‘ชักเย่อ’อำนาจรอบใหม่ขมึงเกลียว ปรองดอง-สมานฉันท์ที่ยัง‘ไม่เห็นฝั่ง’

แสดงความคิดเห็น

ดูบรรยากาศการเมืองในบ้านเมืองยามนี้ ที่กำลังเกิดการ “เผชิญหน้า” กันทางความคิดซึ่งนับวันจะร้อนแรงขึ้นทุกขณะแล้ว น่าหวั่นวิตกเป็นอย่างยิ่ง

เพราะแม้จะเริ่มต้นความพยายามรอบใหม่ด้วยการแก้ไขกติกาอย่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราแต่สถานการณ์ได้

ถูกพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็น 2 ฝ่าย ระหว่างฝ่ายหนึ่งที่เรียกตัวเองว่า ฝ่ายประชาธิปไตย กับอีกฝ่ายที่ถูกฝ่ายที่เรียกตัวเองว่าเป็นประชาธิปไตย ยัดเยียดให้เป็นฝ่าย ขัดขวางประชาธิปไตย

พลันที่พรรคเพื่อไทยซึ่งมีส.ส.เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรจับมือกับส. ว.เลือกตั้งที่กำลังจะครบวาระ 6 ปีของการดำรงตำแหน่งในเดือนมีนาคมปีหน้า(ครบวาระในวันที่ 2 มีนาคม 2557) โดยเฉพาะการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ที่ว่าด้วยสิทธิในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญของประชาชน ก็เกิดการเผชิญหน้าขึ้นกับอีกฝ่ายคือ พรรคฝ่ายค้านอย่างพรรคประชาธิปัตย์ และส.ว.ที่ถูกเรียกว่ากลุ่ม 40 ส.ว.จนสถานการณ์ “ย้อนกลับ” ไปสู่การให้ผู้รักษากติกาตามรัฐธรรมนูญอย่าง ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้วินิจฉัยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ในครั้งนี้ ทำได้หรือทำไม่ได้

สถานการณ์ “ย้อนกลับ” ในครั้งนี้ได้ทำให้เกิดการ “ชักเย่อ” อำนาจกันขึ้นระหว่างฝ่ายพรรคเพื่อไทยและส.ว.ที่ร่วมกันเข้าชื่อแก้ไขรัฐ ธรรมนูญจำนวน 312 คน กับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจำนวน 9 คน โดยฝ่ายหนึ่งอ้างความเป็นสถาบันนิติบัญญัติซึ่งมีหน้าที่ออกกฎหมาย ขณะที่อีกฝ่ายซึ่งเป็นฝ่าย “ตุลาการ” ระบุว่ามีอำนาจในการรับวินิจฉัยตามคำวินิจฉัยครั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 มาก่อนหน้านี้ซึ่งเป็นคำวินิจฉัยที่มีผลผูกพันกับทุกองค์กร

มติพรรคเพื่อไทยและมติของส.ส.และส.ว.ที่ลงชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ยืนยันว่า จะไม่ส่งคำชี้แจงให้ศาลรัฐธรรมนูญ แม้ศาลจะให้เวลาในการส่งคำชี้แจงภายในวันที่ 15 พ.ค.ที่จะถึงนี้

ใช่แต่ท่าทีที่ไม่ให้ความร่วมมือกับศาลรัฐธรรมนูญของส.ส.พรรคเพื่อไทยเท่า นั้น ยังเกิดความเคลื่อนไหวของมวลชนคนเสื้อแดงที่ออกมากดดันการทำงานพร้อมขับไล่ ศาลรัฐธรรมนูญ

แต่สถานการณ์ “ย้อนกลับ” เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรม นูญครั้งนี้ดูจะแตกต่างจากครั้งที่ผ่านมาเพราะครั้งนี้ฝ่ายบริหารที่นำโดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งสงวนท่าทีโดยบอกว่าให้เป็นหน้าที่ของ “สภา” กลับแสดงออกซึ่งการสนับ สนุนอย่างชัดเจน

การปราศรัยในเวทีนานาชาติที่ประเทศมองโกเลีย นำมาซึ่งข้อวิพากษ์วิจารณ์ทั้งในแง่ของเนื้อหาที่บางส่วนเห็นว่าคลาดเคลื่อน ไปจากความเป็นจริง ขณะที่บางส่วนมองว่าขาดความเหมาะสมเพราะเนื้อหาคำพูดในวันนั้นไม่ใช่ บทบาท ของนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 แต่เป็นบทบาทน้องสาวของ พ.ต.ท.ทักษิณและคนในตระกูล ชินวัตร

