นการวิจัยอย่างหนึ่งด้วย”

การปฏิรูปกฎหมายโดยใช้องค์ความรู้นั้นเป็นอย่างไร

“องค์ความรู้ ได้มาจากการศึกษาวิจัย นอกจากความรู้ด้านกฎหมายแล้ว นักกฎหมายควรมีองค์ความรู้ด้านอื่นๆประกอบด้วย เพราะพอถึงจุดหนึ่งแล้วกฎหมายก็จะเป็นสหวิทยาการ (Interdisciplinary) คือ สามารถอธิบายโดยศาสตร์อื่นได้ แต่การศึกษากฎหมายของไทยเป็นเพียงการศึกษาตัวบท ไม่คำนึงว่าเบื้องหลังที่มาของตัวบทกฎหมายคืออะไร”

การปฏิรูปกฎหมายบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนมีความสำคัญอย่างไรต่อการปรับปรุงและพัฒนากฎหมาย

“การปฏิรูปกฎหมายบนฐานการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนมีความสำคัญมาก เพราะกฎหมายเข้าไปเกี่ยวข้องกับประชาชนทุกคน หากได้ศึกษาเรื่อง “นิติศาสตร์แนวพุทธ” โดยท่านพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) จะพบว่า กฎหมายเป็นข้อฝึกมนุษย์ ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้กับวินัยของสงฆ์ จะเห็นได้ว่ากฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมิใช่ข้อฝึกแต่เป็นข้อห้าม ดังนั้น หากฝึกคนให้ดี ให้รู้จักเคารพกฎหมายได้แล้ว การที่จะใช้กฎหมายเพื่อเป็นบทลงโทษก็จะน้อยลง หากสังเกตพระราชบัญญัติต่างๆ ของไทย มักจะตามด้วยบทกำหนดโทษ ซึ่งความจริงแล้วอาจจะมีมิติอื่นที่สำคัญกว่าการลงโทษก็ได้

ผมคิดว่า การจะเปลี่ยนแปลงกฎหมายจากมิติการลงโทษไปสู่มิติของการเป็นข้อฝึกมนุษย์นั้น เป็นเรื่องที่ต้องคิด ต้องทำให้คนรู้สึกว่ามนุษย์มีความสำคัญซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ และต้องเข้าใจว่ามนุษย์นั้นฝึกได้ แต่จะฝึกอย่างไรนั้น จะต้องมีวิธีการโดยส่วนนี้จะต้องศึกษาค้นคว้าต่อไป ตัวอย่างเช่น การเรียนกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทย จะเรียนในมิติของอำนาจ ดังเห็นได้จากการระบุว่า พนักงานสอบสวนมีอำนาจอย่างไร พนักงานอัยการมีอำนาจอย่างไร ศาลมีอำนาจอย่างไร จึงทำให้ผู้มีอำนาจใช้อำนาจจนเกินเลย แต่อันที่จริงกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีหลักการอยู่ 2 มิติ คือ เป็นกฎหมายที่เกิดขึ้นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและเป็นกฎหมายที่คุ้มครอง สิทธิ ในด้านการคุ้มครองสิทธินั้น ต้องให้ความสำคัญกับมนุษย์อย่างเป็น Subject ในคดีหรือที่เรียกว่า Procedural Subject ในคดี ดังนั้น เขาจึงมีสิทธิ์ เช่น สิทธิที่จะมีทนายแก้ต่างคดี สิทธิให้การหรือไม่ให้การ เป็นต้น ซึ่งสิทธิต่างๆเหล่านี้ระบุเอาไว้ในกฎหมายของเราทั้งหมดแล้ว แต่ในทางปฏิบัติมักไม่คิดว่าเป็นสิทธิ”

จะมีวิธีการอย่างไรให้ประชาชนเข้าถึงกฎหมาย

“การจะให้ประชาชนเข้าถึงกฎหมายได้นั้น ผมคิดว่าต้องออกรับฟังความคิดเห็นของประชาชนซึ่งต้องกระทำ 2 ประการ คือ รับฟังแล้วนำกลับมาศึกษาทบทวนว่าหลักการเรื่องนี้เป็นอย่างไรและทำให้ตกผลึก และเมื่อคิดตกผลึกแล้วก็กลับไปถามประชาชนอีกครั้งว่า หลักการที่ตกผลึกแล้วนี้ถูกต้องหรือไม่ ต้องทำย้อนไปมา 2 รอบ จึงจะเกิดผลดี”

ในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา คปก.ได้ดำเนินการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายทั้งระบบ โดยเฉพาะในมิติของการสร้างความเป็นธรรมและขจัดความเหลื่อมล้ำในสังคม ที่เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนมีอะไรบ้าง

“ผมคิดว่าคณะกรรมการของเราได้พยายามอย่างขะมักเขม้นในการทำงาน ซึ่งการทำงานปฏิรูปกฎหมายนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่คนมักใจร้อนต้องการให้เห็นผลเร็ว ด้วยการปฏิรูปกฎหมายเองก็มิใช่เรื่องง่าย จำเป็นต้องให้การศึกษาประชาชน เอาความรู้ความคิดเห็นของประชาชนมาเพื่อศึกษาให้ตกผลึก คนเราโดยเฉพาะคนในกระบวนการยุติธรรมนั้นให้ความรู้ยาก เพราะมีอัตตาสูงดังนั้น ในระยะสองปีที่ผ่านมาก็เป็นเพียงการเริ่มก้าวของคปก.เพราะเรื่องการปฏิรูป กฎหมายต้องค่อยเป็นค่อยไป ต้องให้ความรู้แก่ประชาชน ให้ความรู้แก่สาธารณชน ให้ความรู้แก่นักกฎหมายกันเองถึงจะขับเคลื่อนไปได้”

“ไม่เพียงแต่ชาวบ้านที่ไม่มีความรู้กฎหมายเพียงพอ แม้แต่คนในกระบวนการยุติธรรมเองก็ยังไม่มีความเข้าใจดีพอ ดังนั้น การที่จะเร่งรัดในการปฏิรูปจึงเป็นไปได้ยาก”

2 ปีที่ผ่านมา คปก.บรรลุเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่

“ส่วนตัวคิดว่ากรรมการทุกคนสามารถทำงานได้อย่างดี แต่ว่ายังมีความใจร้อนอยู่บ้าง”

วางเป้าหมายการปฏิรูปกฎหมายไว้นานแค่ไหน

“หากมองการปฏิรูปกฎหมายในประเทศประชาธิปไตยที่เจริญแล้ว จะเห็นว่าเขาทำตลอดเวลา เพราะองค์ความรู้เขาตกผลึกแล้ว โดยมักใช้องค์ความรู้ที่ได้จากมหาวิทยาลัยเป็นตัวผลักดัน ดังนั้น การที่จะคาดการณ์ว่าจะสำเร็จเมื่อไรนั้นไม่สามารถกระทำได้ เพราะเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและต้องทำตลอดเวลา และจุดที่สำคัญคือเราอย่าเข้าไปยุ่งกับการเมือง เรามีความเป็นอิสระต้องทำอย่างเต็มที่ ในมุมมองของผมคือ เราต้องอยู่ห่างการเมืองให้มาก เกาะประชาชนให้เยอะ”

คปก.ได้รับการยอมรับและได้รับความสนใจมาก จะมีการเมืองเข้ามาแทรกแซงหรือไม่

“ผมไม่ทราบว่าการเมืองจะเข้ามาหาเราจะได้รับความสนใจหรือไม่ แต่หากประชาชนอุ้มชูเรา การเมืองก็จะเข้ามาก็ลำบาก เราต้องทำให้เกิดความเชื่อถือและศรัทธาแก่ประชาชน”

อะไรคือ ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญของการปฏิรูปกฎหมาย

“เราต้องใจเย็น อย่าไปเร่งรัด ต้องให้ความรู้ เข้าไปฟังประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมไทยเป็นสังคมที่หลากหลาย หากเราสามารถระดมการมีส่วนร่วมของบุคคลที่หลากหลายเหล่านี้ได้ก็จะทำให้เดิน ต่อไปได้”

การรับฟังความคิดเห็นประชาชนจะต้องทำมากแค่ไหนจึงถือว่าเพียงพอ

“การรับฟังความเห็นของประชาชนถึงจุดใดที่จะเรียกว่าเพียงพอนั้น ต้องขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญและองค์ความรู้ของกรรมการปฏิรูปกฎหมายแต่ละ ท่าน และขึ้นอยู่กับบริบทของกฎหมายฉบับนั้นๆ อีกทั้ง ต้องอาศัยเครือข่ายและองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยประกอบด้วย”

