"รสนา" ยันชัด แก้ ม.68 ริดรอนสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญของ ปชช. เชื่อนำไปสู่แก้ รธน. ทั้งฉบับ

แสดงความคิดเห็น

วันนี้ (2 เม.ย.) เวลา 10.30 น. ที่รัฐสภา ใน การประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่..) พุทธศักราช.... โดยมีนายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม

นางสาวรสนา โตสิตระกูล ส.ว.กรุงเทพมหานคร อภิปรายว่าหากดูโดยภาพรวมร่างทั้ง 3 ฉบับเป็นไปเพื่อประโยชน์ของฝ่ายบริหารมากกว่าสิทธิของประชาชน ตนเห็นว่าควรจะแก้เพื่อให้ประชาชนตรวจสอบฝ่ายบริหารได้ง่ายขึ้น โดยให้ประชาชนสามารถฟ้องทางตรงต่อการเบียดบังงบประมาณของรัฐได้ ขณะที่การแก้มาตรา 68 ถือว่าเป็นการริดรอนสิทธิประชาชนในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ มาตรานี้จึงควรจะมีไว้ ทั้งนี้หากให้ยื่นศาลรัฐธรรมนูญผ่านอัยการสูงสุดนั้นอัยการสูงสุดอาจไม่สั่ง ฟ้อง ดังนั้นสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญจึงควรเป็นสิทธิของประชาชนทุกคน เช่นเดียวกับหลายกรณีอัยการสูงสุดก็ปฏิบัติหน้าที่อย่างน่าสงสัยจนสังคมไม่ ให้ความไว้วางใจ ส่วนตัวเชื่อว่าการแก้มาตรานี้จะนำไปสู่การแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ

ส่วนการแก้ไขมาตรา 190 นั้น นางสาวรสนา กล่าวว่า ไม่เหมาะสม เพราะเป็นการสร้างอำนาจผูกขาดให้ฝ่ายบริหารมากขึ้น ส่วนการแก้รัฐธรรมนูญปลดล็อควาระดำรงตำแหน่งของ ส.ว.นั้น ตนเห็นด้วย แต่เรื่องที่มาของ ส.ว. นั้นไม่เห็นด้วยโดยเห็นว่า ส.ว. ควรมาจากการคัดสรรโดยสายวิชาชีพก่อน แล้วจึงค่อยมาอิงกับการเลือกตั้งของประชาชน ขณะที่การแก้รัฐธรรมนูญเรื่องการยุบพรรคการเมืองนั้น พรรคการเมืองทำให้นักการเมืองไม่มีอิสระในการทำหน้าที่ ดังนั้น จึงควรแก้ไขให้มีการสมัครรับเลือกตั้งในนามอิสระได้แทน ทั้งหมดจึงทำให้ตนไม่เห็นด้วยในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้

ขอบคุณ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1364875437&grpid=&catid=01&subcatid=0100

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 เม.ย.56
วันที่โพสต์: 3/04/2556 เวลา 04:41:56

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

วันนี้ (2 เม.ย.) เวลา 10.30 น. ที่รัฐสภา ใน การประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่..) พุทธศักราช.... โดยมีนายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม นางสาวรสนา โตสิตระกูล ส.ว.กรุงเทพมหานคร อภิปรายว่าหากดูโดยภาพรวมร่างทั้ง 3 ฉบับเป็นไปเพื่อประโยชน์ของฝ่ายบริหารมากกว่าสิทธิของประชาชน ตนเห็นว่าควรจะแก้เพื่อให้ประชาชนตรวจสอบฝ่ายบริหารได้ง่ายขึ้น โดยให้ประชาชนสามารถฟ้องทางตรงต่อการเบียดบังงบประมาณของรัฐได้ ขณะที่การแก้มาตรา 68 ถือว่าเป็นการริดรอนสิทธิประชาชนในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ มาตรานี้จึงควรจะมีไว้ ทั้งนี้หากให้ยื่นศาลรัฐธรรมนูญผ่านอัยการสูงสุดนั้นอัยการสูงสุดอาจไม่สั่ง ฟ้อง ดังนั้นสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญจึงควรเป็นสิทธิของประชาชนทุกคน เช่นเดียวกับหลายกรณีอัยการสูงสุดก็ปฏิบัติหน้าที่อย่างน่าสงสัยจนสังคมไม่ ให้ความไว้วางใจ ส่วนตัวเชื่อว่าการแก้มาตรานี้จะนำไปสู่การแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ส่วนการแก้ไขมาตรา 190 นั้น นางสาวรสนา กล่าวว่า ไม่เหมาะสม เพราะเป็นการสร้างอำนาจผูกขาดให้ฝ่ายบริหารมากขึ้น ส่วนการแก้รัฐธรรมนูญปลดล็อควาระดำรงตำแหน่งของ ส.ว.นั้น ตนเห็นด้วย แต่เรื่องที่มาของ ส.ว. นั้นไม่เห็นด้วยโดยเห็นว่า ส.ว. ควรมาจากการคัดสรรโดยสายวิชาชีพก่อน แล้วจึงค่อยมาอิงกับการเลือกตั้งของประชาชน ขณะที่การแก้รัฐธรรมนูญเรื่องการยุบพรรคการเมืองนั้น พรรคการเมืองทำให้นักการเมืองไม่มีอิสระในการทำหน้าที่ ดังนั้น จึงควรแก้ไขให้มีการสมัครรับเลือกตั้งในนามอิสระได้แทน ทั้งหมดจึงทำให้ตนไม่เห็นด้วยในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ขอบคุณ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1364875437&grpid=&catid=01&subcatid=0100

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...