"แก้รัฐธรรมนูญ เพื่ออะไร เพื่อใคร ?" ชี้ รัฐธรรมนูญ′50 ควรแก้ไข ???

แสดงความคิดเห็น

เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2556 สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ จัดเสวนาวิชาการเรื่อง "แก้รัฐธรรมนูญ เพื่ออะไร เพื่อใคร?" โดยมี ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ประธานหลักสูตรรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต รศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใบตองแห้ง คอลัมนิสต์ จากหนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท นายสมบัติ บุญงามอนงค์ (บก.ลายจุด) และนายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ ร่วมการเสวนา

ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ : "ถ้าประชาธิปไตยไม่เหมาะสมกับประเทศไทย absolute monarchy ก็ต้องไม่เหมาะสมเช่นกัน เพราะมันก็มาจากเมืองนอกทั้งคู่"

ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ประธานหลักสูตรรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ถ้านับจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร เมื่อปี 2475จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้วทั้งสิ้นถึง 18 ฉบับ โดยฉบับแรกมีจำนวน 39 มาตรา แต่ฉบับปัจจุบันมีถึง 309 มาตรา ซึ่งสะท้อนได้ว่ารัฐธรรมนูญมีความซับซ้อนจนยากแก่การเข้าถึงของประชาชน ตัวอย่างที่ได้เจอกับตัวเองคือ สมัยการให้ลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 เพื่อนบ้านนำร่างรัฐธรรมนูญที่ได้รับแจกมาให้ตัวเองเพราะเห็นว่าเป็นอาจารย์ โดยตนก็ได้รวมไว้ได้ประมาณครึ่งกิโลและเอาไปขายอีกที การที่รัฐธรรมนูญมีความยาวขึ้น อาจารย์ธำรงศักดิ์ เห็นว่า ทำให้รัฐธรรมนูญเหมือนคาถาเวทมนต์ที่แฝงไป

ด้วยความลึกลับ และอยากแก่การเข้าถึง โดยก่อนอื่นเพื่อทำความเข้าใจรัฐธรรมนูญของไทยทั้ง 18 ฉบับ อาจารย์ธำรงศักดิ์ ได้จำแนกประเภท ของรัฐธรรมนูญไทยตามที่มาของรัฐธรรมนูญ ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ 1 รัฐ

ธรรมนูญที่มาจากการปฏิวัติ ซึ่งโดยมากมักเป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ประเภทที่ 2 เป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นผลพวงจากประเภทที่ 1 คือ รัฐธรรมนูญที่สืบเนื่องมาจากการปฏิวัติ และประเภทที่ 3 คือ รัฐธรรมนูญที่มาจากการปฏิวัติ/พลังประชาชน ทั้งนี้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันจัดอยู่ประเภทที่ 2 คือรัฐธรรมนูญที่เป็นผลพวงมาจากการปฏิวัติ

คนโดยทั่วไปมักนับรัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 10 ธันวาคม ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 มาถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทยซึ่งถือว่าผิด และเหตุการณ์การปฏิวัติพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินเมื่อปี 2475 ถึงแม้จะไม่มีการนองเลือด แต่ใน

เวลาต่อมาเลือดนองเต็มแผ่นดิน ฉะนั้นการปฏิวัติ 2475 มีผลสะเทือน และการต่อสู้กัน ประเด็นสำคัญคือ คณะราษฎรออกแบบให้มีสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นสภาเดี่ยว และกำหนดให้ครึ่งหนึ่งมาจากการแต่งตั้ง และอีกครึ่งหนึ่งมาจากการเลือกตั้ง ปัญหาคือใครจะเป็นผู้แต่งตั้งหรือครองเสียงครึ่งหนึ่งของสภาฯ 3 เดือนต่อมา เกิด คณะกู้บ้านกู้เมือง หรือกบฏบวรเดช แต่สุดท้ายพ่ายแพ้ไป และอีก 1ปี ต่อมา รัชกาลที่ 7 สละราชสมบัติ

การต่อสู้ในทางการเมืองที่ผ่านมาคือการต่อสู้เพื่อแย่งชิงการกำหนดที่มาของสมาชิสภาและที่มาของนายกรัฐมนตรีไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ไม่เคยกำหนดที่มาของศาล และอำนาจตุลาการ จึงทำให้อำนาจตุลาการเป็นเสมือนอวัยวะนอกระบบรัฐธรรมนูญ โดยในปัจจุบัน ฝ่าบริหาร และฝ่ายตุลาการ ต้องเข้าถวายสัตย์ปฏิญาณ แต่ไม่รวมฝ่ายนิติบัญญัติเพราะถือว่ามาจากประชาชน

