วีรพัฒน์ ปริยวงศ์: แก้รัฐธรรมนูญ ‘เพื่อใคร’ หรือ ‘เพราะใคร’ ?

แสดงความคิดเห็น

วีรพัฒน์ ปริยวงศ์

นักกฎหมายอิสระ

ความพยายามล่าสุดในการแก้ไข 'รัฐธรรมนูญ' รายมาตราที่กำลังดำเนินการอยู่ แท้ที่จริงแล้ว เป็นเรื่องที่มีนัยเกี่ยวกับ ‘ฝ่ายตุลาการ’ ทั้งสิ้น

ไม่ว่าจะเป็นกรณี มาตรา 68 ที่ให้ 'ศาลรัฐธรรมนูญ' ตรวจสอบผู้ใช้สิทธิเสรีภาพล้มล้างการปกครอง

หรือ กรณี มาตรา 190 ที่ให้ 'ศาลรัฐธรรมนูญ' ตรวจสอบการทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ

หรือกรณี มาตรา 237 ที่ให้ 'ศาลรัฐธรรมนูญ' ยุบพรรค-ตัดสิทธิ ทางการเมืองได้

หรือแม้แต่กรณีสมาชิกวุฒิสภา ก็ไม่พ้นประเด็น ‘กระบวนการสรรหา’ ที่มี ‘ฝ่ายตุลาการ’ เกี่ยวข้องเช่นกัน

ผู้เขียนเห็นว่า แม้มาตราเหล่านี้อาจมีปัญหาเชิงหลักการที่ถกเถียงกันได้ แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญอาจไม่จำเป็นเสมอไป ตราบใดที่เรายังพึ่งพา 'หลักคิด' และ 'คุณภาพ' ของ 'ศาลรัฐธรรมนูญ' ในฐานะ ‘ผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญ’ ได้

ศาลสามารถทำหน้าที่ ‘พิทักษ์รัฐธรรมนูญ' ได้โดยการตีความ 'รัฐธรรมนูญ' อย่างพอเพียงและไม่เกินตัว กล่าวคือ ตีความให้สมเจตนารมณ์ตามขอบเขตของดุลแห่งอำนาจ บนพื้นฐานของตรรกะเหตุผลที่ลึกซึ้งหนักแน่นจนแม้ไม่เห็นด้วยกับศาลแต่ก็ พร้อมเคารพต่อการตีความของศาล

คำถามคือ ที่ผ่านมา 'ศาลรัฐธรรมนูญ' ได้ทำหน้าที่ ‘พิทักษ์รัฐธรรมนูญ' มากน้อยเพียงใด หรือ 'รัฐธรรมนูญ' กำลังมีปัญหาเพราะ 'ศาลรัฐธรรมนูญ' เสียเองหรือไม่ ?

ด้วยความเคารพต่อ 'รัฐธรรมนูญ' ผู้เขียนจำต้องกล่าวอย่างไม่อ้อมค้อมว่า การพยายามแก้ไข 'รัฐธรรมนูญรายมาตรา' ครั้งนี้ ในทางหนึ่ง ก็คือปรากฏการณ์ ‘แรงสะท้อนกลับ’ (backlash) ที่ฝ่ายการเมืองจำเป็นต้องแก้ปัญหาที่ 'ศาลรัฐธรรมนูญ' เป็นผู้สร้างขึ้นมานั่้นเอง

ผู้เขียนขอยกตัวอย่าง ‘ปัญหา’ ที่เกิดจากการตีความ มาตรา 68 โดย 'ศาลรัฐธรรมนูญ' ดังนี้