เป้าหมายและความท้าทายในการปฏิรูปกฎหมายของคปก.คืออะไร

“เราต้องทำความรู้ให้ตกผลึก ถ้าเราตกผลึกก็จะได้ความรู้แท้จริง ประชาชนก็จะสนับสนุนเรา ผมว่ามนุษย์เรามีความรู้สึกที่เป็นธรรมหรือ Scent of Justice ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นนักกฎหมายที่มี บางทีประชาชนทั่วไปอาจมี Scent of Justice ที่ดีกว่านักกฎหมายก็เป็นได้ หากประชาชนรู้ว่าสิ่งไหนเป็นสิ่งที่ดี ที่สังคมควรจะมี ตรงนี้เราถือว่าสำเร็จแล้ว อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าคนเราใจร้อน และการปฏิรูปกฎหมายหรือไม่ว่าอะไรก็แล้วแต่ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ ต้องค่อยเป็นค่อยไป ผมเองไม่ใช่คนที่ติดความสมบูรณ์แบบ (Perfectionist) ไม่รอให้สมบูรณ์แบบแล้วค่อยลงมือทำแต่ค่อยทำค่อยปรับกันไป

การทำงานต้องยึดหลักการ ไม่แกว่ง การปฏิรูปก็จะพัฒนาไปได้ การทำงานปฏิรูปกฎหมายก็เช่นกันเราต้องคิด อย่าใช้ความเชื่อ เพราะเมื่อเกิดความคิดแล้วงานปฏิรูปกฎหมายจะเดินหน้าไปได้”

วางแนวทางการปฏิรูปกฎหมายในอีก 2 ปีข้างหน้าไว้อย่างไรก่อนที่กรรมการชุดนี้จะหมดวาระลง

“เมื่อเราตั้งหลักการในการปฏิรูปกฎหมายบนฐานองค์ความรู้และการมีส่วนร่วม ของประชาชนเอาไว้มั่นคงดีแล้ว ไม่ว่าใครจะเข้ามาเป็นกรรมการปฏิรูปกฎหมายก็จะสืบสานงานบนหลักการนี้ได้โดย ไม่ยาก เพียงแต่ตอนนี้เราทำงานให้ดี ตั้งหลักให้มั่นคง และเมื่อถึงจุดหนึ่งแม้ว่ามีผู้เข้ามาทำงานแต่ไม่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความรู้ และการมีส่วนร่วมของประชาชนแล้ว ประชาชนเองก็จะเล่นงานเอง จึงไม่ค่อยห่วงเรื่องนี้เพราะต้องอย่าลืมว่าคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายเป็น องค์กรอิสระที่ต่างจากองค์กรอิสระอื่นๆ เพราะองค์กรอื่นจับต้องไม่ได้ แต่กฎหมายเป็นสิ่งที่จับต้องได้ กฎหมายแทรกเข้าไปในชีวิตจิตใจของคน

ฉะนั้น การปฏิรูปกฎหมายต้องทำพร้อมกัน 3 อย่าง คือ 1.ปฏิรูปตัวบท ซึ่งเป็นสิ่งที่เรากำลังทำกันอยู่ 2.ปฏิรูปการบังคับใช้กฎหมาย เป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง และ 3.ปฏิรูปความคิดของบุคคลากรในกระบวนการยุติธรรม เป็นสิ่งที่ยากที่สุดในการปฏิรูปทั้งสามประการนี้”…โดย สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย

ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/article/358/203442 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 พ.ค.56
วันที่โพสต์: 11/05/2556 เวลา 03:23:53 ดูภาพสไลด์โชว์ "คณิต ณ นคร" แนะปฏิรูปกฎหมายบนฐานความรู้ ปชช.มีส่วนร่วม

