'เพื่อไทย'เปิดหน้าชน'ศาลรัฐธรรมนูญ' : ขยายปมร้อน โดยชนิกานต์ พุ่มหิรัญ

แสดงความคิดเห็น

มติพรรคเพื่อไทยไม่ส่งคำชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญแต่ใช้วิธีส่งจดหมายเปิดผนึก ปฏิเสธอำนาจศาลแทน พร้อมกับส่งจดหมายเปิดผนึกไปยังประชาชนและองค์กรอิสระทุกแห่ง

จุดเริ่มของการดับเครื่องชนครั้งนี้เกิดขึ้นจากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการ แก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา โดยเฉพาะมาตรา 68 ได้ยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตีความ ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยเปิดช่องให้ประชาชนผู้ทราบการกระทำที่อาจนำ ไปสู่การล้มล้างการปกครองฯ สามารถยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรง เพราะเคยมีบทเรียนเมื่อครั้งเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ที่ยังคงค้างอยู่ในสภา

ขณะที่รัฐบาลและพรรคเพื่อไทย แก้เกมเดินหน้าชนกับศาลรัฐธรรมนูญทันที โดยมีมติไม่ส่งคำชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญ

นั่นเพราะพรรคเพื่อไทยมองว่าศาลรัฐธรรมนูญเป็นอุปสรรคชิ้นโต ที่คอยสกัดแผนการกลับประเทศของ "นายใหญ่" ผู้กุมบังเหียนพรรคเพื่อไทย และนิรโทษกรรมให้แก่กลุ่มคนเสื้อแดงอย่างมาก

แม้การแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ยังอยู่ในช่วงวาระแรก ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ได้ไปยื่นคำร้องคัดค้าน ตามช่องทางรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ซึ่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เสียงข้างมาก 3 ต่อ 2 เสียง ก็ออกมารับลูกทันที โดยมีมติรับคำร้องคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ไว้พิจารณาทันที

กระทั่ง “นายห้างตราดูไบ” ทักษิณ ชินวัตร นิ่งเฉยมิได้ ต้องออกมาส่งสัญญาณว่า ศาลรัฐธรรมนูญควรเลิกเล่นลิเกกับเรื่องบ้านเมืองได้แล้ว เพราะการที่รัฐบาล ส.ส. และส.ว. พยายามจะแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับนั้น ก็ไม่ยอม เราไม่ว่ากัน แต่พอจะแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา ดันมีพวกที่ขัดขวางความเป็นประชาธิปไตย คนเห็นแก่ตัว ไม่กี่คนไปยื่นเรื่องที่ศาล ศาลก็ดันรับไว้

จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า “ศาลรัฐธรรมนูญ” ถือเป็น “หมาก” ตัวสำคัญ สำหรับเกมการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทย จะต้องจัดการให้สิ้นซาก!

รัฐบาล พรรคเพื่อไทย และกลุ่มคนเสื้อแดง จึงต้องร่วมมือกัน ใช้ยุทธวิธี "ผลัดกันเดิน แยกกันตี" เพื่อกดดันตุลาการศาลศาลรัฐธรรมนูญ ผ่านกลไกของรัฐสภา ที่ต้องเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อกดดันและลดทอนอำนาจศาลรัฐธรรมนูญให้สำเร็จ

เห็นได้จากการที่ “สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์” ประธานสภาผู้แทนราษฎร ยืนยันหนักแน่นว่า จะไม่ส่งคำชี้แจงไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพราะที่ผ่านมาการดำเนินการในสภา ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญอย่างครบถ้วน จึงไม่จำเป็นต้องชี้แจงอะไรเพิ่มเติม

เช่นเดียวกับท่าทีของ นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ได้กล่าวปาฐกถาในเวทีประชุมประชาคมประชาธิปไตย ที่เมืองอูลันบาตอร์ ประเทศมองโกเลีย โดยระบุว่า กลไกที่เรียกว่าองค์กรอิสระได้ใช้อำนาจเกินขอบเขตแทนประชาชนเจ้าของอำนาจที่ แท้จริง ซึ่งถือเป็นการดำเนินการเพื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากกว่าเพื่อคนส่วนใหญ่ของ สังคม นี่คือความท้ายทายของประชาธิปไตยไทยในปัจจุบัน

