สำนักงานศาล รธน.ออกคำชี้แจง กรณีคำตัดสิน "ชิมไป บ่นไป-ยุบ3พรรค"

แสดงความคิดเห็น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้กล่าวในงานสัมมนา โครงการสัมมนาสื่อมวลชน ประจำปี พ.ศ. 2556 ของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 15 มี.ค. ที่ผ่านมา ล่าสุด เมื่อวันที่ 19 มีนาคม สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้ออกคำชี้แจงต่อกรณีดังกล่าว ดังนี้

การแสดงความเห็นของประธานศาลรัฐธรรมนูญในการสัมมนาสื่อมวลชน

ตามที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้จัดให้มีการสัมมนาสื่อมวลชนประจาปี พ.ศ. 2556 เรื่อง การรักษาดุลยภาพทางการเมืองของศาลรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 14 - 15 มีนาคม 2556 และประธานศาลรัฐธรรมนูญได้แสดงความเห็นในการสัมมนาดังกล่าว นั้น

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญขอชี้แจง ดังนี้

1. คำวินิจฉัยคดี นายก ฯ สมัคร “ชิมไป บ่นไป” นั้น ประธานศาลรัฐธรรมนูญได้แสดงความเห็นในการสัมมนาว่า เรื่องรูปแบบของคำวินิจฉัยไม่ได้เป็นไปตามลำดับความเท่านั้น ไม่ใช่เรื่องของการผิดพลาดบกพร่องในส่วนของเนื้อหาและผลคำวินิจฉัยแต่อย่างใด การวินิจฉัยคดีดังกล่าวของศาลรัฐธรรมนูญจึงมิได้ผิดพลาดแต่อย่างใด

2. ในกรณีที่หนังสือพิมพ์มติชน วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม 2556 ได้สรุปคำต่อคำ ของประธานศาลรัฐธรรมนูญจากการสัมมนาดังกล่าว นั้น การสรุปดังกล่าวไม่ครบถ้วนทำให้ประชาชนเข้าใจในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในคดียุบพรรคพลังประชาชน พรรคมัชฌิมาธิปไตย และพรรคชาติไทย จำนวน 3 พรรค ไม่ถูกต้อง การแสดงความเห็นของประธานศาลรัฐธรรมนูญในที่ประชุมสัมมนามีดังนี้

“ตอนยุบพรรคนะฮะ จริงๆ แล้วผมเคยพูดกับผู้สื่อข่าวไปว่า การตัดสินว่าทุจริตเลือกตั้ง องค์กรอื่นมีอำนาจตัดสิทธิ์ ถ้าให้ใบแดงก่อนรับรองผลกฎหมายเขียนว่า คำวินิจฉัยของ กกต. เป็นที่สุด เป็นที่สุดคือไม่ต้องเถียง เมื่อศาลฎีกาแจกใบแดงคุณยงยุทธ ติยะไพรัช ใช่ไหมฮะ คำพิพากษาของศาลฎีกาก็เป็นที่สุดเหมือนกัน จะมาอุทธรณ์ต่อศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ เมื่อยุติว่าโกงเลือกตั้ง มันก็เจอรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 ซึ่งจะตีหรือไม่ตีก็ตาม ก็อยู่ตรงนั้น ก็เพียงแต่ส่งมาให้พวกเราใช้ดุลยพินิจเท่านั้น

