เป็นปัญหามั้ย! 'ติดคุกในบ้าน'

แสดงความคิดเห็น

เหมือนบ่อบัดน้ำเสีย ถ้าไม่สามารถแยกบ่อต่างๆ ออกจากกันได้ว่าสาเหตุมาจากอะไร การแก้ไขที่ถูกต้องก็คงยาก และเมื่อทุกบ่อเอามารวมกัน บำบัดเหมือนกันก็แก้ปัญหาได้ไม่ตรงจุด..

กลายเป็นทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์ เพียงชั่วข้ามคืน กรณีกระทรวงยุติธรรมออกประกาศกฎกระทรวงฉบับใหม่ โดย ให้นักโทษชั้นดีที่ถูกจองจำมาแล้ว 1 ใน 3 ของโทษที่ได้รับ ใส่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตัวแทนการติดคุก ยืนยันสามารถตรวจสอบที่อยู่ และจำกัดขอบเขตในการเดินทางได้ แม้กฎกระทรวงดังกล่าวจะมีกฎหมายลูกออกมารองรับอีกหลายฉบับ แต่เรื่องร้อนๆ แบบนี้คงทำเอาหลายคนอดหวั่นใจไม่ได้ว่าอาจเกิดปัญหาหลายอย่างตามมา ส่วนอีกมุมมองว่าอาจไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอย่างที่คิดก็ได้

ออกตัวก่อนเลยว่าไม่ได้ติดตามรายละเอียดเกี่ยวกับกฎกระทรวงที่กำลังเป็นข่าว แต่นักธุรกิจหนุ่ม "บอส" ธนะสิทธิ์ เฟื่องไพศาล เจ้าของ โครงการคอนโดมิเนียม "แลนด์มาร์ค เรสซิเด้นส์" เอแบค บางนา ยอมรับ "เห็นด้วย" เพราะถือเป็นการให้โอกาสคน ซึ่งการติดคุก 1 ใน 3 แล้วประพฤติดีก็น่าจะสามารถออกมาถูกคุมประพฤติที่บ้าน ได้เลี้ยงดูพ่อแม่ หรือทำประโยชน์ต่อสังคม และเชื่อว่าคนที่สำนึกผิดจะไม่กลับไปทำผิดอีก

"เรื่องนี้มีสองมุมนะ อีกมุมหนึ่ง ถ้าคนนั้นยังไม่สำนึกก็ดูเหมือนว่าจะเร็วเกินไปที่ให้เขาออกมาใช้ชีวิตปกติ หรือคนที่คิดจะทำผิดพอรู้ว่าติดคุกแล้วอีกหน่อยก็คงได้ออกมาก็อาจจะทำให้เขา ไม่เกรงกลัวกฎหมาย อาจทำให้นักโทษเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ แล้วก็ไม่แก้ปัญหาคนล้นคุกตามความตั้งใจ ผมว่าจริงๆ ถ้ามีการประกาศใช้ต้องมีเงื่อนไขที่รัดกุม อาจมีการเพิ่มโทษให้หนักขึ้นสำหรับคนที่หากได้ออกมาแล้วยังไม่สำนึก ต้องวัดใจนะ" นักธุรกิจหนุ่มไฟแรง ให้ความเห็น

สอดคล้องกับมุมมองของดีไซเนอร์สาว "ตุ๊ย" ทิพนันท์ ศรีเฟื่องฟุ้ง ที่บอกว่าคิดได้ 2 แง่มุม ในมุมที่ดีเป็นการให้โอกาสคนทำผิดให้ได้กลับมามีชีวิตใหม่ และทำสิ่งที่เป็นประโยชน์กับสังคม แต่อีกมุมหนึ่งการปล่อยนักโทษออกมา ก็ทำให้คนในสังคมเกิดความระหวาดระแวง และต้องระวังตัวเองให้มากขึ้นกว่าเดิม