ควบคู่ไปกับ “อุดมเดช รัตนเสถียร” ส.ส.นนทบุรี ในฐานะกรรมการยุทธศาสตร์ พรรคเพื่อไทย ก็ออกมาแสดงจุดยืนมติพรรคเพื่อไทยว่า จะไม่มีการส่งคำชี้แจงกรณีที่ศาลรับคำร้องการไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ต่อศาลรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น เพราะการที่ศาลรัฐธรรมนูญเข้ามาใช้ดุลพินิจในเรื่องนี้ ถือว่าไม่ถูกต้อง

ขณะเดียวกันกลุ่มคนเสื้อแดง ซึ่งถือเป็นกำแพงสำคัญ สำหรับรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ก็ได้เดินหน้าชุมนุม บริเวณหน้าสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อกดดันการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ และจี้ตุลาการทั้ง 9 ท่าน ลาออกทันที

ซึ่งเราต่างรู้ดีว่าการชุมนุมของคนเสื้อแดงในครั้งนี้ น่าจะเป็นเพียงใบเบิกทาง ที่จะนำไปสู่การยื่นถอดถอดตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ ตามกระบวนการขั้นตอนของรัฐสภา เพื่อให้สภาสามารถมีข้ออ้างในการดำเนินการถอดถอนทั้ง 9 ตุลาการได้ทันที

ถือได้ว่า “ศาลรัฐธรรมนูญ” ในขณะนี้ ต้องเผชิญศึกรอบด้าน เสมือนเป็น “ชนวนของความขัดแย้ง” เสียเอง

แต่ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ “วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์” ยังพร้อมที่จะเดินหน้าชนเต็มที่ หลังออกมาระบุว่า ไม่ได้รู้สึกกังวลอะไรกับการชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดงบริเวณหน้าสำนักงานศาลรัฐ ธรรมนูญ เพราะคิดว่าการชุมนุมครั้งนี้ น่าจะเป็นคนที่ไม่ค่อยรู้เรื่องรู้ราวมากกว่า พร้อมยืนยันว่า ใครปราศรัยว่าอะไรจะเก็บทุกเม็ด ก่อนจะมีการมอบให้เจ้าหน้าที่ไปยื่นฟ้อง

เช่นเดียวกับ “จรัญ ภักดีธนากุล” หนึ่งในตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ก็ได้ออกมายืนยันที่จะทำหน้าที่ต่อไป ส่วนใครจะไม่รับอำนาจศาลอย่างไร ก็ถือเป็นสิทธิเสรีภาพ คงต้องรอติดตามว่ามีเหตุผลอย่างไร ยืนยันว่า ศาลก็คงมีแต่เพียงปากกา ไม่ได้มีอำนาจอะไรมากมายไปกว่านั้น ไม่ทราบเหมือนกันว่าเกิดอะไรขึ้นกับบ้านเมืองในปัจจุบันนี้ เหมือนนักมวยกำลังไล่ต่อยกรรมการ

อย่างไรก็ตาม น่าจับตาดูว่า การเปิดหน้าชน หมดหน้าตัก ของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย สำหรับการไม่ทำหนังสือชี้แจงตามที่ศาลรัฐธรรมนูญกำหนดนั้น จะลุล่วงไปด้วยดีหรือไม่?? เพราะหากดูตามข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ. 2550 ข้อ 29 ที่ระบุไว้ว่า หากผู้ถูกร้องไม่ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายใน 15 นับแต่วันรับสำเนาคำร้อง หรือภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด หรือไม่มารับสำเนาคำร้องภายในกำหนดเวลานั้น ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้

คงต้องรอลุ้นกันว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะมีการหยิบยกประเด็นการที่พรรคเพื่อไทยไม่ทำหนังสือชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา เข้าหารือในที่ประชุมหรือไม่ และหากหยิบยกมาพิจารณาจริง! องค์คณะตุลาการทั้ง 9 ท่าน จะตัดสินใจออกมาแนวทางใด กับเกมการไม่รับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ !!

.........