พูดตรง ๆ ถ้าความเห็นของผม รับปุ๊บ รับคำชี้แจงปุ๊บก็ตัดสินได้เลย ไม่ต้องมานั่งตรวจพยาน ไม่ต้องมานั่งทำอะไรกันหรอก ใช่ไหมฮะ จริง ๆ แล้ว ผมเสียดายด้วยซ้ำ ควรจะตัดสินให้เร็วกว่านั้นมันไม่ได้มีประเด็นเรื่องบุกสนามบง สนามบิน แล้วถามว่าใช้ดุลยพินิจเป็นอย่างอื่นได้หรือไม่ คำตอบคือ ได้ ไม่ยุบได้ไหม ได้ ถ้ามีพฤติการณ์พิเศษ ผมเคยมานั่งสมมติกัน ตอนหลังนะ กับพรรคพวก จะเปิดเผยกันเลยดีไหม ว่า ถ้าพฤติกรรมมีการปรองดองกันในระหว่างฝ่ายรัฐบาล พรรคพลังประชาชนกับฝ่ายค้าน โอเคนะ จะประนีประนอมกันนะ เออ ตอนนั้น มีม็อบพันธมิตร ม็อบเสื้อเหลืองบุกทำเนียบ มีม็อบเสื้อแดงบุกบ้านป๋านะฮะ ทำลายทรัพย์สิน ห้องแถว แถวนั้น เราจะปรองดองกันอย่างไร จับมือกันได้ไหมระหว่างนั้น ถ้าบ้านเมืองมันไปได้ตอนนั้น ผมคิดว่า เสียงส่วนใหญ่ขององค์คณะเราจะออกไปในทางว่าแม้จะผิด แต่เมื่อบ้านเมืองไปได้เห็นสมควรใช้ดุลยพินิจไปในทางไม่ยุบทั้งสามพรรค มันก็เป็นไปได้ ใช่ไหม แต่ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมันก็ต้องเดินไม่ตามนั้น ก็ดำเนินไปตามนั้นแหละ นี่ นี่คือข้อเท็จจริง ไม่ใช่เล่นตามกระแส”

การสรุปคำต่อคำของหนังสือพิมพ์มติชนไม่ครบถ้วน ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายต่อศาลรัฐธรรมนูญ และที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญแสดงทัศนะในการสัมมนา และหนังสือพิมพ์มติชนนำไปสรุปเป็นข่าวเฉพาะข้อความบางตอนที่เป็นเพียงการสมมติขึ้นภายหลังจากที่มีคำวินิจฉัยแล้วเท่านั้น มิใช่เป็นการพิจารณาของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด

จึงชี้แจงมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน และหากผู้ใดกระทำการอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่ศาลรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญจะได้พิจารณาดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

ขอบคุณ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1363692435&grpid=&catid=01&subcatid=0100 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 มี.ค.56
วันที่โพสต์: 20/03/2556 เวลา 03:22:56

