เสวนา: เมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญจะทำอย่างไร

แสดงความคิดเห็น

วรเจตน์ชี้ความขัดแย้งกรณีศาลรัฐธรรมนูญอาจมาถึงจุดสิ้นสุดของการ ต่อสู้ตามระบบกฎหมาย และอาจนำไปสู่การสู้ด้วยกำลังและรุนแรง คณินวิพากษ์วิกฤตที่จะเกิดขึ้นเป็นความรับผิดชอบของศาลรัฐธรรมนูญอย่างแท้ จริง

1 พ.ค. 2556 วรเจตน์ ภาคีรัตน์และคนิณ บุญสุวรรณ ร่วมเสวนาหัวข้อเมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญจะทำอย่างไร ซึ่งจัดขึ้นโดย สถาบันการศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย ร่วมกับมูลนิธิ คอนราด อเดเนาว์ ดำเนินรายการโดนศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ โดยทั้งสองเห็นร่วมกันว่า วิกฤตการเมืองรอบใหม่ อาจเกิดขึ้นได้จากการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ

กรณีรับคำร้อง 40 สว. เป็นเรื่องขัดอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ ซึ่งสูงกว่าอำนาจนิติบัญญัติ

วรเจตน์ ภาคีรัตน์ นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ กล่าวว่า ถึงประเด็นที่เป็นข้อถกเถียงในขณะนี้ว่า ศาลรธน. นั้นแทรกแซงอำนาจนิติบัญญัติจริงหรือไม่ว่า อำนาจสามส่วนคือ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ที่รธน.กำหนดให้องค์กรของรัฐเป็นผู้ใช้เป็นอำนาจที่ได้รับมาจากรัฐธรรมนูญ นั้นทำหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลกัน ดังนั้นเมื่อพูดว่าศาลรธน. แทรกแซงอำนาจนิติบัญญัติเป็นเรื่องที่ต้องระวัง เพราะมีกรณีที่ศาลรธน. สามารถรับคำร้องและพิจารณาคำร้องได้ในกรณีที่สภาตรากฎหมายที่ขัดกฎเกณฑ์ใน รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดได้ และกรณีนี้จะไม่ถือว่าศาลแทรกแซงอำนาจนิติบัญญัติตราบที่ยังอยู่ในกรอบของ รัฐธรรมนูญ

แต่ปัญหาที่พูดกันอยู่ทุกวันนี้มากไปกว่านั้น เพราะเป็นกรณีที่รัฐสภาจะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่การตรากฎหมายที่ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ ซึ่งต่างกันอยู่ อำนาจนิติบัญญัติเป็นอำนาจที่กำหนดให้รัฐสภาเป็นคนใช้อำนาจนั้น แล้วให้ศาลรัฐธรรมนูญ เข้ามาตรวจสอบได้ตามหลักความกฎหมายสูงสุดของศาลรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อจะแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นสภาไม่ได้ใช้อำนาจนิติบัญญัติแบบปกติที่ใช้ใน การแก้ไขกฎหมายต่ำกว่ารธน. แต่เป็นการใช้อำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งนี่เป็นปัญหาเพราะคนเข้าใจว่าเป็นอำนาจในระดับเดียวกัน

ส่วนข้อห้ามในการแก้ไขรัฐธรรมนูญคือการเปลี่ยนรูปรัฐ แต่โดยเหตุแบบนี้ก็มีคนคิดว่าถ้ามีข้อห้ามแบบนี้ต้องมีองค์กรมาตรวจสอบ และคิดว่าเป็นศาลรัฐธรรมนูญ นี่คือเหตุผลที่ศาลฯ เข้ามาระงับยับยั้ยการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่กำลังดำเนินอยู่

แต่ในทางรัฐธรรมนูญนั้นมีหลักการสำคัญอยู่อย่างหนึ่ง คือรธน. ให้อำนาจศาลรธน. ในการพิจารณากรณีที่เป็นการใช้อำนาจนิติบัญญัติธรรมดา แต่ไม่มีที่ใดในรัฐธรรมนูญบัญญัติให้อำนาจศาลฯ ในการเข้ามาตรวจสอบการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้ เพราะว่าศาลฯ รับอำนาจมาจากรัฐธรรมนูญ ย่อมไม่มีสิทธิห้ามองค์กรที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญได้

การแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐสภาเป็นการทำ “หน้าที่” ไม่ใช่การใชสิทธิเสรีภาพตาม รธน. ม. 68

ส่วนรัฐธรรมนูญ ม. 68 นั้นกำหนดเนื้อหาให้ปกป้องรัฐธรรมนูญตามที่บัญญัติไว้ในวรรค 1 ว่า

บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้ม ล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐ ธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตาม วิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้

วรเจตน์กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยรัฐสภานั้น ไม่ใช่กรณีที่สมาชิกรัฐสภาใช้สิทธิและเสรีภาพ แต่เป็นการทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ เพราะถ้าตีความการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพเสียแล้ว การทำตามหน้าที่ของหน่วยงานรัฐก็จะเข้าองค์ประกอบมาตรา 68 ได้อีกมาก จะเป็นการแผ่อำนาจการตรวจสอบของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญออกไปอย่างกว้างขวาง