"ต้องคิดบวกเอาไว้ก่อนเสมอในเมื่อพวกเขาได้รับการอนุมัติให้สามารถออกมาสู่ โลกภายนอกได้ขณะที่ยังมีคดีติดตัว ทุกวันนี้คนเราต้องระวังตัวอยู่ตลอดเวลา ยิ่งถ้ามีผู้ต้องโทษออกมาปะปนด้วย ยิ่งต้องระวังตัวมากขึ้นเป็นพิเศษ ส่วน กำไลที่นักโทษจะใส่ คิดว่าถ้าทุกคนเห็นก็จะมองเขาในแง่ลบแม้บางครั้งความผิดของเขาอาจจะไม่ได้ หนักมาก แต่อีกมุมก็เป็นเหมือนเครื่องเตือนสติพวกเขาให้รู้ว่าโอกาสที่เขาได้ออกมา ครั้งนี้ จะไม่กลับไปทำสิ่งที่ไม่ดีอีก ก็ไม่อยากให้ทุกคนมองในแง่ลบเกินไป ขึ้นอยู่ที่ตัวเราว่าจะปรับตัวให้เข้ากับสังคมแบบนี้อย่างไร" แฟชั่นนิสต้าสาว กล่าว

ด้านสาวสวย "ปรางค์" อภินรา ศรีกาญจนา กลับมองในเรื่องของสิทธิมนุษยชนว่า เมื่อตัดสินใจจะปล่อยนักโทษออกมาแล้ว ก็ไม่ควรมีอะไรตีตราติดเอาไว้ เพราะกำไลข้อมือเป็นเพียงเครื่องส่งสัญญาณ ที่จะทำให้ตำรวจจับตัวนักโทษได้เร็วขึ้น หรือรู้สถานที่อยู่เท่านั้น หากเป็นแบบนั้นก็ไม่ควรปล่อยออกมา

"การใส่กำไลยิ่งเป็นการแบ่งแยกคน ถ้าคิดว่าจะมีไว้เพื่อตามตัวแค่นั้นอย่าปล่อยเลยดีกว่า นักโทษที่จะถูกปล่อยเขาก็ต้องพิจารณาแล้วว่าเหมาะสม โดยเฉพาะนักโทษที่ป่วย อันนี้ต้องพิจารณาให้ดีว่าเขาป่วยขนาดไหน ต้องป่วยแบบมั่นใจได้แล้วว่าเขาไม่สามารถไปทำอะไรใครได้แน่นอน แบบนั้นก็สมควรจะปล่อยออกมารักษาตัว เพราะการใส่กำไลไม่ได้หมายความคนนั้นจะไม่ทำผิดอีก ล่าสุดปรางค์โดนทุบกระจกรถโชคดีที่ตำรวจจับได้ คนนี้ก่อคดีวิ่งราวมาแล้วหลายครั้ง กระทั่งขาขาดเพราะโดนรถทับแล้วเขาก็ยังไม่เลิก ทำให้รู้ว่าคนเราถ้าคิดจะทำผิด ต่อให้อยู่ในสถานการณ์ไหนเขาก็ทำได้" สาวคิดต่าง แจกแจง

มาฟังความคิดเห็นของ เจ้าพนักงานราชทัณฑ์ที่ไม่ประสงค์จะออกนาม บอกว่า ที่ผ่านมากรมราชทัณฑ์มีระเบียบในการพักการลงโทษสำหรับนักโทษบางประเภทอยู่ แล้ว อย่างนักโทษที่พิการแขน-ขาทั้ง 2 ข้าง ตาบอด 2 ข้าง เป็นมะเร็งหรือโรคเอดส์ระยะสุดท้าย หรือนักโทษที่ชราภาพมากๆ ให้ออกมาอยู่นอกเรือนจำได้ แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไขที่กรมควบคุมประพฤติกำหนด และต้องรายงานตัวต่อเจ้าพนักงานเดือนละครั้ง

