ร่าง พ.ร.บ.ตั้ง 'นครปัตตานี'

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ : สาระสำคัญบางมาตรา จากทั้งหมด 121 มาตรา ของร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการนครปัตตานี พ.ศ....ที่พรรคเพื่อไทยได้ยกร่างไว้ในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "ระเบียบบริหารราชการนครปัตตานี พ.ศ...."

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

มาตรา 3 "นครปัตตานี" หมายความว่า จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งอื่นใด อ้างถึงนครปัตตานี จังหวัด อำเภอ ตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล ให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งนั้น อ้างถึงนครปัตตานี ตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณีเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตาม พระราชบัญญัตินี้

หมวด 1 การจัดระเบียบบริหารราชการนครปัตตานีมาตรา 5 ให้นครปัตตานีมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ มีระเบียบการบริหารตามพระราชบัญญัตินี้ และมีอาณาเขตท้องที่ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

การแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาณาเขตท้องที่นครปัตตานีให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ

มาตรา 6 ให้พื้นที่การบริหารนครปัตตานีให้ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี รวมทั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่ 3 จังหวัดดังกล่าว

การตั้ง ยุบ หรือเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตให้กระทำโดยประกาศของกระทรวงมหาดไทย และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

หมวด 2 การบริหารนครปัตตานีมาตรา 8 การบริหารนครปัตตานี ประกอบด้วย(1) สภานครปัตตานี(2) ผู้ว่าราชการนครปัตตานี

ส่วนที่ 1 สภานครปัตตานีมาตรา 9 สภานครปัตตานีประกอบด้วย สมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งจากตัวแทนอำเภอในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี มีจำนวนตามจำนวนอำเภอในพื้นที่ 3 จังหวัดดังกล่าว

มาตรา 10 การเลือกตั้งสมาชิกสภานครปัตตานี จะกระทำได้เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้งแล้ว ในพระราชกฤษฎีกานั้นให้ระบุวันเลือกตั้งและระยะเวลารับสมัครเลือกตั้ง

การกำหนดเขตเลือกตั้ง ให้ถือพื้นที่อำเภอเป็นเขตเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งหนึ่งให้มีสมาชิกสภานครปัตตานีได้ 1 คนการกำหนดเขตเลือกตั้งให้อำเภอที่กระทรวงมหาดไทยประกาศครั้งสุดท้ายก่อนวันประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภานครปัตตานี และให้ทำเป็นประกาศของกระทรวงมหาดไทย

มาตรา 11 บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง(1) มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี

(2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง และ

(3) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันจนถึงวันเลือกตั้ง ไม่น้อยกว่า 90 วัน

มาตรา 12 บุคคลผู้มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภานครปัตตานี คือ

(1) วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ(2) ภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช(3) ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย

(4) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งมาตรา 13 ผู้มีสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภานครปัตตานีต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

(1) สัญชาติไทยโดยการเกิด(2) อายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง และ(3) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตนครปัตตานีเป็นเวลาติดต่อกันจนถึงวันสมัครไม่น้อยกว่า 180 วัน หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตนครปัตตานี และได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน หรือตามกฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ ให้นครปัตตานีในปีที่สมัครหรือปีก่อนที่สมัคร 1 ปี

มาตรา 14 บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภานครปัตตานี คือ

(1) ติดยาเสพติดให้โทษ(2) เป็นบุคคลล้มละลาย ซึ่งศาลยังไม่สั่งให้พ้นจากคดี(3) เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งตามมาตรา 12 (1) (2) หรือ (4)

(4) ต้องคำพิพากษาให้จำคุก และถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล(5) เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป โดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึง 5 ปีในวันเลือกตั้ง เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาท

(6) เป็นบุคคลหูหนวกและเป็นใบ้(7) เป็นสมาชิกสภาซึ่งมีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ สมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น

(8) เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาซึ่งมีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ สมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น

(9) เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ(10) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจหรือของราชการส่วนท้องถิ่น

(11) เป็นบุคคลซึ่งทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจไล่ออก ปลดออก ให้ออกหรือเลิกจ้าง เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ

(12) เป็นผู้ถูกถอดถอนให้ออกจากตำแหน่งสมาชิกสภานครปัตตานีถึงวันสมัครรับเลือกตั้งยังไม่ครบ 4 ปี

(13) เป็นผู้ถูกให้ออกจากตำแหน่งสมาชิกสภานครปัตตานี ตามมาตรา 21 (8) ถึงวันสมัครรับเลือกตั้งยังไม่ครบ 4 ปี

(14) เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เพราะร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ

มาตรา 15 อายุของสภานครปัตตานีมีกำหนดคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภานครปัตตานี

เมื่ออายุของสภานครปัตตานีสิ้นสุดลง ให้จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภานครปัตตานีขึ้นใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งภายใน 60 วันนับแต่วันที่อายุของสภานครปัตตานีสิ้นสุดลง และวันเลือกตั้งนั้นต้องกำหนดวันเดียวกันทั่วนครปัตตานี

ส่วนที่ 2 ผู้ว่าราชการนครปัตตานีมาตรา 42 ให้นครปัตตานีมีผู้ว่าราชการนครปัตตานีคนหนึ่งซึ่งราษฎรเลือกตั้งขึ้น โดยวิธีการออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการนครปัตตานีจะกระทำได้ต้องมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้งแล้ว ในพระราชกฤษฎีกานั้นให้ระบุวันเลือกตั้งและระยะเวลารับสมัครเลือกตั้ง

หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการนครปัตตานีให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภานครปัตตานีและผู้ว่าราชการปัตตานีมหานคร

ผลของการเลือกตั้งผู้ว่าราชการนครปัตตานีให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 43 ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งผู้ว่าราชการนครปัตตานีต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา 11 และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 12

มาตรา 44 ผู้มีสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการนครปัตตานีต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา 13 และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 14

มาตรา 45 ผู้ว่าราชการนครปัตตานีมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง

เมื่อผู้ว่าราชการนครปัตตานีพ้นจากตำแหน่งวาระ ให้จัดการเลือกตั้งขึ้นใหม่ภายใน 60 วันนับแต่วันสิ้นสุดวาระ แต่ถ้าตำแหน่งผู้ว่าราชการปัตตานีมหานครว่างลงโดยเหตุอื่น ให้ทำการเลือกตั้งขึ้นใหม่ภายใน 90 วัน และให้ผู้ได้รับการเลือกตั้งอยู่ในตำแหน่งโดยเริ่มนับวาระใหม่

มาตรา 46 ให้ผู้ว่าราชการนครปัตตานีดำรงตำแหน่งนับแต่วันเลือกตั้ง

ให้มีการมอบหมายงานในหน้าที่ผู้ว่าราชการนครปัตตานีภายใน 7 วันนับแต่วันเลือกตั้ง

มาตรา 47 ผู้ว่าราชการนครปัตตานีมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้(1) กำหนดนโยบายและบริหารราชการของนครปัตตานีให้เป็นไปตามกฎหมาย

(2) สั่ง อนุญาต อนุมัติเกี่ยวกับราชการของนครปัตตานี (3) แต่งตั้งและถอดถอนรองผู้ว่าราชการนครปัตตานี เลขานุการผู้ว่าราชการนครปัตตานี ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการนครปัตตานี และแต่งตั้งและถอดถอนผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา หรือคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการนครปัตตานี หรือเป็นคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติราชการใดๆ

(4) บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย

(5) วางระเบียบเพื่อให้งานของนครปัตตานีเป็นไปโดยเรียบร้อย(6) รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินครปัตตานี(7) อำนาจหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และกฎหมายอื่น

มาตรา 48 ให้ผู้ว่าราชการนครปัตตานีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการนครปัตตานี และลูกจ้างนครปัตตานี และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของนครปัตตานี และให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายอื่นได้กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด นายกเทศมนตรี หรือคณะเทศมนตรี แล้วแต่กรณีโดยอนุโลม ทั้งนี้ เว้นแต่พระราชบัญญัตินี้จะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา 49 ผู้ว่าราชการนครปัตตานี(1) ต้องไม่ดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่อื่นใด ในส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือการพาณิชย์ของนครปัตตานี หรือบริษัทซึ่งนครปัตตานีถือหุ้นหรือตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่น หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น เว้นแต่ตำแหน่งที่ต้องดำรงตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

