คำถาม คมแหลม คำถาม "สมาชิกรัฐสภา" ถาม ศาลรัฐธรรมนูญ

แสดงความคิดเห็น

การเดินหน้าเข้าปะทะกับศาลรัฐธรรมนูญของสมาชิกรัฐสภา จำนวน 321 คนจาก ส.ส. และ ส.ว. เป็นเรื่องที่หลายฝ่ายมองดูด้วยความใจหายใจคว่ำ

ใจหายใจคว่ำว่าสถานการณ์จะแตกแขนง บานปลายไปอย่างไร

ความรู้สึกเช่นนี้เป็นความรู้สึกที่เข้าใจได้ เพราะขึ้นชื่อว่า "ศาล" แม้มิได้อยู่ในองคาพยพของศาลสถิตยุติธรรม สังคมก็ให้ความเคารพ เกรงกลัว

เกรงกลัวเพราะ "ศาล" มีกฎหมายอยู่ในมือ

เว้นก็แต่ไม่มีทางเลือกอื่นดีกว่าเท่านั้น จึงจะเลือกหนทางเป็นคู่ต่อสู้หรือเป็นคู่กรณีกับศาลเพราะบทเรียนที่ผ่านมาแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดยิ่งเหมือนกับภาษิตกะเหรี่ยงที่ว่า

ไข่ตกบนหิน ไข่แตก หินตกบนไข่ ไข่แตก

หินคือตัวแทนแห่งศาลแม้ว่าจะเป็นศาลรัฐธรรมนูญก็ตาม ขณะที่ไข่คือตัวแทนแห่งสมาชิกรัฐสภาซึ่งมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 321 คน

นี่จึงเป็นเรื่องหวาดเสียวยิ่งทางการเมือง

ทั้งๆ ที่รับรู้ว่าการดับเครื่องชนกับศาลหนทางที่จะได้ชัยชนะมีน้อยอย่างยิ่ง แล้วเหตุใดสมาชิกรัฐสภาจำนวน 321 คนจึงไม่ยอมถอย

ยังแสดงความแข็งขืนและไม่ยอมรับต่ออำนาจ

นี่เป็นเรื่องที่พรรคประชาธิปัตย์ก็ตั้งข้อกังขา นี่เป็นเรื่องที่กลุ่ม 40 ส.ว. ก็ตั้งข้อกังขา นี่เป็นเรื่องที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็ตั้งข้อกังขา

และประเมินไปไกลถึงขั้นว่าต้องการทำลายล้างศาล

แต่หากมองสาเหตุแท้จขริงของความไม่พอใจอันเนื่องแต่ศาลรัฐธรรมนูญพยายามตีความ และขยายขอบเขตแห่งอำนาจของตนเองออกมาก้าวก่าย แทรกแซงในการอันเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ

ก็น่าเห็นใจ สมาชิกรัฐสภา

ความเป็นจริงที่เห็นและเป็นอยู่ก็คือ สมาชิกรัฐสภาได้พยายามในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาแล้วหลายครั้ง

เห็นได้จากการเสนอแก้ไขผ่านมาตรา 291 ของรัฐธรรมนูญ

แต่เมื่อมีการร้องเรียนจากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยศาลก็วินิจฉัยและให้คำแนะนำว่า การแก้ไขทั้งฉบับต้องมีการทำประชามติขณะที่การแก้ไขเป็นรายมาตราสามารถทำได้

น่าสงสัยก็ตรงที่เมื่อเสนอแก้ไขเป็นรายมาตราก็มีเรื่องอีก

เป็นเรื่องเมื่อมี ส.ว.ไปร้องเรียนต่อศาลรัฐธรรมนูญและศาลรัฐธรรมนูญก็รับคำร้องทั้งๆ ที่การเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ทำตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

และเป็นการทำตามหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ

ถามว่าหากประสบกับการก้าวก่ายและแทรกแซงซ้ำแล้วซ้ำอีกจากศาลรัฐธรรมนูญให้ทำอย่างไร

ยอมตามอย่างเซื่องๆ สั่งซ้ายหันขวาหันก็ทำตาม ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจกับฝ่ายนิติบัญญัติ ทั้งๆ ที่การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญทำเกินบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญอย่างนั้นหรือ