เมื่อทั้งพรรคการเมืองซึ่งเป็นที่มาของการได้อำนาจ ฝ่ายบริหารอย่างน.ส.ยิ่งลักษณ์ ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจ กับมวลชนที่คอยให้การสนับสนุน เคลื่อนไหวพร้อมกัน จึงทำให้เกิดปฏิกิริยาจากอีกฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยทันที โดยเฉพาะท่าทีของ ส.ว.ในนามกลุ่ม ส.ว.ผู้รักชาติ ที่กำลังใช้กระบวนการ “นิติบัญญัติ” เรียกฝ่ายบริหารอย่าง น.ส.ยิ่งลักษณ์ มาชี้แจงเนื้อหาการปาฐกถา ส.ว.ทั้งหมดนี้ มีส่วนหนึ่งถูกน.ส.ยิ่งลักษณ์ เรียกว่าเป็น เศษซาก ที่หลงเหลือมาจากการรัฐประหาร ซึ่งกำลังจะถูกเสียงข้างมากในฝ่ายนิติบัญญัติ แก้ไขให้มี “ที่มา” จากการเลือกตั้งเท่านั้น

หากไม่มองเฉพาะ “ที่มา” มองผลงานล้วน ๆ จะพบว่า ส.ว.สรรหา เข้าหูเข้าตาคุ้มเงินเดือนเงินภาษีประชาชนมากกว่า

บรรยากาศ “ในสภา” ร้อนแรง ขณะที่บรรยากาศ “นอกสภา” ก็เริ่มที่จะมีความเคลื่อนไหวปรากฏ เริ่มมีการรวมกลุ่มให้กำลังใจศาลรัฐธรรมนูญหรือการให้ข้อมูลใน “โซเชียลเน็ตเวิร์ก” จากผู้คนในสังคม

ปรากฏการณ์กรณี ชัย ราชวัตร นักเขียนการ์ตูนนิสต์ชื่อดังเจ้าของคอลัมน์ “ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน” ที่ถูกมวลชนคนเสื้อแดง ส.ส.หญิงพรรคเพื่อไทย ฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมายนั้น ก็เป็นการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นทางการเมือง

คำถามสำคัญที่สังคมไทยต้องช่วยกันหาคำตอบในวันนี้ แล้วการเผชิญหน้า “รอบนี้” จะไปสู่บทสรุปอย่างไร จะเกิดการปะทะกันระหว่าง “คนไทย” กับ “คนไทย” จนนำมาซึ่งความสงบในบ้านเมืองอีกครั้งหรือไม่ เพราะการปะทะกันของ “อำนาจ” กับ “อำนาจ” ในครั้งนี้ดูเหมือนจะไม่มีใครยอมใคร ที่ผ่านมาทุกฝ่ายต่างน้อมรับและเต็มใจเดินเข้าสู่กระบวนการโดยมี “กรรมการ” เป็นผู้ชี้ขาด แต่วันนี้ฟากหนึ่งกำลัง “ผลัก” กรรมการที่มีที่มาจากรัฐธรรมนูญซึ่งเป็น “ผลไม้พิษ” จากการรัฐประหารไปอยู่อีกฟากหนึ่ง ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ หลายต่อหลายกรณี รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ซึ่งมาตามกติการัฐธรรมนูญฉบับที่ตัวเองกล่าวหา ก็ใช้บริการศาลรัฐธรรมนูญมาแล้วหลายครั้ง ที่ชัดที่สุดต้องกรณีการออกพ.ร.ก.กู้เงิน 3.5 แสนล้านเพื่อใช้บริหารจัดการน้ำโดยอ้างความจำเป็นเร่งด่วน แต่วันนี้กำลังถูกตั้งคำถามถึง “ความพร้อม” และ “ความโปร่งใส”

เชื่อเหลือเกินว่า รัฐบาลพรรคเพื่อไทย คงไม่ปล่อยให้เกิดการเผชิญหน้าของมวลชน ซึ่งเป็น “ปัจจัย” ที่จะทำให้อำนาจนอกระบบกลับเข้ามาแทรกแซง ที่สำคัญในฐานะที่เป็นรัฐบาลที่มาจาก “ประชาชน” ก็ไม่น่าจะใช้การปราบปรามเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในกรณีของ “ม็อบเสธ.อ้าย”