อาจารย์ธำรงศักดิ์ ยังได้แบ่งประเภทของรัฐธรรมนูญของไทยตามรูปแบบการปกครอง เป็น 3 แบบ ได้แก่ 1. แบบประชาธิปไตย ได้แก่รัฐธรรมนูญฉบับที่ 1-3 เพราะถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มีเจตจำนงค์ไปสู่ประชาธิปไตยแบบเต็มขั้น และรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ที่มาจากประชาชน 2. แบบเผด็จการ-อำมาตย์-อนุรักษ์นิยม โดยเริ่มต้นจากรัฐธรรมนูญ ปี2502 ซึ่งเกิดขึ้นโดยการทำรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และมีมาตราที่สำคัญคือ มาตรา 17 ที่ระบุว่า

"คำสั่งใดและการกระทำใดๆของนายกรัฐมนตรีถือว่าชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อกระทำไปแล้วค่อยแจ้งให้รัฐสภาทราบ" และมาตรา 17 เป็นแบบอย่างของรัฐธรรมนูญฉบับเผด็จการทั้งหลาย แต่อาจไปใส่ไว้ที่มาตราอื่นๆ หรือเปลี่ยน

แปลงคำนิดหน่อย แต่ความหมายยังคงเดิม ได้แก่ รัฐธรรมนูญฉบับ 2515, 2519, 2520, 2534 และฉบับปี 2549 และ 3. แบบกึ่งเผด็จการ หรือที่เรามักเรียกว่า ประชาธิปไตยครึ่งใบ แต่อาจารย์ธำรงศักดิ์ กล่าวว่า "ถ้าเราไปเรียกว่า

ประชาธิปไตยครึ่งใบ แสดงว่าเราตกหลุมพรางทางความคิด" รัฐธรรมนูญแบบกึ่งเผด็จการคือการที่ไม่ให้ฝ่ายบริหารมาจากสภาฯ หรือการที่ให้สมาชิกสภาฯส่วนหนึ่งมาจากการแต่งตั้ง รัฐธรรมนูญประเภทนี้ เช่น รัฐธรรมนูญฉบับปี

2490 ที่กำหนดให้มี "อภิรัฐมนตรี" และต่อมาเปลี่ยนเป็น "องคมนตรี" รวมถึงรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ด้วย เพราะสมาชิกวุฒิสภามีที่มาจากคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งแทนการมาจากประชาชน

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ : ฟันธง!!...รัฐธรรมนูญต้องแก้ แต่จะแก้ได้หรือไม่ก็อีกเรื่องหนึ่ง เพราะการฉีกรัฐธรรมนูญ ง่ายกว่า การแก้รัฐธรรมนูญ

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 นั้นมีปัญหามาก เพราะนอกจากจะมีปัญหาในเรื่องความชอบธรรมแล้ว ยังมีปัญหาในหลักการอีกด้วย เช่น การยอมให้มีสมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้ง การให้อำนาจล้นฟ้ากับองค์กรอิสระ เสมือนเป็นอำนาจอธิปไตยใหม่ และเชิดชูอำนาจตุลาการให้เหนือกว่าอำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจบริหาร

รัฐธรรมนูญ 2550 ร่างขึ้นมาเพราะกลัวนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งมีปัญหา จึงยกอำนาจนั้นให้กับกลุ่มหรือองค์กรที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง นอกจากนี้ยังมีกฎหมายอื่นๆ ที่ลดอำนาจการบริหารลง เช่น พรบ.กลาโหมฯ ที่ทำให้รัฐบาลไม่สามารถสั่งการควบคุมทหารได้ ธนาคารแห่งประเทศไทยที่เป็นอิสระจนรัฐไม่สามารถควบคุม โดยให้องค์กรเหล่านี้ไปขึ้นอยู่กับกลุ่มหรือองค์กรที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง หรือเรียกง่ายๆว่า "อำมาตย์"

อาจารย์สุธาชัย เห็นว่า นักการเมืองก็ชั่วจริง แต่คิดว่านักการเมืองและอำมาตย์ก็มีโอกาสดีหรือชั่วได้เท่าๆกัน แต่ทั้งนี้นักการเมืองเราสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ แต่ถ้าเป็นอำมาตย์เราไม่สามารถทำได้