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ศ.ดร.คณิต ณ นคร ประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย “คณิต ณ นคร” เปลี่ยนกฎหมายจากข้อห้ามเป็นข้อฝึก วางหลักปฏิรูปกฎหมายบนฐานความรู้ ปชช.มีส่วนร่วม ศ.ดร.คณิต ณ นคร ประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ให้สัมภาษณ์พิเศษเรื่อง “2 ปี คปก.กับการปฏิรูปกฎหมาย” โดยการสัมภาษณ์พิเศษครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสัมมนาวิชาการคณะ กรรมการปฏิรูปกฎหมาย “สองปี คปก.กับการปฏิรูปกฎหมาย สร้างความเป็นธรรม ขจัดความเหลื่อมล้ำ” ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 15 พฤษภาคม 2556 เวลา 9.00-15.00 น. ณ โรงแรมรามาการ์เด้น กรุงเทพมหานคร โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับประเด็นสัมภาษณ์ ดังต่อไปนี้ “...ผมคิดว่า การจะเปลี่ยนแปลงกฎหมายจากมิติการลงโทษไปสู่มิติของการเป็นข้อฝึกมนุษย์นั้น เป็นเรื่องที่ต้องคิด ต้องทำให้คนรู้สึกว่า มนุษย์มีความสำคัญ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ และต้องเข้าใจว่ามนุษย์นั้นฝึกได้” การปฏิรูปกฎหมายเป็นเรื่องใหม่สำหรับสังคมไทยหรือไม่ และสังคมเข้าใจการปฏิรูปกฎหมายมากน้อยแค่ไหน “การปฏิรูปกฎหมายในประเทศไทยเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องจากประเทศไทยเข้าไปเกี่ยวข้องกับทางตะวันตก จึงต้องการทำให้เป็นที่เชื่อถือของทางสังคมตะวันตก ต่อมาเข้าใจว่าจะมีเพียงแต่การแก้ไขกฎหมายในตัวอักษรเท่านั้น เท่านั้น ไม่มีการปฏิรูปใดๆ จะมีการปฏิรูปอีกครั้งเมื่อตอนที่มีการร่างรัฐธรรมนูญปี 2540 ซึ่งคิดว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิรูปกฎหมายในสังคมไทยเป็นครั้งแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปฏิรูปการเมือง การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม โดยผมเองได้เข้าไปมีส่วนร่วมมากพอสมควรเพราะได้เข้าเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐ ธรรมนูญ(สสร.)ด้วย สิ่งที่ปฏิรูปอย่างเห็นได้ชัดได้แก่ การออกหมายจับ-หมายค้นของศาล การแก้ไขกฎหมายในอดีตไม่ค่อยใช้องค์ความรู้ มักใช้เพียงความรู้สึก เช่น กฎหมายขัดข้องควรปรับปรุงให้ดี ประกอบกับผู้แก้ไขคือ รัฐ จึงทำให้กฎหมายกลายเป็นเครื่องมือส่งเสริมอำนาจรัฐ ดังนั้น เมื่อมีการยกร่างรัฐธรรมนูญปี 50 จึงกำหนดให้มีองค์กรปฏิรูปกฎหมายโดยใช้องค์ความรู้เป็นเกณฑ์ นอกจากนี้ยังต้องใช้การมีส่วนร่วมของประชาชน เพราะการแก้ไขกฎหมายในอดีตนั้นประชาชนไม่ได้รับรู้ด้วย เห็นได้ว่า 2 มิตินี้เป็นเรื่องที่สำคัญ การทำให้เกิดมิติ 2 ประการข้างต้นนั้น คปก.พยายามทำกันอยู่อย่างเต็มที่นั้น ยังกระทำได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย กล่าวคือการใช้องค์ความรู้นั้นควรจะทำงานวิจัยประกอบกันไปด้วย แต่ในปัจจุบันเป็นเพียงการเข้าไปรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในเวทีต่างๆ พยายามเข้าหาประชาชน โดยขณะนี้ก็ยังขับเคลื่อนงานส่วนนี้ต่อไป อย่างไรก็ดี การรับฟังความเห็นประชาชนนั้นก็ถือได้ว่าเป็นการวิจัยอย่างหนึ่งด้วย” การปฏิรูปกฎหมายโดยใช้องค์ความรู้นั้นเป็นอย่างไร “องค์ความรู้ ได้มาจากการศึกษาวิจัย นอกจากความรู้ด้านกฎหมายแล้ว นักกฎหมายควรมีองค์ความรู้ด้านอื่นๆประกอบด้วย เพราะพอถึงจุดหนึ่งแล้วกฎหมายก็จะเป็นสหวิทยาการ (Interdisciplinary) คือ สามารถอธิบายโดยศาสตร์อื่นได้ แต่การศึกษากฎหมายของไทยเป็นเพียงการศึกษาตัวบท ไม่คำนึงว่าเบื้องหลังที่มาของตัวบทกฎหมายคืออะไร” การปฏิรูปกฎหมายบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนมีความสำคัญอย่างไรต่อการปรับปรุงและพัฒนากฎหมาย “การปฏิรูปกฎหมายบนฐานการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนมีความสำคัญมาก เพราะกฎหมายเข้าไปเกี่ยวข้องกับประชาชนทุกคน หากได้ศึกษาเรื่อง “นิติศาสตร์แนวพุทธ” โดยท่านพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) จะพบว่า กฎหมายเป็นข้อฝึกมนุษย์ ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้กับวินัยของสงฆ์ จะเห็นได้ว่ากฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมิใช่ข้อฝึกแต่เป็นข้อห้าม ดังนั้น หากฝึกคนให้ดี ให้รู้จักเคารพกฎหมายได้แล้ว การที่จะใช้กฎหมายเพื่อเป็นบทลงโทษก็จะน้อยลง หากสังเกตพระราชบัญญัติต่างๆ ของไทย มักจะตามด้วยบทกำหนดโทษ ซึ่งความจริงแล้วอาจจะมีมิติอื่นที่สำคัญกว่าการลงโทษก็ได้ ผมคิดว่า การจะเปลี่ยนแปลงกฎหมายจากมิติการลงโทษไปสู่มิติของการเป็นข้อฝึกมนุษย์นั้น เป็นเรื่องที่ต้องคิด ต้องทำให้คนรู้สึกว่ามนุษย์มีความสำคัญซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ และต้องเข้าใจว่ามนุษย์นั้นฝึกได้ แต่จะฝึกอย่างไรนั้น จะต้องมีวิธีการโดยส่วนนี้จะต้องศึกษาค้นคว้าต่อไป ตัวอย่างเช่น การเรียนกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทย จะเรียนในมิติของอำนาจ ดังเห็นได้จากการระบุว่า พนักงานสอบสวนมีอำนาจอย่างไร พนักงานอัยการมีอำนาจอย่างไร ศาลมีอำนาจอย่างไร จึงทำให้ผู้มีอำนาจใช้อำนาจจนเกินเลย แต่อันที่จริงกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีหลักการอยู่ 2 มิติ คือ เป็นกฎหมายที่เกิดขึ้นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและเป็นกฎหมายที่คุ้มครอง สิทธิ ในด้านการคุ้มครองสิทธินั้น ต้องให้ความสำคัญกับมนุษย์อย่างเป็น Subject ในคดีหรือที่เรียกว่า Procedural Subject ในคดี ดังนั้น เขาจึงมีสิทธิ์ เช่น สิทธิที่จะมีทนายแก้ต่างคดี สิทธิให้การหรือไม่ให้การ เป็นต้น ซึ่งสิทธิต่างๆเหล่านี้ระบุเอาไว้ในกฎหมายของเราทั้งหมดแล้ว แต่ในทางปฏิบัติมักไม่คิดว่าเป็นสิทธิ” จะมีวิธีการอย่างไรให้ประชาชนเข้าถึงกฎหมาย “การจะให้ประชาชนเข้าถึงกฎหมายได้นั้น ผมคิดว่าต้องออกรับฟังความคิดเห็นของประชาชนซึ่งต้องกระทำ 2 ประการ คือ รับฟังแล้วนำกลับมาศึกษาทบทวนว่าหลักการเรื่องนี้เป็นอย่างไรและทำให้ตกผลึก และเมื่อคิดตกผลึกแล้วก็กลับไปถามประชาชนอีกครั้งว่า หลักการที่ตกผลึกแล้วนี้ถูกต้องหรือไม่ ต้องทำย้อนไปมา 2 รอบ จึงจะเกิดผลดี” ในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา คปก.