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตีความ ม. 68 ไปในทางที่ล้มล้างบทบาทของอัยการ

นักวิชาการจากกลุ่นนิติราษฎร์กล่าวต่อไปว่า อีกประเด็นหนึ่งที่เป็นประเด็นที่คนทั่วไป แม้คนที่ไม่ได้เป็นนักกฎหมายก็ย่อมเข้าใจได้ คือ ตัวบทบัญญัติ ม. 68 วรรค 2 ระบุว่า

ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจวสอบข้อ เท็จจริงและยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้ เลิกกระทำการดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว

การที่บทบีญญัติระบุว่าผู้ที่ทราบเรื่องให้ยื่นคำร้องต่ออัยการ เพื่อไม่ให้อ้างกันได้พร่ำเพรื่อ จึงต้องกำหนดกระบวนการในการนำคดีขึ้นสู่ศาล ซึ่งรธน. กำหนดว่า คนที่รู้ถึงการกระทำตามวรรค 1 ให้ยื่นเรื่องไปที่อัยการสูงสุด ถ้าอัยการเห็นว่ามีมูลก็จะส่งเรื่องต่อไป แต่ถ้าไม่เห็นว่ามีมูล ก็ไม่ส่งเรื่อง เป็นการคานอำนาจระหว่างศาลรัฐธรรมนูญกับอัยการ แต่ถ้าจะใครก็ได้ไปยื่นร้องได้โดยไม่ผ่านนอัยการ ก็จะทำให้ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจพิจารณาได้อย่างกว้างขวาง เพื่อขัดขวางการกระทำต่างๆ ของรัฐ ซึ่งไม่ถูกต้อง

ในทางปฏิบัติ ถ้าอัยการสูงสุดไม่ส่งเรื่องไป เรื่องก็ไม่ไปถึงศาลรัฐธรรมนูญ เพราะอัยการสูงสุดก็เป็นองค์กรที่รัฐธรรมนูญไว้วางใจให้อำนาจ และในโลกนี้มีประเทศที่ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญน้อยมาก เพราะว่าเป็นศาลที่ไม่ใช่ศาลทั่วไป แต่เป็นองค์กรที่คอยคุ้มครองความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ จึงต้องวางกลไกเพื่อป้องกันไม่ให้ศาลฯ เป็นผู้เผด็จอำนาจ และในทางการเมืองมีความขัดแงตลอดเวลา ก็จะมีคนไปฟ้องศาลฯ ได้ตลอดเวลา

แต่ที่ผ่านมามีการตีความ คำว่า และ เท่ากับคำว่า หรือ ซึ่งนักศึกษากฎหมายก็รู้ได้ว่าเป็นการตีความที่ประหลาด คำถามง่ายๆ คือจะเขียนคำว่าอัยการสูงสุดไปทำไม ถ้าไปยื่นคำร้องต่อศาลฯ ได้โดยตรง การวินิจฉัยรับคำร้องของศาลในการปฏิบัติจึงเป็นการที่ศาลรัฐธรรมนูญได้ลบว่า “อัยการ” ออกจากรัฐธรรมนูญ

วรเจตน์กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ศาลยังไปอ้างอำนาจที่ไม่มี คืออำนาจในการสั่งคุ้มครองชั่วคราว พร้อมทั้งกล่าวว่ากรณีการขัดขวางแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้ เป็นผลพวงมาจากความขัดแย้งทางการเมืองที่ดำรงต่อเนื่อมาจากรัฐประหาร กลไกโครงสร้างใย รธน. 2550 จึงมีส่วนที่ไม่ยอมรับและยอมรับประชาธิปไตยและนิติรัฐคู่ขนานกัน และแสดงออกมาผ่านกลไกและการตีความของศาลรธน.

โต้ วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ อ้างศาลรัฐธรรมนูญเยอรมัน-ฮิตเลอร์ ผิดข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์

รศ. วรเจตน์กล่าวถึงกรณีที่นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ปาฐกถาในงานรำลึก ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ ซึ่งมติชนออนไลน์นำเสนอเมื่อวันที่ 5 เม.ย. ที่ผ่านมา โดยยกเอาข้อความตอนหนึ่งว่า

นายวสันต์ ชี้ให้เห็นถึง "การลุแก่อำนาจของเสียงส่วนใหญ่" โดยยกกรณีของ “ฮิต เลอร์” ซึ่งขึ้นเป็นผู้นำเยอรมันจากการเลือกตั้ง เมื่อชนะเลือกตั้งแล้วสมัครพรรคพวกมาได้เสียงข้างมากในสภา ฮิตเลอร์ก็แก้ไขกฎกติกา แก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อรักษาอำนาจของตัวเองในที่สุด ผู้นำและเสียงข้างมากก็นำพาเยอรมันไปสู่หายนะ ซึ่งนี่คือ ตัวอย่างของผู้นำที่มาจากเสียงข้างมาก

และนี่ คือ เหตุผลของการที่เยอรมันมีศาลรัฐธรรมนูญ และศาลรัฐธรรมนูญในเยอรมันก็มีอำนาจมากเหลือเกิน ไม่ต้องมีใครมายื่นคำร้องไม่ต้องมาเถียงกัน คือ หากเห็นว่าฝ่ายบริหารกำลังละเมิดรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญสามารถตั้งเรื่องเองและเรียกฝ่ายบริหารมาไต่สวน ถ้าเห็นไม่ชอบมาพากลก็ออกคำสั่งห้ามได้

