โมเดล"มานิต วิทยาเต็ม" ปฏิรูป"ศาลรธน. " เปิดอำนาจ"ปชช."วิพากษ์

แสดงความคิดเห็น

นายมานิต วิทยาเต็ม

หมายเหตุ - นายมานิต วิทยาเต็ม อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จากผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ให้สัมภาษณ์พิเศษ "มติชน" ถึงการปรับปรุงโครงสร้างและที่มาของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 รวมทั้งอำนาจหน้าที่และบทบาทของศาลรัฐธรรมนูญในการวินิจฉัยคดีต่างๆ ที่เข้าสู่การพิจารณา

@ องค์ประกอบของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญปัจจุบันควรจะต้องมีการปฏิรูปหรือปรับปรุงให้เหมาะสมหรือไม่

เหตุ ที่ผมเห็นว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 9 คนน้อยไป เพราะว่าเมื่อคิดดูในการประชุมองค์ต้องไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง คือไม่น้อยกว่า 5 คน มี 5 คนก็เป็นศาลรัฐธรรมนูญไปแล้วซึ่งถือว่าน้อยไป จาก 9 คน มีคน 5 คนประชุมขึ้นมาก็เป็นศาลวินิจฉัยเรื่องต่างๆ ได้มันน้อยไป ถ้าหากว่ามีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 15 คน เสียงข้างมากของ 15 คน คืออย่างน้อยต้องไม่น้อยกว่า 8 คน จึงจะเป็นองค์ประชุมได้ จำนวนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญควรเหมือนรัฐธรรมนูญ 2540 ตัวอย่าง การตัดสินบางเรื่อง เมื่อเร็วๆ นี้ มีตุลาการประชุมกันเพียง 5 คนถูกต้อง และ 3 คนเป็นเสียงข้างมากก็ชี้ออกมาได้ กลายเป็นว่า คน 3 คนเป็นศาลรัฐธรรมนูญ ผมรู้สึกว่าน้อยไปที่จะตัดสินเรื่องใหญ่ๆ ระดับประเทศระดับชาติ ดังนั้น ให้มีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 15 คน อย่างหลายประเทศ อาทิ ประเทศเยอรมนี หรือสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ก็มีตุลาการ 15 คน

@ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ 2550 ที่มีผู้พิพากษาศาลฎีกาและศาลปกครองรวม 5 คนจากทั้งหมด 9 คน เป็นการให้น้ำหนักผู้พิพากษามากเกินไปหรือไม่

แม้จะมีตัวแทน ที่มาจากผู้พิพากษาศาลฎีกาถึง 5 คนก็ไม่เลว แต่จะทำยังไงถึงได้ผู้พิพากษาเป็นคลีน ของผู้พิพากษาศาลฎีกามาศาลรัฐธรรมนูญ 5 คน ศาลรัฐธรรมนูญอาจจะมีศักดิ์ศรีด้อยกว่าศาลยุติธรรมหรือศาลฎีกา เพราะเห็นว่าเวลามีกิจกรรมทางการต่างๆ ประธานศาลฎีกาเป็นประมุขฝ่ายตุลาการ ศาลอื่นอาจจะมีลำดับที่ศักดิ์ศรีด้อยกว่าอยู่ศาลยุติธรรม ดังนั้น การที่ผู้พิพากษาศาลฎีกาซึ่งอาวุโสแล้วมาอยู่ศาลรัฐธรรมนูญ บางทีหลายอย่างอาจจะด้อยกว่าศาลยุติธรรม เช่น อยู่ที่ศาลฎีกาต่อไปได้จนถึงอายุ 70 ปี ถ้ามาศาลรัฐธรรมนูญจะมีอายุเหลือเพียง 9 ปี จากเดิมจะต้องมีอีก 10 ปีในศาลฎีกา ถ้าพูดตลกๆ ถ้ามีการปฏิวัติรัฐประหาร เผลอๆ ศาลรัฐธรรมนูญก็จะถูกยุบเสียอีก ซึ่งศาลฎีกาไม่เคยถูกยุบ ยังไงก็ได้อยู่ตลอด เราไม่ได้คิดหรือเชียร์ให้มีการปฏิวัติ แต่พูดแบบตลก เช่น มาได้ 3 ปี มีการยึดอำนาจถูกยุบศาลรัฐธรรมนูญก็ตกงานไปเลย

@ คณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญ 2550 ให้น้ำหนักไปที่ผู้พิพากษาศาลมากเป็นพิเศษ ในขณะที่ตัวแทนจากประชาชนมีส่วนร่วมน้อยเกินไป

ที่เห็นอยู่ก็ ดีอยู่แล้ว แต่ว่าควรจะมีดีกว่านี้ เพราะยึดโยงกับประชาชนพอสมควร มีประธานสภาผู้แทนราษฎร มีผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด และประธานองค์กรอิสระที่เลือกกันเองให้เหลือ 1 คน เท่ากับว่ามี 5 คนนี้เท่านั้นมาเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งผมเห็นว่าน้อยเกินไป คน 5 คน เป็นผู้มีเกียรติ น่าเชื่อถือ แต่ก็ขึ้นอยู่ยุคสมัย ผมคิดว่าจะต้องมีภาคประชาชนอย่างน้อย เช่น ประธานสภาหอการค้าไทย ประธานสภาอุตสาหกรรม หัวหน้าสหภาพแรงงาน คือ มาเลือกตุลาการที่มาจากสายผู้ทรงคุณวุฒิ และจะต้องได้รับความไว้วางใจจากภาคประชาชน เมื่อเลือกตัวแทนเหล่านี้มาได้แล้วก็ผสมกับรัฐธรรมนูญ 2540 ให้เลือกผู้ได้รับเสนอชื่อให้เป็นตุลาการเป็น 2 เท่าหรือ 3 เท่า แล้วไปลงมติเลือกกันในวุฒิสภา ถ้าไม่ถึงกึ่งหนึ่งก็ต้องให้คณะกรรมการสรรหาไปหาคนมาใหม่จนกว่าจะได้เสียง จากวุฒิสภาเกินกึ่งหนึ่ง

@ สัดส่วนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญควรเหมือนรัฐธรรมนูญ 2540 ให้มีผู้พิพากษา 7 คน และภาคประชาชน 8 คนหรือไม่

ควร เพิ่มโดยอีก 1 คนอาจจะให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากยศไม่ต่ำกว่านายพลและเคยดำรงตำแหน่งบริหาร ซึ่งเป็นสายความมั่นคงที่มาจากทหารหรือตำรวจก็ได้ หรือปลัดกระทรวง รองผู้บัญชาการก็ได้ แต่ต้องเป็นคนที่เกษียณแล้ว โดยให้ฝ่ายความมั่นคงไปเสนอคนที่จะมาเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 1 คน เพื่อให้ข้อคิดเรื่องความมั่นคงของประเทศ เป็นกลุ่มที่ 5 โดยให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมาจากผู้พิพากษาศาลฎีกา 4 คน ผู้พิพากษาศาลปกครอง 2 คน ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ 5 คน ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ 3 คน และเพิ่มผู้ทรงคุณวุฒิด้านความมั่นคงอีก 1 คน รวม 15 คน โดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มาจากสายความมั่นคงจะให้ข้อมูลเบื้องหลังความ มั่นคงระหว่างประเทศก็ได้

@ ทำไม 6 ปีที่ผ่านมา การทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบันจึงถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์มาก

ก็ เพราะประชาชนทุกภาคส่วนมีความตื่นตัวในสิทธิและเสรีภาพ และมีความรู้เรื่องกฎหมายมากขึ้น แต่ความตื่นตัวความรู้ข้อกฎหมายก็ถูกบ้าง แต่เขาตื่นตัวจะใช้สิทธิจึงออกมาเรียกร้อง เราตำหนิเขาไม่ได้ เป็นนิมิตหมายที่ดีกว่าจะมีประชาชนที่คิดอะไรแล้วไม่พูดไม่แสดงออก จำยอมต่อทุกอย่างแม้กระทั่งไม่พอใจ ตื่นตัวมาก็ดีจะได้คุยกันทำความเข้าใจกัน การวิพากษ์วิจารณ์ศาลรัฐธรรมนูญ มีหลักอยู่ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะต้องไม่มีเรื่องดูหมิ่นศาลเหมือนศาลยุติธรรม เพราะว่าศาลรัฐธรรมนูญตัดสินเรื่องการบ้านการเมือง สิทธิและเสรีภาพของประชาชน ดังนั้น ต้องให้เขาวิจารณ์ได้

