ปธ.วิปฉีกหน้าวรชัย ไม่ขยับวาระ

แสดงความคิดเห็น

พรบ.นิรโทษฯ ถึงเจ้าตัวเสนอ พรรคก็ไม่เอา!

วิป รัฐบาลไม่เร่งรัดเลื่อนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมขึ้นมาพิจารณาก่อน พร้อมสะกิด “วรชัย” เลิกดันทุรัง “เจริญ”ถก 5 กลุ่มชงปล่อยตัวนักโทษการเมือง เผยทหารแนะทุกฝ่ายให้อภัยกัน เตรียมนัด “มาร์ค” หารือวิปรัฐบาลเคลียร์เงื่อนไขถอนร่างกฎหมายปรองดอง “ทักษิณ” สไกป์เข้าที่ประชุมแกนนำและ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ไล่บี้ทำงานการเมืองเข้มข้น เลิกอ่อนข้อให้ฝ่ายอำมาตย์ หวั่นมวลชนเสื้อแดงตีตัวออกห่าง สั่งเดินหน้าออกกฎหมายนิรโทษกรรมอย่างจริงจัง ขณะที่ “อภิสิทธิ์” ดักคออย่าเอาเรื่องปรองดองมาบังหน้า เตือนการสร้างค่านิยมล้างผิดเป็นเรื่องอันตราย อนาคตจะมีแต่การใช้ความรุนแรง “ส.ว.สมชาย” แฉคนเสื้อแดงที่ติดคุกมีแค่ 32 คน “เรืองไกร-วิญญัติ” ร้อง กกต.กทม.ตรวจสอบแกนนำ ปชป.ปราศรัยผิดกฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่น

กรณีที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย 42 คนเข้าชื่อเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมผู้กระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมืองฯ และนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ ตัวตั้งตัวตีครั้งนี้ พยายามกดดันรัฐบาลโดยประกาศจะใช้เอกสิทธิ์ ส.ส.เสนอในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรให้เลื่อนร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวขึ้นมาพิจารณาก่อนนั้น ล่าสุดวิปรัฐบาลยืนยันจะไม่นำเรื่องนี้ขึ้นมาพิจารณาเป็นวาระเร่งด่วน

วิปรัฐไม่เร่งถก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม

เมื่อ เวลา 10.45 น. วันที่ 11 มี.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอำนวย คลังผา ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานวิปรัฐบาล เปิดเผยภายหลังการประชุมวิปรัฐบาลว่า ได้พิจารณาระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 13-14 มี.ค. โดยไม่มีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมผู้กระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมืองฯ ฉบับของนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ และ ส.ส.พรรคเพื่อไทยรวม 42 คน และยังไม่มีมติที่จะต้องเลื่อนร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวขึ้นมาพิจารณาเป็นวาระเร่งด่วน เพราะยังมีกฎหมายค้างพิจารณาหลายฉบับ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมต้องผ่านอีกหลายขั้นตอน เหมือนอย่างที่นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ดำเนินการอยู่ คือเชิญทุกหน่วยงานมาคุยให้ตกผลึกก่อน ส่วนที่นายวรชัยจะใช้เอกสิทธิ์เสนอให้เลื่อนวาระ ก็สามารถเสนอได้ แต่เสียงในสภาจะพิจารณาว่าควรเป็นวาระเร่งด่วนหรือไม่ นอกจากนี้ยืนยันว่าจะไม่มีการนำ พ.ร.บ.ปรองดอง 4 ฉบับที่ค้างอยู่ในสภามาพิจารณา ถ้าไม่มีใครหยิบขึ้นมาพิจารณาก็อยู่อย่างนั้น ในสภาทุกคนรู้เท่าเทียมกัน หมด ต้องเอาสิ่งที่มีเหตุมีผลเข้ามาคุยกัน อย่าไป คาดการณ์อะไรเกินขอบเขต

สะกิด “วรชัย” เลิกดันทุรัง

นายพีรพันธ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร พรรคเพื่อไทย ในฐานะวิปรัฐบาล กล่าวว่า แม้นายวรชัยสามารถใช้เอกสิทธิ์เสนอให้เลื่อนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมขึ้นมาพิจารณาก่อน แต่เสียงข้างมากในพรรคคงไม่เอาด้วย เพราะยังไม่ใช่ช่วงเวลาที่เหมาะสม คงต้องให้ทุกอย่างลงตัวมากกว่านี้ หากยังดึงดันจะทำให้เกิดความวุ่นวายอีกรอบ

นายชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะวิปรัฐบาล กล่าวว่า การจะสร้างความ ปรองดองต้องคุยกับทุกฝ่ายก่อน หากเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเข้ามาคงถูกคาไว้เฉยๆ ในสภา ส่วนที่พรรคประชาธิปัตย์ยื่นเงื่อนไขเสนอให้ถอนร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง 4 ฉบับ ออกจากวาระการประชุมสภาก่อน เพื่อความสบายใจของทุกฝ่ายนั้น ไม่อยากให้พรรคประชาธิปัตย์มีเงื่อนไขใดๆ เพราะถ้าจะให้ถอนออกไปเลยคงไม่ได้

