เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ

แสดงความคิดเห็น

การร้องคัดค้านผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กทม. กลายเป็นวิวาทะระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้าน ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ฟันธงว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ไม่โดนใบเหลืองก็ใบแดง และท้าให้ กกต.ยกคำร้องถ้ากล้าทำ ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โต้กลับว่าคำร้องเรียนไม่เข้าข่ายใบแดงแน่นอน

เป็นผลสืบเนื่องมาจากมติของ กกต.กทม. เห็นว่าคำร้อง 2 เรื่อง อาจเข้าข่าย เป็นการจูงใจให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยมของผู้สมัคร ได้แก่ การที่นายศิริโชค โสภา ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ภาพรถหาเสียงพรรคเพื่อไทยและข้อความเผาบ้านเผาเมือง และ ดร.เสรี วงษ์มณฑา โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก “ไม่เลือกเราเขามาแน่” และสนับสนุน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์

ปัญหาที่โต้เถียงกันก็คือคำร้องเรียนทั้งสองเป็นการ “จูงใจให้เข้าใจผิดในคะแนน นิยมของผู้สมัครใด” เป็นความผิดกฎหมายการเลือกตั้งท้องถิ่นมาตรา 57 (5) คือเป็นการจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ให้ลงคะแนนเลือก ตั้งให้แก่ตนเองหรือผู้สมัครอื่น หรือให้งดเว้น การลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครใด เป็นความผิดทำให้ผู้สมัครโดนใบเหลืองใบแดงหรือไม่?

กรณีนายศิริโชคอาจมีเหตุที่น่าพิจารณา เพราะเป็น ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ แต่ก็ไม่ใช่การกระทำของผู้สมัครโดยตรง ส่วน ดร.เสรีไม่ใช่สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความคิดเห็นในฐานะนักวิชาการและประชาชนคนหนึ่งตามเสรีภาพในรัฐธรรมนูญ จึงไม่น่าจะเป็นความผิดและถ้าจะถือว่าเป็นความผิด ก็จะเป็นความผิดของ ดร.เสรีไม่เกี่ยวกับผู้สมัครใด

แต่ถ้าจะถือว่าการกระทำของ ดร.เสรีเป็นความผิดจะกลายเป็นเรื่องพิลึกกึกกือ เป็นเรื่องแปลกประหลาดมหัศจรรย์ สำหรับโลกประชาธิปไตย เพราะเป็นการห้ามไม่ให้แสดงความเห็น เพื่อสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้ง สื่อมวลชนก็ต้องผิดทั้งหมด เพราะทำหน้าที่วิเคราะห์และวิจารณ์เกี่ยวกับคะแนนนิยมของผู้สมัครรวมทั้งโอกาสที่จะแพ้หรือชนะเลือกตั้ง

สำนักโพลทั้งหลายก็ต้องผิดหมด เพราะตั้งแต่เริ่มต้นรณรงค์หาเสียง จนถึงสัปดาห์สุดท้าย โพลทุกสำนักต่างฟันธงว่าผู้สมัครพรรคเพื่อไทยมีคะแนนนำ ทิ้งห่างผู้สมัครพรรคประชาธิปัตย์ ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดในคะแนนนิยมผู้สมัครอย่างชัดเจน เพราะผลการเลือกตั้งออกมาตรงกันข้ามจะถือว่าสำนักโพลจูงใจให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยมของผู้สมัครหรือไม่? กกต.เคยตรวจสอบหรือไม่?

การฟันธงเรื่องนี้จึงต้องกระทำอย่างรอบคอบ เพราะเป็นการกล่าวหาผู้อื่นว่าทำผิดร้ายแรง มีโทษถึงจำคุก 1-10 ปี เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี และอาจเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญมาตรา 45 ว่าด้วยเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน ฯลฯ กกต.เองก็อาจถูกกล่าวหาว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดรัฐธรรมนูญ อาจถูกยื่นถอดถอนหรือฟ้องศาลฎีกานักการเมือง.