"อย่างเรือนจำที่ผมงานอยู่ มีนักโทษไม่มาก ประมาณ 700-800 คน ทุกปีจะมีผู้ได้รับการพักโทษประมาณ 5-10 คน ซึ่งต้องมารายงานตัวทุกเดือน แต่นักโทษก็มาบ้างไม่มาบ้าง แต่กฎกระทรวงที่ออกมาใหม่นี้ให้ปล่อยตัวออกไป ผมว่าคงไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะควบคุมดูแล แต่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคำสั่งศาลที่จะต้องใช้ดุลพินิจพิจารณาเป็นรายบุคคลอย่าง ถี่ถ้วน อย่างรายที่ออกไปแล้วจะเป็นภัยต่อสังคม อันนี้ผมว่าศาลคงไม่สั่งปล่อยออกมาแน่นอน แต่หลายๆ กรณีที่จะเข้าข่ายศาลสั่งให้ออกกจากเรือนจำ ดูแล้วก็ไม่ได้ต่างจากระเบียบข้อบังคับเดิมที่เคยปฏิบัติอยู่แล้วมากนัก" เจ้าพนักงานราชทัณฑ์ ให้ความเห็น

ขณะที่รองผู้อำนวยการบริหารสหทัยมูลนิธิ "ศุ" ศุภอาภา วงศ์สกุล ซึ่งทำงานด้านเด็ก ผู้หญิง และสิทธิมนุษย์ชน ให้ความเห็นในเรื่องดังกล่าวว่า ถ้ามองในแง่ของสิทธิคน การแก้ปัญหาด้วยวิธีการใส่กำไลข้อมือแล้วฝั่งจีพีเอสก็เหมือนกับโดนใส่ปลอก คอ คนทั่วไปต้องรู้ว่าถ้าใครใส่กำไลแบบนี้เป็นนักโทษแล้วจะถูกมองอย่างไร จะไว้ใจเขาหรือไม่ เป็นการแก้ปัญหาไม่ต้องจุด คล้ายๆ กับการประจาน

"จะมาบอกว่าเป็นการลดค่าใช้จ่าย แก้ไม่ตรงจุดแล้ว และทางราชทัณฑ์มีความพร้อมแค่ไหนในการเตรียมคนเหล่านี้ออกมาสู่ภายนอก เขาเรียนรู้ที่จะกลับตัวหรือยัง เรื่องนี้เป็นการปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อไม่ให้คุกล้นหรืออย่างไร ซึ่ง การออกมานอกคุกแล้วจะจัดการกับคนเหล่านี้อย่างไร เป็นคำถามที่เกิดขึ้นในสังคมแน่ๆ ทุกคนก็ต้องระมัดระวังตัวมากขึ้น เมื่อเราระวังกลุ่มนักโทษที่ออกมาก็กดดัน เมื่อกดดันมากก็อาจก่ออาชญากรรมอีก ดังนั้นเรื่องแรกๆ ที่ต้องเจอคือความรู้สึกของคนที่ต่อต้าน คนจะตีตราคนที่ใส่ข้อมือ ควรหันกลับไปมองถึงวิธีแก้ปัญหาจากภายในอย่างเป็นระบบก่อนดีกว่า" รองผอ.สหทัยมูลนิธิ สะท้อนมุมมอง

สำหรับความคิดเห็นของผู้บังคับใช้กฎหมาย พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ ผู้บัญชาสำนักงานเทคโนโลยีและการสื่อสาร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า กรณีนี้จะนำไปปฏิบัติกับนักโทษอายุมากและป่วย ที่สำคัญต้องมีความประพฤติดี อยู่ในวินัย ซึ่งปกตินักโทษป่วยก็จะต้องอยู่โรงพยาบาลอยู่แล้ว คนเหล่านี้ถ้าถูกส่งไปอยู่บ้านและญาติๆ คอยดูแลก็จะเป็นเรื่องดีทั้งตัวนักโทษและคนในครอบครัว

