อารยะขัดขืนศาลรัฐธรรมนูญ

แสดงความคิดเห็น

การที่ ส.ส. และ ส.ว. ประกาศไม่ยอมรับอำนาจของ ศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้มีบางฝ่ายมองเป็นเรื่องของ “อารยะขัดขืน”

จากฐานข้อมูลของ สถาบันพระปกเกล้า ให้คำนิยามของ อารยะขัดขืน ไว้ดังนี้ คำว่า “อารยะขัดขืน” ถูกนำมาใช้อย่างเป็นทางการครั้งแรกโดย ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ โดยเป็นการถอดศัพท์จากคำภาษาอังกฤษว่า Civil Disobedience คำดังกล่าว ดร.ชัยวัฒน์ ใช้เพื่อต้องการแทนที่คำว่า “สิทธิการดื้อแพ่งต่อกฎหมาย” ที่นำเสนอโดย อ.สมชาย ปรีชาศิลปะกุล ในการต่อสู้ทางการเมืองไทย มีการนำคำดังกล่าวนี้มาใช้โดย กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อต่อสู้กับรัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในปี พ.ศ. 2549 และรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาล นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในปี 2550-2551

ดร.ชัยวัฒน์ อาศัยนิยามของ จอห์น รอลส์ ที่ให้นิยามการกระทำในลักษณะที่เป็น Civil Disobedience ว่าหมายถึง “การกระทำทางการเมืองซึ่งมีลักษณะเป็นสาธารณะ (public) สันติวิธี (nonviolent) และมีมโนธรรมสำนึก (conscientious) ที่ขัดต่อกฎหมาย ปกติเป็นสิ่งที่ทำโดยมุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายหรือนโยบายของ รัฐบาล” โดยการกระทำดังกล่าวต้องกระทำในสังคมที่ใกล้จะเป็นธรรมเท่านั้น

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/222/199480 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 เม.ย.56
วันที่โพสต์: 24/04/2556 เวลา 03:26:45

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

การที่ ส.ส. และ ส.ว. ประกาศไม่ยอมรับอำนาจของ ศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้มีบางฝ่ายมองเป็นเรื่องของ “อารยะขัดขืน” จากฐานข้อมูลของ สถาบันพระปกเกล้า ให้คำนิยามของ อารยะขัดขืน ไว้ดังนี้ คำว่า “อารยะขัดขืน” ถูกนำมาใช้อย่างเป็นทางการครั้งแรกโดย ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ โดยเป็นการถอดศัพท์จากคำภาษาอังกฤษว่า Civil Disobedience คำดังกล่าว ดร.ชัยวัฒน์ ใช้เพื่อต้องการแทนที่คำว่า “สิทธิการดื้อแพ่งต่อกฎหมาย” ที่นำเสนอโดย อ.สมชาย ปรีชาศิลปะกุล ในการต่อสู้ทางการเมืองไทย มีการนำคำดังกล่าวนี้มาใช้โดย กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อต่อสู้กับรัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในปี พ.ศ. 2549 และรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาล นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในปี 2550-2551 ดร.ชัยวัฒน์ อาศัยนิยามของ จอห์น รอลส์ ที่ให้นิยามการกระทำในลักษณะที่เป็น Civil Disobedience ว่าหมายถึง “การกระทำทางการเมืองซึ่งมีลักษณะเป็นสาธารณะ (public) สันติวิธี (nonviolent) และมีมโนธรรมสำนึก (conscientious) ที่ขัดต่อกฎหมาย ปกติเป็นสิ่งที่ทำโดยมุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายหรือนโยบายของ รัฐบาล” โดยการกระทำดังกล่าวต้องกระทำในสังคมที่ใกล้จะเป็นธรรมเท่านั้น ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/222/199480

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...