ใช่แต่ความพยายามแก้ไขกติกาเพื่อ “ล้างบาง” ผู้ทำหน้าที่ “ตรวจสอบ” เท่านั้น รัฐบาลพรรคเพื่อไทยยังใช้จังหวะพยายามจะผลักดันพ.ร.บ.ปรองดองเข้าสู่การ พิจารณาของสภาอีกด้วย

ทั้งแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งผลักดันร่างพ.ร.บ.ปรองดอง เปรียบไปแล้วไม่ต่างอะไรจาก “ปาท่องโก๋” ที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยต้องการผลักดัน

ระหว่างการเผชิญหน้าในช่วงนี้จึงเป็นเวลาที่ต่างฝ่ายต่างให้ข้อมูลกับมวลชน พร้อม ๆ กับเตรียมตัวหากเกิดอุบัติเหตุทางการเมือง เพราะภายใต้กติกาที่พรรคเพื่อไทยไม่ยอมรับนั้นยังเป็นกติกาที่ทำให้พรรค เพื่อไทยได้ประโยชน์

เมื่อความขัดแย้งถึงขีดสุด จนยากที่จะหาข้อยุติ การคืนอำนาจให้ประชาชนน่าจะเป็น “ทางหนึ่ง” ที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยเลือกใช้ เพราะเมื่อได้รับชัยชนะทางการเมืองกลับมา โอกาสของการแก้ไขและถูกต่อต้านจากฝ่ายตรงข้ามซึ่งพ่ายแพ้ทางการเมืองมาหมาด ๆ ก็ไม่น่าจะมีหรือมีก็น้อยเกินจะคัดค้าน

อย่าว่าแต่แก้กติกา กลับบ้าน ใครบางคนจะกลับมาเป็น นายกรัฐมนตรี อีกครั้งยังทำได้

การเดินหน้าชนิดใส่เกียร์ 5 ของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ครั้งนี้จึงเป็นความตั้งใจเดินหน้าชน ยิ่งกว่าครั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการเสนอร่างพ.ร.บ.ปรองดองในครั้งที่ผ่าน มา

ไม่ปลายปีนี้ ก็ต้นปีหน้า ได้กลับไปหา ’ประชาชน” กันแน่

ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/politics/202033 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 พ.ค.56
วันที่โพสต์: 5/05/2556 เวลา 02:40:08