@ ล่าสุด ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจตามกฎหมายฟ้องหมิ่นภาคประชาชนจะทำให้เกิดภาพความขัดแย้งบานปลายหรือไม่

อยู่ ที่คำพูดและอยู่ที่ใจ แต่ถ้าใจไม่นิ่งถูกอัดมากๆ ก็อาจจะร้อนขึ้นมาหน่อย แต่อย่าให้มันเดือด ถ้าเขาด่าถูกก็อาจจะเห็นว่าเราวินิจฉัยพลาดก็ได้ เราไม่น่าจะแรงไปกว่านี้ แต่ทำไงได้เราตัดสินไปแล้วเราอาจสำนึก เพราะก็มีการพลาดได้

@ สมัยที่ท่านเป็นตุลาการเคยถูกผู้เล่นชกกรรมการอยู่บ่อยครั้งเหมือนตุลาการชุดปัจจุบันหรือไม่

ของผมก็มีเหมือนกันนะ แต่เราไม่ได้พูดว่าเราถูกชก ก็โดนเหมือนกัน

@ แต่ตุลาการชุดปัจจุบันถูกเปรียบเทียบว่ากำลังถูกกองเชียร์โห่อยู่ข้างสนาม

ศาล รัฐธรรมนูญต้องถูกโห่เป็นธรรมดา ดังนั้น ต้องมีศาลรัฐธรรมนูญไว้ตัดสินคดีเพื่อให้คนโห่ได้ ถ้าไม่มีเอาไปฝากไว้กับศาลฎีกาก็โห่ไม่ได้ ถ้าเขียนยกเว้นไม่ให้โห่ได้ ศาลก็มึนไปเลย เพราะว่าเคยจะตัดสินคดีที่สงบให้เรียบร้อยแล้ววันหนึ่งมีคนแห่ การเมืองจะมาหาทำให้ท่านเดือดร้อน คดีศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญเป็นศาลที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ทางการเมือง เกี่ยวกับบ้านเมืองสิทธิและเสรีภาพประชาชน ดังนั้น ต้องให้คนวิจารณ์ เป็นธรรมดาให้เขาโห่ จะโห่ก็โห่ไป ก็ฟังไปคิด

@ ถ้าให้มีแนวคิดจะมีกฎหมายละเมิดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญขึ้นมาก็ไม่น่าจะเป็นผลดีกับศาลรัฐธรรมนูญใช่หรือไม่

คง ออกไม่ได้หรอก เรื่องละเมิดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ แต่ถ้าหมิ่นประมาทก็สามารถดำเนินการได้ สมัยก่อนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก็เคยฟ้องคนหมิ่นประมาท เช่น ไปพูดกล่าวหาตุลาการว่าไปติดสินบนคนนั้นคนนี้ไปกินข้าวบ้านคนนั้น เต้าข่าว ศาลก็เลยฟ้องหมิ่นประมาท

@ การที่ศาลรัฐธรรมนูญเงียบไม่ชี้แจงหรือการออกมาชี้แจงต่อสาธารณะอย่างไหนจะเป็นผลดีต่อศาลมากกว่า