(2) ต้องไม่รับเงินหรือประโยชน์ใดๆ เป็นพิเศษจากส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือการพาณิชย์ของนครปัตตานี หรือบริษัทซึ่งนครปัตตานีถือหุ้นนอกเหนือไปจากที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือการพาณิชย์หรือบริษัทปฏิบัติกับบุคคลอื่นในธุรกิจการงานตามปกติ

(3) ต้องไม่เป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับปัตตานีมหานคร หรือการพาณิชย์ของนครปัตตานี หรือบริษัทซึ่งนครปัตตานีถือหุ้น เว้นแต่กรณีที่ผู้ว่าราชการนครปัตตานีได้เป็นคู่สัญญาหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญาอยู่ก่อนได้รับการเลือกตั้ง

บทบัญญัติตามมาตรานี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่ผู้ว่าราชการนครปัตตานีรับเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญหรือเงินปีพระบรมวงศานุวงศ์ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน และมิให้ใช้บังคับในกรณีที่ผู้ว่าราชการนครปัตตานีรับเงินตอบแทนเงินค่าเบี้ยประชุม หรือเงินอื่นใด เนื่องจากการดำรงตำแหน่งกรรมาธิการของรัฐสภา หรือวุฒิสภา หรือสภาผู้แทนราษฎร หรือสภานครปัตตานี หรือสภาท้องถิ่นอื่น หรือกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย หรือกรรมการที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นโดยตำแหน่ง

หมวด 5 อำนาจหน้าที่ของนครปัตตานีมาตรา 73 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายอื่น ให้นครปัตตานีมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการในเขตนครปัตตานี ในเรื่องดังต่อไปนี้

(1) จัดทำยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ในลักษณะบูรณาการ

(2) จัดทำแผนปฏิบัติการที่จะดำเนินการในจังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้

(3) การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งนี้ ตามข้อบัญญัตินครปัตตานี และตามกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนครปัตตานี

(4) การทะเบียนตามที่กฎหมายกำหนด(5) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(6) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง

(7) การผังเมือง(8) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ

(9) การวิศวกรรมจราจร(10) การขนส่ง

(11) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้ามและที่จอดรถ

(12) การดูแลรักษาที่สาธารณะ(13) การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ(14) การพัฒนาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม(15) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

(16) ส่งเสริมแนวคิดด้านพหุวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมแห่งชาติ รวมถึงการลดการผูกขาดทางวัฒนธรรมหรือการขจัดการเลือกปฏิบัติทางวัฒนธรรมโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมาย

(17) ส่งเสริม สนับสนุน อำนวยความสะดวกและแก้ไขปัญหาแก่คนไทยในจังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ที่เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย

(18) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้

(19) การสาธารณูปโภค(20) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล

(21) การควบคุมความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัยในโรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ

(22) การจัดการศึกษา(23) การสาธารณูปการ(24) การสังคมสงเคราะห์(25) การส่งเสริมการกีฬา(26) การส่งเสริมการประกอบอาชีพ(27) การพาณิชย์ของนครปัตตานี(28) หน้าที่อื่นๆ ตามที่กฎหมายอื่นกำหนดบรรดาอำนาจหน้าที่ใด ซึ่งเป็นของราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาค จะมอบให้นครปัตตานีปฏิบัติก็ได้ โดยให้ทำเป็นพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ข้อบังคับ หรือประกาศแล้วแต่กรณี ในกรณีที่ทำเป็นข้อบังคับหรือประกาศ ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

มาตรา 74 ให้นครปัตตานีจัดทำสรุปสถานการณ์ ปัญหา และอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีทุก 1 ปี และให้คณะรัฐมนตรีเสนอรัฐสภาเพื่อทราบ

มาตรา 75 นครปัตตานีอาจให้บริการแก่เอกชน ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น โดยเรียกค่าบริการได้โดยตราเป็นข้อบัญญัตินครปัตตานี