กรณีการตีความ มาตรา 68 นั้น หลายฝ่ายหลงเข้าใจว่ามีปัญหาเฉพาะประเด็น ‘สิทธิการยื่นคำร้อง’ ว่าต้องฟ้องโดย ‘อัยการสูงสุด’ เท่านั้นหรือไม่ แต่ปัญหาเชิงหลักการที่หนักหนายิ่งกว่าก็คือ การบิดเบือนตัวบทรัฐธรรมนูญเพื่อเพิ่มอำนาจให้ 'ศาลรัฐธรรมนูญ' กลายเป็น ‘องค์กรอภิรัฐธรรมนูญ’ ที่มีอำนาจอยู่เหนือรัฐธรรมนูญและองค์กรอื่นใดทั้งปวง

รัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรคแรก บัญญัติว่า

“บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้ม ล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐ ธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตาม วิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้”

ผู้เขียนย้ำว่า ถ้อยคำของ มาตรา 68 ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเฉพาะการกระทำที่เป็นการ “ใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ” เพื่อล้มล้างการปกครอง...ฯ เท่านั้น ซึ่ง “การใช้สิทธิเสรีภาพ” ย่อมเป็นคนละเรื่องกับ “การใช้อำนาจหน้าที่” เช่น การลงมติสนับสนุนหรือเห็นชอบการแก้ไข มาตรา 291

ลักษณะสำคัญของ “การใช้สิทธิเสรีภาพ” คือ ผู้กระทำได้อ้าง “สิทธิเสรีภาพ” เพื่อประโยชน์ของตนตามที่ตนปราถนาโดยปลอดจากสภาพบังคับ และจะใช้หรืออ้าง “สิทธิเสรีภาพ” หรือไม่ก็ได้

เช่น การที่พรรคการเมืองจัดกิจกรรมเพื่อยุยงให้ล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือ การที่ประชาชนนัดชุมนุมเพื่อทำให้คณะรัฐมนตรี รัฐสภาหรือศาลไม่อาจทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ เป็นต้น

แต่ “การใช้อำนาจหน้าที่” นั้น หมายถึง ผู้กระทำมิอาจเลือกได้อย่างอิสระว่า ตนจะกระทำหรือไม่กระทำเพื่อประโยชน์ของตนตามที่ปรารถนาโดยปลอดจากสภาพบังคับ แต่เป็นกรณีที่ผู้กระทำถูกกำหนดให้กระทำไปเพราะมีอำนาจหน้าที่ต้องกระทำ หรือต้องใช้ดุลพินิจและกระทำไปตามกลไกตามรัฐธรรมนูญ

เช่น การที่สมาชิกรัฐสภาจะเสนอญัตติ หรือออกเสียงลงคะแนน หรือกระทำการอื่นที่เกี่ยวกับการแก้ไข มาตรา 291 ก็ถือเป็น “การใช้อำนาจหน้าที่” ซึ่งการใช้ดุลพินิจย่อมไม่อิสระ แต่อยู่ภายใต้ มาตรา 122 กล่าวคือ จะอ้างว่ามีเสรีภาพใช้ดุลพินิจเพื่อตนเองหรือผู้ใดผู้หนึ่งไม่ได้ ส่วนผู้ที่ไม่ได้ร่วมเสนอญัตติ จะอ้างสิทธิเสรีภาพว่าขอละเว้น ไม่รับรู้ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการประชุมพิจารณาญัตติในสภาก็ไม่ได้ เช่นกัน เป็นต้น

ข้อที่สำคัญกว่านั้น คือ หากมี “การตีความปะปน” ว่า “การใช้อำนาจหน้าที่” ตามรัฐธรรมนูญ กลายเป็น “การใช้สิทธิเสรีภาพ” ตาม มาตรา 68 ไปเสียแล้ว ก็จะส่งผลแปลกประหลาดทำให้ ‘ศาลรัฐธรรมนูญ’ กลายเป็นองค์กรที่มีเขตอำนาจล้นพ้น สามารถรับเรื่อง ‘การใช้อำนาจหน้าที่’ ขององค์กรต่างๆ มาวินิจฉัย ได้มากมาย เช่น

- การใช้อำนาจของคณะองคมนตรีในการเสนอชื่อผู้สมควรเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตาม มาตรา 19