สาเหตุที่รัฐธรรมนูญที่ควรแก้ แต่แก้ไม่ได้เพราะเป็นผลพวงมาจากความขัดแย้งทางการเมืองในปี 2549 ที่ทำให้สังคมแบ่งเป็น 2 ฝ่ายหลักๆ โดยผู้ที่อยากแก้รัฐธรรมนูญ 2550 คือพวกที่ไม่รับรัฐธรรมนูญฉบับนี้มาตั้งแต่ต้น แต่พวกที่

ไม่อยากแก้ก็ไม่เห็นว่ารัฐธรรมนูญ 2550 ดี แต่กลัวจะเป็นการแก้เพื่อคนเพียงคนเดียว

อาจารย์สุธาชัย เปรียบรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นรัฐธรรมนูญเทวดา ออกแบบมาเพื่อขจัดทักษิณโดยเปรียบเทียบให้เป็นมาร ซึ่งสำคัญมาก เพราะการกระทำใดๆก็ตามที่ทำเพื่อต่อต้านทักษิณไม่ว่าจะดีหรือไม่ดีก็ตามล้วนได้ชื่อว่าชอบธรรม

การฉีกรัฐธรรมนูญง่ายกว่า การแก้รัฐธรรมนูญทั้งที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นวิธีการของประเทศที่เจริญ ทุกประเทศเขาก็แก้รัฐธรรมนูญกันเพื่อให้ทันต่อยุคสมัย การที่ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญถึง 18 ฉบับ นับเป็นความอัปยศของประเทศ เพราะมันสะท้อนถึงความไร้อารยธรรมทางการเมืองของไทย ทั้งนี้ไม่ใช่ว่ารัฐธรรมนูญ 2550 ไม่เคยถูกแก้ไข แต่ได้แก้ไขมาแล้วในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งแก้ไขให้เปลี่ยนสัดส่วน และจำนวนของสมาชิกสภาผู้แทนฯ ซึ่งมันสะท้อนให้เห็นว่า "อำมาตย์ถึงจะแก้รัฐธรรมนูญของอำมาตย์ได้ ส่วนไพร่หรือชาวบ้านทั่วไปจะไปแก้ไม่ได้"

ใบตองแห้ง : รัฐธรรมนูญ 2550 ป้องกันระบอบทักษิณ จนทำให้ ระบอบประชาธิปไตยบิดเบี้ยวไป

ใบตองแห้ง คอลัมนิสต์ จากหนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท กล่าวว่า หมวดพระมหากษัตริย์ที่อ้างว่าห้ามแก้ ที่จริงแล้วก็ไม่ได้มีผลกระทบต่อตัวของสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น ทำไม องคมนตรี จะต้องมีการระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ และทำไมต้องมีคุณสมบัติขององคมนตรีไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีคนวิจารณ์ว่า เป็นการสร้างบทบาทขององคมนตรีให้เสมือนเป็นตัวแทนของในหลวง ซึ่งความจริงแล้วการที่องคมนตรีจะไปพูดที่ไหนก็เป็นความคิดเห็นส่วนตัวขององคมนตรีเอง ส่วนในหลวงท่านมีพระราชดำรัสของท่านต่างหาก ซึ่งทำให้คนเข้าใจว่านี่คือตัวแทนของพระองค์ และเมื่อองคมนตรีไปทำอะไรที่ไหนแล้วมีผู้วิจารณ์ ก็จะมีการเชื่อมโยงกระทบไปถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งหมวดพระมหากษัตริย์เกือบครึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับองคมนตรี ทั้งนี้หมวดพระมหากษัตริน์ในต่างประเทศก็มี แต่ถ้าเป็นไปตามระบอบก็ไม่มีใครฟ้อง เพราะท่านไม่ได้เกี่ยวข้องกับการบริหารบ้านเมือง จริงๆแล้วเป็นการเขียนไว้เพื่อแสดงความเคารพนับถือเท่านั้น พวกที่คัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญ 2550 คือ คือพวกที่อ้างว่ารูปแบบของ ประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์เป็นประมุข ต้องเป็นรูปแบบตามรัฐธรรมนูญ 2550 นี้เท่านั้น แต่ถ้าย้อนถามว่าเป็นอย่างไรก็ไม่สามารถตอบได้

