แก้รัฐธรรมนูญ:เกมรุกคืบกุมอำนาจ

แสดงความคิดเห็น

การแก้ไขรัฐธรรมนูญ "เป้าจริง" อีกเรื่อง นอกจาก "ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท" ที่รัฐบาลต้องผลักดันออกมาให้ได้ ไม่เหมือนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่เป็นแค่ "เป้าลวง" ที่รัฐบาลแค่ขยับเพื่อเอาใจมวลชนคนเสื้อแดงเท่านั้น

"ถ้าเดินหน้าแก้ทั้งฉบับจะมีปัญหา ถูกยื่นตีความอีกได้ ทำให้รัฐบาลล้มได้ แต่ถ้าแก้ไขเป็นรายมาตราก็ไม่มีปัญหา สามารถทยอยแก้ไขได้ ถ้าไม่แก้เป็นรายมาตราก็คงแก้รัฐธรรมนูญไม่ได้" คำพูดของ อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร เจ้าของพรรคเพื่อไทยตัวจริง ที่สไกป์เข้ามาในที่ประชุมพรรคเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา อธิบายถึงเหตุผลที่ต้องเปลี่ยนวิธีการแก้รัฐธรรมนูญจากแบบยกร่างใหม่ทั้ง ฉบับมาเป็นแบบรายมาตรา

หากจำได้ "ทักษิณ" เคยพูดผ่านเวทีชุมนุมของคนเสื้อแดงที่โบนันซ่า เขาใหญ่ ปลายปีที่แล้วว่า การจะให้คนออกมาใช้สิทธิลงประชามติให้ได้เกินครึ่ง เพื่อผลักดันแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับเป็นเรื่อง "หมู" แต่ถึงวันนี้แสดงให้เห็นแล้วว่า "ไม่ใช่"

จากที่คิดจะแก้รัฐธรรมนูญแบบม้วนเดียวจบ โดยให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ขึ้นมายกร่าง "ทักษิณ" จึงต้องเปลี่ยนแนวทางมาเป็นแก้รายมาตรา

การแก้รัฐธรรมนูยทั้งฉบับโดย ส.ส.ร. แม้จะอ้างว่าไม่มีใครบงการ ส.ส.ร.ทั้ง 99 คนได้ แต่รูปแบบที่มาของ ส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้งจังหวัดละคน และการคัดเลือกที่ดำเนินการโดยประธานรัฐสภาก็ถูกมองว่าเสียงข้างมากของ ส.ส.ร.น่าจะเป็นคนสายรัฐบาล การทำอะไรมัก "ได้อย่างใจ" ย่อมมีคนมองว่าเป้าหมายสูงสุดในการแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับคงหนีไม่พ้นการ "ตัด" มาตรา 309 ออกไปจากรัฐธรรมนูญที่น่าจะเป็น "ประตู" ไปสู่การ "ล้างมลทิน" ให้ทักษิณ

"มาตรา 309" ซึ่งเป็นบทเฉพาะกาลแนบท้ายรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ระบุว่า "บรรดาการใดๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าวไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศ ใช้รัฐธรรมนูญนี้ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้"

ตราบใดที่มาตรา 309 ยังไม่ถูกตัดออกแสดงว่าการแก้รัฐธรรมนูญตามเป้าหมายยังไม่สำเร็จ เพราะแก้ไขหรือยกเลิก มาตรา 309 สำเร็จ จะทำให้การกระทำใดๆ อันเกิดขึ้นหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่ประกาศโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ถูกยกเลิกไปโดยปริยายและย่อมจะเป็นการปลดล็อกช่วยเหลือ ทักษิณ ให้หลุดพ้นจากพันธนาการคดีความต่างๆ เหมือนที่หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตไว้

การเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราครั้งนี้มีประเด็นน่าสนใจ 2 เรื่องคือ "ผู้เสนอแก้ไข" และ "หัวใจ" ในการเสนอแก้ไข