รศ.วรเจตน์ อธิบายว่า ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำอภิปรายของประธานศาลรัฐธรรมนูญไม่ถูกต้อง สามประเด็น

ประเด็นแรก คือ มักมีการอ้างฮิตเลอร์เป็นผู้นำจากการเลือกตั้ง ทั้งที่ฮิตเลอร์ไม่เคยชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาดเลย แต่ได้มาจากการรวบรวมเสียงจากพรรคต่างๆ มาร่วมรัฐบาลและขณะนั้นฮิตเลอร์ก็ไม่ได้เป็นผู้เผด็จการเด็ดขาด ซึ่งการเป็นผู้เผด็จการของฮิตเลอร์นั้นเป็นผลพวงของเหตุการณ์หลายอย่าง ประกอบกัน และเหตุการที่สำคัญ คือบทบาทของฝ่ายศาลและตุลาการที่สนับสนุนให้ขึ้นสู่ความเป็นเผด็จการเบ็ด เสร็จ ซึ่งรวมถึงคดีศาลใช้กฎหมายย้อนหลังลงโทษทางอาญาแก่บุคคล

“การที่ฮิตเลอร์ขึ้นสู้อำนาจ จึงเป็นผลจากการกระทำของฝ่ายตุลาการและศาลในขณะนั้น และไม่มีใครพูดกันโดยเฉพาะคนที่จบจากเยอรมัน”

สำหรับกรณีที่มีคนกล่าวอ้างว่าฮิตเลอร์ทำประชามติได้รับเสียงสนับสนุน 90 เปอร์เซ็นต์ กรณีที่ฮิตเลอร์ทำประชามตินั้นเป็นการทำเมื่อฮิตเลอร์เป็นเผด็จการไปแล้ว เหมือนการลงประชามติปี 2550 ที่ประชาชนไม่มีสิทธิรู้ว่าถ้าไม่ลงประชามติแล้วจะได้รัฐธรรมนูญฉบับไหน

ประเด็นที่ 2 ระบบศาลรัฐธรรมนูญเยอรมันไม่มีการตั้งประเด็นขึ้นพิจารณาเอง “มีคนบอกว่าถ้าเห็นว่าไม่ชอบมาพากลก็มีคำสั่งห้ามได้ แต่ผมคิดว่าไม่ใช่เยอรมันแน่ๆ ผมอยากเสนอว่านักกฎหมายไทยหลายคนที่พูดเรื่องเยอรมันพูดไม่ถูกต้อง จะเป็นการดีมากๆ ถ้ามีการจัดเอานักกฎหมายจากเยอรมันนีมาพูดให้นักกฎหมายไทยฟังว่าศาลรัฐ ธรรมนูญมีอำนาจมาจากไหน จะได้ไม่ต้องพูดกันอย่างไม่ถูกตัองและทำให้คนหลงผิดไปด้วย”

ประเด็นที่ 3 อ้างว่าศาลรัฐธรรมนูญเยอรมันมีอำนาจมากมาจากประสบการณ์ของฮิตเลอร์ที่นำ ประเทศไปสู่การแพ้สงคราม ซึ่งในข้อเท็จจริงคือเยอรมันมีฮิตเลอร์แล้วแพ้สงคราม แต่จากประสบการณ์ทั้งหมดนี้ คนเยอรมันไม่ได้เสียความเชื่อมั่นศรัทธาต่อประชาธิปไตย ศาลที่เกิดขึ้นในเยอรมันมีอำนาจมากจริง แต่ไม่ได้ขาดองค์ประกอบประชาธิปไตยเพราะศาลฯ มีอำนาจที่ยึดโยงกับประชาชน ตุลาการฯ มาจากการเลือกโดยรัฐสภา และมาจากการเลือกโดยผู้แทนมลรัฐ มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตยสูง และแม้จะมีความชอบธรรมขนาดนั้นก็ไม่มีอำนาจระงับการแก้ไขรธน.

ศาลของเยอรมันมีอำนาจวินิจฉัยจริงตัวบทแห่งรัฐธรรมนูญจริง เพราะรัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้ แต่ไม่มีการตรวจสอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะเขาจะพิจารณาเฉพาะกฎหมายที่มีอยู่แล้ว ไม่ใช่พิจารณาก่อนจะมีกฎหมาย

“อย่างอ้างเยอรมันเพราะมันเสียหายประเทศเขา มันเป็นการอ้างไม่ถูก ถ้าผมเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผมจะเจียมเนื้อเจียมตัวเพราะฐานที่มามันไม่ ใช่ รัฐธรรมนูญของเยอรมันเขาเป็นประชาธิปไตยเต็มรูป”

“มาดูรัฐธรรมนูญ 2550 ของไทยมันมีที่มาอันอัปยศจากการแย่งชิงอำนาจโดยรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 และมีองค์ประกอบหลายประการที่ไม่เป็นประชาธิปไตย”