มาตรา 76 นครปัตตานีอาจดำเนินกิจการนอกเขตนครปัตตานีได้เมื่อ

(1) การนั้นจำเป็นต้องกระทำและเป็นการที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่อยู่ในเขตนครปัตตานี หรือเป็นประโยชน์แก่ประชาชนในนครปัตตานี

(2) ได้รับความเห็นชอบจากสภานครปัตตานี และ(3) ได้รับความยินยอมจากผู้ว่าราชการนครปัตตานี ราชการส่วนท้องถิ่นหรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี

มาตรา 77 นครปัตตานีอาจทำกิจการร่วมกับบุคคลอื่น โดยก่อตั้งบริษัทหรือถือหุ้นในบริษัทได้เมื่อ

(1) บริษัทนั้นมีวัตถุประสงค์เฉพาะกิจการเป็นสาธารณูปโภค แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงกิจการที่นครปัตตานีได้กระทำอยู่แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และ

(2) นครปัตตานีต้องถือหุ้นเป็นมูลค่าเกินร้อยละห้าสิบของทุนที่บริษัทนั้นจดทะเบียนไว้ในกรณีที่มีนครปัตตานี ส่วนราชการหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นถือหุ้นอยู่ในบริษัทเดียวกัน ให้นับหุ้นที่ถือนั้นรวมกัน และ

(3) สภานครปัตตานีมีมติให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภานครปัตตานีทั้งหมด และ

(4) ได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย การเปลี่ยนแปลงจำนวนหุ้นที่นครปัตตานีถืออยู่ต้องได้รับอนุมัติจากสภานครปัตตานี

มาตรา 78 ถ้ากิจการใดอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของนครปัตตานี นครปัตตานีอาจดำเนินการนั้นร่วมกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นได้โดยจัดตั้งเป็นองค์การเรียกว่า สหการ มีฐานะเป็นนิติบุคคล และมีคณะกรรมการบริหาร ประกอบด้วย ผู้แทนของนครปัตตานี ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และราชการส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณี

การจัดตั้งสหการจะกระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ในพระราชกฤษฎีกานั้นให้กำหนดชื่อ อำนาจหน้าที่ และวิธีดำเนินงาน เมื่อจะยุบเลิกสหการให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และให้ระบุวิธีจัดการทรัพย์สินไว้ด้วย

มาตรา 79 ในกรณีจำเป็น นครปัตตานีอาจมอบให้เอกชนกระทำกิจการ ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนครปัตตานี และเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบริการ หรือค่าตอบแทนที่เกี่ยวข้องแทนนครปัตตานีได้ แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภานครปัตตานี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสียก่อน หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้กระทำกิจการตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามระเบียบนครปัตตานี ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสภานครปัตตานี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

สิทธิในการกระทำกิจการตามวรรคหนึ่ง เป็นสิทธิเฉพาะตัว จะโอนไปมิได้

หมวด 8 ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับนครปัตตานีมาตรา 102 เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการอื่นนอกเหนือจากที่พระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่นกำหนด ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนครปัตตานี ถ้ากระทรวง ทบวง กรมใด เห็นสมควรส่งข้าราชการมาประจำนครปัตตานี เพื่อปฏิบัติราชการในหน้าที่ ของกระทรวง ทบวง กรม นั้นๆ ก็ย่อมกระทำได้โดยทำความตกลงกับนครปัตตานี

มาตรา 103 การตั้งงบประมาณเป็นเงินอุดหนุนในนครปัตตานี ให้รัฐบาลตั้งให้นครปัตตานีโดยตรงภายใต้บังคับแห่งกฎหมายอื่น เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดนครปัตตานีนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะออกระเบียบกำหนดการใช้จ่ายเงินดังกล่าวก็ได้

มาตรา 114 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติราชการของนครปัตตานี เพื่อการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริง หรือสั่งให้ผู้ว่าราชการนครปัตตานีชี้แจงแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของนครปัตตานี ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเห็นว่าการปฏิบัติใดๆ ของผู้ว่าราชการนครปัตตานีขัดต่อกฎหมาย มติของคณะรัฐมนตรี หรือเป็นไปในทางที่อาจทำให้เสียประโยชน์ของนครปัตตานี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะยับยั้งหรือสั่งการตามที่เห็นสมควรก็ได้

มาตรา 115 นโยบายเสริมสร้างสันติสุข ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความมั่นคงและการรักษาความมั่นคงภายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของรัฐบาล.