เรื่องแรก คือ "ผู้เสนอแก้ไข" ได้ปรับใหม่จากเดิมที่ "คนในปีกรัฐบาล" เป็นผู้เสนอแก้ไข แต่ครั้งนี้มีส.ว.มาเป็นแนวร่วมด้วย คนแรกคือ "ดิเรก ถึงฝั่ง" ส.ว.นนทบุรี ซึ่งเคยจะลงชิงตำแหน่งประธานวุฒิสภา แต่ภายหลังหลีกทางให้ "นิคม ไวยรัชพานิช" ส.ว.ที่ถูกมองว่ามีสายสัมพันธ์อันดีกับรัฐบาลอีกคนได้ตำแหน่งไป และส.ว.อีกคนที่เสนอแก้รัฐธรรมนูญ คือ "ประสิทธิ์ โพธสุธน" ส.ว. สุพรรณบุรี พี่ชาย "ประภัตร โพธสุธน" อดีตส.ส.และอดีตรัฐมนตรีของพรรคชาติไทยที่สนิทแนบแน่นกับทักษิณมายาวนาน

โดย ส.ส.รัฐบาลเสนอแก้ไขเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวุฒิสภา คือ ที่มาและวาระของ ส.ว. และให้ ส.ว.เป็นคนเสนอเกี่ยวกับเรื่องยุบพรรค เรื่องอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ และมาตรา 190 ที่เกี่ยวกับการทำสัญญากับต่างประเทศ เพื่อตัดข้อครหาเรื่องการเสนอแก้ไขในประเด็นที่เป็นผลประโยชน์ขัดกัน แต่ก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะถูกมองว่าเป็นการเสนอแก้ รัฐธรรมนูญแบบแลกผลประโยชน์กัน คือ ส.ว.เสนอมาตราที่รัฐบาลต้องการ และรัฐบาลเสนอประเด็นที่ ส.ว.ต้องการ

"จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์" ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า การแก้ไขให้ส.ว.สามารถลงรับสมัครเลือกตั้งได้ติดต่อกัน จากเดิมที่ต้องเว้นวรรค 5 ปีก่อนที่จะลงรับสมัครใหม่อีกครั้ง ตรงนี้ชัดเจนว่า เป็นผลประโยชน์ต่างตอบแทน ที่ส.ส.และส.ว.ร่วมเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ

สอดคล้องกับมีเสียงจากพรรครัฐบาลที่เปิดเผยถึงกรอบเวลาการแก้รัฐธรรมนูญ ครั้งนี้จะให้แล้วเสร็จภายในปลายปีนี้ เพื่อให้ทันการเลือกตั้งส.ว.ที่จะมีขึ้นในปีหน้า ก็ยิ่งตอกย้ำเรื่องที่ถูกมองเป็น "ผลประโยชน์ต่างตอบแทน"

อีกเรื่อง คือ "หัวใจ" ในการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ที่สำคัญที่สุดน่าจะเป็นการเสนอแก้ไขมาตรา 68 สาระสำคัญคือ การยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้พิจารณาสั่งยุบพรรคกรณีบุคคลหรือพรรคนั้นกระทำ การที่เป็นการล้มล้างการปกครอง ต้องยื่นผ่านอัยการสูงสุดก่อน จะยื่นตรงมาที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ เรื่องนี้เป็นปัญหากับพรรคเพื่อไทยชัดเจน หลังจากพรรคเคยถูกศาลรัฐธรรมนูญเบรกเรื่องการยกร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับว่า ควรทำประชามติ ซึ่งเป็นการวินิจฉัยหลังจากมีคนไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง

"อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ วิเคราะห์ถึงเป้าหมายการแก้ไขมาตรา 68 ไว้ว่า "อาจดูเหมือนเป็นเพียงการลดช่องทางของประชาชนที่จะไปฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อมาดูกรอบของที่มาที่ไปของเหตุการณ์ต่างๆ ว่า การใช้มาตรานี้ก็คือเป็นการหยุดยั้ง หรือระงับกระบวนการของการรื้อรัฐธรรมนูญทั้งฉบับมาก่อนหน้านี้ ก็ทำให้เราวิเคราะห์กันว่า ถ้าผ่านตามที่แก้ไขครั้งนี้คงมีความพยายามที่จะหยิบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ขึ้นที่ค้างอยู่ในสภามาพิจารณาใหม่ อาจนำไปสู่การยกมือโหวตผ่านวาระ 3 และนำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับก็ได้"

เรื่อง "ยุบพรรค" ก็เป็นอีกเรื่องสำคัญของการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราครั้งนี้ เพราะพรรคเพื่อไทยมองว่าเรื่องนี้เป็นเหมือน "หอกข้างแคร่" ที่ฝ่ายตรงข้ามหยิบขึ้นมาเล่นงานเมื่อไรก็ได้ และแม้จะเริ่มชินกับการถูกยุบพรรค หลังจากโดนยุบมา 2 รอบและยังสามารถกลับมายิ่งใหญ่ได้อีก แต่ก็ไม่ต้องการให้เกิดอีก เช่นที่ "ภูมิธรรม เวชยชัย" เลขาธิการพรรค เคยยอมรับตรงๆ ว่า ยังกลัวกับการยุบพรรค และบอกว่า "หากยุบพรรค ก็ต้องเริ่มต้นใหม่ เริ่มต้นใหม่บ่อยๆ ก็เหนื่อย"

จับตาว่า "ปฏิบัติการรุกคืบ" เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายของฝ่ายทักษิณจะสำเร็จหรือไม่?

ขอบคุณ http://www.komchadluek.net/detail/20130325/154651/แก้รัฐธรรมนูญ:เกมรุกคืบกุมอำนาจ.ขอบคุณ html#.UU-3EDc7va5 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: สำนักข่าวเนชั่นออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 มี.ค.2556
วันที่โพสต์: 25/03/2556 เวลา 02:35:46