อีกทั้งรัฐธรรมนูญ2550 ยังเขียนเพื่อทักษิณ จะเห็นได้ว่า มาตรา 309 ตามรัฐธรรมนูญ อธิบายง่ายๆก็คือ ในอนาคตต่อไป ถ้าการกระทำของ คตส. ไม่ถูกต้องตาม รธน. 2550 ก็ให้ถือว่าถูกต้อง เป็นการป้องกันระบอบทักษิณแบบดื้อๆง่ายๆ และไม่ถูกหลักทางวิชาการ เช่น การกลัวสภาผัวเมีย ที่ สส. กับ สว. เป็นครอบครัวเดียวกัน นักการเมืองก็แก้ไขโดยไปเอาคนอื่นมาเป็นแทน ซึ่งก็ช่วยอะไรไม่ได้ เป็นการป้องกันระบอบทักษิณจนทำให้ประชาธิปไตยมันบิดเบี้ยวไป

และถ้าพูดถึงองค์กรอิสระไม่ว่าจะเป็น ปปช. หรือ กกต. ก็ดี ก็ไม่สามารถทำงานตรวจสอบการกระทำผิดต่างๆได้จริง เช่น ในยุคสมัยนี้ จะมีนักการเมืองคนใดลงพื้นที่ไปซื้อเสียงด้วยตัวเองให้มีหลักฐานให้โดนจับได้ หรือ การตรวจสอบบัญชีทรัพสินย์ หนี้สินของ ปปช. ก็ไม่สามารถตรวจสอบความร่ำรวยที่ผิดปกติของนักการเมืองได้จริง เพราะนักการเมืองมีวิธีการในการหลบเลี่ยงที่ซับซ้อนกว่านั้น อีกทั้งเงินเดือนของข้าราชการที่สังกัดองค์กรอิสระสูงกว่าข้าราชการโดยทั่วไป เพราะไปยึดอิงกับเงินเดือนของศาล ซึ่งไม่เป็นธรรมในระบบราชการ และจะติดตามรวบรวมข้อมูลเพื่อเผยแพร่ต่อไป นอกจากนี้ยังมีการขยายเวลาเกษียณอายุราชการของประธานศาลฎีกา ซึ่งส่งผลกระทบและไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้ เพราะถ้าจะกลับไปเกษียณที่อายุ 60 ปี เหมือนเดิม คนที่รอขึ้นตำแหน่งต่อไปก็ไม่สามารถทำได้ นี่คือตัวอย่างของปัญหาที่เป็นผลพวงจากรัฐธรรมนูญ 2550

นายสมบัติ บุญงามอนงค์ : ถ้าการแก้รัฐธรรมนูญ เป็นการทำเพื่อคนๆเดียว แล้วการไม่แก้รัฐธรรมนูญ เป็นการทำเพื่อใคร ?

นายสมบัติ บุญงามอนงค์ (บก.ลายจุด) กล่าวว่า รัฐธรรมนูญเป็นเสมือนสัญญาประชาคม การที่คนเราจะยอมสูญเสียเสรีภาพทั้งหลายให้จำกัดอยู่ภายใต้กฎอะไรบางอย่าง กฎนั้นๆต้องได้รับการยินยอมโดยตัวเรา

ในรัฐธรรมนูญ 2550 มีการติดตั้งชุดคำสั่งลงไป โดยที่เราอาจไม่รู้ตัว และไม่สามารถปฏิเสธได้ คนมักจะพูดถึงการแก้รัฐธรรมนูญในเชิงเนื้อหาหรือเชิงโครงสร้าง แต่สำหรับตนมองประชาธิปไตยในมิติเชิงวัฒนธรรม ผู้ปกครองใช้วิธีการผลิตซ้ำผ่านชุดคำสั่งที่อยู่ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นความชาญฉลาดในการควบคุมเราของชนชั้นปกครองที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมานับพันปี มีแต่ประชาชนอย่างเราที่พึ่งจะฉลาด ดังนั้นการที่จะเป็นเสรีชนอย่างเต็มขั้น สิ่งแรกที่เราต้องทำคือการรื้อสิ่งที่ผู้ปกครองผลิตซ้ำให้เราออกไป