ขอบคุณ http://www.ryt9.com/s/tpd/1608103

ที่มา: ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 มี.ค.56
วันที่โพสต์: 14/03/2556 เวลา 04:34:34

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

หมายเหตุ : สาระสำคัญบางมาตรา จากทั้งหมด 121 มาตรา ของร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการนครปัตตานี พ.ศ....ที่พรรคเพื่อไทยได้ยกร่างไว้ในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "ระเบียบบริหารราชการนครปัตตานี พ.ศ...." มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป มาตรา 3 "นครปัตตานี" หมายความว่า จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งอื่นใด อ้างถึงนครปัตตานี จังหวัด อำเภอ ตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล ให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งนั้น อ้างถึงนครปัตตานี ตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณีเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตาม พระราชบัญญัตินี้ หมวด 1 การจัดระเบียบบริหารราชการนครปัตตานีมาตรา 5 ให้นครปัตตานีมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ มีระเบียบการบริหารตามพระราชบัญญัตินี้ และมีอาณาเขตท้องที่ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาณาเขตท้องที่นครปัตตานีให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ มาตรา 6 ให้พื้นที่การบริหารนครปัตตานีให้ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี รวมทั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่ 3 จังหวัดดังกล่าว การตั้ง ยุบ หรือเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตให้กระทำโดยประกาศของกระทรวงมหาดไทย และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา หมวด 2 การบริหารนครปัตตานีมาตรา 8 การบริหารนครปัตตานี ประกอบด้วย(1) สภานครปัตตานี(2) ผู้ว่าราชการนครปัตตานี ส่วนที่ 1 สภานครปัตตานีมาตรา 9 สภานครปัตตานีประกอบด้วย สมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งจากตัวแทนอำเภอในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี มีจำนวนตามจำนวนอำเภอในพื้นที่ 3 จังหวัดดังกล่าว มาตรา 10 การเลือกตั้งสมาชิกสภานครปัตตานี จะกระทำได้เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้งแล้ว ในพระราชกฤษฎีกานั้นให้ระบุวันเลือกตั้งและระยะเวลารับสมัครเลือกตั้ง การกำหนดเขตเลือกตั้ง ให้ถือพื้นที่อำเภอเป็นเขตเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งหนึ่งให้มีสมาชิกสภานครปัตตานีได้ 1 คนการกำหนดเขตเลือกตั้งให้อำเภอที่กระทรวงมหาดไทยประกาศครั้งสุดท้ายก่อนวันประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภานครปัตตานี และให้ทำเป็นประกาศของกระทรวงมหาดไทย มาตรา 11 บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง(1) มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี (2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง และ (3) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันจนถึงวันเลือกตั้ง ไม่น้อยกว่า 90 วัน มาตรา 12 บุคคลผู้มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภานครปัตตานี คือ (1) วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ(2) ภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช(3) ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย (4) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งมาตรา 13 ผู้มีสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภานครปัตตานีต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) สัญชาติไทยโดยการเกิด(2) อายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง และ(3) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตนครปัตตานีเป็นเวลาติดต่อกันจนถึงวันสมัครไม่น้อยกว่า 180 วัน หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตนครปัตตานี และได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน หรือตามกฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ ให้นครปัตตานีในปีที่สมัครหรือปีก่อนที่สมัคร 1 ปี มาตรา 14 บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภานครปัตตานี คือ (1) ติดยาเสพติดให้โทษ(2) เป็นบุคคลล้มละลาย ซึ่งศาลยังไม่สั่งให้พ้นจากคดี(3) เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งตามมาตรา 12 (1) (2) หรือ (4) (4) ต้องคำพิพากษาให้จำคุก และถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล(5) เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป โดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึง 5 ปีในวันเลือกตั้ง เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาท (6) เป็นบุคคลหูหนวกและเป็นใบ้(7) เป็นสมาชิกสภาซึ่งมีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ สมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น (8) เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาซึ่งมีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ สมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น (9) เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ(10) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจหรือของราชการส่วนท้องถิ่น (11) เป็นบุคคลซึ่งทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจไล่ออก ปลดออก ให้ออกหรือเลิกจ้าง เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ (12) เป็นผู้ถูกถอดถอนให้ออกจากตำแหน่งสมาชิกสภานครปัตตานีถึงวันสมัครรับเลือกตั้งยังไม่ครบ 4 ปี (13) เป็นผู้ถูกให้ออกจากตำแหน่งสมาชิกสภานครปัตตานี ตามมาตรา 21 (8) ถึงวันสมัครรับเลือกตั้งยังไม่ครบ 4 ปี (14) เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เพราะร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ มาตรา 15 อายุของสภานครปัตตานีมีกำหนดคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภานครปัตตานี เมื่ออายุของสภานครปัตตานีสิ้นสุดลง ให้จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภานครปัตตานีขึ้นใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งภายใน 60 วันนับแต่วันที่อายุของสภานครปัตตานีสิ้นสุดลง และวันเลือกตั้งนั้นต้องกำหนดวันเดียวกันทั่วนครปัตตานี ส่วนที่ 2 ผู้ว่าราชการนครปัตตานีมาตรา 42 ให้นครปัตตานีมีผู้ว่าราชการนครปัตตานีคนหนึ่งซึ่งราษฎรเลือกตั้งขึ้น โดยวิธีการออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ การเลือกตั้งผู้ว่าราชการนครปัตตานีจะกระทำได้ต้องมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้งแล้ว ในพระราชกฤษฎีกานั้นให้ระบุวันเลือกตั้งและระยะเวลารับสมัครเลือกตั้ง หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการนครปัตตานีให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภานครปัตตานีและผู้ว่าราชการปัตตานีมหานคร ผลของการเลือกตั้งผู้ว่าราชการนครปัตตานีให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา 43 ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งผู้ว่าราชการนครปัตตานีต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา 11 และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 12 มาตรา 44 ผู้มีสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการนครปัตตานีต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา 13 และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 14 มาตรา 45 ผู้ว่าราชการนครปัตตานีมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง เมื่อผู้ว่าราชการนครปัตตานีพ้นจากตำแหน่งวาระ ให้จัดการเลือกตั้งขึ้นใหม่ภายใน 60 วันนับแต่วันสิ้นสุดวาระ แต่ถ้าตำแหน่งผู้ว่าราชการปัตตานีมหานครว่างลงโดยเหตุอื่น ให้ทำการเลือกตั้งขึ้นใหม่ภายใน 90 วัน และให้ผู้ได้รับการเลือกตั้งอยู่ในตำแหน่งโดยเริ่มนับวาระใหม่ มาตรา 46 ให้ผู้ว่าราชการนครปัตตานีดำรงตำแหน่งนับแต่วันเลือกตั้ง ให้มีการมอบหมายงานในหน้าที่ผู้ว่าราชการนครปัตตานีภายใน 7 วันนับแต่วันเลือกตั้ง มาตรา 47 ผู้ว่าราชการนครปัตตานีมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้(1) กำหนดนโยบายและบริหารราชการของนครปัตตานีให้เป็นไปตามกฎหมาย (2) สั่ง อนุญาต อนุมัติเกี่ยวกับราชการของนครปัตตานี (3) แต่งตั้งและถอดถอนรองผู้ว่าราชการนครปัตตานี เลขานุการผู้ว่าราชการนครปัตตานี ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการนครปัตตานี และแต่งตั้งและถอดถอนผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา หรือคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการนครปัตตานี หรือเป็นคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติราชการใดๆ (4) บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย (5) วางระเบียบเพื่อให้งานของนครปัตตานีเป็นไปโดยเรียบร้อย(6) รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินครปัตตานี(7) อำนาจหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และกฎหมายอื่น มาตรา 48 ให้ผู้ว่าราชการนครปัตตานีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการนครปัตตานี และลูกจ้างนครปัตตานี และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของนครปัตตานี

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...