“เฟซบุ๊กรัฐสภา” ลบผลโพลนิรโทษ

ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่เฟซบุ๊กของรัฐสภาชื่อ “รัฐสภาไทย” ที่ทีมงานด้านการประชาสัมพันธ์ของนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้จัดทำขึ้น และมีการโพสต์ข้อความตั้งแต่วันที่ 7 มี.ค.ที่ผ่านมา เพื่อสอบถามความคิดเห็นประชาชนว่าเห็นด้วยหรือไม่กับการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม แต่ปรากฏว่า เมื่อเวลา 23.00 น. วันที่ 10 มี.ค. เจ้าหน้าที่ได้ลบโพสต์แบบสำรวจดังกล่าว ทั้งที่มีประชาชนเข้ามาแสดงความเห็นเป็นจำนวนมาก ทำให้การวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้อย่างกว้างขวางในสังคมออนไลน์ซึ่งประชาชน บางคนต้องการให้มีการเปิดโหวตต่อไป ทั้งนี้จากการตรวจสอบพบว่ามีผู้นำข้อมูลแบบสำรวจนี้ไปโพสต์ต่อและอัพเด ทข้อมูลล่าสุดก่อนที่จะถูกลบว่า ช่วงเวลา 3 วันที่ผ่านมา แบบสำรวจนี้มีผู้กดเห็นด้วยกับการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมจำนวน 2,341 คน และไม่เห็นด้วย 7,455 คน ขณะที่ภายหลังการลบโพสต์ออกจากหน้าเฟซบุ๊กรัฐสภาไทยประมาณ 1 ชั่วโมง ผู้ดูแลเฟซบุ๊กได้โพสต์ข้อความว่า “การสำรวจโพลบนเฟซบุ๊กได้ฝังแบบเป็นการทำวิจัยแบบ social media” และ “การสำรวจโพลบนเฟซบุ๊กเป็นการทำวิจัยแบบ Social media monitoring research ซึ่งฝังคำถามไว้มากกว่า 30 แห่งในโลกออนไลน์เพื่อทำ seeding เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึก ดังนั้น ผลที่ท่านเห็นต้องรวบรวมจากทุกจุดแล้วมาวิเคราะห์ครับ ซึ่งจะเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 7-10 มีนาคม...ทีมงานวิจัยเชิงลึก”

“เจริญ” ถก 5 กลุ่มดันนิรโทษกรรม

อีก ด้านหนึ่งที่รัฐสภา เมื่อเวลา 10.00 น. นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็น ประธานการประชุมในเรื่องการออกกฎหมายนิรโทษกรรม โดยเชิญกลุ่มผู้ขัดแย้งทางการเมือง 11 กลุ่ม มาหารือ ปรากฏว่า มีเพียง 5 กลุ่มร่วมประชุมเท่านั้นคือ 1. พรรคเพื่อไทย ได้แก่ นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย นายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี 2. กลุ่ม นปช. ได้แก่ นายก่อแก้ว พิกุลทอง แกนนำ นปช. 3. ตัวแทนทหาร ได้แก่ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รอง ผบ.ทบ. และ พล.อ.ม.ล.ประสบชัย เกษมสันต์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม 4. ตัวแทนสมาคมผู้ประกอบการวิสาหกิจย่านราชประสงค์ ได้แก่ พ.ต.อ.เสรี ไขรัศมี 5. กลุ่มมัชฌิมา ได้แก่ นายเรืองศักดิ์ งามสมภาค ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย ขณะที่นางนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม ภรรยา พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม ตัวแทนญาติผู้สูญเสีย ไม่ได้มาร่วมประชุม แต่ส่งข้อเสนอเป็นเอกสารมาให้ ส่วนอีก 5 กลุ่ม ที่ไม่เข้าร่วมหารือคือ 1. พรรคประชาธิปัตย์ 2. กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 3. กลุ่มองค์การ พิทักษ์สยาม (อพส.) 4. กลุ่มเสื้อหลากสี 5. คณะกรรมการอิสระตรวจสอบ และค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.)

ชงปล่อยตัวนักโทษการเมือง

ต่อ มา เวลา 12.00 น. นายเจริญแถลงผลการ ประชุมว่า ที่ประชุมเห็นร่วมกันเป็นข้อสรุปเบื้องต้น 4 ข้อ ดังนี้ 1.ต้องการความปรองดอง ลดความขัดแย้ง โดยให้ทุกฝ่ายเสนอข้อคิดเห็นเพื่อหารือเป็นทางออกร่วมกัน 2.การให้อภัย มีสำนึกและแสดงความรับผิดชอบ ส่วนวิธีรายละเอียดและเงื่อนไขนั้น ทุกฝ่ายต้องมาออกแบบร่วมกัน ส่วนการที่จะทำให้พรรคประชาธิปัตย์และกลุ่มพันธมิตรฯเข้าร่วมหารือด้วยกัน นั้น จะพยายามเจรจากับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่มพันธมิตรฯ ให้ลดความหวาดระแวงเพื่อหันหน้ามาคุยกันได้ 3.การบรรเทาความขัดแย้งให้เกิดทัศนคติที่ดีในการรอออกกฎหมายนิรโทษกรรม อยากให้มีการปล่อยตัวชั่วคราวสำหรับนักโทษการเมืองที่ยังถูกคุมขังอยู่ เพื่อให้มีอิสระ และเสรีภาพในการต่อสู้คดีตามสิทธิขั้นพื้นฐานที่นักโทษพึงมี 4. การวิพากษ์วิจารณ์ของสื่อและพรรคการเมือง ขอให้ยึดประชาชนเป็นหลัก ไม่ใช่เพื่อคนใดคนหนึ่ง