- การใช้อำนาจตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อยุบสภาตาม มาตรา 108

- การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีตาม มาตรา 158

- การใช้อำนาจของรัฐสภาในการเห็นชอบการประกาศสงครามตาม มาตรา 189

กรณีเหล่านี้ ตลอดกรณี ‘การใช้อำนาจหน้าที่’ อื่นตามรัฐธรรมนูญนั้น ก็ล้วนอาจถูกตีความให้กลายเป็น ‘การใช้สิทธิเสรีภาพ’ ให้ศาลตรวจสอบได้

หรือแม้แต่การเสนอร่างกฎหมายในระบบสภาก็ตาม หากมีผู้อ้างว่าเป็นการ “ใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ” เพื่อล้มล้างการปกครอง...ฯ ก็จะกลายเป็นว่า การตรากฎหมายใดๆ ก็สามารถถูกตรวจสอบโดยศาลได้ โดยไม่ต้องรอให้มีการพิจารณาตามวาระของรัฐสภาเสียด้วยซ้ำ และอาจนำไปสู่การยุบพรรคหรือตัดสิทธิทางการเมืองได้อีกด้วย !

การตีความเช่นนี้เอง ก็คือ การบิดเบือนตัวบท มาตรา 68 เพื่อเพิ่มอำนาจให้ 'ศาลรัฐธรรมนูญ' กลายเป็น ‘องค์กรอภิรัฐธรรมนูญ’ ที่มีอำนาจอยู่เหนือรัฐธรรมนูญและองค์กรอื่นใด

ส่วนข้ออ้างว่าเป็นการเพิ่มอำนาจหรือขยายสิทธิเสรีภาพให้ประชาชนนั้น ไม่อาจรับฟังได้ เพราะไม่มีการขยายสิทธิเสรีภาพใดที่เกิดขึ้นได้จากการบิดเบือนตัวบทรัฐ ธรรมนูญของประชาชนเสียเอง

ส่วนเรื่อง ‘สิทธิการยื่นคำร้อง’ ที่ไม่ควรฟ้องโดยตรงไปยังศาลได้นั้น ก็สำคัญเช่นกัน สมควรย้ำว่าเหตุที่ ‘อัยการสูงสุด’ มีบทบาทจำเป็นในการกรองคดี เป็นเพราะศาลไม่มีทรัพยากรที่จะไปตรวจสอบหรือสืบสวนการ ‘ล้มล้างการปกครองฯ...’ ซึ่งอาจมีข้อเท็จจริงและพฤติกรรมที่ต้องอาศัยพยานหลักฐานจำนวนมาก การแบ่งหน้าที่การทำงานเช่นนี้ คือ หลักการถ่วงดุลสำคัญในกระบวนการยุติธรรมมิให้ศาลเป็นผู้เลือกคดีมาตัดสินได้ เอง

เห็นได้จากคดีอื่นในทางมหาชน เช่น คดีทุจริต หรือ คดีพรรคการเมือง ก็จะมี อัยการ ป.ป.ช. หรือ กกต. เป็นผู้นำคดีมาสู่ศาล หรือ หากเป็นคดีที่ฟ้องตรงได้ต่อศาล ก็จะต้องเป็นกรณีที่วินิจฉัยข้อกฎหมายและมีข้อจำกัดในเรื่องผู้มีสิทธินำคดี มาสู่ศาล อีกทั้งป้องกันการกล่าวอ้างสารพัดมาเพื่อสร้างภาระคดีต่อศาลโดยตรง

ยิ่งไปกว่านั้น การที่ มาตรา 68 ให้ศาลมีอำนาจ ‘ยุบพรรคการเมือง’ หรือ ‘ตัดสิทธิทางการเมือง’ ก็คือการให้ตุลาการถ่วงดุลอำนาจของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ โดยมี ‘อัยการ’ เป็นกลไกในการกรองคดี แต่หากศาลตีความเพิ่มอำนาจให้ตนเองได้อย่างกว้างขวางแล้ว ก็จะเป็นช่องทางให้มีผู้ใช้ตุลาการเป็นอาวุธทางการเมือง ซึ่งก็จะกลับมาทำร้ายตุลาการในที่สุด

