“ดิเรก” อ้างแก้ ม.237 คืนสิทธิคนบ้านเลขที่ 109 ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ

แสดงความคิดเห็น

“ดิเรก” อ้างเฉย แก้ ม.237 ทำสมาชิกบ้านเลขที่ 109 พ้นคุกการเมืองไม่ใช่นิรโทษกรรม แต่คืนความเป็นธรรมให้ผู้บริหารพรรคที่ถูกยุบ มั่นใจไม่เข้าข่ายผิดรัฐธรรมนูญ ในประเด็น “ขัดกันแห่งผลประโยชน์”

นายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี กล่าวถึงร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 ใน มาตรา 5 ที่ให้การเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว.ของหัวหน้าพรรคการเมือง คือ กรรมการบริหารพรรคการเมืองเพราะเหตุมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคการเมืองมาตรา 68 หรือมาตรา 237 วรรคสอง เป็นอันสิ้นสุด และให้ถือว่าบุคคลนั้นไม่เคยเป็นผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งว่า ไม่ใช่เป็นการนิรโทษกรรมหรือปลดล็อกให้แก่ผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมือง อาทิ สมาชิกบ้านเลขที่ 109 ที่จะพ้นโทษในเดือนธันวาคมนี้ แต่เป็นสิ่งที่ควรกระทำและผลักดันมาตั้งนานแล้ว เพราะพวกเขาเหล่านั้นไม่ได้เป็นผู้กระทำผิดแต่ต้องได้รับโทษ ถือว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม การคืนสิทธิทางการเมืองให้ก็เป็นสิ่งที่ชอบธรรม และการแก้ไขเรื่องดังกล่าวจึงไม่เข้าข่ายผิดรัฐธรรมนูญมาตรา 122 เรื่องการขัดกันแห่งผลประโยชน์

ส่วนผู้ที่จะร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญนั้นก็เป็นสิทธิ แต่อยากให้เข้าใจว่าการยื่นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนั้น เป็นสิ่งที่กระทำภายใต้กฎหมาย และเดินตามรัฐธรรมนูญ ทำตามกระบวนการทุกอย่าง ผู้ที่เห็นต่างก็ขอให้ไปใช้กลไกรัฐสภา เพราะหากร้องกันไปมาบ้านเมืองก็ไม่เดินหน้าเข้าสู่ทางตันอีกครั้ง

นอกจากนี้ ในรัฐบาลที่ผ่านมาก็มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในเรื่องที่มาของ ส.ส.จากระบบแบ่งเขตเรียงเบอร์มาเป็นแบบเขตเดียวเบอร์เดียว และให้แก้ไขจาก ส.ส.แบบสัดส่วนมาเป็นแบบ ส.ส.บัญชีรายชื่อมาเป็น 125 คน ตามแนวทางของคณะกรรมการสมานฉัทน์ เพื่อปฏิรูปการเมือง และศึกษาการแก้รัฐธรรมนูญ เรื่องนี้หากจะมีคนตีความก็เป็นเรื่องของผลประโยชน์ แต่ทำไมไม่มีคนร้อง

ขอบคุณ http://manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9560000034723 (ขนาดไฟล์: 185)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 มี.ค.56
วันที่โพสต์: 22/03/2556 เวลา 03:53:38

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

“ดิเรก” อ้างเฉย แก้ ม.237 ทำสมาชิกบ้านเลขที่ 109 พ้นคุกการเมืองไม่ใช่นิรโทษกรรม แต่คืนความเป็นธรรมให้ผู้บริหารพรรคที่ถูกยุบ มั่นใจไม่เข้าข่ายผิดรัฐธรรมนูญ ในประเด็น “ขัดกันแห่งผลประโยชน์” นายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี กล่าวถึงร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 ใน มาตรา 5 ที่ให้การเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว.ของหัวหน้าพรรคการเมือง คือ กรรมการบริหารพรรคการเมืองเพราะเหตุมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคการเมืองมาตรา 68 หรือมาตรา 237 วรรคสอง เป็นอันสิ้นสุด และให้ถือว่าบุคคลนั้นไม่เคยเป็นผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งว่า ไม่ใช่เป็นการนิรโทษกรรมหรือปลดล็อกให้แก่ผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมือง อาทิ สมาชิกบ้านเลขที่ 109 ที่จะพ้นโทษในเดือนธันวาคมนี้ แต่เป็นสิ่งที่ควรกระทำและผลักดันมาตั้งนานแล้ว เพราะพวกเขาเหล่านั้นไม่ได้เป็นผู้กระทำผิดแต่ต้องได้รับโทษ ถือว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม การคืนสิทธิทางการเมืองให้ก็เป็นสิ่งที่ชอบธรรม และการแก้ไขเรื่องดังกล่าวจึงไม่เข้าข่ายผิดรัฐธรรมนูญมาตรา 122 เรื่องการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ส่วนผู้ที่จะร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญนั้นก็เป็นสิทธิ แต่อยากให้เข้าใจว่าการยื่นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนั้น เป็นสิ่งที่กระทำภายใต้กฎหมาย และเดินตามรัฐธรรมนูญ ทำตามกระบวนการทุกอย่าง ผู้ที่เห็นต่างก็ขอให้ไปใช้กลไกรัฐสภา เพราะหากร้องกันไปมาบ้านเมืองก็ไม่เดินหน้าเข้าสู่ทางตันอีกครั้ง นอกจากนี้ ในรัฐบาลที่ผ่านมาก็มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในเรื่องที่มาของ ส.ส.จากระบบแบ่งเขตเรียงเบอร์มาเป็นแบบเขตเดียวเบอร์เดียว และให้แก้ไขจาก ส.ส.แบบสัดส่วนมาเป็นแบบ ส.ส.บัญชีรายชื่อมาเป็น 125 คน ตามแนวทางของคณะกรรมการสมานฉัทน์ เพื่อปฏิรูปการเมือง และศึกษาการแก้รัฐธรรมนูญ เรื่องนี้หากจะมีคนตีความก็เป็นเรื่องของผลประโยชน์ แต่ทำไมไม่มีคนร้อง ขอบคุณ http://manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9560000034723

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...