(หมายเหตุ : 'เพื่อไทย'เปิดหน้าชน'ศาลรัฐธรรมนูญ' : ขยายปมร้อน โดยชนิกานต์ พุ่มหิรัญ)

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130501/157362/เพื่อไทยเปิดหน้าชนศาลรัฐธรรมนูญ.html#.UYB-jEqkPZ4 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 เม.ย.56
วันที่โพสต์: 1/05/2556 เวลา 04:16:34

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

มติพรรคเพื่อไทยไม่ส่งคำชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญแต่ใช้วิธีส่งจดหมายเปิดผนึก ปฏิเสธอำนาจศาลแทน พร้อมกับส่งจดหมายเปิดผนึกไปยังประชาชนและองค์กรอิสระทุกแห่ง จุดเริ่มของการดับเครื่องชนครั้งนี้เกิดขึ้นจากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการ แก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา โดยเฉพาะมาตรา 68 ได้ยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตีความ ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยเปิดช่องให้ประชาชนผู้ทราบการกระทำที่อาจนำ ไปสู่การล้มล้างการปกครองฯ สามารถยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรง เพราะเคยมีบทเรียนเมื่อครั้งเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ที่ยังคงค้างอยู่ในสภา ขณะที่รัฐบาลและพรรคเพื่อไทย แก้เกมเดินหน้าชนกับศาลรัฐธรรมนูญทันที โดยมีมติไม่ส่งคำชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญ นั่นเพราะพรรคเพื่อไทยมองว่าศาลรัฐธรรมนูญเป็นอุปสรรคชิ้นโต ที่คอยสกัดแผนการกลับประเทศของ "นายใหญ่" ผู้กุมบังเหียนพรรคเพื่อไทย และนิรโทษกรรมให้แก่กลุ่มคนเสื้อแดงอย่างมาก แม้การแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ยังอยู่ในช่วงวาระแรก ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ได้ไปยื่นคำร้องคัดค้าน ตามช่องทางรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ซึ่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เสียงข้างมาก 3 ต่อ 2 เสียง ก็ออกมารับลูกทันที โดยมีมติรับคำร้องคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ไว้พิจารณาทันที กระทั่ง “นายห้างตราดูไบ” ทักษิณ ชินวัตร นิ่งเฉยมิได้ ต้องออกมาส่งสัญญาณว่า ศาลรัฐธรรมนูญควรเลิกเล่นลิเกกับเรื่องบ้านเมืองได้แล้ว เพราะการที่รัฐบาล ส.ส. และส.ว. พยายามจะแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับนั้น ก็ไม่ยอม เราไม่ว่ากัน แต่พอจะแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา ดันมีพวกที่ขัดขวางความเป็นประชาธิปไตย คนเห็นแก่ตัว ไม่กี่คนไปยื่นเรื่องที่ศาล ศาลก็ดันรับไว้ จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า “ศาลรัฐธรรมนูญ” ถือเป็น “หมาก” ตัวสำคัญ สำหรับเกมการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทย จะต้องจัดการให้สิ้นซาก! รัฐบาล พรรคเพื่อไทย และกลุ่มคนเสื้อแดง จึงต้องร่วมมือกัน ใช้ยุทธวิธี "ผลัดกันเดิน แยกกันตี" เพื่อกดดันตุลาการศาลศาลรัฐธรรมนูญ ผ่านกลไกของรัฐสภา ที่ต้องเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อกดดันและลดทอนอำนาจศาลรัฐธรรมนูญให้สำเร็จ เห็นได้จากการที่ “สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์” ประธานสภาผู้แทนราษฎร ยืนยันหนักแน่นว่า จะไม่ส่งคำชี้แจงไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพราะที่ผ่านมาการดำเนินการในสภา ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญอย่างครบถ้วน จึงไม่จำเป็นต้องชี้แจงอะไรเพิ่มเติม เช่นเดียวกับท่าทีของ นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ได้กล่าวปาฐกถาในเวทีประชุมประชาคมประชาธิปไตย ที่เมืองอูลันบาตอร์ ประเทศมองโกเลีย โดยระบุว่า กลไกที่เรียกว่าองค์กรอิสระได้ใช้อำนาจเกินขอบเขตแทนประชาชนเจ้าของอำนาจที่ แท้จริง ซึ่งถือเป็นการดำเนินการเพื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากกว่าเพื่อคนส่วนใหญ่ของ สังคม นี่คือความท้ายทายของประชาธิปไตยไทยในปัจจุบัน ควบคู่ไปกับ “อุดมเดช รัตนเสถียร” ส.