ยื่นศาลรธน.ล้มร่างพ.ร.บ.ร่วมทุน

แสดงความคิดเห็น

40 สว.จับมือ ปชป. ชงศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยร่างพ.ร.บ.ร่วมทุน ขัดรธน. ชี้ เอื้อนักการเมืองหาผลประโยชน์ รับลูกเงินกู้ 2 ล้านล้าน

นายไพบูลย์ นิติตะวัน สว.สรรหา นายวิรัตน์ กัลยาศิริ สส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ได้ยื่นรายชื่อสมาชิกรัฐสภา จำนวน 76 คน แบ่งเป็นสว.42 คน และ สส.ปชป.35 คน ต่อนายสมศักดิ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา เพื่อให้ส่งความเห็นต่อไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 154 ว่าร่างพ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ... (พ.ร.บ.ร่วมทุน)มีข้อความขัดแย้งรัฐธรรมนูญหรือไม่

ทั้งนี้หนังสือที่ทั้งสส.และสว.ได้ยื่นต่อนายสมศักดิ์มีข้อความโดยสรุปว่า 1.มาตรา 28 ของร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวฯ ซึ่งกำหนดให้การอนุมัติงบประมาณเพื่อดำเนินการโครงการของคณะรัฐมนตรีให้ถือเป็นการอนุมัติตามกฎหมายว่าด้วยวิธีงบประมาณ กฎหมายว่าด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะในส่วนที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณี เป็นบทบัญญัติที่ขัดรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 169 ที่บัญญัติว่า การจ่ายเงินแผ่นดิน จะกระทำได้ก็เฉพาะที่ได้อนุญาตไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย กฎหมายว่าด้วยงบประมาณ กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินงบประมาณ หรือกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนรัฐบาลจะจ่ายไปก่อนได้ แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีที่กฎหมายบัญญัติ

2.ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว ได้มีผลให้ยกเลิกพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินงานกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 ทั้งฉบับโดยเฉพาะมาตรา15 ที่บัญญัติว่าวิธีการคัดเลือกของคณะกรรมการซึ่งจะต้องใช้วิธีประมูลได้ถูกยกเลิกไปด้วย ทั้งที่เป็นสาระสำคัญของกฎหมายเพื่อให้การดำเนินการด้วยความโปร่งใสตรวจสอบได้ การยกเลิกนี้พ.ร.บ.ดังกล่าว จะทำให้การคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมโครงการขาดความโปร่งใส ขัดต่อการบริหารบ้านเมือง

3. ร่างพ.ร.บ.ทั้งฉบับมีระบุเพียงให้รับฟังความเห็นสาธารณะชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งขัดเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 87(1)(2) และ (3) ที่ลงรายละเอียดในขั้นตอนการสำรวจความเห็นประชาชนที่ต้องทำตั้งแต่ระดับท้องถิ่น นอกจากขัดรัฐธรรมนูญแล้วยังเปิดช่องให้ใช้เงินของรัฐร่วมธุรกิจกับเอกชนอย่างง่ายดาย โดยใช้วิธีคัดเลือกที่สามารถหลีกเลี่ยงไม่ต้องใช้วิธีประมูลแต่ละโครงการหลายแสนล้านบาทเพื่อเป็นการอนุมัติโครงการรองรับการใช้พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท อีกทั้งจะปิดช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ แต่จะก่อให้เกิดการหาประยชน์ของนักการเมืองและผลักภาระให้ประชาชนต้องเสี่ยงกับภาระหนี้สาธารณะ

ดังนั้น จึงเห็นว่า พ.ร.บ.ร่วมทุน ในมาตรา 28 ,38 และหมวดที่ 3 มาตรา 19, 20, 21 และ 22 ตราขึ้น โดยไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ปี 2550 มาตรา 75 วรรคแรก ประกอบมาตรา 78(4)(5) มาตรา 84(11) มาตรา 87(1)(2) และ (3) และมาตรา 169

นายไพบูลย์ กล่าวว่า เชื่อว่านายสมศักดิ์ จะเร่งส่งหนังสือดังกล่าวให้กับศาลรัฐธรรมนูญ หลังจากที่มีการตรวจสอบตามขั้นตอนที่แล้วเสร็จแล้ว ทั้งนี้ตนเชื่อว่าแม้ว่านายสมศักดิ์จะเป็นคนของรัฐบาล และการส่งให้ตีความร่าง พ.ร.บ.เอกชนร่วมทุนฯ จะเป็นสิ่งที่ทำให้การบังคับใช้ ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท มีปัญหาในอนาคต เพราะขาดเครื่องมือในการนำไปปฏิบัติ และเกิดความล่าช้า แต่โดยรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้ชัดเจนจะทำให้นายสมศักดิ์ส่งเรื่องไปทันที

ขอบคุณ http://www.posttoday.com/การเมือง/212947/ยื่นศาลรธน-ล้มร่างพ-ร-บ-ร่วมทุน

ที่มา: โพสต์ทูเดย์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย28มี.ค.56
วันที่โพสต์: 29/03/2556 เวลา 04:31:27