วรเจตน์กล่าว พร้อมตอกย้ำว่า กลไกที่มาจากรัฐธรรมนูญ 2550 นั้นย่อมกลัวที่จะเสียประโยชน์ เพราะรัฐธรรมนูญสร้างกลไกที่ไม่มีองค์ประกอบประชาธิปไตยไว้ และเมื่อมีพลังประชาธิปไตยต้องการแก้ไขก็จะถูกต้าน เป็นสิ่งที่สะท้อนออกมาในสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้

การต่อสู้ตามระบบกฎหมายถึงทางตัน จะนำไปสู่การต่อสู้นอกระบบกฎหมาย

ส่วนกรณีที่เรียกร้องให้เคารพอำนาจศาล วรเจตน์ตั้งคำถามว่า ถ้าศาลนั้นตัดสินผิดพลาดประชาชนจะต้องก้มหน้ายอมรับเช่นนั้นหรือ

ประเด็นต่อมา ศาลรัฐธรรมนูญไม่ใช่องค์กรเดียวที่ทำหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ สว. มีอำนาจในการถอดถอนแต่ในทางปฏิบัตินั้นเป็นเรื่องลางเลือน อีกประการคือการดำเนินคดีอาญาต่อตุลาการ ก็จะเป็นประเด็นปัญหาทัศนคติว่าศาลอาญาจะพิจารณาเรื่องนี้อย่างไร ทั้งนี้ เมืองไทยไม่มีความผิดฐานบิดเบือนกฎหมาย ซึ่งก็คาดหมายไม่ได้ว่าศาลอาญาจะตัดสินอย่างไร และหากระบบตรวจสอบศาลรัฐธรรมนูญปิดล็อกหมด เรื่องแบบนี้ก็กลับมาสู่ประชาชน และถ้าเป็นการปะทะกันจริงทางอำนาจ ก็จะพ้นไปจากขอบเขตของระบบกฎหมาย ก็จะเป็นการปะทะกันโดยกำลัง เพราะระบบที่วางไว้ในรธน. 2550 ไม่มีช่องทางที่จะคลี่คลายไปได้ ต้องมีคนถอย แต่ถ้าฝ่ายแก้ไขเพิ่มเติมรธน. ยอมถอย ก็จะกลายเป็นว่าไม่สามารถจะแก้ไขรัฐธรรมนูญได้เลย

อีกทางออกหนึ่งคือ ศาลฯ เป็นฝ่ายถอย ให้เป็นเรื่องของสภา เป็นเจตจำนงของประชาชนผ่านกลไกการเลือกตั้ง เป็นเรื่องเสียงข้างมาก แบบนี้จะไปต่อได้ แต่ถ้าศาลฯ บอกว่าตัวเองมีอำนาจในการปกป้องรัฐธรรมนูญ ต้องขออนุญาตก่อน ขณะที่ฝ่ายสภาฯ เห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องขออนุญาตศาลรัฐธรรมนูญ ก็จะนำไปสู่ความเห็นที่แตกต่างกัน ประชาชนก็จะแตกออกเป็นสองข้าง

เขากล่าวว่าถึงจุดนี้ไม่มีเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของคำพิพากษาแล้ว แต่จะเป็นการปะทะกันในทางอำนาจตามความเป็นจริง คำถามคือ เราจะให้ประเทศเราไปถึงจุดนั้นหรือ และคำตอบไม่ได้อยู่ในสายลม แต่คำตอบจะอยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งทางเลือกของการใช้อำนาจสู้กันนั้นเป็นสิ่งที่เขาไม่อยากเห็น นิติราษฎร์จึงเสนอให้ยุบศาลรัฐธรรมนูญแล้วมีองค์กรใหม่ขึ้นมา การเสนอแบบนี้ในระยะยาวเป็นการรักษาไว้ซึ่งสถาบันศาลรัฐธรรมนูญ และย้ำว่าต้องแยกแยะระหว่างสถาบันศาลรัฐธรรมนูญกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

วรเจตน์กล่าวด้วยว่า จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ขณะนี้ มีความเป็นไปได้ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นต้นเหตุแห่งความขัดแน้ง แต่ก็ขึ้นกับอำนาจทางการเมืองและนักการเมืองว่าจะเอาอย่างไร ซึ่งเขามองว่าเรื่องนี้นักการเมืองต้องเดินไปให้สุด ถ้าไม่สุดแล้วจะเสียหายมาก เพราะต่อไปจะแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้ แต่ประเด็นสำคัญคือทุกคนต้องเห็นว่าถ้าเดินไปแบบนี้จะเป็นการปะทะกัน แต่ถ้าฝ่ายที่จะแก้รัฐธรรมนูญเป็นฝ่ายถอยจะเสียหายต่อประชาธิปไตย แต่สำหรับเขาเขาคิดว่ามนุษย์โลกต้องพัฒนาไปสู่จุดที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น เป็นไปไม่ได้ที่รัฐธรรมนูญจะอยู่อย่างนี้ตลอดกาล

คณิน บุญสุวรรณ: วิกฤตการเมืองจะเกิดขึ้นต่อไปจากนี้ก็ต้องโทษศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น

