แก้รัฐธรรมนูญ

แสดงความคิดเห็น

อาทิตย์ที่ผ่านมา ปรากฏว่า อยู่ ๆ ส.ส.ฝั่งรัฐบาลก็จับมือกับ ส.ว.เดินหน้ายื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบ บางคนยังงง ๆ อยู่เลยว่า ทำแล้วเหรอ? การแก้รัฐธรรมนูญมันยืดเยื้อ ยักแย่ยักยันมานาน หลายคนคงคิดว่าถ้าจะเดินหน้าต่อ คนผลักดันคงห่วงหน้าพะวงหลัง กลัวฝ่ายค้านไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความ กลัวกระแสสังคมไม่เอา ฯลฯ จึงจะต้องรับฟังความเห็นอย่างค่อยเป็นค่อยไป

ปรากฏว่า ข่าวที่ออกมามี “เกริ่นนำ” แค่วันสองวัน จากนั้นยื่นเสนอร่างเลย โดยครั้งนี้เป็นการแก้รายมาตรา หลัก ๆ ก็เรื่อง ส.ว. ต้องเป็นเลือกตั้งทั้งหมด และให้ดำรงตำแหน่งเกินกว่าสมัยเดียวได้ เรื่องมาตรา 237 แก้โทษยุบพรรค ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์มานานว่า มันยุบกันง่ายเกินไป จนพรรคจะไม่สามารถเป็นสถาบันการเมืองได้ เหมือนสหรัฐอเมริกา

มาตราต่อมา ก็มาตรา 190 เรื่องสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่ต้องเข้าที่ประชุมร่วมรัฐสภา อันนี้คงมีการจำกัดขอบเขตสัญญาเสียใหม่ แต่ที่พูดกันมากคือ มาตรา 68 สิทธิในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ

คงจะจำกันได้ ไอ้มาตรานี้มันเป็นปัญหาก็ตอนที่มีการแก้ไขมาตรา 291 เพื่อตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ชุดสาม แล้วเอามาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ปรากฏว่า การตั้ง ส.ส.ร.ก็เป็นหมัน เพราะมีผู้ไปร้องค้านการแก้รัฐธรรมนูญตามมาตรา 68 นี้

ตอนนั้นฝ่ายจะแก้รัฐธรรมนูญก็สู้สุดใจขาดดิ้น โดยอ้างว่า กลไกตามมาตรา 68 การยื่นเรื่องพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ต้องผ่านการกลั่นกรองของอัยการสูงสุดก่อนไปศาลรัฐธรรมนูญ แต่สุดท้าย ศาลรัฐธรรมนูญก็รับตรงจากผู้ยื่น ไม่ฟังความเห็นอัยการ และตีความจนทำให้ไม่มีใครกล้าเดินหน้าแก้วาระ 3 ต่อ ก็ค้างเติ่งอยู่อย่างนั้นแหละ

มาเที่ยวนี้ พอเจอประเด็นมาตรา 68 ก็รู้สึก “เกมจบ คนไม่จบ” ยังไงไม่ทราบ แต่ “คนไม่จบ” ที่ว่าก็น่าขำดี..ที่ใช้วิธีแก้กติกาเอาแล้วกัน กะว่าทำแบบนี้ชนะได้ง่ายกว่าแข่ง ก็ว่ากันไป..

ก็มีข่าวลอย ๆ เข้าหูมาบ้างว่า แก้รายมาตราแค่แผนบันไดขั้นแรก ตอนนี้ต้องเอาคะแนนเสียงจากพวกที่ยกมือให้ในสภาก่อน คือ ส.ว.เลยเสนอแก้เรื่องวาระการดำรงตำแหน่งเสีย จากนั้น พอแก้รายมาตราเสร็จ ก็แก้ 291 จะแก้ต่อหรือให้ร่างเดิมตกแล้วหยิบมาแก้ใหม่ก็ไม่รู้ แต่ไม่มีใครใช้สิทธิยื่นค้านตาม ม.68 ได้แล้ว