นัด “มาร์ค” เคลียร์ถอน ก.ม.ปรองดอง

ผู้ สื่อข่าวถามถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์เรียกร้องให้ถอนร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ 4 ฉบับ ออกจากระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ก่อนที่จะเดินหน้าเรื่องกฎหมายนิรโทษกรรม นายเจริญกล่าวว่า จะเชิญนายอภิสิทธิ์มาหารือกับวิปรัฐบาลเพื่อจะทำให้เดินหน้าได้ ก่อนที่จะนัดประชุมครั้งต่อไป ส่วนกรณีที่นายปานเทพ พัวพงศ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรฯ ประกาศว่าหากสภาใช้เสียงข้างมากในการออกฎหมาย ก็จะใช้สิทธิชุมนุมนอกสภาทันทีนั้น คิดว่าสามารถพูดคุยกันได้

ทหารแนะทุกฝ่ายให้อภัยกัน

ผู้ สื่อข่าวถามว่าการปล่อยตัวนักโทษการเมืองชั่วคราวจะดำเนินการอย่างไร นายเจริญตอบว่า ผู้ที่ ถูกคุมขังอยู่ก็ต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาล จะไม่เข้า ไปก้าวก่าย และหลังจากนี้จะแยกแยะประเด็นของผู้ที่กระทำความผิด ซึ่งยังไม่ทราบว่ามีเรื่องใดบ้าง ส่วนจะรวมผู้ถูกกล่าวหาคดีก่อการร้ายหรือไม่นั้น เห็นว่าเบื้องต้นสันนิษฐานว่าผู้ถูกคุมขังเป็นผู้บริสุทธิ์ เพราะคดีต่างๆถือเป็นข้อกล่าวหา ศาลยังไม่ตัดสินถึงที่สุด ส่วนการใช้ตำแหน่ง ส.ส. และหลักทรัพย์ยื่น ขอประกันตัว เชื่อว่าไม่มีปัญหา กระทรวงยุติธรรมมีกองทุนช่วยเหลือผู้ต้องหา ทั้งนี้ ระหว่างการหารือ ตัวแทนฝ่ายทหารให้ความเห็นว่าอยากให้ความปรองดอง เกิดขึ้น ทุกฝ่ายให้อภัยกัน และฝ่ายการเมืองต้องเจรจากันบ้าง ส่วนกรณีที่นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย และแกนนำ นปช. ระบุว่า จะใช้เอกสิทธิ์ ส.ส.เสนอให้เลื่อนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ที่เสนอโดย ส.ส.พรรคเพื่อไทย 42 คน ขึ้นมาพิจารณาก่อนนั้น คงไม่ต้องกังวลเรื่องนี้ ใครจะพูดอะไรก็พูดได้ ถ้าเป็นเช่นนั้นคงจะมีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ปรองดองนานแล้ว

“อภิสิทธิ์” ดักคออ้างปรองดองบังหน้า

นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาฯ ตั้งโต๊ะหารือกับหลายฝ่ายเกี่ยวกับการนิรโทษกรรม ขณะที่นายวรชัย เหมะ และ ส.ส.พรรคเพื่อไทยรวม 42 คน เสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ เข้าสภาว่า ขึ้นอยู่กับประธานสภาว่าจะบรรจุวาระเพิ่มเติมหรือไม่ แต่ไม่ควรทำ เพราะไม่เห็นเหตุผลว่าเหตุใดต้องบรรจุเป็นวาระเพิ่มเติม โดยปกติจะไม่ทำกัน แต่ก็มีคนพยายามผลักดันให้เลื่อนร่างกฎหมายนี้ขึ้นมาพิจารณาก่อน ตนจึงเห็นว่าการประชุมของนายเจริญไม่ได้ส่งผลอะไร เพราะสมาชิกรัฐบาลต่างคนก็ต่างเดิน ส่วนการลงคะแนนในสภาเป็นอย่างไร ต้องถามจุดยืนนายกฯและพรรคเพื่อไทยว่าอยากให้บ้านเมืองเข้าสู่ความขัดแย้ง ใช่หรือไม่ นายกฯต้องชัดเจนว่าต้องการทำอะไร พรรคประชาธิปัตย์ยืนยันมาตลอดว่าถ้าทำกระบวนการปรองดองที่ถูกต้อง เราเอาด้วย แต่ถ้าเอาปรองดองมาบังหน้าเพื่อล้างผิดพรรคพวกและคนโกง สังคมจะมีแต่ความขัดแย้งมากขึ้น ดูจากเสียงสะท้อนของหลายฝ่ายผ่านหลายช่องทางก็เป็นไปในแนวทางนี้ทั้งสิ้น