ไม่ ชี้แจงเสียเลยก็ไม่ดี แต่ถ้าชี้แจงก็ต้องพอเหมาะพองามมีเหตุผล แต่ถ้าเรื่องไม่งาม ชี้แจงยังไงประชาชนก็หน้าเบี้ยวก็ช่วยอะไรไม่ได้ ถ้าชี้แจงไม่ดีขึ้นก็ไม่ดี ถ้าของไม่ดีก็คงยาก เขาก็ไม่เชื่ออยู่ แต่ถ้าของมันดีจริงก็น่าจะชี้แจงได้พอสมควร เพื่อให้คนเห็นพอใจว่า ศาลมีเหตุผล แต่ศาลบางคนไม่ชอบชี้แจงเพราะว่าพูดไม่เก่ง

@ การบังคับใช้มาตรา 68 ให้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญกรณีมีการล้มล้างการปกครองสามารถใช้สิทธิยื่นตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้หรือไม่

มี คนถามแล้วแต่ผมไม่อยาก เดี๋ยวจะมีคนโกรธผม แต่ผมว่าไม่น่าจะแปลว่าอันหนึ่งแต่จะแปลอีกอันหนึ่ง แต่ทุกคนก็เห็นว่าแปลได้สองอย่าง แต่ผมไม่อยากเดินไปหาพวก แต่ในใจผมก็ว่าอย่างนี้ไม่ใช่ แต่อีกพวกก็น่าจะถูกแล้ว ถ้าเป็นไปได้ก็ควรเขียนให้ชัด เพราะเขียนแล้วทำให้อ่านได้สองทาง

@ ตกลงการสถาปนากฎหมายสูงสุดของประเทศ ศาลรัฐธรรมนูญมีสิทธิเข้ามายับยั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐสภาได้หรือไม่

มัน มีข้อห้ามอยู่ตามรัฐธรรมนูญที่บอกว่าการแก้ไขเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองทำ ไม่ได้ แต่ข้อเหล่านี้คือพยายามรักษารัฐธรรมนูญไว้ เขียนอย่างไรก็แล้วแต่ ถ้ามีปฏิวัติเขาฉีกทิ้ง มีการยึดอำนาจเขาก็ล้างได้หมดทั้งฉบับ อย่าว่าแต่หมวดนั้น หมวดนี้

ขอบคุณ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1367821075&grpid=01&catid=&subcatid= (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 พ.ค.56
วันที่โพสต์: 7/05/2556 เวลา 03:15:54 ดูภาพสไลด์โชว์ โมเดล"มานิต วิทยาเต็ม" ปฏิรูป"ศาลรธน. " เปิดอำนาจ"ปชช."วิพากษ์