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

การแก้ไขรัฐธรรมนูญ "เป้าจริง" อีกเรื่อง นอกจาก "ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท" ที่รัฐบาลต้องผลักดันออกมาให้ได้ ไม่เหมือนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่เป็นแค่ "เป้าลวง" ที่รัฐบาลแค่ขยับเพื่อเอาใจมวลชนคนเสื้อแดงเท่านั้น "ถ้าเดินหน้าแก้ทั้งฉบับจะมีปัญหา ถูกยื่นตีความอีกได้ ทำให้รัฐบาลล้มได้ แต่ถ้าแก้ไขเป็นรายมาตราก็ไม่มีปัญหา สามารถทยอยแก้ไขได้ ถ้าไม่แก้เป็นรายมาตราก็คงแก้รัฐธรรมนูญไม่ได้" คำพูดของ อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร เจ้าของพรรคเพื่อไทยตัวจริง ที่สไกป์เข้ามาในที่ประชุมพรรคเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา อธิบายถึงเหตุผลที่ต้องเปลี่ยนวิธีการแก้รัฐธรรมนูญจากแบบยกร่างใหม่ทั้ง ฉบับมาเป็นแบบรายมาตรา หากจำได้ "ทักษิณ" เคยพูดผ่านเวทีชุมนุมของคนเสื้อแดงที่โบนันซ่า เขาใหญ่ ปลายปีที่แล้วว่า การจะให้คนออกมาใช้สิทธิลงประชามติให้ได้เกินครึ่ง เพื่อผลักดันแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับเป็นเรื่อง "หมู" แต่ถึงวันนี้แสดงให้เห็นแล้วว่า "ไม่ใช่" จากที่คิดจะแก้รัฐธรรมนูญแบบม้วนเดียวจบ โดยให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ขึ้นมายกร่าง "ทักษิณ" จึงต้องเปลี่ยนแนวทางมาเป็นแก้รายมาตรา การแก้รัฐธรรมนูยทั้งฉบับโดย ส.ส.ร. แม้จะอ้างว่าไม่มีใครบงการ ส.ส.ร.ทั้ง 99 คนได้ แต่รูปแบบที่มาของ ส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้งจังหวัดละคน และการคัดเลือกที่ดำเนินการโดยประธานรัฐสภาก็ถูกมองว่าเสียงข้างมากของ ส.ส.ร.น่าจะเป็นคนสายรัฐบาล การทำอะไรมัก "ได้อย่างใจ" ย่อมมีคนมองว่าเป้าหมายสูงสุดในการแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับคงหนีไม่พ้นการ "ตัด" มาตรา 309 ออกไปจากรัฐธรรมนูญที่น่าจะเป็น "ประตู" ไปสู่การ "ล้างมลทิน" ให้ทักษิณ "มาตรา 309" ซึ่งเป็นบทเฉพาะกาลแนบท้ายรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ระบุว่า "บรรดาการใดๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าวไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศ ใช้รัฐธรรมนูญนี้ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้" ตราบใดที่มาตรา 309 ยังไม่ถูกตัดออกแสดงว่าการแก้รัฐธรรมนูญตามเป้าหมายยังไม่สำเร็จ เพราะแก้ไขหรือยกเลิก มาตรา 309 สำเร็จ จะทำให้การกระทำใดๆ อันเกิดขึ้นหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่ประกาศโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ถูกยกเลิกไปโดยปริยายและย่อมจะเป็นการปลดล็อกช่วยเหลือ ทักษิณ ให้หลุดพ้นจากพันธนาการคดีความต่างๆ เหมือนที่หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตไว้ การเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราครั้งนี้มีประเด็นน่าสนใจ 2 เรื่องคือ "ผู้เสนอแก้ไข" และ "หัวใจ" ในการเสนอแก้ไข เรื่องแรก คือ "ผู้เสนอแก้ไข" ได้ปรับใหม่จากเดิมที่ "คนในปีกรัฐบาล" เป็นผู้เสนอแก้ไข แต่ครั้งนี้มีส.ว.มาเป็นแนวร่วมด้วย คนแรกคือ "ดิเรก ถึงฝั่ง" ส.ว.นนทบุรี ซึ่งเคยจะลงชิงตำแหน่งประธานวุฒิสภา แต่ภายหลังหลีกทางให้ "นิคม ไวยรัชพานิช" ส.ว.ที่ถูกมองว่ามีสายสัมพันธ์อันดีกับรัฐบาลอีกคนได้ตำแหน่งไป และส.ว.อีกคนที่เสนอแก้รัฐธรรมนูญ คือ "ประสิทธิ์ โพธสุธน" ส.ว. สุพรรณบุรี พี่ชาย "ประภัตร โพธสุธน" อดีตส.ส.และอดีตรัฐมนตรีของพรรคชาติไทยที่สนิทแนบแน่นกับทักษิณมายาวนาน โดย ส.