ขอบคุณ http://www.thairath.co.th/column/pol/editor/332561

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 มี.ค.56
วันที่โพสต์: 16/03/2556 เวลา 02:44:05

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

การร้องคัดค้านผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กทม. กลายเป็นวิวาทะระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้าน ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ฟันธงว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ไม่โดนใบเหลืองก็ใบแดง และท้าให้ กกต.ยกคำร้องถ้ากล้าทำ ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โต้กลับว่าคำร้องเรียนไม่เข้าข่ายใบแดงแน่นอน เป็นผลสืบเนื่องมาจากมติของ กกต.กทม. เห็นว่าคำร้อง 2 เรื่อง อาจเข้าข่าย เป็นการจูงใจให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยมของผู้สมัคร ได้แก่ การที่นายศิริโชค โสภา ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ภาพรถหาเสียงพรรคเพื่อไทยและข้อความเผาบ้านเผาเมือง และ ดร.เสรี วงษ์มณฑา โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก “ไม่เลือกเราเขามาแน่” และสนับสนุน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ปัญหาที่โต้เถียงกันก็คือคำร้องเรียนทั้งสองเป็นการ “จูงใจให้เข้าใจผิดในคะแนน นิยมของผู้สมัครใด” เป็นความผิดกฎหมายการเลือกตั้งท้องถิ่นมาตรา 57 (5) คือเป็นการจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ให้ลงคะแนนเลือก ตั้งให้แก่ตนเองหรือผู้สมัครอื่น หรือให้งดเว้น การลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครใด เป็นความผิดทำให้ผู้สมัครโดนใบเหลืองใบแดงหรือไม่? กรณีนายศิริโชคอาจมีเหตุที่น่าพิจารณา เพราะเป็น ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ แต่ก็ไม่ใช่การกระทำของผู้สมัครโดยตรง ส่วน ดร.เสรีไม่ใช่สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความคิดเห็นในฐานะนักวิชาการและประชาชนคนหนึ่งตามเสรีภาพในรัฐธรรมนูญ จึงไม่น่าจะเป็นความผิดและถ้าจะถือว่าเป็นความผิด ก็จะเป็นความผิดของ ดร.เสรีไม่เกี่ยวกับผู้สมัครใด แต่ถ้าจะถือว่าการกระทำของ ดร.เสรีเป็นความผิดจะกลายเป็นเรื่องพิลึกกึกกือ เป็นเรื่องแปลกประหลาดมหัศจรรย์ สำหรับโลกประชาธิปไตย เพราะเป็นการห้ามไม่ให้แสดงความเห็น เพื่อสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้ง สื่อมวลชนก็ต้องผิดทั้งหมด เพราะทำหน้าที่วิเคราะห์และวิจารณ์เกี่ยวกับคะแนนนิยมของผู้สมัครรวมทั้งโอกาสที่จะแพ้หรือชนะเลือกตั้ง สำนักโพลทั้งหลายก็ต้องผิดหมด เพราะตั้งแต่เริ่มต้นรณรงค์หาเสียง จนถึงสัปดาห์สุดท้าย โพลทุกสำนักต่างฟันธงว่าผู้สมัครพรรคเพื่อไทยมีคะแนนนำ ทิ้งห่างผู้สมัครพรรคประชาธิปัตย์ ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดในคะแนนนิยมผู้สมัครอย่างชัดเจน เพราะผลการเลือกตั้งออกมาตรงกันข้ามจะถือว่าสำนักโพลจูงใจให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยมของผู้สมัครหรือไม่? กกต.เคยตรวจสอบหรือไม่? การฟันธงเรื่องนี้จึงต้องกระทำอย่างรอบคอบ เพราะเป็นการกล่าวหาผู้อื่นว่าทำผิดร้ายแรง มีโทษถึงจำคุก 1-10 ปี เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี และอาจเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญมาตรา 45 ว่าด้วยเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน ฯลฯ กกต.เองก็อาจถูกกล่าวหาว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดรัฐธรรมนูญ อาจถูกยื่นถอดถอนหรือฟ้องศาลฎีกานักการเมือง. ขอบคุณ http://www.thairath.co.th/column/pol/editor/332561

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...