"กฎเกณฑ์คือต้องเป็นนักโทษชั้นดี ต้องขังมาแล้ว อายุมาก ป่วย แต่ไม่ควรใช้กับนักโทษที่ทำผิดข้อหายาเสพติด การควบคุมคือต้องอยู่ที่บ้านเท่านั้นไม่สามารถออกนอกบ้านได้ ความจริงก็เป็นการลดภาระส่วนหนึ่งให้กับกรมราชทัณฑ์ที่ไม่ต้องเปลืองคนมา ดูแล และคุกก็ลดความหนาแน่นลงด้วย ไม่ต้องห่วงเรื่องการควบคุมเพราะต้องมีระบบที่ได้มาตรฐาน ออกนอกสถานที่จะมีการแจ้งตรงไปยังเจ้าหน้าที่ทันที และในรุ่นต่อไปจะมีการสแกนนิ้วของผู้ต้องขังไว้กับกุญแจหรือกำไลมือ ถ้ามีการเปลี่ยนมือใส่เจ้าหน้าที่จะรู้ทันที" ผู้บัญชาการสำนักงานเทคโนโลยีและการสื่อสาร ให้ความรู้

ทั้งนี้ พล.ต.ท.ประวุฒิ ยังทิ้งท้ายด้วยว่า ต้องเห็นใจกรมราชทัณฑ์เพราะสถานที่คับแคบมาก การแยกแยะและการบำบัดนักโทษจึงทำไม่ได้ตามหน้าที่ของตัวเอง เพราะหน้าที่สำคัญต้องกำราบให้เข็ดจำ สร้างสำนึก และ ฝึกอาชีพ หากเปรียบเหมือนบ่อบัดน้ำเสีย ถ้าไม่สามารถแยกบ่อต่างๆ ออกจากกันได้ว่าสาเหตุมาจากอะไร การแก้ไขที่ถูกต้องก็คงยาก และเมื่อทุกบ่อเอามารวมกัน บำบัดเหมือนกันก็แก้ปัญหาได้ไม่ตรงจุด แต่อยากย้ำว่าคนทั่วไปไม่ต้องกลัวว่าจะเจอกลุ่มคนเหล่านี้ พวกเขาคงไม่สามารถออกมาใช้ชีวิตในสังคมแบบคนทั่วไปแน่นอน

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130330/155011/เป็นปัญหามั้ย!ติดคุกในบ้าน.html#.UVZIRjeWAo9 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 30 มี.ค.56
วันที่โพสต์: 30/03/2556 เวลา 02:07:48