บก.ลายจุดเห็นว่า วัฒนธรรมประชาธิปไตยยังไม่เกิดขึ้นในสังคมไทย มุมมองที่เห็นว่าเราต้องมีโครงสร้างแบบประชาธิปไตยก่อน จึงจะเกิดวัฒนธรรมประชาธิปไตยขึ้นมา ซึ่งก็จริงแต่ยังมีความจริงอีกชุดหนึ่งว่า ถ้าเราสามารถสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตยมาล้อมชนชั้นนำไว้ ถ้าทำได้คนพวกนี้จะไม่มีพลัง ดังนั้นเราต้องกลับมาคิด และตั้งคำถามก่อนการเขียนรัฐธรรมนูญว่า ประเทศนี้ประชาชนเป็นใหญ่ ในอดีตรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือในการปกครองของชนชั้นนำ แต่ในปัจจุบันรัฐธรรมนูญต้องเป็นเครื่องยืนยันว่าประชาชนจะอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี และถ้าศักดิ์ศรีจะต้องลดลง ก็ต้องเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม

นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ : รัฐประหารทำให้เราเสียโอกาสที่จะเรียนรู้สิ่งที่เปลี่ยนแปลงตามครรลองประชาธิปไตย

นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ ศาล กลุ่มพันธมิตรฯ และกลุ่ม นปช. มีความเห็นสอดคล้องกันว่าควรแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่กลัวอยู่ 2 ประเด็นด้วยกัน คือเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ และทักษิณ

ในปัจจุบันเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์คงไม่ต้องเป็นห่วง เพราะขนาดเพียงรายการ "ตอบโจทย์ประเทศไทย" ทางไทยพีบีเอส นำเรื่องของสถาบันมาพูดคุยด้วยเหตุผลยังไม่สามารถทำได้ เพราะฉะนั้นการไปแตะต้องสถาบันพระมหากษัตริย์ในรัฐธรรมนูญจึงไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ ฉะนั้นทุกฝ่ายจะติดอยู่กับที่ "ทักษิณ"

นายวีรพัฒน์ เห็นว่า ถ้าไม่มีรัฐประหารในวันนั้น ตอนนี้ กลุ่มปฏิญญาหน้าศาล อาจจะเรียกร้องให้ศาลไปจัดการกับทักษิณ แทนการเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษการเมือง เพราะรัฐประหารทำให้เราเสียโอกาสที่จะเรียนรู้สิ่งที่เปลี่ยนแปลงตามครรลองประชาธิปไตย

คำถามคือปัญหาของรัฐธรรมนูญ 2550 อยู่ที่อะไร โดยนายวีรพัฒน์ ตั้งคำถามว่า ปัญหาอยู่ที่ตัวมงกุฏ หรือตัวรัฐธรรมนูญ หรืออยู่ที่การแย่งชิงมงกุฏ หรือการรัฐประหาร คำตอบคือ การแย่งชิงมงกุฏ หรือการรัฐประหาร ทำให้ตัวมงกุฏ หรือตัวรัฐธรรมนูญนั้นบิดเบี้ยว ฉะนั้น การแก้รัฐธรรมนูญ คือการแก้เพื่อยุติการโกงกติกา หรือยุติการรัฐประหาร โดยทั้งนี้คนไทยต้องไม่ยอมรับทั้งนักการเมืองที่ขาดคุณธรรม และขณะเดียวกันก็ต้องไม่ยอมรับเผด็จการที่ขาดประชาธิปไตย เพราะทั้งนักการเมืองที่ขาดคุณธรรม และการรัฐประหารก็คือการทำลายกติกากันทั้งคู่ นำไปสู่วงจรอุบาต "กฎหมายไร้ค่า การเมืองไร้คนดี ประชาชนไร้อำนาจ"

หัวใจของการแก้ปัญหาคือ ทฤษฎีกระบวนการประชาธิปไตยว่าด้วยเรื่องการมีส่วนร่วมทางการเมือง การแก้รัฐธรรมนูญเป็นการแก้เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกให้คนมีส่วนร่วมในรัฐธรรมนูญ การออกแบบรัฐธรรมนูญต้องมีความหลักแหลมให้เกิดการประณีประนอมทางการเมือง โดยทำให้ทั้งคนที่ทำรัฐประหาร และคนที่ถูกกล่าวหาว่าโกง มาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตามปกติ การแก้รัฐธรรมนูญเพื่อเนื้อหาสาระก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่การแก้เรัฐธรรมนูญเพื่อตัวเรา ไม่ให้รัฐธรรมนูญนั้นบิดเบี้ยว เป็นเรื่องที่สำคัญ