ส.นนทบุรี ในฐานะกรรมการยุทธศาสตร์ พรรคเพื่อไทย ก็ออกมาแสดงจุดยืนมติพรรคเพื่อไทยว่า จะไม่มีการส่งคำชี้แจงกรณีที่ศาลรับคำร้องการไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ต่อศาลรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น เพราะการที่ศาลรัฐธรรมนูญเข้ามาใช้ดุลพินิจในเรื่องนี้ ถือว่าไม่ถูกต้อง ขณะเดียวกันกลุ่มคนเสื้อแดง ซึ่งถือเป็นกำแพงสำคัญ สำหรับรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ก็ได้เดินหน้าชุมนุม บริเวณหน้าสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อกดดันการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ และจี้ตุลาการทั้ง 9 ท่าน ลาออกทันที ซึ่งเราต่างรู้ดีว่าการชุมนุมของคนเสื้อแดงในครั้งนี้ น่าจะเป็นเพียงใบเบิกทาง ที่จะนำไปสู่การยื่นถอดถอดตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ ตามกระบวนการขั้นตอนของรัฐสภา เพื่อให้สภาสามารถมีข้ออ้างในการดำเนินการถอดถอนทั้ง 9 ตุลาการได้ทันที ถือได้ว่า “ศาลรัฐธรรมนูญ” ในขณะนี้ ต้องเผชิญศึกรอบด้าน เสมือนเป็น “ชนวนของความขัดแย้ง” เสียเอง แต่ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ “วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์” ยังพร้อมที่จะเดินหน้าชนเต็มที่ หลังออกมาระบุว่า ไม่ได้รู้สึกกังวลอะไรกับการชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดงบริเวณหน้าสำนักงานศาลรัฐ ธรรมนูญ เพราะคิดว่าการชุมนุมครั้งนี้ น่าจะเป็นคนที่ไม่ค่อยรู้เรื่องรู้ราวมากกว่า พร้อมยืนยันว่า ใครปราศรัยว่าอะไรจะเก็บทุกเม็ด ก่อนจะมีการมอบให้เจ้าหน้าที่ไปยื่นฟ้อง เช่นเดียวกับ “จรัญ ภักดีธนากุล” หนึ่งในตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ก็ได้ออกมายืนยันที่จะทำหน้าที่ต่อไป ส่วนใครจะไม่รับอำนาจศาลอย่างไร ก็ถือเป็นสิทธิเสรีภาพ คงต้องรอติดตามว่ามีเหตุผลอย่างไร ยืนยันว่า ศาลก็คงมีแต่เพียงปากกา ไม่ได้มีอำนาจอะไรมากมายไปกว่านั้น ไม่ทราบเหมือนกันว่าเกิดอะไรขึ้นกับบ้านเมืองในปัจจุบันนี้ เหมือนนักมวยกำลังไล่ต่อยกรรมการ อย่างไรก็ตาม น่าจับตาดูว่า การเปิดหน้าชน หมดหน้าตัก ของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย สำหรับการไม่ทำหนังสือชี้แจงตามที่ศาลรัฐธรรมนูญกำหนดนั้น จะลุล่วงไปด้วยดีหรือไม่?? เพราะหากดูตามข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ. 2550 ข้อ 29 ที่ระบุไว้ว่า หากผู้ถูกร้องไม่ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายใน 15 นับแต่วันรับสำเนาคำร้อง หรือภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด หรือไม่มารับสำเนาคำร้องภายในกำหนดเวลานั้น ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ คงต้องรอลุ้นกันว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะมีการหยิบยกประเด็นการที่พรรคเพื่อไทยไม่ทำหนังสือชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา เข้าหารือในที่ประชุมหรือไม่ และหากหยิบยกมาพิจารณาจริง! องค์คณะตุลาการทั้ง 9 ท่าน จะตัดสินใจออกมาแนวทางใด กับเกมการไม่รับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ !! ......... (หมายเหตุ : 'เพื่อไทย'เปิดหน้าชน'ศาลรัฐธรรมนูญ' : ขยายปมร้อน โดยชนิกานต์ พุ่มหิรัญ) ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130501/157362/เพื่อไทยเปิดหน้าชนศาลรัฐธรรมนูญ.html#.UYB-jEqkPZ4

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...