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เหมือนบ่อบัดน้ำเสีย ถ้าไม่สามารถแยกบ่อต่างๆ ออกจากกันได้ว่าสาเหตุมาจากอะไร การแก้ไขที่ถูกต้องก็คงยาก และเมื่อทุกบ่อเอามารวมกัน บำบัดเหมือนกันก็แก้ปัญหาได้ไม่ตรงจุด.. กลายเป็นทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์ เพียงชั่วข้ามคืน กรณีกระทรวงยุติธรรมออกประกาศกฎกระทรวงฉบับใหม่ โดย ให้นักโทษชั้นดีที่ถูกจองจำมาแล้ว 1 ใน 3 ของโทษที่ได้รับ ใส่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตัวแทนการติดคุก ยืนยันสามารถตรวจสอบที่อยู่ และจำกัดขอบเขตในการเดินทางได้ แม้กฎกระทรวงดังกล่าวจะมีกฎหมายลูกออกมารองรับอีกหลายฉบับ แต่เรื่องร้อนๆ แบบนี้คงทำเอาหลายคนอดหวั่นใจไม่ได้ว่าอาจเกิดปัญหาหลายอย่างตามมา ส่วนอีกมุมมองว่าอาจไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอย่างที่คิดก็ได้ ออกตัวก่อนเลยว่าไม่ได้ติดตามรายละเอียดเกี่ยวกับกฎกระทรวงที่กำลังเป็นข่าว แต่นักธุรกิจหนุ่ม "บอส" ธนะสิทธิ์ เฟื่องไพศาล เจ้าของ โครงการคอนโดมิเนียม "แลนด์มาร์ค เรสซิเด้นส์" เอแบค บางนา ยอมรับ "เห็นด้วย" เพราะถือเป็นการให้โอกาสคน ซึ่งการติดคุก 1 ใน 3 แล้วประพฤติดีก็น่าจะสามารถออกมาถูกคุมประพฤติที่บ้าน ได้เลี้ยงดูพ่อแม่ หรือทำประโยชน์ต่อสังคม และเชื่อว่าคนที่สำนึกผิดจะไม่กลับไปทำผิดอีก "เรื่องนี้มีสองมุมนะ อีกมุมหนึ่ง ถ้าคนนั้นยังไม่สำนึกก็ดูเหมือนว่าจะเร็วเกินไปที่ให้เขาออกมาใช้ชีวิตปกติ หรือคนที่คิดจะทำผิดพอรู้ว่าติดคุกแล้วอีกหน่อยก็คงได้ออกมาก็อาจจะทำให้เขา ไม่เกรงกลัวกฎหมาย อาจทำให้นักโทษเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ แล้วก็ไม่แก้ปัญหาคนล้นคุกตามความตั้งใจ ผมว่าจริงๆ ถ้ามีการประกาศใช้ต้องมีเงื่อนไขที่รัดกุม อาจมีการเพิ่มโทษให้หนักขึ้นสำหรับคนที่หากได้ออกมาแล้วยังไม่สำนึก ต้องวัดใจนะ" นักธุรกิจหนุ่มไฟแรง ให้ความเห็น สอดคล้องกับมุมมองของดีไซเนอร์สาว "ตุ๊ย" ทิพนันท์ ศรีเฟื่องฟุ้ง ที่บอกว่าคิดได้ 2 แง่มุม ในมุมที่ดีเป็นการให้โอกาสคนทำผิดให้ได้กลับมามีชีวิตใหม่ และทำสิ่งที่เป็นประโยชน์กับสังคม แต่อีกมุมหนึ่งการปล่อยนักโทษออกมา ก็ทำให้คนในสังคมเกิดความระหวาดระแวง และต้องระวังตัวเองให้มากขึ้นกว่าเดิม "ต้องคิดบวกเอาไว้ก่อนเสมอในเมื่อพวกเขาได้รับการอนุมัติให้สามารถออกมาสู่ โลกภายนอกได้ขณะที่ยังมีคดีติดตัว ทุกวันนี้คนเราต้องระวังตัวอยู่ตลอดเวลา ยิ่งถ้ามีผู้ต้องโทษออกมาปะปนด้วย ยิ่งต้องระวังตัวมากขึ้นเป็นพิเศษ ส่วน กำไลที่นักโทษจะใส่ คิดว่าถ้าทุกคนเห็นก็จะมองเขาในแง่ลบแม้บางครั้งความผิดของเขาอาจจะไม่ได้ หนักมาก แต่อีกมุมก็เป็นเหมือนเครื่องเตือนสติพวกเขาให้รู้ว่าโอกาสที่เขาได้ออกมา