ส.รัฐบาลเสนอแก้ไขเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวุฒิสภา คือ ที่มาและวาระของ ส.ว. และให้ ส.ว.เป็นคนเสนอเกี่ยวกับเรื่องยุบพรรค เรื่องอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ และมาตรา 190 ที่เกี่ยวกับการทำสัญญากับต่างประเทศ เพื่อตัดข้อครหาเรื่องการเสนอแก้ไขในประเด็นที่เป็นผลประโยชน์ขัดกัน แต่ก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะถูกมองว่าเป็นการเสนอแก้ รัฐธรรมนูญแบบแลกผลประโยชน์กัน คือ ส.ว.เสนอมาตราที่รัฐบาลต้องการ และรัฐบาลเสนอประเด็นที่ ส.ว.ต้องการ "จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์" ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า การแก้ไขให้ส.ว.สามารถลงรับสมัครเลือกตั้งได้ติดต่อกัน จากเดิมที่ต้องเว้นวรรค 5 ปีก่อนที่จะลงรับสมัครใหม่อีกครั้ง ตรงนี้ชัดเจนว่า เป็นผลประโยชน์ต่างตอบแทน ที่ส.ส.และส.ว.ร่วมเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ สอดคล้องกับมีเสียงจากพรรครัฐบาลที่เปิดเผยถึงกรอบเวลาการแก้รัฐธรรมนูญ ครั้งนี้จะให้แล้วเสร็จภายในปลายปีนี้ เพื่อให้ทันการเลือกตั้งส.ว.ที่จะมีขึ้นในปีหน้า ก็ยิ่งตอกย้ำเรื่องที่ถูกมองเป็น "ผลประโยชน์ต่างตอบแทน" อีกเรื่อง คือ "หัวใจ" ในการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ที่สำคัญที่สุดน่าจะเป็นการเสนอแก้ไขมาตรา 68 สาระสำคัญคือ การยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้พิจารณาสั่งยุบพรรคกรณีบุคคลหรือพรรคนั้นกระทำ การที่เป็นการล้มล้างการปกครอง ต้องยื่นผ่านอัยการสูงสุดก่อน จะยื่นตรงมาที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ เรื่องนี้เป็นปัญหากับพรรคเพื่อไทยชัดเจน หลังจากพรรคเคยถูกศาลรัฐธรรมนูญเบรกเรื่องการยกร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับว่า ควรทำประชามติ ซึ่งเป็นการวินิจฉัยหลังจากมีคนไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ วิเคราะห์ถึงเป้าหมายการแก้ไขมาตรา 68 ไว้ว่า "อาจดูเหมือนเป็นเพียงการลดช่องทางของประชาชนที่จะไปฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อมาดูกรอบของที่มาที่ไปของเหตุการณ์ต่างๆ ว่า การใช้มาตรานี้ก็คือเป็นการหยุดยั้ง หรือระงับกระบวนการของการรื้อรัฐธรรมนูญทั้งฉบับมาก่อนหน้านี้ ก็ทำให้เราวิเคราะห์กันว่า ถ้าผ่านตามที่แก้ไขครั้งนี้คงมีความพยายามที่จะหยิบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ขึ้นที่ค้างอยู่ในสภามาพิจารณาใหม่ อาจนำไปสู่การยกมือโหวตผ่านวาระ 3 และนำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับก็ได้" เรื่อง "ยุบพรรค" ก็เป็นอีกเรื่องสำคัญของการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราครั้งนี้ เพราะพรรคเพื่อไทยมองว่าเรื่องนี้เป็นเหมือน "หอกข้างแคร่" ที่ฝ่ายตรงข้ามหยิบขึ้นมาเล่นงานเมื่อไรก็ได้ และแม้จะเริ่มชินกับการถูกยุบพรรค หลังจากโดนยุบมา 2 รอบและยังสามารถกลับมายิ่งใหญ่ได้อีก แต่ก็ไม่ต้องการให้เกิดอีก เช่นที่ "ภูมิธรรม เวชยชัย" เลขาธิการพรรค เคยยอมรับตรงๆ ว่า ยังกลัวกับการยุบพรรค และบอกว่า "หากยุบพรรค ก็ต้องเริ่มต้นใหม่ เริ่มต้นใหม่บ่อยๆ ก็เหนื่อย" จับตาว่า "ปฏิบัติการรุกคืบ" เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายของฝ่ายทักษิณจะสำเร็จหรือไม่? ขอบคุณ http://www.komchadluek.net/detail/20130325/154651/แก้รัฐธรรมนูญ:เกมรุกคืบกุมอำนาจ.ขอบคุณ html#.UU-3EDc7va5

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...