พอแก้ทั้งฉบับ ตานี้จะเป็นไปตามที่ “เขาว่า” กันหรือเปล่าก็ไม่รู้ คือ ให้แก้ไปถึง 309 ล้างผลทั้งหมดที่เกิดจากรัฐประหารให้เหี้ยน ถือว่า “เป็นการใช้อำนาจที่เป็นอารยะในการไม่ยอมรับผลจากรัฐประหาร” หรือเรียกอะไรก็เถอะ คำสวย ๆ มันเยอะ

บางครั้ง เห็นข่าวแล้วก็เหนื่อย ๆ ใจกับการใช้อำนาจของนักการเมือง แก้รัฐธรรมนูญเที่ยวนี้ ถึงเปลี่ยนเป็นรายมาตราก็เถอะ ถามว่า ประชาชนได้อะไร ? นึกไม่ค่อยออก นี่มันแก้พิทักษ์สิทธินักการเมืองหรือเปล่า? ถ้าจะพิทักษ์สิทธิประชาชนก็แก้เรื่องสิทธิประโยชน์ประชาชนสิ เช่น รัฐบาลไม่ออกกฎหมายลูกคุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ต้องมีการลงโทษ

พยายามจะมองในแง่ดีว่า มันก็มีเหตุผลที่รับได้ คือการแก้กฎหมาย เพื่อให้ฝ่ายการเมืองมั่นคง มันทำให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างต่อเนื่องในแต่ละรัฐบาล ไม่งั้นทำอะไรก็ไม่กล้า ผวาไปหมด มีแต่พวกจ้องเจาะยางตลอด อย่างนี้คิดว่าก็ฟังขึ้นระดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่ใช่เหตุผลที่ปลงใจยอมรับได้ทั้งหมด

ทุกวันนี้ ยังเห็นว่า ฝ่ายการเมืองทำอะไรเอาตัวเองมาก่อนทั้งนั้น เหตุผลบางอย่างฟังแล้วปวดใจว่า นี่หรือตัวแทนประชาชน ? อย่างวันก่อนก็เห็นข่าวเรื่องพรรคเพื่อไทยจะดัน นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ เป็น ส.ส. เจอความเห็นหนึ่งจาก นายสงวน พงษ์มณี ส.ส.ลำพูน ว่า “เพราะกฎหมายสำคัญจะเข้าสู่สภาจำนวนมาก ต้องอาศัยบารมีของนางเยาวภาในการกำกับสถานการณ์”

มีระบุด้วยว่า “ดังนั้นต่อไปองค์ประชุมสภาฝ่ายรัฐบาลก็จะเต็มตลอด ความขัดแย้งก็จะลดลงได้มาก” สรุปว่า จิตสำนึกของ ส.ส.จะเกิดได้เมื่อมี “เจ๊แดง” คอยกำกับอยู่ ไม่ได้เกิดด้วย

ตัวเองอย่างนั้นหรือ? ถึงว่า ประชุมสภาไทยชอบล่มแล้วล่มอีก อย่างนี้เรียกว่าวิกฤติไหม ถึงขั้นที่ฝ่ายนิติบัญญัติของประเทศเรียกหา “ผู้ปกครอง”

เช่นเดียวกับเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ มันก็มีเหตุผลที่รับได้เหมือนกันเรื่อง “เจ๊แดง” ตรงที่นายสงวนบอกว่า ก็เพื่อสามารถแก้ต่างให้ตัวเองได้ทันทีเมื่อมีการพาดพิงในสภา เพราะฝ่ายค้านชอบเอาชื่อ “เจ๊ ด.” มาพูดทำให้คนคิดว่าเป็นนางเยาวภาแล้วเสื่อมเสีย...ที่ ยกตัวอย่างมาก็เห็นได้ว่า เหตุผลมันมีหลากหลายเสมอ ขึ้นอยู่กับว่า เราจะยอมรับชุดเหตุผลไหน

แต่เหตุผลที่ยอมรับได้ มันต้องไม่ปวกเปียกป้อแป้จนเห็นแล้วทุเรศ.

ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/article/343/193396 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 มี.ค 56
วันที่โพสต์: 28/03/2556 เวลา 04:08:19

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

อาทิตย์ที่ผ่านมา ปรากฏว่า อยู่ ๆ ส.ส.ฝั่งรัฐบาลก็จับมือกับ ส.ว.เดินหน้ายื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบ บางคนยังงง ๆ อยู่เลยว่า ทำแล้วเหรอ? การแก้รัฐธรรมนูญมันยืดเยื้อ ยักแย่ยักยันมานาน หลายคนคงคิดว่าถ้าจะเดินหน้าต่อ คนผลักดันคงห่วงหน้าพะวงหลัง กลัวฝ่ายค้านไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความ กลัวกระแสสังคมไม่เอา ฯลฯ จึงจะต้องรับฟังความเห็นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ปรากฏว่า ข่าวที่ออกมามี “เกริ่นนำ” แค่วันสองวัน จากนั้นยื่นเสนอร่างเลย โดยครั้งนี้เป็นการแก้รายมาตรา หลัก ๆ ก็เรื่อง ส.ว. ต้องเป็นเลือกตั้งทั้งหมด และให้ดำรงตำแหน่งเกินกว่าสมัยเดียวได้ เรื่องมาตรา 237 แก้โทษยุบพรรค ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์มานานว่า มันยุบกันง่ายเกินไป จนพรรคจะไม่สามารถเป็นสถาบันการเมืองได้ เหมือนสหรัฐอเมริกา มาตราต่อมา ก็มาตรา 190 เรื่องสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่ต้องเข้าที่ประชุมร่วมรัฐสภา อันนี้คงมีการจำกัดขอบเขตสัญญาเสียใหม่ แต่ที่พูดกันมากคือ มาตรา 68 สิทธิในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ คงจะจำกันได้ ไอ้มาตรานี้มันเป็นปัญหาก็ตอนที่มีการแก้ไขมาตรา 291 เพื่อตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ชุดสาม แล้วเอามาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ปรากฏว่า การตั้ง ส.ส.ร.ก็เป็นหมัน เพราะมีผู้ไปร้องค้านการแก้รัฐธรรมนูญตามมาตรา 68 นี้ ตอนนั้นฝ่ายจะแก้รัฐธรรมนูญก็สู้สุดใจขาดดิ้น โดยอ้างว่า กลไกตามมาตรา 68 การยื่นเรื่องพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ต้องผ่านการกลั่นกรองของอัยการสูงสุดก่อนไปศาลรัฐธรรมนูญ แต่สุดท้าย ศาลรัฐธรรมนูญก็รับตรงจากผู้ยื่น ไม่ฟังความเห็นอัยการ และตีความจนทำให้ไม่มีใครกล้าเดินหน้าแก้วาระ 3 ต่อ ก็ค้างเติ่งอยู่อย่างนั้นแหละ มาเที่ยวนี้ พอเจอประเด็นมาตรา 68 ก็รู้สึก “เกมจบ คนไม่จบ” ยังไงไม่ทราบ แต่ “คนไม่จบ” ที่ว่าก็น่าขำดี..ที่ใช้วิธีแก้กติกาเอาแล้วกัน กะว่าทำแบบนี้ชนะได้ง่ายกว่าแข่ง ก็ว่ากันไป.. ก็มีข่าวลอย ๆ เข้าหูมาบ้างว่า แก้รายมาตราแค่แผนบันไดขั้นแรก ตอนนี้ต้องเอาคะแนนเสียงจากพวกที่ยกมือให้ในสภาก่อน คือ ส.ว.