ที่น่าหนักใจที่สุดก็คือ หาก ‘สิทธิการยื่นคำร้อง’ ตามมาตรา 68 ถูกตีความอย่างพร่ำเพรื่อ เช่น อ้างอำนาจตุลาการมายับยั้งการใช้ดุลพินิจของผู้แทนปวงชนได้ทุกกรณีแล้วไซร้ ‘สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ’ นี้เองอาจกลับกลายมาถูกนำมาใช้ในทางที่เป็น ‘ปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ’ ทำลายหลักการแบ่งแยกอำนาจ ละเมิดประชาธิปไตย ดูถูกเจตจำนงและสติปัญญาทางการเมืองของประชาชน ส่งผลให้เป็นการตัดโอกาสการเรียนรู้ที่ประชาชนและองค์กรอื่นจะตรวจสอบผู้ใช้ อำนาจตามครรลองรัฐธรรมนูญ อันล้วนขัดต่อหลักการใช้สิทธิตาม มาตรา 28 ในที่สุด

แต่เมื่อ ‘รัฐสภา’ ทราบดีว่าตนไม่มีอาจแก้ต้นเหตุแห่งปัญหาได้ ‘รัฐสภา’ จึงต้องร่วมพิทักษ์รัฐธรรมนูญเท่าที่ทำได้ โดยการแก้ไข ‘รัฐธรรมนูญ’ เช่น มาตรา 68 ซึ่งชัดเจนอยู่แล้ว ให้ชัดเจนยิ่งขึ้นเสียจนไม่อาจถูกนำไปบิดเบือนได้ แม้จะไม่มีสิ่งใดประกันผลแห่งเจตนานี้ได้ก็ตาม.

ขอบคุณ http://prachatai.com/journal/2013/04/46056

ที่มา: ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 เม.ย.56
วันที่โพสต์: 2/04/2556 เวลา 04:38:47