อดีต ส.ว. และสมาชิกสภาร่างวรัฐธรรมนูญระบุว่า ไม่มีศาลรัฐธรรมนูญที่ไหนไหนโลกที่จะมีอำนาจสั่งล้มนายกรัฐมนตรี หรือสั่งรัฐสภาได้อย่างศาลรัฐธรรมนูญของไทย โดยเขาตั้งข้อสังเกตด้วยว่า เขาเห็นว่าการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ไม่ทราบว่ามีการขอยกเลิกม. 68 วรรค 4 หรือไม่ ถ้าไม่มีแปลว่าเข้าไม่ถึงจุดของปัญหา เพราะวรรคสี่คือการยุบพรรคแล้วเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ก็คือการล้มรัฐบาลนั้นเอง การแก้ไขต้องแก้มาตรา 68 วรรค 4 อำนาจที่ยังหลงเหลืออยู่ของศาลรัฐธรรมนูญ

เขากล่าวว่า ถ้าวิกฤตการเมืองจะเกิดขึ้นต่อไปจากนี้ก็ต้องโทษศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น เขาชี้ว่า ศาลรธน. ขณะนี้มีอำนาจมากกว่าศาลรัธรรมนูญใดๆ ในโลก และอำนาจเฉพาะที่เกี่ยวกับฝ่ายนิติบัญญัติมีตัวอย่างที่สำคัญ คือพิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างพระราชบัญญัติฯ ทุกฉบับที่ผ่านความเห็นชอบขอบรัฐสภาแล้ว ก่อนจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถ้าศาลฯ วินิจฉัยแล้วพบว่ามีข้อความขัดแย้งรัฐธรรมนูญ ร่างฯ ตกไปทั้งฉบับ ไม่มีโอกาสที่จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อใช้พระราชวินิจฉัยเลย ซึ่งเขาเห็นว่าเป็นล่วงล้ำอำนาจของรัฐสภา

ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการเขียนด้วยว่า ภายใน 1 ปีหลัง รธน. 2550 ประกาศใช้ ให้อำนาจศาลรธน. เสนอร่างพรบ. ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรธน. ซึ่งจนบัดนี้ศาลรัฐธรรมนูญก็ยังไม่มีพระราชบัญญัติวิธีพิจารณา แม้ว่ารัฐธรรมนูญ 2550 จะประกาศใช้มา 5 ปีแล้ว ทั้งนี้ โดยกระบวนการ เมื่อศาลยื่นให้สภาผ่านความเห็นชอบ ก็ต้องส่งกลับมาให้ศาลรธน. ตรวจสอบความชอบด้วยรธน. อีก “แล้วเป็นไปได้ไหมว่ารัฐสภาจะไม่แก้ไข แต่เมื่อแก้ไขแล้ว รธน. ก็ให้ส่งกลับมาที่ศาลฯ อีกเพื่อพิจารณา ยิ่งกว่าเด็กเล่นขายของ แล้วถ้ารัฐสภาแก้ไขร่างฯ แล้วศาลฯ เห็นว่ามีข้อความที่ขัดหรือแย้ง ก็ให้ตกไป ทั้งฉบับ นี่หรือเปล่าที่เป็นเหตุผลที่จนป่านนี้ศาลฯ ที่ล้มรัฐบาลไปหลายรัฐบาลได้ใช้อำนาจโดยใช้อำนาจโดยใช้ข้อกำหนดวิธีพิจารณาฯ โดยไม่มีร่างพรบ. ไม่เป็นไปตามที่กำหนด”

อดีต สสร. วิจารณ์ว่า รัฐสภาโอนอ่อนให้กับศาลรัฐธรรมนูญมามากแล้ว “ยอมจนกระทั่งประธานรัฐสภาถูกแย่งเก้าอี้ ไปนั่งในคอกพยาน ยอมขนาดนี้แล้วอีกฝ่ายก็ยังไม่ยอม ถึงขนาดที่เขียนเอาไว้เองในรธน. ว่าจะแก้ไขเป็นรายมาตรา แต่พอจะขอแก้ไขเป็นรายมาตรา ยังไม่ทันลงมติวาระหนึ่งเลย แจ้นไปร้องศาลฯ แล้ว ศาลฯ เหลือห้าคน ห้าในเก้านี้ คอขาดบาดตายขนาดนื้ ท่านรีบเร่งลงมติทำไม แล้วลงมา 3 ต่อ 2 แล้วที่สุดก็ช่อำนาจด้วยความเพลิดเพลิน พราะครั้งที่แล้วทำได้ ไม่เห็นเขาว่าอะไรเลย”

สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อย่างเลวร้ายที่สุดเขาเห็นว่าสภาควรลงมติวาระสามไปเลย แล้วนายกรัฐมนตรีคืนอำนาจนั้นให้ประชาชน “ใครก็ตามที่บอกว่ากลัวลงประชามติวาระสามจะแพ้โหวตไม่ต้องกลัว ยิ่งกลัวยิ่งเสื่อม ถ้าเขาเห็นหัวพวกท่านจริงและเห็นว่าท่านยอมขนาดนี้ เขาจะไม่ทำแบบนี้ มติสามต่อสองรับคำร้องสี่สิบส.ว. ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียกับการแก้ไขรธน. 291”