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายมานิต วิทยาเต็ม หมายเหตุ - นายมานิต วิทยาเต็ม อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จากผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ให้สัมภาษณ์พิเศษ "มติชน" ถึงการปรับปรุงโครงสร้างและที่มาของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 รวมทั้งอำนาจหน้าที่และบทบาทของศาลรัฐธรรมนูญในการวินิจฉัยคดีต่างๆ ที่เข้าสู่การพิจารณา @ องค์ประกอบของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญปัจจุบันควรจะต้องมีการปฏิรูปหรือปรับปรุงให้เหมาะสมหรือไม่ เหตุ ที่ผมเห็นว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 9 คนน้อยไป เพราะว่าเมื่อคิดดูในการประชุมองค์ต้องไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง คือไม่น้อยกว่า 5 คน มี 5 คนก็เป็นศาลรัฐธรรมนูญไปแล้วซึ่งถือว่าน้อยไป จาก 9 คน มีคน 5 คนประชุมขึ้นมาก็เป็นศาลวินิจฉัยเรื่องต่างๆ ได้มันน้อยไป ถ้าหากว่ามีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 15 คน เสียงข้างมากของ 15 คน คืออย่างน้อยต้องไม่น้อยกว่า 8 คน จึงจะเป็นองค์ประชุมได้ จำนวนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญควรเหมือนรัฐธรรมนูญ 2540 ตัวอย่าง การตัดสินบางเรื่อง เมื่อเร็วๆ นี้ มีตุลาการประชุมกันเพียง 5 คนถูกต้อง และ 3 คนเป็นเสียงข้างมากก็ชี้ออกมาได้ กลายเป็นว่า คน 3 คนเป็นศาลรัฐธรรมนูญ ผมรู้สึกว่าน้อยไปที่จะตัดสินเรื่องใหญ่ๆ ระดับประเทศระดับชาติ ดังนั้น ให้มีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 15 คน อย่างหลายประเทศ อาทิ ประเทศเยอรมนี หรือสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ก็มีตุลาการ 15 คน @ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ 2550 ที่มีผู้พิพากษาศาลฎีกาและศาลปกครองรวม 5 คนจากทั้งหมด 9 คน เป็นการให้น้ำหนักผู้พิพากษามากเกินไปหรือไม่ แม้จะมีตัวแทน ที่มาจากผู้พิพากษาศาลฎีกาถึง 5 คนก็ไม่เลว แต่จะทำยังไงถึงได้ผู้พิพากษาเป็นคลีน ของผู้พิพากษาศาลฎีกามาศาลรัฐธรรมนูญ 5 คน ศาลรัฐธรรมนูญอาจจะมีศักดิ์ศรีด้อยกว่าศาลยุติธรรมหรือศาลฎีกา เพราะเห็นว่าเวลามีกิจกรรมทางการต่างๆ ประธานศาลฎีกาเป็นประมุขฝ่ายตุลาการ ศาลอื่นอาจจะมีลำดับที่ศักดิ์ศรีด้อยกว่าอยู่ศาลยุติธรรม ดังนั้น การที่ผู้พิพากษาศาลฎีกาซึ่งอาวุโสแล้วมาอยู่ศาลรัฐธรรมนูญ บางทีหลายอย่างอาจจะด้อยกว่าศาลยุติธรรม เช่น อยู่ที่ศาลฎีกาต่อไปได้จนถึงอายุ 70 ปี ถ้ามาศาลรัฐธรรมนูญจะมีอายุเหลือเพียง 9 ปี จากเดิมจะต้องมีอีก 10 ปีในศาลฎีกา ถ้าพูดตลกๆ ถ้ามีการปฏิวัติรัฐประหาร เผลอๆ ศาลรัฐธรรมนูญก็จะถูกยุบเสียอีก ซึ่งศาลฎีกาไม่เคยถูกยุบ ยังไงก็ได้อยู่ตลอด เราไม่ได้คิดหรือเชียร์ให้มีการปฏิวัติ แต่พูดแบบตลก เช่น มาได้ 3 ปี มีการยึดอำนาจถูกยุบศาลรัฐธรรมนูญก็ตกงานไปเลย @ คณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญ 2550 ให้น้ำหนักไปที่ผู้พิพากษาศาลมากเป็นพิเศษ ในขณะที่ตัวแทนจากประชาชนมีส่วนร่วมน้อยเกินไป ที่เห็นอยู่ก็ ดีอยู่แล้ว แต่ว่าควรจะมีดีกว่านี้ เพราะยึดโยงกับประชาชนพอสมควร