ชี้อันตรายสร้างค่านิยมล้างผิด

ต่อ ข้อถามถึงกรณีที่ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม ระบุไม่จำเป็นต้องรอความเห็นจากพรรคประชาธิปัตย์ก็สามารถเดินหน้าได้เลย นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อยากให้ประชาชนดูว่าทัศนคติอย่างนี้ปรองดองหรือไม่ เพราะพรรคประชาธิปัตย์บอกชัดว่ากรณีที่กำจัดขอบเขตนิรโทษกรรมคนที่ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อย่างนี้ถึงปรองดอง แต่มีพวกใจดำจับคนเหล่านี้เป็นตัวประกัน เพราะต้องช่วยนายใหญ่ก่อน ส่วนที่ รมว.กลาโหมส่งทหารเข้าร่วมหารือกับนายเจริญนั้น โจทย์ของ รมว.กลาโหมอาจมองว่ามีเจ้าหน้าที่ทหารไปปฏิบัติ แต่ รมว.กลาโหมจะพูดแทนญาติของเจ้าหน้าที่ที่สูญเสียไม่ได้ว่าไม่มีใครติดใจ เรื่องเล็กๆน้อยๆที่ผ่านมา เพราะเวทีนี้ยังไม่รู้ว่านำไปสู่อะไร ในเมื่อทุกคนต่างคนต่างเดิน นายวรชัย เหมะ เดินหน้าเสนอกฎหมาย นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย ก็ยืนยันว่ากฎหมายปรองดอง 4 ฉบับที่ค้างอยู่ต้องเดินต่อ เป็นหลักการเดียวกัน ทั้งหมดจึงต้องเดินไปสู่จุดเดิม ทั้งนี้ ความสูญเสียของบ้านเมืองหลายปีที่ผ่านมาไม่ใช่เป็นเรื่องเล็กน้อย ทุกคนต้องช่วยกันตั้งหลักเพื่อให้สังคมเรียนรู้ป้องกันไม่ให้เกิดอีก การส่งสัญญาณว่าการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ใช้อาวุธและความรุนแรงได้ พอมีอำนาจก็เข้ามาล้างผิด จะเป็นอันตรายมากสำหรับอนาคตของประเทศ หากไปสร้างค่านิยมล้างผิดแบบนี้จะยิ่งมีแต่ความรุนแรง

ภท.ยักท่าอ้างรอผลสานเสวนา

นาย ศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย แถลงว่า พรรคภูมิใจไทยหารือกรณีที่นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาฯ เชิญหัวหน้าพรรคภูมิใจไทยเข้าร่วมบรรเทาความขัดแย้งในสังคม โดยพรรคเห็นการสร้างความปรองดองขั้นตอนอยู่ระหว่างจัดเวทีสานเสวนาเพื่อรับ ความเห็นจากประชาชนทั้งประเทศ ดังนั้นควรรอให้ขั้นตอนดังกล่าวเสร็จสิ้นก่อน และเชื่อว่ารัฐบาลจะนำข้อสรุปมารายงานให้รับทราบ ส่วนการดำเนินการของนายเจริญนั้นพรรคไม่ได้สนับสนุนหรือคัดค้าน เพราะเห็นว่าเป็นการอำนวยความสะดวกให้คู่ขัดแย้งได้มาพูดคุยกัน แต่พรรคภูมิใจไทยไม่ใช่คู่ขัดแย้งกับฝ่ายใด ส่วนที่นายเรืองศักดิ์ งามสมภาค ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทยเข้าร่วมการหารือดังกล่าว เป็นการทำในนามส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับพรรค เพราะในพรรคภูมิใจไทยมีกลุ่มมัชฌิมาอยู่ด้วยซึ่งเป็นเอกเทศ อีกทั้งการดำเนินการของนายเจริญก็ทำในนามส่วนตัว ไม่ใช่ในนามของสภา

ส.ว.ย้ำคดีร้ายแรงนิรโทษกรรมไม่ได้

ผู้ สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า วันเดียวกัน มีการประชุมวุฒิสภา โดยก่อนเข้าสู่วาระ นายวันชัย สอนศิริ ส.ว.สรรหา ขอหารือว่า กรณีการเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม อยากให้ดูถึงความชอบตามรัฐธรรมนูญด้วยว่า รัฐธรรมนูญทุกฉบับรวมถึงฉบับปี 50 บัญญัติไว้ในมาตรา 102 (6) และ (7) ว่าคนที่ทุจริต ประพฤติมิชอบ หรือถูกศาลสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน ถือว่าประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง สมัคร ส.ส.ไม่ได้ เป็นนายกฯก็ไม่ได้ มาตรา 63 กำหนดว่าการชุมนุมต้องเป็นไปโดยสงบปราศจากอาวุธ แต่ที่ผ่านมาเราจะเห็นได้ว่ามีกองกำลังติดอาวุธอยู่ในที่ชุมนุม และมาตรา 8 เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ คดีที่จาบจ้วงล่วงละเมิด ซึ่งทั้งหมดที่เข้าข่ายตามนี้ต้องไม่ได้รับการนิรโทษกรรมโดยเด็ดขาด เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อการชุมนุมครั้งต่อไป ส่วนคดีเล็กน้อยอย่างฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ร.บ.ความมั่นคง พันกว่าคดีสามารถยกเลิกได้ ดำเนินคดีก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร

ระบุเสื้อแดงติดคุกมีแค่ 32 คน

นาย สมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการตรวจสอบข้อเท็จจริงการเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่ ทหารและประชาชนในเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง 10 เม.ย.-19 พ.ค.2553 มีข้อเท็จจริงที่พบว่าไม่ได้มีนักโทษถูกขังในเรือนจำ 1-3 พันคนตามที่อ้าง ข้อเท็จจริงมีแค่ 32 คน กลุ่มหนึ่งอยู่ในเรือนจำพิเศษบางเขน 17 คน เป็นผู้ต้องหาอุกฉกรรจ์คดีร่วมกันมีอาวุธ วางระเบิด วางเพลิง ปล้นอาวุธ ก่อการร้าย และความผิดต่อชีวิต กลุ่มที่สองผู้ต้องหาคดีหมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้ายต่อสถาบัน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จำนวน 6 ราย กลุ่มที่สามอยู่เรือนจำอื่น 9 ราย ทั้งหมดที่ไม่ได้ปล่อยเพราะอาจหลบหนีคดี และอาจพาดพิงไปถึงผู้บงการ ที่เคลื่อนไหวเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เพราะกลัวจะถูกดำเนินคดี ซึ่งมีทั้งนักการเมืองและอดีตนายกฯ จึงเป็นการดำเนินการเพื่อหวังผลให้ยกเว้นคดี และหนีการลงโทษ ขอให้นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาฯ ยุติเรื่องดังกล่าวไว้ก่อน และดำเนินการตามข้อเสนอของ คอป. พร้อมทั้งขอให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ตำรวจ อัยการ เร่งคดีทั้ง 4 กลุ่ม จากนั้นจึงเข้าสู่โหมดปรองดองและนิรโทษกรรม ไม่เช่นนั้นจะทำให้ประเทศเข้าสู่ความขัดแย้งอีกรอบ

“ทักษิณ” กร้าวสั่งลุยช่วยเสื้อแดง

ผู้ สื่อข่าวรายงานจากพรรคเพื่อไทยว่า ช่วงสายวันเดียวกัน มีการประชุมคณะทำงานประสานภารกิจของพรรค โดยมีแกนนำเข้าร่วม อาทิ นายภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการพรรค นายสาโรช หงษ์-ชูเวช รอง ผอ.พรรคเพื่อไทย นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณได้สไกป์เข้ามาระหว่างการประชุมว่า การทำงานการเมืองของพรรคเพื่อไทยหลังจากนี้ว่าจะต้องเข้มข้นแข็งกร้าวมาก ขึ้น เพราะที่ผ่านมารัฐบาลและพรรคเพื่อไทยยอมอ่อนข้อให้ฝ่ายทหารหรือฝ่ายอำมาตย์ มากเกินไป แต่ฝ่ายตรงข้ามก็ยังเหมือนเดิม ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงในทางที่จะทำให้เกิดการปรองดองได้ ทั้งยังทำให้มวลชนคนเสื้อแดงบางส่วนที่ไม่เห็นด้วยตีตัวออกห่าง พรรคเพื่อไทยและรัฐบาลเสียฐานมวลชนตรงนี้ไปมาก ดังนั้น จากนี้การทำงานต้องปรับเปลี่ยน เบื้องต้นอยากให้ผลักดันการออกกฎหมายนิรโทษกรรมแก่มวลชนที่ได้รับผลกระทบจาก การชุมนุมทางการเมืองอย่างจริงจัง เพื่อให้คนเสื้อแดงเห็นว่าพรรคไม่ได้ทอดทิ้ง แต่ให้ทำอย่างระมัดระวัง เพื่อไม่ให้ถูกครหาว่ามีวาระแอบแฝงช่วยแกนนำและตน

ลั่นต้องมีกฎหมายบางฉบับสำเร็จ

ต่อ มาเวลา 15.00 น. มีการประชุม ส.ส.พรรคเพื่อไทย ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณได้สไกป์เข้ามาพูดในที่ประชุมว่า หลังจากนี้จะขอใช้สิทธิเข้ามาพูดคุยในการประชุมพรรคทุกสัปดาห์เพื่อความใกล้ ชิด คุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันมากขึ้น การประชุมสภาที่ผ่านมาไม่กี่วันก่อน องค์ประชุมไม่ครบ ต่อไปจะต้องไม่ให้เกิดขึ้นอีก ต้องไม่มี ส.ส.โดดประชุม ในขณะเดียวกันก็ต้องลงพื้นที่หาความรู้เพิ่มเติม ถ้าใครเกิดปัญหาซ้ำซากจะมีผลเรื่องของการส่งลงสมัคร ส.ส. สำหรับเรื่องนิรโทษกรรม ตอนนี้มีร่างกฎหมายค้างอยู่ในสภาฯหลายฉบับ การออกกฎหมายจะต้องเป็นไปตามขั้นตอนของระบบสภาฯ อะไรตกลงกันได้ เห็นร่วมกันก็ทำไปก่อน อันไหนที่ยังไม่ตรงกันก็หยุดไว้ แต่จะต้องมีบ้างที่ต้องสำเร็จ ถึงอย่างไรต้องเดินหน้าในเรื่องนี้ว่ากันไปตามธรรมชาติ แต่ต้องให้เป็นเอกภาพ ทุกคนต้องเห็นตรงกัน เอาการแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนเป็นหลัก ต้องช่วยเหลือหมดไม่ว่ากลุ่มไหนสีไหน อย่าไปแบ่งแยกว่าพวกเขาพวกเรา ส่วนเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ต้องห่วงอีก เดี๋ยว ส.ส. และ ส.ว.จะร่วมกันแก้ไขรายมาตรา ส่วนวาระ 3 ที่ค้างอยู่ก็ปล่อยไว้อย่างนั้น