ขอบคุณ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1363440628&grpid=&catid=01&subcatid=0100 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 มี.ค.56
วันที่โพสต์: 17/03/2556 เวลา 03:48:40

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2556 สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ จัดเสวนาวิชาการเรื่อง "แก้รัฐธรรมนูญ เพื่ออะไร เพื่อใคร?" โดยมี ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ประธานหลักสูตรรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต รศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใบตองแห้ง คอลัมนิสต์ จากหนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท นายสมบัติ บุญงามอนงค์ (บก.ลายจุด) และนายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ ร่วมการเสวนา ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ : "ถ้าประชาธิปไตยไม่เหมาะสมกับประเทศไทย absolute monarchy ก็ต้องไม่เหมาะสมเช่นกัน เพราะมันก็มาจากเมืองนอกทั้งคู่" ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ประธานหลักสูตรรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ถ้านับจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร เมื่อปี 2475จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้วทั้งสิ้นถึง 18 ฉบับ โดยฉบับแรกมีจำนวน 39 มาตรา แต่ฉบับปัจจุบันมีถึง 309 มาตรา ซึ่งสะท้อนได้ว่ารัฐธรรมนูญมีความซับซ้อนจนยากแก่การเข้าถึงของประชาชน ตัวอย่างที่ได้เจอกับตัวเองคือ สมัยการให้ลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 เพื่อนบ้านนำร่างรัฐธรรมนูญที่ได้รับแจกมาให้ตัวเองเพราะเห็นว่าเป็นอาจารย์ โดยตนก็ได้รวมไว้ได้ประมาณครึ่งกิโลและเอาไปขายอีกที การที่รัฐธรรมนูญมีความยาวขึ้น อาจารย์ธำรงศักดิ์ เห็นว่า ทำให้รัฐธรรมนูญเหมือนคาถาเวทมนต์ที่แฝงไป ด้วยความลึกลับ และอยากแก่การเข้าถึง โดยก่อนอื่นเพื่อทำความเข้าใจรัฐธรรมนูญของไทยทั้ง 18 ฉบับ อาจารย์ธำรงศักดิ์ ได้จำแนกประเภท ของรัฐธรรมนูญไทยตามที่มาของรัฐธรรมนูญ ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ 1 รัฐ ธรรมนูญที่มาจากการปฏิวัติ ซึ่งโดยมากมักเป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ประเภทที่ 2 เป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นผลพวงจากประเภทที่ 1 คือ รัฐธรรมนูญที่สืบเนื่องมาจากการปฏิวัติ และประเภทที่ 3 คือ รัฐธรรมนูญที่มาจากการปฏิวัติ/พลังประชาชน ทั้งนี้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันจัดอยู่ประเภทที่ 2 คือรัฐธรรมนูญที่เป็นผลพวงมาจากการปฏิวัติ คนโดยทั่วไปมักนับรัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 10 ธันวาคม ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 มาถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทยซึ่งถือว่าผิด และเหตุการณ์การปฏิวัติพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินเมื่อปี 2475 ถึงแม้จะไม่มีการนองเลือด แต่ใน เวลาต่อมาเลือดนองเต็มแผ่นดิน ฉะนั้นการปฏิวัติ 2475 มีผลสะเทือน และการต่อสู้กัน ประเด็นสำคัญคือ คณะราษฎรออกแบบให้มีสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นสภาเดี่ยว และกำหนดให้ครึ่งหนึ่งมาจากการแต่งตั้ง และอีกครึ่งหนึ่งมาจากการเลือกตั้ง