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

40 สว.จับมือ ปชป. ชงศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยร่างพ.ร.บ.ร่วมทุน ขัดรธน. ชี้ เอื้อนักการเมืองหาผลประโยชน์ รับลูกเงินกู้ 2 ล้านล้าน นายไพบูลย์ นิติตะวัน สว.สรรหา นายวิรัตน์ กัลยาศิริ สส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ได้ยื่นรายชื่อสมาชิกรัฐสภา จำนวน 76 คน แบ่งเป็นสว.42 คน และ สส.ปชป.35 คน ต่อนายสมศักดิ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา เพื่อให้ส่งความเห็นต่อไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 154 ว่าร่างพ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ... (พ.ร.บ.ร่วมทุน)มีข้อความขัดแย้งรัฐธรรมนูญหรือไม่ ทั้งนี้หนังสือที่ทั้งสส.และสว.ได้ยื่นต่อนายสมศักดิ์มีข้อความโดยสรุปว่า 1.มาตรา 28 ของร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวฯ ซึ่งกำหนดให้การอนุมัติงบประมาณเพื่อดำเนินการโครงการของคณะรัฐมนตรีให้ถือเป็นการอนุมัติตามกฎหมายว่าด้วยวิธีงบประมาณ กฎหมายว่าด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะในส่วนที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณี เป็นบทบัญญัติที่ขัดรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 169 ที่บัญญัติว่า การจ่ายเงินแผ่นดิน จะกระทำได้ก็เฉพาะที่ได้อนุญาตไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย กฎหมายว่าด้วยงบประมาณ กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินงบประมาณ หรือกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนรัฐบาลจะจ่ายไปก่อนได้ แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีที่กฎหมายบัญญัติ 2.ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว ได้มีผลให้ยกเลิกพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินงานกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 ทั้งฉบับโดยเฉพาะมาตรา15 ที่บัญญัติว่าวิธีการคัดเลือกของคณะกรรมการซึ่งจะต้องใช้วิธีประมูลได้ถูกยกเลิกไปด้วย ทั้งที่เป็นสาระสำคัญของกฎหมายเพื่อให้การดำเนินการด้วยความโปร่งใสตรวจสอบได้ การยกเลิกนี้พ.ร.บ.ดังกล่าว จะทำให้การคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมโครงการขาดความโปร่งใส ขัดต่อการบริหารบ้านเมือง 3. ร่างพ.ร.บ.ทั้งฉบับมีระบุเพียงให้รับฟังความเห็นสาธารณะชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งขัดเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 87(1)(2) และ (3) ที่ลงรายละเอียดในขั้นตอนการสำรวจความเห็นประชาชนที่ต้องทำตั้งแต่ระดับท้องถิ่น นอกจากขัดรัฐธรรมนูญแล้วยังเปิดช่องให้ใช้เงินของรัฐร่วมธุรกิจกับเอกชนอย่างง่ายดาย โดยใช้วิธีคัดเลือกที่สามารถหลีกเลี่ยงไม่ต้องใช้วิธีประมูลแต่ละโครงการหลายแสนล้านบาทเพื่อเป็นการอนุมัติโครงการรองรับการใช้พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท อีกทั้งจะปิดช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ แต่จะก่อให้เกิดการหาประยชน์ของนักการเมืองและผลักภาระให้ประชาชนต้องเสี่ยงกับภาระหนี้สาธารณะ ดังนั้น จึงเห็นว่า พ.ร.บ.ร่วมทุน ในมาตรา 28 ,38 และหมวดที่ 3 มาตรา 19, 20, 21 และ 22 ตราขึ้น โดยไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ปี 2550 มาตรา 75 วรรคแรก ประกอบมาตรา 78(4)(5) มาตรา 84(11) มาตรา 87(1)(2) และ (3) และมาตรา 169 นายไพบูลย์ กล่าวว่า เชื่อว่านายสมศักดิ์ จะเร่งส่งหนังสือดังกล่าวให้กับศาลรัฐธรรมนูญ หลังจากที่มีการตรวจสอบตามขั้นตอนที่แล้วเสร็จแล้ว ทั้งนี้ตนเชื่อว่าแม้ว่านายสมศักดิ์จะเป็นคนของรัฐบาล และการส่งให้ตีความร่าง พ.ร.บ.เอกชนร่วมทุนฯ จะเป็นสิ่งที่ทำให้การบังคับใช้ ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท มีปัญหาในอนาคต เพราะขาดเครื่องมือในการนำไปปฏิบัติ และเกิดความล่าช้า แต่โดยรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้ชัดเจนจะทำให้นายสมศักดิ์ส่งเรื่องไปทันที ขอบคุณ http://www.posttoday.com/การเมือง/212947/ยื่นศาลรธน-ล้มร่างพ-ร-บ-ร่วมทุน

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...