อัด “เด็กเจ๊หน่อย” เลือกตั้งทำไม่เต็มที่

พ.ต.ท. ทักษิณกล่าวว่า การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ที่ผ่านมาว่า แม้พรรคเพื่อไทยแพ้ แต่คะแนนเพิ่มขึ้นมา ต้องชมในหลายพื้นที่มีความขยัน บางพื้นที่ยังเจาะไม่ได้ก็ต้องทำต่อไป อย่าท้อถอย อย่างไรก็ตามมีหลายพื้นที่ที่มีปัญหาแล้วไม่บอก บางพื้นที่ทำงานไม่เต็มที่ โดยเฉพาะพวกที่เชียร์คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ จากนี้ไปต้องมีการประเมิน พื้นที่ไหนทำงานไม่ดีต้องพิจารณาว่าจะได้ลง ส.ส.หรือไม่ ต้องยอมรับว่า พรรคประชาธิปัตย์ใช้วาทกรรมเก่ง ยกเรื่องที่คลุมเครือมาเล่นเกมการเมือง เรื่องเผาบ้านเผาเมือง เรื่องเปลี่ยนแปลงรัฐไทย หรือแม้แต่เอานายจตุพร พรหมพันธุ์ มาเป็นรองผู้ว่าฯ กทม. ทำเหมือนที่เคยโจมตี พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ว่าพาคนไปตาย พรรคเรามี ส.ส.มาก แต่ปากน้อย และพวกรัฐมนตรีไม่พูด กลัวพูดไปแล้วไม่หล่อ ถึงจะเป็นรัฐมนตรีก็ต้องพูดต้องชี้แจงบ้าง เวทีผ่าความจริงของพรรคประชาธิปัตย์ก็เช่นกัน เราต้องออกมาแก้กันบ้าง ไม่ควรปล่อยให้เขาพูดฝ่ายเดียว วันนี้ตนยังกลับบ้านไม่ได้ ลอยคอในทะเล เหมือนคนไม่มีอนาคต แต่ก็พร้อมจะทำงานช่วยชาติ ไม่คิดห่วงตัวเอง

พท.ยังไร้ข้อสรุปนิรโทษกรรม

นาย พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงว่า ที่ประชุมพรรคเพื่อไทยได้หารือเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับความปรองดอง มีนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำ นปช. มาให้ข้อมูลกับสมาชิกพรรค และเรียกร้องให้สมาชิกช่วยเหลือมวลชนทุกกลุ่มที่ยังถูกคุมขังอยู่ นอกจากนี้ น.ส.สุดา รังกุพันธุ์ อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ น.ส.สุด-สงวน สุธีสร อาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ แกนนำกลุ่ม 29 มกราฯปลดปล่อยนักโทษการเมือง ก็มาให้ข้อมูลเพื่อให้สมาชิกพิจารณาในการออกกฎหมายนิรโทษกรรม เน้นช่วยเหลือประชาชน ไม่เกี่ยวกับแกนนำและผู้สั่งการ อย่างไรก็ตามพรรคเพื่อไทยจะยังไม่สรุปเรื่องดังกล่าวตอนนี้

“เรืองไกร” ร้องสอบบิ๊ก ปชป.ปราศรัย

ด้าน การร้องคัดค้านผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ช่วงเช้าวันเดียวกัน ที่สำนักงาน กกต. นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว. เข้ายื่นหนังสือต่อ กกต.กทม.ขอให้ตรวจสอบเพิ่มเติมกรณีการปราศรัยหาเสียงของพรรคประชาธิปัต ย์ว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้สมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กระทำฝ่าฝืนมาตรา 57 (1) พ.ร.บ.การเลือกตั้งท้องถิ่นหรือไม่และเป็นเหตุให้ต้องยุบพรรคตามมาตรา 104 พ.ร.บ. พรรค การเมืองหรือไม่ โดยนายเรืองไกรกล่าวว่า กรณีนี้เป็นการปราศรัยบนเวทีของพรรคประชาธิปัตย์เมื่อวันที่ 1 มี.ค.ที่ผ่านมา ที่สวนเบญจสิริ ซึ่งนายจุรินทร์กล่าวว่า “กับกลุ่มที่ 2 กลุ่มนี้ยังไงก็ไม่เอาพรรคเพื่อไทย เพราะเขาไม่เลือกพรรคเผาบ้านเผาเมืองแต่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าที่สุดจะเลือก ผู้สมัครอิสระหรือประชาธิปัตย์ดี กลุ่มนี้แหละครับที่ผมต้องมากราบวิงวอนขอความกรุณาว่าขอให้ช่วยตัดสินใจ วันที่ 3 มีนา กรุณาช่วยกาเบอร์ 16” จากนั้น ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์กล่าวว่า “ส่วน ข้าราชการที่ยอมเป็นขี้ข้าเค้า ผมไม่แช่งหรอกครับมันบาปครับ และจุดหมายปลายทางของคนที่ทำบาปมีอยู่แห่งเดียวใช่ไหมครับ ที่ไหนนะครับ ผมก็ไม่รู้อยู่ที่ไหน แต่พวกนี้คงหาทางไปได้อยู่แล้วครับ วันนี้ฟังท่านจุรินทร์พูด เลยเป็นโรคติดต่อแล้วครับ ธรรมดาผมไม่ปากไม่ดีอย่างนี้หรอกครับ”