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ดูบรรยากาศการเมืองในบ้านเมืองยามนี้ ที่กำลังเกิดการ “เผชิญหน้า” กันทางความคิดซึ่งนับวันจะร้อนแรงขึ้นทุกขณะแล้ว น่าหวั่นวิตกเป็นอย่างยิ่ง เพราะแม้จะเริ่มต้นความพยายามรอบใหม่ด้วยการแก้ไขกติกาอย่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราแต่สถานการณ์ได้ ถูกพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็น 2 ฝ่าย ระหว่างฝ่ายหนึ่งที่เรียกตัวเองว่า ฝ่ายประชาธิปไตย กับอีกฝ่ายที่ถูกฝ่ายที่เรียกตัวเองว่าเป็นประชาธิปไตย ยัดเยียดให้เป็นฝ่าย ขัดขวางประชาธิปไตย พลันที่พรรคเพื่อไทยซึ่งมีส.ส.เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรจับมือกับส. ว.เลือกตั้งที่กำลังจะครบวาระ 6 ปีของการดำรงตำแหน่งในเดือนมีนาคมปีหน้า(ครบวาระในวันที่ 2 มีนาคม 2557) โดยเฉพาะการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ที่ว่าด้วยสิทธิในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญของประชาชน ก็เกิดการเผชิญหน้าขึ้นกับอีกฝ่ายคือ พรรคฝ่ายค้านอย่างพรรคประชาธิปัตย์ และส.ว.ที่ถูกเรียกว่ากลุ่ม 40 ส.ว.จนสถานการณ์ “ย้อนกลับ” ไปสู่การให้ผู้รักษากติกาตามรัฐธรรมนูญอย่าง ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้วินิจฉัยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ในครั้งนี้ ทำได้หรือทำไม่ได้ สถานการณ์ “ย้อนกลับ” ในครั้งนี้ได้ทำให้เกิดการ “ชักเย่อ” อำนาจกันขึ้นระหว่างฝ่ายพรรคเพื่อไทยและส.ว.ที่ร่วมกันเข้าชื่อแก้ไขรัฐ ธรรมนูญจำนวน 312 คน กับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจำนวน 9 คน โดยฝ่ายหนึ่งอ้างความเป็นสถาบันนิติบัญญัติซึ่งมีหน้าที่ออกกฎหมาย ขณะที่อีกฝ่ายซึ่งเป็นฝ่าย “ตุลาการ” ระบุว่ามีอำนาจในการรับวินิจฉัยตามคำวินิจฉัยครั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 มาก่อนหน้านี้ซึ่งเป็นคำวินิจฉัยที่มีผลผูกพันกับทุกองค์กร มติพรรคเพื่อไทยและมติของส.ส.และส.ว.ที่ลงชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ยืนยันว่า จะไม่ส่งคำชี้แจงให้ศาลรัฐธรรมนูญ แม้ศาลจะให้เวลาในการส่งคำชี้แจงภายในวันที่ 15 พ.ค.ที่จะถึงนี้ ใช่แต่ท่าทีที่ไม่ให้ความร่วมมือกับศาลรัฐธรรมนูญของส.ส.พรรคเพื่อไทยเท่า นั้น ยังเกิดความเคลื่อนไหวของมวลชนคนเสื้อแดงที่ออกมากดดันการทำงานพร้อมขับไล่ ศาลรัฐธรรมนูญ แต่สถานการณ์ “ย้อนกลับ” เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรม นูญครั้งนี้ดูจะแตกต่างจากครั้งที่ผ่านมาเพราะครั้งนี้ฝ่ายบริหารที่นำโดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งสงวนท่าทีโดยบอกว่าให้เป็นหน้าที่ของ “สภา” กลับแสดงออกซึ่งการสนับ สนุนอย่างชัดเจน การปราศรัยในเวทีนานาชาติที่ประเทศมองโกเลีย นำมาซึ่งข้อวิพากษ์วิจารณ์ทั้งในแง่ของเนื้อหาที่บางส่วนเห็นว่าคลาดเคลื่อน ไปจากความเป็นจริง ขณะที่บางส่วนมองว่าขาดความเหมาะสมเพราะเนื้อหาคำพูดในวันนั้นไม่ใช่ บทบาท ของนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 แต่เป็นบทบาทน้องสาวของ พ.ต.ท.ทักษิณและคนในตระกูล ชินวัตร เมื่อทั้งพรรคการเมืองซึ่งเป็นที่มาของการได้อำนาจ ฝ่ายบริหารอย่างน.ส.ยิ่งลักษณ์ ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจ กับมวลชนที่คอยให้การสนับสนุน เคลื่อนไหวพร้อมกัน จึงทำให้เกิดปฏิกิริยาจากอีกฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยทันที โดยเฉพาะท่าทีของ ส.ว.ในนามกลุ่ม ส.ว.ผู้รักชาติ ที่กำลังใช้กระบวนการ “นิติบัญญัติ” เรียกฝ่ายบริหารอย่าง น.ส.ยิ่งลักษณ์ มาชี้แจงเนื้อหาการปาฐกถา ส.ว.ทั้งหมดนี้ มีส่วนหนึ่งถูกน.ส.