ครั้งนี้ จะไม่กลับไปทำสิ่งที่ไม่ดีอีก ก็ไม่อยากให้ทุกคนมองในแง่ลบเกินไป ขึ้นอยู่ที่ตัวเราว่าจะปรับตัวให้เข้ากับสังคมแบบนี้อย่างไร" แฟชั่นนิสต้าสาว กล่าว ด้านสาวสวย "ปรางค์" อภินรา ศรีกาญจนา กลับมองในเรื่องของสิทธิมนุษยชนว่า เมื่อตัดสินใจจะปล่อยนักโทษออกมาแล้ว ก็ไม่ควรมีอะไรตีตราติดเอาไว้ เพราะกำไลข้อมือเป็นเพียงเครื่องส่งสัญญาณ ที่จะทำให้ตำรวจจับตัวนักโทษได้เร็วขึ้น หรือรู้สถานที่อยู่เท่านั้น หากเป็นแบบนั้นก็ไม่ควรปล่อยออกมา "การใส่กำไลยิ่งเป็นการแบ่งแยกคน ถ้าคิดว่าจะมีไว้เพื่อตามตัวแค่นั้นอย่าปล่อยเลยดีกว่า นักโทษที่จะถูกปล่อยเขาก็ต้องพิจารณาแล้วว่าเหมาะสม โดยเฉพาะนักโทษที่ป่วย อันนี้ต้องพิจารณาให้ดีว่าเขาป่วยขนาดไหน ต้องป่วยแบบมั่นใจได้แล้วว่าเขาไม่สามารถไปทำอะไรใครได้แน่นอน แบบนั้นก็สมควรจะปล่อยออกมารักษาตัว เพราะการใส่กำไลไม่ได้หมายความคนนั้นจะไม่ทำผิดอีก ล่าสุดปรางค์โดนทุบกระจกรถโชคดีที่ตำรวจจับได้ คนนี้ก่อคดีวิ่งราวมาแล้วหลายครั้ง กระทั่งขาขาดเพราะโดนรถทับแล้วเขาก็ยังไม่เลิก ทำให้รู้ว่าคนเราถ้าคิดจะทำผิด ต่อให้อยู่ในสถานการณ์ไหนเขาก็ทำได้" สาวคิดต่าง แจกแจง มาฟังความคิดเห็นของ เจ้าพนักงานราชทัณฑ์ที่ไม่ประสงค์จะออกนาม บอกว่า ที่ผ่านมากรมราชทัณฑ์มีระเบียบในการพักการลงโทษสำหรับนักโทษบางประเภทอยู่ แล้ว อย่างนักโทษที่พิการแขน-ขาทั้ง 2 ข้าง ตาบอด 2 ข้าง เป็นมะเร็งหรือโรคเอดส์ระยะสุดท้าย หรือนักโทษที่ชราภาพมากๆ ให้ออกมาอยู่นอกเรือนจำได้ แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไขที่กรมควบคุมประพฤติกำหนด และต้องรายงานตัวต่อเจ้าพนักงานเดือนละครั้ง "อย่างเรือนจำที่ผมงานอยู่ มีนักโทษไม่มาก ประมาณ 700-800 คน ทุกปีจะมีผู้ได้รับการพักโทษประมาณ 5-10 คน ซึ่งต้องมารายงานตัวทุกเดือน แต่นักโทษก็มาบ้างไม่มาบ้าง แต่กฎกระทรวงที่ออกมาใหม่นี้ให้ปล่อยตัวออกไป ผมว่าคงไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะควบคุมดูแล แต่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคำสั่งศาลที่จะต้องใช้ดุลพินิจพิจารณาเป็นรายบุคคลอย่าง ถี่ถ้วน อย่างรายที่ออกไปแล้วจะเป็นภัยต่อสังคม อันนี้ผมว่าศาลคงไม่สั่งปล่อยออกมาแน่นอน แต่หลายๆ กรณีที่จะเข้าข่ายศาลสั่งให้ออกกจากเรือนจำ ดูแล้วก็ไม่ได้ต่างจากระเบียบข้อบังคับเดิมที่เคยปฏิบัติอยู่แล้วมากนัก" เจ้าพนักงานราชทัณฑ์ ให้ความเห็น ขณะที่รองผู้อำนวยการบริหารสหทัยมูลนิธิ "ศุ" ศุภอาภา วงศ์สกุล ซึ่งทำงานด้านเด็ก ผู้หญิง และสิทธิมนุษย์ชน ให้ความเห็นในเรื่องดังกล่าวว่า ถ้ามองในแง่ของสิทธิคน การแก้ปัญหาด้วยวิธีการใส่กำไลข้อมือแล้วฝั่งจีพีเอสก็เหมือนกับโดนใส่ปลอก คอ คนทั่วไปต้องรู้ว่าถ้าใครใส่กำไลแบบนี้เป็นนักโทษแล้วจะถูกมองอย่างไร