เลยเสนอแก้เรื่องวาระการดำรงตำแหน่งเสีย จากนั้น พอแก้รายมาตราเสร็จ ก็แก้ 291 จะแก้ต่อหรือให้ร่างเดิมตกแล้วหยิบมาแก้ใหม่ก็ไม่รู้ แต่ไม่มีใครใช้สิทธิยื่นค้านตาม ม.68 ได้แล้ว พอแก้ทั้งฉบับ ตานี้จะเป็นไปตามที่ “เขาว่า” กันหรือเปล่าก็ไม่รู้ คือ ให้แก้ไปถึง 309 ล้างผลทั้งหมดที่เกิดจากรัฐประหารให้เหี้ยน ถือว่า “เป็นการใช้อำนาจที่เป็นอารยะในการไม่ยอมรับผลจากรัฐประหาร” หรือเรียกอะไรก็เถอะ คำสวย ๆ มันเยอะ บางครั้ง เห็นข่าวแล้วก็เหนื่อย ๆ ใจกับการใช้อำนาจของนักการเมือง แก้รัฐธรรมนูญเที่ยวนี้ ถึงเปลี่ยนเป็นรายมาตราก็เถอะ ถามว่า ประชาชนได้อะไร ? นึกไม่ค่อยออก นี่มันแก้พิทักษ์สิทธินักการเมืองหรือเปล่า? ถ้าจะพิทักษ์สิทธิประชาชนก็แก้เรื่องสิทธิประโยชน์ประชาชนสิ เช่น รัฐบาลไม่ออกกฎหมายลูกคุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ต้องมีการลงโทษ พยายามจะมองในแง่ดีว่า มันก็มีเหตุผลที่รับได้ คือการแก้กฎหมาย เพื่อให้ฝ่ายการเมืองมั่นคง มันทำให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างต่อเนื่องในแต่ละรัฐบาล ไม่งั้นทำอะไรก็ไม่กล้า ผวาไปหมด มีแต่พวกจ้องเจาะยางตลอด อย่างนี้คิดว่าก็ฟังขึ้นระดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่ใช่เหตุผลที่ปลงใจยอมรับได้ทั้งหมด ทุกวันนี้ ยังเห็นว่า ฝ่ายการเมืองทำอะไรเอาตัวเองมาก่อนทั้งนั้น เหตุผลบางอย่างฟังแล้วปวดใจว่า นี่หรือตัวแทนประชาชน ? อย่างวันก่อนก็เห็นข่าวเรื่องพรรคเพื่อไทยจะดัน นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ เป็น ส.ส. เจอความเห็นหนึ่งจาก นายสงวน พงษ์มณี ส.ส.ลำพูน ว่า “เพราะกฎหมายสำคัญจะเข้าสู่สภาจำนวนมาก ต้องอาศัยบารมีของนางเยาวภาในการกำกับสถานการณ์” มีระบุด้วยว่า “ดังนั้นต่อไปองค์ประชุมสภาฝ่ายรัฐบาลก็จะเต็มตลอด ความขัดแย้งก็จะลดลงได้มาก” สรุปว่า จิตสำนึกของ ส.ส.จะเกิดได้เมื่อมี “เจ๊แดง” คอยกำกับอยู่ ไม่ได้เกิดด้วย ตัวเองอย่างนั้นหรือ? ถึงว่า ประชุมสภาไทยชอบล่มแล้วล่มอีก อย่างนี้เรียกว่าวิกฤติไหม ถึงขั้นที่ฝ่ายนิติบัญญัติของประเทศเรียกหา “ผู้ปกครอง” เช่นเดียวกับเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ มันก็มีเหตุผลที่รับได้เหมือนกันเรื่อง “เจ๊แดง” ตรงที่นายสงวนบอกว่า ก็เพื่อสามารถแก้ต่างให้ตัวเองได้ทันทีเมื่อมีการพาดพิงในสภา เพราะฝ่ายค้านชอบเอาชื่อ “เจ๊ ด.” มาพูดทำให้คนคิดว่าเป็นนางเยาวภาแล้วเสื่อมเสีย...ที่ ยกตัวอย่างมาก็เห็นได้ว่า เหตุผลมันมีหลากหลายเสมอ ขึ้นอยู่กับว่า เราจะยอมรับชุดเหตุผลไหน แต่เหตุผลที่ยอมรับได้ มันต้องไม่ปวกเปียกป้อแป้จนเห็นแล้วทุเรศ. ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/article/343/193396

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...