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ ความพยายามล่าสุดในการแก้ไข 'รัฐธรรมนูญ' รายมาตราที่กำลังดำเนินการอยู่ แท้ที่จริงแล้ว เป็นเรื่องที่มีนัยเกี่ยวกับ ‘ฝ่ายตุลาการ’ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นกรณี มาตรา 68 ที่ให้ 'ศาลรัฐธรรมนูญ' ตรวจสอบผู้ใช้สิทธิเสรีภาพล้มล้างการปกครอง หรือ กรณี มาตรา 190 ที่ให้ 'ศาลรัฐธรรมนูญ' ตรวจสอบการทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ หรือกรณี มาตรา 237 ที่ให้ 'ศาลรัฐธรรมนูญ' ยุบพรรค-ตัดสิทธิ ทางการเมืองได้ หรือแม้แต่กรณีสมาชิกวุฒิสภา ก็ไม่พ้นประเด็น ‘กระบวนการสรรหา’ ที่มี ‘ฝ่ายตุลาการ’ เกี่ยวข้องเช่นกัน ผู้เขียนเห็นว่า แม้มาตราเหล่านี้อาจมีปัญหาเชิงหลักการที่ถกเถียงกันได้ แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญอาจไม่จำเป็นเสมอไป ตราบใดที่เรายังพึ่งพา 'หลักคิด' และ 'คุณภาพ' ของ 'ศาลรัฐธรรมนูญ' ในฐานะ ‘ผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญ’ ได้ ศาลสามารถทำหน้าที่ ‘พิทักษ์รัฐธรรมนูญ' ได้โดยการตีความ 'รัฐธรรมนูญ' อย่างพอเพียงและไม่เกินตัว กล่าวคือ ตีความให้สมเจตนารมณ์ตามขอบเขตของดุลแห่งอำนาจ บนพื้นฐานของตรรกะเหตุผลที่ลึกซึ้งหนักแน่นจนแม้ไม่เห็นด้วยกับศาลแต่ก็ พร้อมเคารพต่อการตีความของศาล คำถามคือ ที่ผ่านมา 'ศาลรัฐธรรมนูญ' ได้ทำหน้าที่ ‘พิทักษ์รัฐธรรมนูญ' มากน้อยเพียงใด หรือ 'รัฐธรรมนูญ' กำลังมีปัญหาเพราะ 'ศาลรัฐธรรมนูญ' เสียเองหรือไม่ ? ด้วยความเคารพต่อ 'รัฐธรรมนูญ' ผู้เขียนจำต้องกล่าวอย่างไม่อ้อมค้อมว่า การพยายามแก้ไข 'รัฐธรรมนูญรายมาตรา' ครั้งนี้ ในทางหนึ่ง ก็คือปรากฏการณ์ ‘แรงสะท้อนกลับ’ (backlash) ที่ฝ่ายการเมืองจำเป็นต้องแก้ปัญหาที่ 'ศาลรัฐธรรมนูญ' เป็นผู้สร้างขึ้นมานั่้นเอง ผู้เขียนขอยกตัวอย่าง ‘ปัญหา’ ที่เกิดจากการตีความ มาตรา 68 โดย 'ศาลรัฐธรรมนูญ' ดังนี้ กรณีการตีความ มาตรา 68 นั้น หลายฝ่ายหลงเข้าใจว่ามีปัญหาเฉพาะประเด็น ‘สิทธิการยื่นคำร้อง’ ว่าต้องฟ้องโดย ‘อัยการสูงสุด’ เท่านั้นหรือไม่ แต่ปัญหาเชิงหลักการที่หนักหนายิ่งกว่าก็คือ การบิดเบือนตัวบทรัฐธรรมนูญเพื่อเพิ่มอำนาจให้ 'ศาลรัฐธรรมนูญ' กลายเป็น ‘องค์กรอภิรัฐธรรมนูญ’ ที่มีอำนาจอยู่เหนือรัฐธรรมนูญและองค์กรอื่นใดทั้งปวง รัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรคแรก บัญญัติว่า “บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้ม ล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐ ธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตาม วิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้” ผู้เขียนย้ำว่า ถ้อยคำของ มาตรา 68 ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเฉพาะการกระทำที่เป็นการ “ใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ” เพื่อล้มล้างการปกครอง...