ซัด กก.บห.มีเอี่ยวอาจถึงยุบพรรค

นาย เรืองไกรกล่าวว่า การปราศรัยดังกล่าวอาจเข้าลักษณะเป็นการใส่ร้ายให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับผู้ สมัครหมายเลข 9 พรรคเพื่อไทย ว่าพรรคเพื่อไทยเป็นพรรคเผาบ้านเผาเมือง และเข้าข่ายกระทำการเพื่อจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ลงคะแนนเลือกตั้งให้ แก่ผู้สมัครหมายเลข 16 พรรคประชาธิปัตย์ โดยตนได้นำหลักฐานเป็นคลิปวีดิโอการปราศรัยดังกล่าวซึ่งได้จากเว็บไซต์ของ พรรคประชาธิปัตย์มามอบให้ด้วย นอกจากนี้ในคลิปการปราศรัยยังปรากฏภาพกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์หลายคน อาทิ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรค นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรค จึงอาจทำให้พิจารณาต่อได้ว่าเข้าข่ายเป็นพรรคการเมืองหรือผู้ใดสมคบรู้เห็น เป็นใจ หรือสนับสนุนให้นายจุรินทร์ปราศรัยหาเสียงเพื่อกลั่นแกล้งพรรคเพื่อไทยโดย ปราศจากมูลความจริง เข้าลักษณะความผิดฐานยุบพรรคและอาจถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 5 ปี ตามมาตรา 104 พ.ร.บ.พรรคการเมือง จึงขอให้ กกต.กทม.เร่งสอบสวนเรื่องดังกล่าว

ทีมกฎหมายพท.ยื่นสอบ 4 แกนนำ

ต่อ มาเวลา 15.00 น. นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทีมกฎหมายของพรรคเพื่อไทย เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อ กกต.กทม. ขอให้ตรวจสอบการกระทำของแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ 4 คน คือนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายอิสสระ สมชัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ และนายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ ปราศรัยหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่น มาตรา 57(5) โดยนายวิญญัติกล่าวว่า จาก การถอดเทปพบว่าเป็นการปราศรัยที่มีลักษณะจูงใจใส่ร้าย พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้สมัครผู้ว่าฯกทม. พรรคเพื่อไทย เชื่อมโยงกับการเผาบ้านเผาเมือง กินรวบ และผูกขาดประเทศ อีกทั้งช่วงหาเสียงยังมีแจกสติกเกอร์ข้อความว่า “รวมพลังต้านการผูกขาดประเทศ” ถือเป็นการจูงใจให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยม และบทความชื่อ “สงครามชิงกรุงเทพฯ สงครามชิงเมืองไทย” ของ พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร ในหนังสือพิมพ์ฉบับประจำวันที่ 22 ม.ค.56 ทำให้ผู้สมัครฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้หรือเสียประโยชน์ โดยการกระทำทั้งหมดคิดว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์รู้เห็นและรับทราบ แต่ไม่ยอมยับยั้ง ทั้งนี้ มั่นใจว่าคำร้องที่ยื่นมีข้อมูลหลักฐานชัดเจน นำไปสู่การพิจารณาประกาศรับรองผลการเลือกตั้งอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม มายื่นคำร้องในฐานะผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ไม่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง

“เหลิม” ยังไม่คุย “จูดี้” กลับรับราชการ

ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรีกล่าวถึงกรณีที่ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ อดีตผู้สมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. พรรคเพื่อไทย ขอกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งรอง ผบ.ตร.ว่า ยังไม่ได้พบกับ พล.ต.อ.พงศพัศ และการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ยังไม่สิ้นสุด ยังไม่ชัดเจนว่าใครได้เป็นผู้ว่าฯ กทม. ถ้าเกิดมีการให้ใบเหลืองใบแดง ต้องเลือกตั้งกันใหม่แล้ว พล.ต.อ.พงศพัศได้รับเลือกตั้งก็ไม่ต้องพิจารณาเรื่องนี้ ดังนั้น เร็วไปที่จะให้ตอบ และจะยังไม่คุยกับ พล.ต.อ.พงศพัศจนกว่าผลการพิจารณาของ กกต.ได้ข้อสรุป และถึงแม้ พล.ต.อ.พงศพัศแสดงเจตจำนงชัดเจนต้องการกลับเข้ารับราชการ แต่คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ยังไม่ได้รับเรื่อง จึงยังกลับไม่ได้การเลือกตั้งยังไม่แล้วเสร็จ คิดอย่างไรคิดได้ แต่ว่ายังยื่นเรื่องขอรับกลับไม่ได้ ถึงแม้ระเบียบจะเปิดทางให้ก็ตาม

“ปลอด” ปัดข่าวขอเป็น รมว.ทส.