ได้ดำเนินการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายทั้งระบบ โดยเฉพาะในมิติของการสร้างความเป็นธรรมและขจัดความเหลื่อมล้ำในสังคม ที่เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนมีอะไรบ้าง “ผมคิดว่าคณะกรรมการของเราได้พยายามอย่างขะมักเขม้นในการทำงาน ซึ่งการทำงานปฏิรูปกฎหมายนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่คนมักใจร้อนต้องการให้เห็นผลเร็ว ด้วยการปฏิรูปกฎหมายเองก็มิใช่เรื่องง่าย จำเป็นต้องให้การศึกษาประชาชน เอาความรู้ความคิดเห็นของประชาชนมาเพื่อศึกษาให้ตกผลึก คนเราโดยเฉพาะคนในกระบวนการยุติธรรมนั้นให้ความรู้ยาก เพราะมีอัตตาสูงดังนั้น ในระยะสองปีที่ผ่านมาก็เป็นเพียงการเริ่มก้าวของคปก.เพราะเรื่องการปฏิรูป กฎหมายต้องค่อยเป็นค่อยไป ต้องให้ความรู้แก่ประชาชน ให้ความรู้แก่สาธารณชน ให้ความรู้แก่นักกฎหมายกันเองถึงจะขับเคลื่อนไปได้” “ไม่เพียงแต่ชาวบ้านที่ไม่มีความรู้กฎหมายเพียงพอ แม้แต่คนในกระบวนการยุติธรรมเองก็ยังไม่มีความเข้าใจดีพอ ดังนั้น การที่จะเร่งรัดในการปฏิรูปจึงเป็นไปได้ยาก” 2 ปีที่ผ่านมา คปก.บรรลุเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ “ส่วนตัวคิดว่ากรรมการทุกคนสามารถทำงานได้อย่างดี แต่ว่ายังมีความใจร้อนอยู่บ้าง” วางเป้าหมายการปฏิรูปกฎหมายไว้นานแค่ไหน “หากมองการปฏิรูปกฎหมายในประเทศประชาธิปไตยที่เจริญแล้ว จะเห็นว่าเขาทำตลอดเวลา เพราะองค์ความรู้เขาตกผลึกแล้ว โดยมักใช้องค์ความรู้ที่ได้จากมหาวิทยาลัยเป็นตัวผลักดัน ดังนั้น การที่จะคาดการณ์ว่าจะสำเร็จเมื่อไรนั้นไม่สามารถกระทำได้ เพราะเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและต้องทำตลอดเวลา และจุดที่สำคัญคือเราอย่าเข้าไปยุ่งกับการเมือง เรามีความเป็นอิสระต้องทำอย่างเต็มที่ ในมุมมองของผมคือ เราต้องอยู่ห่างการเมืองให้มาก เกาะประชาชนให้เยอะ” คปก.ได้รับการยอมรับและได้รับความสนใจมาก จะมีการเมืองเข้ามาแทรกแซงหรือไม่ “ผมไม่ทราบว่าการเมืองจะเข้ามาหาเราจะได้รับความสนใจหรือไม่ แต่หากประชาชนอุ้มชูเรา การเมืองก็จะเข้ามาก็ลำบาก เราต้องทำให้เกิดความเชื่อถือและศรัทธาแก่ประชาชน” อะไรคือ ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญของการปฏิรูปกฎหมาย “เราต้องใจเย็น อย่าไปเร่งรัด ต้องให้ความรู้ เข้าไปฟังประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมไทยเป็นสังคมที่หลากหลาย หากเราสามารถระดมการมีส่วนร่วมของบุคคลที่หลากหลายเหล่านี้ได้ก็จะทำให้เดิน ต่อไปได้” การรับฟังความคิดเห็นประชาชนจะต้องทำมากแค่ไหนจึงถือว่าเพียงพอ “การรับฟังความเห็นของประชาชนถึงจุดใดที่จะเรียกว่าเพียงพอนั้น ต้องขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญและองค์ความรู้ของกรรมการปฏิรูปกฎหมายแต่ละ ท่าน และขึ้นอยู่กับบริบทของกฎหมายฉบับนั้นๆ อีกทั้ง ต้องอาศัยเครือข่ายและองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยประกอบด้วย” เป้าหมายและความท้าทายในการปฏิรูปกฎหมายของคปก.คืออะไร “เราต้องทำความรู้ให้ตกผลึก ถ้าเราตกผลึกก็จะได้ความรู้แท้จริง ประชาชนก็จะสนับสนุนเรา ผมว่ามนุษย์เรามีความรู้สึกที่เป็นธรรมหรือ Scent of Justice ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นนักกฎหมายที่มี

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...