ปัญหาคือใครจะเป็นผู้แต่งตั้งหรือครองเสียงครึ่งหนึ่งของสภาฯ 3 เดือนต่อมา เกิด คณะกู้บ้านกู้เมือง หรือกบฏบวรเดช แต่สุดท้ายพ่ายแพ้ไป และอีก 1ปี ต่อมา รัชกาลที่ 7 สละราชสมบัติ การต่อสู้ในทางการเมืองที่ผ่านมาคือการต่อสู้เพื่อแย่งชิงการกำหนดที่มาของสมาชิสภาและที่มาของนายกรัฐมนตรีไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ไม่เคยกำหนดที่มาของศาล และอำนาจตุลาการ จึงทำให้อำนาจตุลาการเป็นเสมือนอวัยวะนอกระบบรัฐธรรมนูญ โดยในปัจจุบัน ฝ่าบริหาร และฝ่ายตุลาการ ต้องเข้าถวายสัตย์ปฏิญาณ แต่ไม่รวมฝ่ายนิติบัญญัติเพราะถือว่ามาจากประชาชน อาจารย์ธำรงศักดิ์ ยังได้แบ่งประเภทของรัฐธรรมนูญของไทยตามรูปแบบการปกครอง เป็น 3 แบบ ได้แก่ 1. แบบประชาธิปไตย ได้แก่รัฐธรรมนูญฉบับที่ 1-3 เพราะถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มีเจตจำนงค์ไปสู่ประชาธิปไตยแบบเต็มขั้น และรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ที่มาจากประชาชน 2. แบบเผด็จการ-อำมาตย์-อนุรักษ์นิยม โดยเริ่มต้นจากรัฐธรรมนูญ ปี2502 ซึ่งเกิดขึ้นโดยการทำรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และมีมาตราที่สำคัญคือ มาตรา 17 ที่ระบุว่า "คำสั่งใดและการกระทำใดๆของนายกรัฐมนตรีถือว่าชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อกระทำไปแล้วค่อยแจ้งให้รัฐสภาทราบ" และมาตรา 17 เป็นแบบอย่างของรัฐธรรมนูญฉบับเผด็จการทั้งหลาย แต่อาจไปใส่ไว้ที่มาตราอื่นๆ หรือเปลี่ยน แปลงคำนิดหน่อย แต่ความหมายยังคงเดิม ได้แก่ รัฐธรรมนูญฉบับ 2515, 2519, 2520, 2534 และฉบับปี 2549 และ 3. แบบกึ่งเผด็จการ หรือที่เรามักเรียกว่า ประชาธิปไตยครึ่งใบ แต่อาจารย์ธำรงศักดิ์ กล่าวว่า "ถ้าเราไปเรียกว่า ประชาธิปไตยครึ่งใบ แสดงว่าเราตกหลุมพรางทางความคิด" รัฐธรรมนูญแบบกึ่งเผด็จการคือการที่ไม่ให้ฝ่ายบริหารมาจากสภาฯ หรือการที่ให้สมาชิกสภาฯส่วนหนึ่งมาจากการแต่งตั้ง รัฐธรรมนูญประเภทนี้ เช่น รัฐธรรมนูญฉบับปี 2490 ที่กำหนดให้มี "อภิรัฐมนตรี" และต่อมาเปลี่ยนเป็น "องคมนตรี" รวมถึงรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ด้วย เพราะสมาชิกวุฒิสภามีที่มาจากคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งแทนการมาจากประชาชน สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ : ฟันธง!!...รัฐธรรมนูญต้องแก้ แต่จะแก้ได้หรือไม่ก็อีกเรื่องหนึ่ง เพราะการฉีกรัฐธรรมนูญ ง่ายกว่า การแก้รัฐธรรมนูญ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 นั้นมีปัญหามาก เพราะนอกจากจะมีปัญหาในเรื่องความชอบธรรมแล้ว ยังมีปัญหาในหลักการอีกด้วย เช่น การยอมให้มีสมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้ง การให้อำนาจล้นฟ้ากับองค์กรอิสระ เสมือนเป็นอำนาจอธิปไตยใหม่ และเชิดชูอำนาจตุลาการให้เหนือกว่าอำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจบริหาร รัฐธรรมนูญ 2550 ร่างขึ้นมาเพราะกลัวนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งมีปัญหา จึงยกอำนาจนั้นให้กับกลุ่มหรือองค์กรที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง นอกจากนี้ยังมีกฎหมายอื่นๆ ที่ลดอำนาจการบริหารลง เช่น พรบ.