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้กล่าวในงานสัมมนา โครงการสัมมนาสื่อมวลชน ประจำปี พ.ศ. 2556 ของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 15 มี.ค. ที่ผ่านมา ล่าสุด เมื่อวันที่ 19 มีนาคม สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้ออกคำชี้แจงต่อกรณีดังกล่าว ดังนี้ การแสดงความเห็นของประธานศาลรัฐธรรมนูญในการสัมมนาสื่อมวลชน ตามที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้จัดให้มีการสัมมนาสื่อมวลชนประจาปี พ.ศ. 2556 เรื่อง การรักษาดุลยภาพทางการเมืองของศาลรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 14 - 15 มีนาคม 2556 และประธานศาลรัฐธรรมนูญได้แสดงความเห็นในการสัมมนาดังกล่าว นั้น สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญขอชี้แจง ดังนี้ 1. คำวินิจฉัยคดี นายก ฯ สมัคร “ชิมไป บ่นไป” นั้น ประธานศาลรัฐธรรมนูญได้แสดงความเห็นในการสัมมนาว่า เรื่องรูปแบบของคำวินิจฉัยไม่ได้เป็นไปตามลำดับความเท่านั้น ไม่ใช่เรื่องของการผิดพลาดบกพร่องในส่วนของเนื้อหาและผลคำวินิจฉัยแต่อย่างใด การวินิจฉัยคดีดังกล่าวของศาลรัฐธรรมนูญจึงมิได้ผิดพลาดแต่อย่างใด 2. ในกรณีที่หนังสือพิมพ์มติชน วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม 2556 ได้สรุปคำต่อคำ ของประธานศาลรัฐธรรมนูญจากการสัมมนาดังกล่าว นั้น การสรุปดังกล่าวไม่ครบถ้วนทำให้ประชาชนเข้าใจในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในคดียุบพรรคพลังประชาชน พรรคมัชฌิมาธิปไตย และพรรคชาติไทย จำนวน 3 พรรค ไม่ถูกต้อง การแสดงความเห็นของประธานศาลรัฐธรรมนูญในที่ประชุมสัมมนามีดังนี้ “ตอนยุบพรรคนะฮะ จริงๆ แล้วผมเคยพูดกับผู้สื่อข่าวไปว่า การตัดสินว่าทุจริตเลือกตั้ง องค์กรอื่นมีอำนาจตัดสิทธิ์ ถ้าให้ใบแดงก่อนรับรองผลกฎหมายเขียนว่า คำวินิจฉัยของ กกต. เป็นที่สุด เป็นที่สุดคือไม่ต้องเถียง เมื่อศาลฎีกาแจกใบแดงคุณยงยุทธ ติยะไพรัช ใช่ไหมฮะ คำพิพากษาของศาลฎีกาก็เป็นที่สุดเหมือนกัน จะมาอุทธรณ์ต่อศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ เมื่อยุติว่าโกงเลือกตั้ง มันก็เจอรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 ซึ่งจะตีหรือไม่ตีก็ตาม ก็อยู่ตรงนั้น ก็เพียงแต่ส่งมาให้พวกเราใช้ดุลยพินิจเท่านั้น พูดตรง ๆ ถ้าความเห็นของผม รับปุ๊บ รับคำชี้แจงปุ๊บก็ตัดสินได้เลย ไม่ต้องมานั่งตรวจพยาน ไม่ต้องมานั่งทำอะไรกันหรอก ใช่ไหมฮะ จริง ๆ แล้ว ผมเสียดายด้วยซ้ำ ควรจะตัดสินให้เร็วกว่านั้นมันไม่ได้มีประเด็นเรื่องบุกสนามบง สนามบิน แล้วถามว่าใช้ดุลยพินิจเป็นอย่างอื่นได้หรือไม่ คำตอบคือ ได้ ไม่ยุบได้ไหม ได้ ถ้ามีพฤติการณ์พิเศษ ผมเคยมานั่งสมมติกัน ตอนหลังนะ กับพรรคพวก จะเปิดเผยกันเลยดีไหม ว่า ถ้าพฤติกรรมมีการปรองดองกันในระหว่างฝ่ายรัฐบาล พรรคพลังประชาชนกับฝ่ายค้าน โอเคนะ จะประนีประนอมกันนะ เออ ตอนนั้น มีม็อบพันธมิตร ม็อบเสื้อเหลืองบุกทำเนียบ มีม็อบเสื้อแดงบุกบ้านป๋านะฮะ ทำลายทรัพย์สิน ห้องแถว แถวนั้น เราจะปรองดองกันอย่างไร จับมือกันได้ไหมระหว่างนั้น ถ้าบ้านเมืองมันไปได้ตอนนั้น ผมคิดว่า เสียงส่วนใหญ่ขององค์คณะเราจะออกไปในทางว่าแม้จะผิด แต่เมื่อบ้านเมืองไปได้เห็นสมควรใช้ดุลยพินิจไปในทางไม่ยุบทั้งสามพรรค มันก็เป็นไปได้ ใช่ไหม แต่ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมันก็ต้องเดินไม่ตามนั้น ก็ดำเนินไปตามนั้นแหละ นี่ นี่คือข้อเท็จจริง ไม่ใช่เล่นตามกระแส” การสรุปคำต่อคำของหนังสือพิมพ์มติชนไม่ครบถ้วน ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายต่อศาลรัฐธรรมนูญ และที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญแสดงทัศนะในการสัมมนา และหนังสือพิมพ์มติชนนำไปสรุปเป็นข่าวเฉพาะข้อความบางตอนที่เป็นเพียงการสมมติขึ้นภายหลังจากที่มีคำวินิจฉัยแล้วเท่านั้น มิใช่เป็นการพิจารณาของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด จึงชี้แจงมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน และหากผู้ใดกระทำการอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่ศาลรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญจะได้พิจารณาดำเนินการตามกฎหมายต่อไป ขอบคุณ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1363692435&grpid=&catid=01&subcatid=0100

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...