คำถามนี้มาจาก สมาชิกรัฐสภา

ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMk56RTJNalE1TXc9PQ==&sectionid= (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: ข่าวออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 เม.ย.56
วันที่โพสต์: 29/04/2556 เวลา 03:41:52

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

การเดินหน้าเข้าปะทะกับศาลรัฐธรรมนูญของสมาชิกรัฐสภา จำนวน 321 คนจาก ส.ส. และ ส.ว. เป็นเรื่องที่หลายฝ่ายมองดูด้วยความใจหายใจคว่ำ ใจหายใจคว่ำว่าสถานการณ์จะแตกแขนง บานปลายไปอย่างไร ความรู้สึกเช่นนี้เป็นความรู้สึกที่เข้าใจได้ เพราะขึ้นชื่อว่า "ศาล" แม้มิได้อยู่ในองคาพยพของศาลสถิตยุติธรรม สังคมก็ให้ความเคารพ เกรงกลัว เกรงกลัวเพราะ "ศาล" มีกฎหมายอยู่ในมือ เว้นก็แต่ไม่มีทางเลือกอื่นดีกว่าเท่านั้น จึงจะเลือกหนทางเป็นคู่ต่อสู้หรือเป็นคู่กรณีกับศาลเพราะบทเรียนที่ผ่านมาแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดยิ่งเหมือนกับภาษิตกะเหรี่ยงที่ว่า ไข่ตกบนหิน ไข่แตก หินตกบนไข่ ไข่แตก หินคือตัวแทนแห่งศาลแม้ว่าจะเป็นศาลรัฐธรรมนูญก็ตาม ขณะที่ไข่คือตัวแทนแห่งสมาชิกรัฐสภาซึ่งมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 321 คน นี่จึงเป็นเรื่องหวาดเสียวยิ่งทางการเมือง ทั้งๆ ที่รับรู้ว่าการดับเครื่องชนกับศาลหนทางที่จะได้ชัยชนะมีน้อยอย่างยิ่ง แล้วเหตุใดสมาชิกรัฐสภาจำนวน 321 คนจึงไม่ยอมถอย ยังแสดงความแข็งขืนและไม่ยอมรับต่ออำนาจ นี่เป็นเรื่องที่พรรคประชาธิปัตย์ก็ตั้งข้อกังขา นี่เป็นเรื่องที่กลุ่ม 40 ส.ว. ก็ตั้งข้อกังขา นี่เป็นเรื่องที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็ตั้งข้อกังขา และประเมินไปไกลถึงขั้นว่าต้องการทำลายล้างศาล แต่หากมองสาเหตุแท้จขริงของความไม่พอใจอันเนื่องแต่ศาลรัฐธรรมนูญพยายามตีความ และขยายขอบเขตแห่งอำนาจของตนเองออกมาก้าวก่าย แทรกแซงในการอันเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ ก็น่าเห็นใจ สมาชิกรัฐสภา ความเป็นจริงที่เห็นและเป็นอยู่ก็คือ สมาชิกรัฐสภาได้พยายามในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาแล้วหลายครั้ง เห็นได้จากการเสนอแก้ไขผ่านมาตรา 291 ของรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อมีการร้องเรียนจากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยศาลก็วินิจฉัยและให้คำแนะนำว่า การแก้ไขทั้งฉบับต้องมีการทำประชามติขณะที่การแก้ไขเป็นรายมาตราสามารถทำได้ น่าสงสัยก็ตรงที่เมื่อเสนอแก้ไขเป็นรายมาตราก็มีเรื่องอีก เป็นเรื่องเมื่อมี ส.ว.ไปร้องเรียนต่อศาลรัฐธรรมนูญและศาลรัฐธรรมนูญก็รับคำร้องทั้งๆ ที่การเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ทำตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และเป็นการทำตามหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ ถามว่าหากประสบกับการก้าวก่ายและแทรกแซงซ้ำแล้วซ้ำอีกจากศาลรัฐธรรมนูญให้ทำอย่างไร ยอมตามอย่างเซื่องๆ สั่งซ้ายหันขวาหันก็ทำตาม ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจกับฝ่ายนิติบัญญัติ ทั้งๆ ที่การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญทำเกินบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญอย่างนั้นหรือ คำถามนี้มาจาก สมาชิกรัฐสภา ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMk56RTJNalE1TXc9PQ==§ionid=

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...