กลาโหมฯ ที่ทำให้รัฐบาลไม่สามารถสั่งการควบคุมทหารได้ ธนาคารแห่งประเทศไทยที่เป็นอิสระจนรัฐไม่สามารถควบคุม โดยให้องค์กรเหล่านี้ไปขึ้นอยู่กับกลุ่มหรือองค์กรที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง หรือเรียกง่ายๆว่า "อำมาตย์" อาจารย์สุธาชัย เห็นว่า นักการเมืองก็ชั่วจริง แต่คิดว่านักการเมืองและอำมาตย์ก็มีโอกาสดีหรือชั่วได้เท่าๆกัน แต่ทั้งนี้นักการเมืองเราสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ แต่ถ้าเป็นอำมาตย์เราไม่สามารถทำได้ สาเหตุที่รัฐธรรมนูญที่ควรแก้ แต่แก้ไม่ได้เพราะเป็นผลพวงมาจากความขัดแย้งทางการเมืองในปี 2549 ที่ทำให้สังคมแบ่งเป็น 2 ฝ่ายหลักๆ โดยผู้ที่อยากแก้รัฐธรรมนูญ 2550 คือพวกที่ไม่รับรัฐธรรมนูญฉบับนี้มาตั้งแต่ต้น แต่พวกที่ ไม่อยากแก้ก็ไม่เห็นว่ารัฐธรรมนูญ 2550 ดี แต่กลัวจะเป็นการแก้เพื่อคนเพียงคนเดียว อาจารย์สุธาชัย เปรียบรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นรัฐธรรมนูญเทวดา ออกแบบมาเพื่อขจัดทักษิณโดยเปรียบเทียบให้เป็นมาร ซึ่งสำคัญมาก เพราะการกระทำใดๆก็ตามที่ทำเพื่อต่อต้านทักษิณไม่ว่าจะดีหรือไม่ดีก็ตามล้วนได้ชื่อว่าชอบธรรม การฉีกรัฐธรรมนูญง่ายกว่า การแก้รัฐธรรมนูญทั้งที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นวิธีการของประเทศที่เจริญ ทุกประเทศเขาก็แก้รัฐธรรมนูญกันเพื่อให้ทันต่อยุคสมัย การที่ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญถึง 18 ฉบับ นับเป็นความอัปยศของประเทศ เพราะมันสะท้อนถึงความไร้อารยธรรมทางการเมืองของไทย ทั้งนี้ไม่ใช่ว่ารัฐธรรมนูญ 2550 ไม่เคยถูกแก้ไข แต่ได้แก้ไขมาแล้วในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งแก้ไขให้เปลี่ยนสัดส่วน และจำนวนของสมาชิกสภาผู้แทนฯ ซึ่งมันสะท้อนให้เห็นว่า "อำมาตย์ถึงจะแก้รัฐธรรมนูญของอำมาตย์ได้ ส่วนไพร่หรือชาวบ้านทั่วไปจะไปแก้ไม่ได้" ใบตองแห้ง : รัฐธรรมนูญ 2550 ป้องกันระบอบทักษิณ จนทำให้ ระบอบประชาธิปไตยบิดเบี้ยวไป ใบตองแห้ง คอลัมนิสต์ จากหนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท กล่าวว่า หมวดพระมหากษัตริย์ที่อ้างว่าห้ามแก้ ที่จริงแล้วก็ไม่ได้มีผลกระทบต่อตัวของสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น ทำไม องคมนตรี จะต้องมีการระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ และทำไมต้องมีคุณสมบัติขององคมนตรีไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีคนวิจารณ์ว่า เป็นการสร้างบทบาทขององคมนตรีให้เสมือนเป็นตัวแทนของในหลวง ซึ่งความจริงแล้วการที่องคมนตรีจะไปพูดที่ไหนก็เป็นความคิดเห็นส่วนตัวขององคมนตรีเอง ส่วนในหลวงท่านมีพระราชดำรัสของท่านต่างหาก ซึ่งทำให้คนเข้าใจว่านี่คือตัวแทนของพระองค์ และเมื่อองคมนตรีไปทำอะไรที่ไหนแล้วมีผู้วิจารณ์ ก็จะมีการเชื่อมโยงกระทบไปถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งหมวดพระมหากษัตริย์เกือบครึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับองคมนตรี ทั้งนี้หมวดพระมหากษัตริน์ในต่างประเทศก็มี แต่ถ้าเป็นไปตามระบอบก็ไม่มีใครฟ้อง เพราะท่านไม่ได้เกี่ยวข้องกับการบริหารบ้านเมือง จริงๆแล้วเป็นการเขียนไว้เพื่อแสดงความเคารพนับถือเท่านั้น พวกที่คัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญ 2550 คือ คือพวกที่อ้างว่ารูปแบบของ ประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์เป็นประมุข ต้องเป็นรูปแบบตามรัฐธรรมนูญ 2550 นี้เท่านั้น

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...