เขากล่าวด้วยว่า เจตจำนงในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญให้พ้นภัยจากการรัฐประหาร ในมาตรา 68 กลายเป็นการพิทักษ์รัฐธรรมนูญไม่ให้มีการแก้ไขโดยตัวแทนของประชาชนไปเสีย แล้ว และกรณี 40 สว. ที่ไปยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยควรจะลาออกจากการเป็นสว. เสียก่อน โดยวิจารณ์ด้วยว่า กลุ่ม 40 ส.ว.แพ้โหวตในสภา จบวาระสองไปแล้ว ในที่สุดรู้ว่าสู้ไม่ได้ก็เอาไปฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ ศาลก็ใจดีเห็นอกเห็นใจ เข้าอกเข้าใจ รับเรื่องและมีมติ 3 ต่อ 2 ด้วยองค์ประชุม 5 คน ถัดมาอีกไม่กี่วัน ลงมติ 8 ต่อ 0 ไม่รับคำร้องคุณเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ที่ยื่นคำร้องการกระทำละเมิดรัฐธรรมนูญของ 40 ส.ว. เสียอีกด้วย

สุดท้าย อดีต ส.ส.ร. กล่าวว่า ประเด็นที่ต้อพิจารณาเกี่ยวกับศาล คือ 1) ที่มาของตุลาการมีการยึดโยงกับประชาชนและรัฐสภาหรือเปล่า ก่อนทีจะมาทำมีมีอำนาจหน้าที่ที่จะมาดำเนินการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

2) องค์ประกอบรัฐธรรมนูญ 2540 ใหมีองค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 9 คน จากจำนวน 15 คนและล้วนมีที่มาและยึดโยงกับประชาชน รวมถึงมีการยึดโยงกับสถาบันการศึกษา ในส่วนที่ได้รับเลือกจากวุฒิสภา วุฒิสภาขณะนั้นก็มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ในเรื่องที่มา เมื่อเปรียบเทียบกับรธน. 2550 จะเห็นว่าลดจำนวนผู้พิพากษาลงมาเหลือ 9 คน และกำหนดให้องค์คณะเหลือ 5 คน โดยเขาตั้งข้อสังเกตว่า 5 คนจาก 9 คนก็ล้วนมีที่มาจากสายตุลาการ กลายเป็นเสียงข้างมากได้ตลอดไป ขณะที่อีก4 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ สาขานิติศาสตร์สองคน ก็มาจากศาล อีกสองคนมาจากสาขารัฐศาสตร์ ซึ่งก็แทบจะไม่มีความหมายอะไร และการกำหนดองค์ประกอบผู้พิพากษาเช่นนี้ทำให้เห็นเจตนาชัดเจนที่จะให้องค์กร ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรที่จะทำลายและขัดขวางกระบวนการประชาธิปไตยที่มาจาก การเลือกต้ง เพราะรู้อยู่แล้วว่าเลือกตั้งทีไรก็แพ้ทุกที แต่ที่ทำไม่ถูกคือเอากระบวนการศาลมาใช้

ขอบคุณ http://www.prachatai.com/journal/2013/05/46511 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 พ.ค.56
วันที่โพสต์: 2/05/2556 เวลา 02:52:59