มีประธานสภาผู้แทนราษฎร มีผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด และประธานองค์กรอิสระที่เลือกกันเองให้เหลือ 1 คน เท่ากับว่ามี 5 คนนี้เท่านั้นมาเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งผมเห็นว่าน้อยเกินไป คน 5 คน เป็นผู้มีเกียรติ น่าเชื่อถือ แต่ก็ขึ้นอยู่ยุคสมัย ผมคิดว่าจะต้องมีภาคประชาชนอย่างน้อย เช่น ประธานสภาหอการค้าไทย ประธานสภาอุตสาหกรรม หัวหน้าสหภาพแรงงาน คือ มาเลือกตุลาการที่มาจากสายผู้ทรงคุณวุฒิ และจะต้องได้รับความไว้วางใจจากภาคประชาชน เมื่อเลือกตัวแทนเหล่านี้มาได้แล้วก็ผสมกับรัฐธรรมนูญ 2540 ให้เลือกผู้ได้รับเสนอชื่อให้เป็นตุลาการเป็น 2 เท่าหรือ 3 เท่า แล้วไปลงมติเลือกกันในวุฒิสภา ถ้าไม่ถึงกึ่งหนึ่งก็ต้องให้คณะกรรมการสรรหาไปหาคนมาใหม่จนกว่าจะได้เสียง จากวุฒิสภาเกินกึ่งหนึ่ง @ สัดส่วนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญควรเหมือนรัฐธรรมนูญ 2540 ให้มีผู้พิพากษา 7 คน และภาคประชาชน 8 คนหรือไม่ ควร เพิ่มโดยอีก 1 คนอาจจะให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากยศไม่ต่ำกว่านายพลและเคยดำรงตำแหน่งบริหาร ซึ่งเป็นสายความมั่นคงที่มาจากทหารหรือตำรวจก็ได้ หรือปลัดกระทรวง รองผู้บัญชาการก็ได้ แต่ต้องเป็นคนที่เกษียณแล้ว โดยให้ฝ่ายความมั่นคงไปเสนอคนที่จะมาเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 1 คน เพื่อให้ข้อคิดเรื่องความมั่นคงของประเทศ เป็นกลุ่มที่ 5 โดยให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมาจากผู้พิพากษาศาลฎีกา 4 คน ผู้พิพากษาศาลปกครอง 2 คน ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ 5 คน ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ 3 คน และเพิ่มผู้ทรงคุณวุฒิด้านความมั่นคงอีก 1 คน รวม 15 คน โดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มาจากสายความมั่นคงจะให้ข้อมูลเบื้องหลังความ มั่นคงระหว่างประเทศก็ได้ @ ทำไม 6 ปีที่ผ่านมา การทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบันจึงถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์มาก ก็ เพราะประชาชนทุกภาคส่วนมีความตื่นตัวในสิทธิและเสรีภาพ และมีความรู้เรื่องกฎหมายมากขึ้น แต่ความตื่นตัวความรู้ข้อกฎหมายก็ถูกบ้าง แต่เขาตื่นตัวจะใช้สิทธิจึงออกมาเรียกร้อง เราตำหนิเขาไม่ได้ เป็นนิมิตหมายที่ดีกว่าจะมีประชาชนที่คิดอะไรแล้วไม่พูดไม่แสดงออก จำยอมต่อทุกอย่างแม้กระทั่งไม่พอใจ ตื่นตัวมาก็ดีจะได้คุยกันทำความเข้าใจกัน การวิพากษ์วิจารณ์ศาลรัฐธรรมนูญ มีหลักอยู่ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะต้องไม่มีเรื่องดูหมิ่นศาลเหมือนศาลยุติธรรม เพราะว่าศาลรัฐธรรมนูญตัดสินเรื่องการบ้านการเมือง สิทธิและเสรีภาพของประชาชน ดังนั้น ต้องให้เขาวิจารณ์ได้ @ ล่าสุด ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจตามกฎหมายฟ้องหมิ่นภาคประชาชนจะทำให้เกิดภาพความขัดแย้งบานปลายหรือไม่ อยู่ ที่คำพูดและอยู่ที่ใจ แต่ถ้าใจไม่นิ่งถูกอัดมากๆ ก็อาจจะร้อนขึ้นมาหน่อย แต่อย่าให้มันเดือด ถ้าเขาด่าถูกก็อาจจะเห็นว่าเราวินิจฉัยพลาดก็ได้ เราไม่น่าจะแรงไปกว่านี้ แต่ทำไงได้เราตัดสินไปแล้วเราอาจสำนึก เพราะก็มีการพลาดได้ @ สมัยที่ท่านเป็นตุลาการเคยถูกผู้เล่นชกกรรมการอยู่บ่อยครั้งเหมือนตุลาการชุดปัจจุบันหรือไม่ ของผมก็มีเหมือนกันนะ แต่เราไม่ได้พูดว่าเราถูกชก ก็โดนเหมือนกัน @ แต่ตุลาการชุดปัจจุบันถูกเปรียบเทียบว่ากำลังถูกกองเชียร์โห่อยู่ข้างสนาม ศาล รัฐธรรมนูญต้องถูกโห่เป็นธรรมดา ดังนั้น ต้องมีศาลรัฐธรรมนูญไว้ตัดสินคดีเพื่อให้คนโห่ได้ ถ้าไม่มีเอาไปฝากไว้กับศาลฎีกาก็โห่ไม่ได้ ถ้าเขียนยกเว้นไม่ให้โห่ได้ ศาลก็มึนไปเลย เพราะว่าเคยจะตัดสินคดีที่สงบให้เรียบร้อยแล้ววันหนึ่งมีคนแห่ การเมืองจะมาหาทำให้ท่านเดือดร้อน คดีศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญเป็นศาลที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ทางการเมือง เกี่ยวกับบ้านเมืองสิทธิและเสรีภาพประชาชน ดังนั้น ต้องให้คนวิจารณ์ เป็นธรรมดาให้เขาโห่ จะโห่ก็โห่ไป ก็ฟังไปคิด @ ถ้าให้มีแนวคิดจะมีกฎหมายละเมิดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญขึ้นมาก็ไม่น่าจะเป็นผลดีกับศาลรัฐธรรมนูญใช่หรือไม่ คง ออกไม่ได้หรอก เรื่องละเมิดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ แต่ถ้าหมิ่นประมาทก็สามารถดำเนินการได้ สมัยก่อนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก็เคยฟ้องคนหมิ่นประมาท เช่น ไปพูดกล่าวหาตุลาการว่าไปติดสินบนคนนั้นคนนี้ไปกินข้าวบ้านคนนั้น เต้าข่าว ศาลก็เลยฟ้องหมิ่นประมาท @ การที่ศาลรัฐธรรมนูญเงียบไม่ชี้แจงหรือการออกมาชี้แจงต่อสาธารณะอย่างไหนจะเป็นผลดีต่อศาลมากกว่า ไม่ ชี้แจงเสียเลยก็ไม่ดี แต่ถ้าชี้แจงก็ต้องพอเหมาะพองามมีเหตุผล แต่ถ้าเรื่องไม่งาม ชี้แจงยังไงประชาชนก็หน้าเบี้ยวก็ช่วยอะไรไม่ได้ ถ้าชี้แจงไม่ดีขึ้นก็ไม่ดี ถ้าของไม่ดีก็คงยาก เขาก็ไม่เชื่ออยู่ แต่ถ้าของมันดีจริงก็น่าจะชี้แจงได้พอสมควร เพื่อให้คนเห็นพอใจว่า ศาลมีเหตุผล แต่ศาลบางคนไม่ชอบชี้แจงเพราะว่าพูดไม่เก่ง @ การบังคับใช้มาตรา 68 ให้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญกรณีมีการล้มล้างการปกครองสามารถใช้สิทธิยื่นตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ มี คนถามแล้วแต่ผมไม่อยาก เดี๋ยวจะมีคนโกรธผม แต่ผมว่าไม่น่าจะแปลว่าอันหนึ่งแต่จะแปลอีกอันหนึ่ง แต่ทุกคนก็เห็นว่าแปลได้สองอย่าง แต่ผมไม่อยากเดินไปหาพวก แต่ในใจผมก็ว่าอย่างนี้ไม่ใช่ แต่อีกพวกก็น่าจะถูกแล้ว ถ้าเป็นไปได้ก็ควรเขียนให้ชัด เพราะเขียนแล้วทำให้อ่านได้สองทาง @ ตกลงการสถาปนากฎหมายสูงสุดของประเทศ ศาลรัฐธรรมนูญมีสิทธิเข้ามายับยั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐสภาได้หรือไม่ มัน มีข้อห้ามอยู่ตามรัฐธรรมนูญที่บอกว่าการแก้ไขเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองทำ ไม่ได้ แต่ข้อเหล่านี้คือพยายามรักษารัฐธรรมนูญไว้ เขียนอย่างไรก็แล้วแต่ ถ้ามีปฏิวัติเขาฉีกทิ้ง มีการยึดอำนาจเขาก็ล้างได้หมดทั้งฉบับ อย่าว่าแต่หมวดนั้น หมวดนี้ ขอบคุณ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1367821075&grpid=01&catid=&subcatid=

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...