ฯ เท่านั้น ซึ่ง “การใช้สิทธิเสรีภาพ” ย่อมเป็นคนละเรื่องกับ “การใช้อำนาจหน้าที่” เช่น การลงมติสนับสนุนหรือเห็นชอบการแก้ไข มาตรา 291 ลักษณะสำคัญของ “การใช้สิทธิเสรีภาพ” คือ ผู้กระทำได้อ้าง “สิทธิเสรีภาพ” เพื่อประโยชน์ของตนตามที่ตนปราถนาโดยปลอดจากสภาพบังคับ และจะใช้หรืออ้าง “สิทธิเสรีภาพ” หรือไม่ก็ได้ เช่น การที่พรรคการเมืองจัดกิจกรรมเพื่อยุยงให้ล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือ การที่ประชาชนนัดชุมนุมเพื่อทำให้คณะรัฐมนตรี รัฐสภาหรือศาลไม่อาจทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ เป็นต้น แต่ “การใช้อำนาจหน้าที่” นั้น หมายถึง ผู้กระทำมิอาจเลือกได้อย่างอิสระว่า ตนจะกระทำหรือไม่กระทำเพื่อประโยชน์ของตนตามที่ปรารถนาโดยปลอดจากสภาพบังคับ แต่เป็นกรณีที่ผู้กระทำถูกกำหนดให้กระทำไปเพราะมีอำนาจหน้าที่ต้องกระทำ หรือต้องใช้ดุลพินิจและกระทำไปตามกลไกตามรัฐธรรมนูญ เช่น การที่สมาชิกรัฐสภาจะเสนอญัตติ หรือออกเสียงลงคะแนน หรือกระทำการอื่นที่เกี่ยวกับการแก้ไข มาตรา 291 ก็ถือเป็น “การใช้อำนาจหน้าที่” ซึ่งการใช้ดุลพินิจย่อมไม่อิสระ แต่อยู่ภายใต้ มาตรา 122 กล่าวคือ จะอ้างว่ามีเสรีภาพใช้ดุลพินิจเพื่อตนเองหรือผู้ใดผู้หนึ่งไม่ได้ ส่วนผู้ที่ไม่ได้ร่วมเสนอญัตติ จะอ้างสิทธิเสรีภาพว่าขอละเว้น ไม่รับรู้ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการประชุมพิจารณาญัตติในสภาก็ไม่ได้ เช่นกัน เป็นต้น ข้อที่สำคัญกว่านั้น คือ หากมี “การตีความปะปน” ว่า “การใช้อำนาจหน้าที่” ตามรัฐธรรมนูญ กลายเป็น “การใช้สิทธิเสรีภาพ” ตาม มาตรา 68 ไปเสียแล้ว ก็จะส่งผลแปลกประหลาดทำให้ ‘ศาลรัฐธรรมนูญ’ กลายเป็นองค์กรที่มีเขตอำนาจล้นพ้น สามารถรับเรื่อง ‘การใช้อำนาจหน้าที่’ ขององค์กรต่างๆ มาวินิจฉัย ได้มากมาย เช่น - การใช้อำนาจของคณะองคมนตรีในการเสนอชื่อผู้สมควรเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตาม มาตรา 19 - การใช้อำนาจตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อยุบสภาตาม มาตรา 108 - การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีตาม มาตรา 158 - การใช้อำนาจของรัฐสภาในการเห็นชอบการประกาศสงครามตาม มาตรา 189 กรณีเหล่านี้ ตลอดกรณี ‘การใช้อำนาจหน้าที่’ อื่นตามรัฐธรรมนูญนั้น ก็ล้วนอาจถูกตีความให้กลายเป็น ‘การใช้สิทธิเสรีภาพ’ ให้ศาลตรวจสอบได้ หรือแม้แต่การเสนอร่างกฎหมายในระบบสภาก็ตาม หากมีผู้อ้างว่าเป็นการ “ใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ” เพื่อล้มล้างการปกครอง...