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

วรเจตน์ชี้ความขัดแย้งกรณีศาลรัฐธรรมนูญอาจมาถึงจุดสิ้นสุดของการ ต่อสู้ตามระบบกฎหมาย และอาจนำไปสู่การสู้ด้วยกำลังและรุนแรง คณินวิพากษ์วิกฤตที่จะเกิดขึ้นเป็นความรับผิดชอบของศาลรัฐธรรมนูญอย่างแท้ จริง 1 พ.ค. 2556 วรเจตน์ ภาคีรัตน์และคนิณ บุญสุวรรณ ร่วมเสวนาหัวข้อเมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญจะทำอย่างไร ซึ่งจัดขึ้นโดย สถาบันการศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย ร่วมกับมูลนิธิ คอนราด อเดเนาว์ ดำเนินรายการโดนศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ โดยทั้งสองเห็นร่วมกันว่า วิกฤตการเมืองรอบใหม่ อาจเกิดขึ้นได้จากการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีรับคำร้อง 40 สว. เป็นเรื่องขัดอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ ซึ่งสูงกว่าอำนาจนิติบัญญัติ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ กล่าวว่า ถึงประเด็นที่เป็นข้อถกเถียงในขณะนี้ว่า ศาลรธน. นั้นแทรกแซงอำนาจนิติบัญญัติจริงหรือไม่ว่า อำนาจสามส่วนคือ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ที่รธน.กำหนดให้องค์กรของรัฐเป็นผู้ใช้เป็นอำนาจที่ได้รับมาจากรัฐธรรมนูญ นั้นทำหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลกัน ดังนั้นเมื่อพูดว่าศาลรธน. แทรกแซงอำนาจนิติบัญญัติเป็นเรื่องที่ต้องระวัง เพราะมีกรณีที่ศาลรธน. สามารถรับคำร้องและพิจารณาคำร้องได้ในกรณีที่สภาตรากฎหมายที่ขัดกฎเกณฑ์ใน รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดได้ และกรณีนี้จะไม่ถือว่าศาลแทรกแซงอำนาจนิติบัญญัติตราบที่ยังอยู่ในกรอบของ รัฐธรรมนูญ แต่ปัญหาที่พูดกันอยู่ทุกวันนี้มากไปกว่านั้น เพราะเป็นกรณีที่รัฐสภาจะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่การตรากฎหมายที่ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ ซึ่งต่างกันอยู่ อำนาจนิติบัญญัติเป็นอำนาจที่กำหนดให้รัฐสภาเป็นคนใช้อำนาจนั้น แล้วให้ศาลรัฐธรรมนูญ เข้ามาตรวจสอบได้ตามหลักความกฎหมายสูงสุดของศาลรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อจะแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นสภาไม่ได้ใช้อำนาจนิติบัญญัติแบบปกติที่ใช้ใน การแก้ไขกฎหมายต่ำกว่ารธน. แต่เป็นการใช้อำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งนี่เป็นปัญหาเพราะคนเข้าใจว่าเป็นอำนาจในระดับเดียวกัน ส่วนข้อห้ามในการแก้ไขรัฐธรรมนูญคือการเปลี่ยนรูปรัฐ แต่โดยเหตุแบบนี้ก็มีคนคิดว่าถ้ามีข้อห้ามแบบนี้ต้องมีองค์กรมาตรวจสอบ และคิดว่าเป็นศาลรัฐธรรมนูญ นี่คือเหตุผลที่ศาลฯ เข้ามาระงับยับยั้ยการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่กำลังดำเนินอยู่ แต่ในทางรัฐธรรมนูญนั้นมีหลักการสำคัญอยู่อย่างหนึ่ง คือรธน. ให้อำนาจศาลรธน. ในการพิจารณากรณีที่เป็นการใช้อำนาจนิติบัญญัติธรรมดา แต่ไม่มีที่ใดในรัฐธรรมนูญบัญญัติให้อำนาจศาลฯ ในการเข้ามาตรวจสอบการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้ เพราะว่าศาลฯ รับอำนาจมาจากรัฐธรรมนูญ ย่อมไม่มีสิทธิห้ามองค์กรที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐสภาเป็นการทำ “หน้าที่” ไม่ใช่การใชสิทธิเสรีภาพตาม รธน. ม. 68 ส่วนรัฐธรรมนูญ ม. 68 นั้นกำหนดเนื้อหาให้ปกป้องรัฐธรรมนูญตามที่บัญญัติไว้ในวรรค 1 ว่า บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้ม ล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐ ธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตาม วิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้ วรเจตน์กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยรัฐสภานั้น ไม่ใช่กรณีที่สมาชิกรัฐสภาใช้สิทธิและเสรีภาพ แต่เป็นการทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ เพราะถ้าตีความการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพเสียแล้ว การทำตามหน้าที่ของหน่วยงานรัฐก็จะเข้าองค์ประกอบมาตรา 68 ได้อีกมาก จะเป็นการแผ่อำนาจการตรวจสอบของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญออกไปอย่างกว้างขวาง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตีความ ม. 68 ไปในทางที่ล้มล้างบทบาทของอัยการ นักวิชาการจากกลุ่นนิติราษฎร์กล่าวต่อไปว่า อีกประเด็นหนึ่งที่เป็นประเด็นที่คนทั่วไป แม้คนที่ไม่ได้เป็นนักกฎหมายก็ย่อมเข้าใจได้ คือ ตัวบทบัญญัติ ม. 68 วรรค 2 ระบุว่า ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจวสอบข้อ เท็จจริงและยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้ เลิกกระทำการดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว การที่บทบีญญัติระบุว่าผู้ที่ทราบเรื่องให้ยื่นคำร้องต่ออัยการ เพื่อไม่ให้อ้างกันได้พร่ำเพรื่อ จึงต้องกำหนดกระบวนการในการนำคดีขึ้นสู่ศาล ซึ่งรธน. กำหนดว่า คนที่รู้ถึงการกระทำตามวรรค 1 ให้ยื่นเรื่องไปที่อัยการสูงสุด ถ้าอัยการเห็นว่ามีมูลก็จะส่งเรื่องต่อไป แต่ถ้าไม่เห็นว่ามีมูล ก็ไม่ส่งเรื่อง เป็นการคานอำนาจระหว่างศาลรัฐธรรมนูญกับอัยการ แต่ถ้าจะใครก็ได้ไปยื่นร้องได้โดยไม่ผ่านนอัยการ ก็จะทำให้ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจพิจารณาได้อย่างกว้างขวาง เพื่อขัดขวางการกระทำต่างๆ ของรัฐ ซึ่งไม่ถูกต้อง ในทางปฏิบัติ ถ้าอัยการสูงสุดไม่ส่งเรื่องไป เรื่องก็ไม่ไปถึงศาลรัฐธรรมนูญ เพราะอัยการสูงสุดก็เป็นองค์กรที่รัฐธรรมนูญไว้วางใจให้อำนาจ และในโลกนี้มีประเทศที่ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญน้อยมาก เพราะว่าเป็นศาลที่ไม่ใช่ศาลทั่วไป แต่เป็นองค์กรที่คอยคุ้มครองความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ จึงต้องวางกลไกเพื่อป้องกันไม่ให้ศาลฯ เป็นผู้เผด็จอำนาจ และในทางการเมืองมีความขัดแงตลอดเวลา ก็จะมีคนไปฟ้องศาลฯ ได้ตลอดเวลา แต่ที่ผ่านมามีการตีความ คำว่า และ เท่ากับคำว่า หรือ ซึ่งนักศึกษากฎหมายก็รู้ได้ว่าเป็นการตีความที่ประหลาด คำถามง่ายๆ คือจะเขียนคำว่าอัยการสูงสุดไปทำไม ถ้าไปยื่นคำร้องต่อศาลฯ ได้โดยตรง การวินิจฉัยรับคำร้องของศาลในการปฏิบัติจึงเป็นการที่ศาลรัฐธรรมนูญได้ลบว่า “อัยการ” ออกจากรัฐธรรมนูญ วรเจตน์กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ศาลยังไปอ้างอำนาจที่ไม่มี คืออำนาจในการสั่งคุ้มครองชั่วคราว พร้อมทั้งกล่าวว่ากรณีการขัดขวางแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้ เป็นผลพวงมาจากความขัดแย้งทางการเมืองที่ดำรงต่อเนื่อมาจากรัฐประหาร กลไกโครงสร้างใย รธน. 2550 จึงมีส่วนที่ไม่ยอมรับและยอมรับประชาธิปไตยและนิติรัฐคู่ขนานกัน และแสดงออกมาผ่านกลไกและการตีความของศาลรธน. โต้ วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ อ้างศาลรัฐธรรมนูญเยอรมัน-ฮิตเลอร์ ผิดข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ รศ. วรเจตน์กล่าวถึงกรณีที่นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ปาฐกถาในงานรำลึก ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ ซึ่งมติชนออนไลน์นำเสนอเมื่อวันที่ 5 เม.ย. ที่ผ่านมา โดยยกเอาข้อความตอนหนึ่งว่า นายวสันต์ ชี้ให้เห็นถึง "การลุแก่อำนาจของเสียงส่วนใหญ่" โดยยกกรณีของ “ฮิต เลอร์” ซึ่งขึ้นเป็นผู้นำเยอรมันจากการเลือกตั้ง เมื่อชนะเลือกตั้งแล้วสมัครพรรคพวกมาได้เสียงข้างมากในสภา ฮิตเลอร์ก็แก้ไขกฎกติกา แก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อรักษาอำนาจของตัวเองในที่สุด ผู้นำและเสียงข้างมากก็นำพาเยอรมันไปสู่หายนะ ซึ่งนี่คือ ตัวอย่างของผู้นำที่มาจากเสียงข้างมาก และนี่ คือ เหตุผลของการที่เยอรมันมีศาลรัฐธรรมนูญ และศาลรัฐธรรมนูญในเยอรมันก็มีอำนาจมากเหลือเกิน ไม่ต้องมีใครมายื่นคำร้องไม่ต้องมาเถียงกัน คือ หากเห็นว่าฝ่ายบริหารกำลังละเมิดรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญสามารถตั้งเรื่องเองและเรียกฝ่ายบริหารมาไต่สวน ถ้าเห็นไม่ชอบมาพากลก็ออกคำสั่งห้ามได้ รศ.วรเจตน์ อธิบายว่า ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำอภิปรายของประธานศาลรัฐธรรมนูญไม่ถูกต้อง สามประเด็น ประเด็นแรก คือ มักมีการอ้างฮิตเลอร์เป็นผู้นำจากการเลือกตั้ง ทั้งที่ฮิตเลอร์ไม่เคยชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาดเลย แต่ได้มาจากการรวบรวมเสียงจากพรรคต่างๆ มาร่วมรัฐบาลและขณะนั้นฮิตเลอร์ก็ไม่ได้เป็นผู้เผด็จการเด็ดขาด ซึ่งการเป็นผู้เผด็จการของฮิตเลอร์นั้นเป็นผลพวงของเหตุการณ์หลายอย่าง ประกอบกัน และเหตุการที่สำคัญ คือบทบาทของฝ่ายศาลและตุลาการที่สนับสนุนให้ขึ้นสู่ความเป็นเผด็จการเบ็ด เสร็จ ซึ่งรวมถึงคดีศาลใช้กฎหมายย้อนหลังลงโทษทางอาญาแก่บุคคล “การที่ฮิตเลอร์ขึ้นสู้อำนาจ จึงเป็นผลจากการกระทำของฝ่ายตุลาการและศาลในขณะนั้น และไม่มีใครพูดกันโดยเฉพาะคนที่จบจากเยอรมัน” สำหรับกรณีที่มีคนกล่าวอ้างว่าฮิตเลอร์ทำประชามติได้รับเสียงสนับสนุน 90 เปอร์เซ็นต์ กรณีที่ฮิตเลอร์ทำประชามตินั้นเป็นการทำเมื่อฮิตเลอร์เป็นเผด็จการไปแล้ว เหมือนการลงประชามติปี 2550 ที่ประชาชนไม่มีสิทธิรู้ว่าถ้าไม่ลงประชามติแล้วจะได้รัฐธรรมนูญฉบับไหน ประเด็นที่ 2 ระบบศาลรัฐธรรมนูญเยอรมันไม่มีการตั้งประเด็นขึ้นพิจารณาเอง “มีคนบอกว่าถ้าเห็นว่าไม่ชอบมาพากลก็มีคำสั่งห้ามได้

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...