ยิ่งลักษณ์ เรียกว่าเป็น เศษซาก ที่หลงเหลือมาจากการรัฐประหาร ซึ่งกำลังจะถูกเสียงข้างมากในฝ่ายนิติบัญญัติ แก้ไขให้มี “ที่มา” จากการเลือกตั้งเท่านั้น หากไม่มองเฉพาะ “ที่มา” มองผลงานล้วน ๆ จะพบว่า ส.ว.สรรหา เข้าหูเข้าตาคุ้มเงินเดือนเงินภาษีประชาชนมากกว่า บรรยากาศ “ในสภา” ร้อนแรง ขณะที่บรรยากาศ “นอกสภา” ก็เริ่มที่จะมีความเคลื่อนไหวปรากฏ เริ่มมีการรวมกลุ่มให้กำลังใจศาลรัฐธรรมนูญหรือการให้ข้อมูลใน “โซเชียลเน็ตเวิร์ก” จากผู้คนในสังคม ปรากฏการณ์กรณี ชัย ราชวัตร นักเขียนการ์ตูนนิสต์ชื่อดังเจ้าของคอลัมน์ “ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน” ที่ถูกมวลชนคนเสื้อแดง ส.ส.หญิงพรรคเพื่อไทย ฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมายนั้น ก็เป็นการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นทางการเมือง คำถามสำคัญที่สังคมไทยต้องช่วยกันหาคำตอบในวันนี้ แล้วการเผชิญหน้า “รอบนี้” จะไปสู่บทสรุปอย่างไร จะเกิดการปะทะกันระหว่าง “คนไทย” กับ “คนไทย” จนนำมาซึ่งความสงบในบ้านเมืองอีกครั้งหรือไม่ เพราะการปะทะกันของ “อำนาจ” กับ “อำนาจ” ในครั้งนี้ดูเหมือนจะไม่มีใครยอมใคร ที่ผ่านมาทุกฝ่ายต่างน้อมรับและเต็มใจเดินเข้าสู่กระบวนการโดยมี “กรรมการ” เป็นผู้ชี้ขาด แต่วันนี้ฟากหนึ่งกำลัง “ผลัก” กรรมการที่มีที่มาจากรัฐธรรมนูญซึ่งเป็น “ผลไม้พิษ” จากการรัฐประหารไปอยู่อีกฟากหนึ่ง ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ หลายต่อหลายกรณี รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ซึ่งมาตามกติการัฐธรรมนูญฉบับที่ตัวเองกล่าวหา ก็ใช้บริการศาลรัฐธรรมนูญมาแล้วหลายครั้ง ที่ชัดที่สุดต้องกรณีการออกพ.ร.ก.กู้เงิน 3.5 แสนล้านเพื่อใช้บริหารจัดการน้ำโดยอ้างความจำเป็นเร่งด่วน แต่วันนี้กำลังถูกตั้งคำถามถึง “ความพร้อม” และ “ความโปร่งใส” เชื่อเหลือเกินว่า รัฐบาลพรรคเพื่อไทย คงไม่ปล่อยให้เกิดการเผชิญหน้าของมวลชน ซึ่งเป็น “ปัจจัย” ที่จะทำให้อำนาจนอกระบบกลับเข้ามาแทรกแซง ที่สำคัญในฐานะที่เป็นรัฐบาลที่มาจาก “ประชาชน” ก็ไม่น่าจะใช้การปราบปรามเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในกรณีของ “ม็อบเสธ.อ้าย” ใช่แต่ความพยายามแก้ไขกติกาเพื่อ “ล้างบาง” ผู้ทำหน้าที่ “ตรวจสอบ” เท่านั้น รัฐบาลพรรคเพื่อไทยยังใช้จังหวะพยายามจะผลักดันพ.ร.บ.ปรองดองเข้าสู่การ พิจารณาของสภาอีกด้วย ทั้งแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งผลักดันร่างพ.ร.บ.ปรองดอง เปรียบไปแล้วไม่ต่างอะไรจาก “ปาท่องโก๋” ที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยต้องการผลักดัน ระหว่างการเผชิญหน้าในช่วงนี้จึงเป็นเวลาที่ต่างฝ่ายต่างให้ข้อมูลกับมวลชน พร้อม ๆ กับเตรียมตัวหากเกิดอุบัติเหตุทางการเมือง เพราะภายใต้กติกาที่พรรคเพื่อไทยไม่ยอมรับนั้นยังเป็นกติกาที่ทำให้พรรค เพื่อไทยได้ประโยชน์ เมื่อความขัดแย้งถึงขีดสุด จนยากที่จะหาข้อยุติ การคืนอำนาจให้ประชาชนน่าจะเป็น “ทางหนึ่ง” ที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยเลือกใช้ เพราะเมื่อได้รับชัยชนะทางการเมืองกลับมา โอกาสของการแก้ไขและถูกต่อต้านจากฝ่ายตรงข้ามซึ่งพ่ายแพ้ทางการเมืองมาหมาด ๆ ก็ไม่น่าจะมีหรือมีก็น้อยเกินจะคัดค้าน อย่าว่าแต่แก้กติกา กลับบ้าน ใครบางคนจะกลับมาเป็น นายกรัฐมนตรี อีกครั้งยังทำได้ การเดินหน้าชนิดใส่เกียร์ 5 ของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ครั้งนี้จึงเป็นความตั้งใจเดินหน้าชน ยิ่งกว่าครั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการเสนอร่างพ.ร.บ.ปรองดองในครั้งที่ผ่าน มา ไม่ปลายปีนี้ ก็ต้นปีหน้า ได้กลับไปหา ’ประชาชน” กันแน่ ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/politics/202033

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...