ฯ ก็จะกลายเป็นว่า การตรากฎหมายใดๆ ก็สามารถถูกตรวจสอบโดยศาลได้ โดยไม่ต้องรอให้มีการพิจารณาตามวาระของรัฐสภาเสียด้วยซ้ำ และอาจนำไปสู่การยุบพรรคหรือตัดสิทธิทางการเมืองได้อีกด้วย ! การตีความเช่นนี้เอง ก็คือ การบิดเบือนตัวบท มาตรา 68 เพื่อเพิ่มอำนาจให้ 'ศาลรัฐธรรมนูญ' กลายเป็น ‘องค์กรอภิรัฐธรรมนูญ’ ที่มีอำนาจอยู่เหนือรัฐธรรมนูญและองค์กรอื่นใด ส่วนข้ออ้างว่าเป็นการเพิ่มอำนาจหรือขยายสิทธิเสรีภาพให้ประชาชนนั้น ไม่อาจรับฟังได้ เพราะไม่มีการขยายสิทธิเสรีภาพใดที่เกิดขึ้นได้จากการบิดเบือนตัวบทรัฐ ธรรมนูญของประชาชนเสียเอง ส่วนเรื่อง ‘สิทธิการยื่นคำร้อง’ ที่ไม่ควรฟ้องโดยตรงไปยังศาลได้นั้น ก็สำคัญเช่นกัน สมควรย้ำว่าเหตุที่ ‘อัยการสูงสุด’ มีบทบาทจำเป็นในการกรองคดี เป็นเพราะศาลไม่มีทรัพยากรที่จะไปตรวจสอบหรือสืบสวนการ ‘ล้มล้างการปกครองฯ...’ ซึ่งอาจมีข้อเท็จจริงและพฤติกรรมที่ต้องอาศัยพยานหลักฐานจำนวนมาก การแบ่งหน้าที่การทำงานเช่นนี้ คือ หลักการถ่วงดุลสำคัญในกระบวนการยุติธรรมมิให้ศาลเป็นผู้เลือกคดีมาตัดสินได้ เอง เห็นได้จากคดีอื่นในทางมหาชน เช่น คดีทุจริต หรือ คดีพรรคการเมือง ก็จะมี อัยการ ป.ป.ช. หรือ กกต. เป็นผู้นำคดีมาสู่ศาล หรือ หากเป็นคดีที่ฟ้องตรงได้ต่อศาล ก็จะต้องเป็นกรณีที่วินิจฉัยข้อกฎหมายและมีข้อจำกัดในเรื่องผู้มีสิทธินำคดี มาสู่ศาล อีกทั้งป้องกันการกล่าวอ้างสารพัดมาเพื่อสร้างภาระคดีต่อศาลโดยตรง ยิ่งไปกว่านั้น การที่ มาตรา 68 ให้ศาลมีอำนาจ ‘ยุบพรรคการเมือง’ หรือ ‘ตัดสิทธิทางการเมือง’ ก็คือการให้ตุลาการถ่วงดุลอำนาจของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ โดยมี ‘อัยการ’ เป็นกลไกในการกรองคดี แต่หากศาลตีความเพิ่มอำนาจให้ตนเองได้อย่างกว้างขวางแล้ว ก็จะเป็นช่องทางให้มีผู้ใช้ตุลาการเป็นอาวุธทางการเมือง ซึ่งก็จะกลับมาทำร้ายตุลาการในที่สุด ที่น่าหนักใจที่สุดก็คือ หาก ‘สิทธิการยื่นคำร้อง’ ตามมาตรา 68 ถูกตีความอย่างพร่ำเพรื่อ เช่น อ้างอำนาจตุลาการมายับยั้งการใช้ดุลพินิจของผู้แทนปวงชนได้ทุกกรณีแล้วไซร้ ‘สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ’ นี้เองอาจกลับกลายมาถูกนำมาใช้ในทางที่เป็น ‘ปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ’ ทำลายหลักการแบ่งแยกอำนาจ ละเมิดประชาธิปไตย ดูถูกเจตจำนงและสติปัญญาทางการเมืองของประชาชน ส่งผลให้เป็นการตัดโอกาสการเรียนรู้ที่ประชาชนและองค์กรอื่นจะตรวจสอบผู้ใช้ อำนาจตามครรลองรัฐธรรมนูญ อันล้วนขัดต่อหลักการใช้สิทธิตาม มาตรา 28 ในที่สุด แต่เมื่อ ‘รัฐสภา’ ทราบดีว่าตนไม่มีอาจแก้ต้นเหตุแห่งปัญหาได้ ‘รัฐสภา’ จึงต้องร่วมพิทักษ์รัฐธรรมนูญเท่าที่ทำได้ โดยการแก้ไข ‘รัฐธรรมนูญ’ เช่น มาตรา 68 ซึ่งชัดเจนอยู่แล้ว ให้ชัดเจนยิ่งขึ้นเสียจนไม่อาจถูกนำไปบิดเบือนได้ แม้จะไม่มีสิ่งใดประกันผลแห่งเจตนานี้ได้ก็ตาม. ขอบคุณ http://prachatai.com/journal/2013/04/46056

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...