จะไว้ใจเขาหรือไม่ เป็นการแก้ปัญหาไม่ต้องจุด คล้ายๆ กับการประจาน "จะมาบอกว่าเป็นการลดค่าใช้จ่าย แก้ไม่ตรงจุดแล้ว และทางราชทัณฑ์มีความพร้อมแค่ไหนในการเตรียมคนเหล่านี้ออกมาสู่ภายนอก เขาเรียนรู้ที่จะกลับตัวหรือยัง เรื่องนี้เป็นการปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อไม่ให้คุกล้นหรืออย่างไร ซึ่ง การออกมานอกคุกแล้วจะจัดการกับคนเหล่านี้อย่างไร เป็นคำถามที่เกิดขึ้นในสังคมแน่ๆ ทุกคนก็ต้องระมัดระวังตัวมากขึ้น เมื่อเราระวังกลุ่มนักโทษที่ออกมาก็กดดัน เมื่อกดดันมากก็อาจก่ออาชญากรรมอีก ดังนั้นเรื่องแรกๆ ที่ต้องเจอคือความรู้สึกของคนที่ต่อต้าน คนจะตีตราคนที่ใส่ข้อมือ ควรหันกลับไปมองถึงวิธีแก้ปัญหาจากภายในอย่างเป็นระบบก่อนดีกว่า" รองผอ.สหทัยมูลนิธิ สะท้อนมุมมอง สำหรับความคิดเห็นของผู้บังคับใช้กฎหมาย พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ ผู้บัญชาสำนักงานเทคโนโลยีและการสื่อสาร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า กรณีนี้จะนำไปปฏิบัติกับนักโทษอายุมากและป่วย ที่สำคัญต้องมีความประพฤติดี อยู่ในวินัย ซึ่งปกตินักโทษป่วยก็จะต้องอยู่โรงพยาบาลอยู่แล้ว คนเหล่านี้ถ้าถูกส่งไปอยู่บ้านและญาติๆ คอยดูแลก็จะเป็นเรื่องดีทั้งตัวนักโทษและคนในครอบครัว "กฎเกณฑ์คือต้องเป็นนักโทษชั้นดี ต้องขังมาแล้ว อายุมาก ป่วย แต่ไม่ควรใช้กับนักโทษที่ทำผิดข้อหายาเสพติด การควบคุมคือต้องอยู่ที่บ้านเท่านั้นไม่สามารถออกนอกบ้านได้ ความจริงก็เป็นการลดภาระส่วนหนึ่งให้กับกรมราชทัณฑ์ที่ไม่ต้องเปลืองคนมา ดูแล และคุกก็ลดความหนาแน่นลงด้วย ไม่ต้องห่วงเรื่องการควบคุมเพราะต้องมีระบบที่ได้มาตรฐาน ออกนอกสถานที่จะมีการแจ้งตรงไปยังเจ้าหน้าที่ทันที และในรุ่นต่อไปจะมีการสแกนนิ้วของผู้ต้องขังไว้กับกุญแจหรือกำไลมือ ถ้ามีการเปลี่ยนมือใส่เจ้าหน้าที่จะรู้ทันที" ผู้บัญชาการสำนักงานเทคโนโลยีและการสื่อสาร ให้ความรู้ ทั้งนี้ พล.ต.ท.ประวุฒิ ยังทิ้งท้ายด้วยว่า ต้องเห็นใจกรมราชทัณฑ์เพราะสถานที่คับแคบมาก การแยกแยะและการบำบัดนักโทษจึงทำไม่ได้ตามหน้าที่ของตัวเอง เพราะหน้าที่สำคัญต้องกำราบให้เข็ดจำ สร้างสำนึก และ ฝึกอาชีพ หากเปรียบเหมือนบ่อบัดน้ำเสีย ถ้าไม่สามารถแยกบ่อต่างๆ ออกจากกันได้ว่าสาเหตุมาจากอะไร การแก้ไขที่ถูกต้องก็คงยาก และเมื่อทุกบ่อเอามารวมกัน บำบัดเหมือนกันก็แก้ปัญหาได้ไม่ตรงจุด แต่อยากย้ำว่าคนทั่วไปไม่ต้องกลัวว่าจะเจอกลุ่มคนเหล่านี้ พวกเขาคงไม่สามารถออกมาใช้ชีวิตในสังคมแบบคนทั่วไปแน่นอน ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130330/155011/เป็นปัญหามั้ย!ติดคุกในบ้าน.html#.UVZIRjeWAo9

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...