สำหรับ ความเคลื่อนไหวการปรับ ครม. นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีกระแสข่าวขอย้ายไปเป็น รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ว่า ตอนนี้เป็นรองนายกฯดูแลเรื่องน้ำก็พอใจแล้ว กรุณาอย่าเอาชื่อเข้าไปเป็นตัวละครเลย ตนไม่เกี่ยวข้อง ไม่ไปไหน ขอทำงานเรื่องน้ำและเรื่องแผนที่ให้จบ ผู้สื่อข่าวถามว่า มีข่าวการปรับครม.จะเสร็จเดือน เม.ย.นี้ สถานการณ์ถือว่าเหมาะสมหรือไม่ นายปลอดประสพตอบว่า เดือน เม.ย.เป็นเดือนสงกรานต์ หยุดยาวและสาดน้ำ ตนจะไปดูงานที่จีนและไปสาดน้ำ อย่างอื่นไม่รู้

ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เรื่องการปรับ ครม.ต้องถาม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี คนอื่นไม่มีใครรู้ และไม่ขอแสดงความเห็นกรณีที่มีชื่อของนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำนปช. จะมาเป็น รมช.มหาดไทย ทุกอย่างอยู่ที่นายกฯ ตนยังเอาตัวไม่รอดเลย เดี๋ยวนักข่าวจะเหงาถ้าปรับตนออกไป ถ้ากลัวเหงาก็ช่วยบอกให้นายกฯเอาไว้ต่อ แต่ถ้าถูกปรับออกจริงก็ไม่กังวล ปรับออกก็อยู่บ้าน

พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหมกล่าวถึงกระแสข่าวจะถูกปรับออกจาก ครม.ว่า ไม่ขอตอบแล้วกัน ขี้เกียจตอบ เพราะตอบทุกทีก็เหมือนกันหมด ไม่อยากตอบ เป็นเรื่องข่าวลือ

พช.ปฏิเสธมัชฌิมาขอซบ

นายสุระ เตชะทัต โฆษกพรรคพลังชล กล่าวถึงกรณีมีข่าวว่าจะมีกลุ่มมัชฌิมาจะย้ายเข้าในสังกัดพรรคพลังชลเพื่อ เพิ่มอำนาจต่อรองโควตารัฐมนตรีว่า เป็นเพียงกระแสข่าวที่มักเกิดขึ้นทุกครั้งในช่วงที่มีข่าวจะปรับ ครม. ยืนยันว่าพรรคพลังชลไม่เคยทาบทามหรือพูดคุยกับกลุ่มการเมืองใดทั้งสิ้น “พรรคไม่ได้ปิดกั้นนักการเมืองหรือกลุ่มการเมืองมาร่วมทำงาน แต่ทุกอย่างต้องเป็นไปตามขั้นตอนและกติกาของพรรค เรามีคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อพิจารณารายละเอียดและความเหมาะสมอยู่แล้ว ส่วนการปรับ ครม. พรรคไม่ทราบถึงเรื่องนี้ และไม่เคยพูดคุยหรือเจรจากับใคร เพราะเป็นอำนาจของนายกฯที่จะพิจารณาตามความเหมาะสม”

ส่งโผทหารถึงมือนายกฯแล้ว

พล.อ.อ. สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหมกล่าวถึงความคืบหน้าในการจัดทำบัญชีรายชื่อโยกย้ายนายทหารกลางปี ว่า ได้ส่งให้นายกรัฐมนตรีแล้วไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น เป็นเรื่องการปรับเปลี่ยนตำแหน่งกันธรรมดา ส่วนการเปลี่ยนแม่ทัพภาคที่ 4 นั้นตอนนี้ยังไม่รู้ว่าออกมาอย่างไร ยังเป็นความลับ อย่าเพิ่งไปพูดถึง ขอให้ออกมาก่อนแล้วค่อยพูด เมื่อถามถึงกระแสข่าวว่า พล.ท.สกล ชื่นตระกูล ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก จะขึ้นเป็นแม่ทัพภาคที่ 4 ทั้งที่เหลืออายุราชการแค่ปีเดียว พล.อ.อ.สุกำพลตอบว่า คนที่จะมาทำงานเหมือนวิ่งผลัด ถ้าวิ่งกันให้ดีจะดีกว่าวิ่งเดี่ยว ขึ้นอยู่ที่การส่งมอบและการสานต่อ ไม่ได้มีอะไรมาจำกัด การย้ายคนมีปัจจัยพิจารณาหลายอย่าง ขึ้นอยู่กับสถานการณ์

ผู้สื่อ ข่าวรายงานว่า กองทัพบกได้ขอเปลี่ยนตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 4 มาเป็น พล.ท.สกล ชื่นตระกูล ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก โดย พล.ท.สกล ทำงานในพื้นที่ชายแดนภาคใต้มาอย่างต่อเนื่อง

ขอบคุณ http://www.thairath.co.th/content/newspaper/331833

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 12 มี.ค.56
วันที่โพสต์: 12/03/2556 เวลา 03:50:31

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

พรบ.นิรโทษฯ ถึงเจ้าตัวเสนอ พรรคก็ไม่เอา! วิป รัฐบาลไม่เร่งรัดเลื่อนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมขึ้นมาพิจารณาก่อน พร้อมสะกิด “วรชัย” เลิกดันทุรัง “เจริญ”ถก 5 กลุ่มชงปล่อยตัวนักโทษการเมือง เผยทหารแนะทุกฝ่ายให้อภัยกัน เตรียมนัด “มาร์ค” หารือวิปรัฐบาลเคลียร์เงื่อนไขถอนร่างกฎหมายปรองดอง “ทักษิณ” สไกป์เข้าที่ประชุมแกนนำและ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ไล่บี้ทำงานการเมืองเข้มข้น เลิกอ่อนข้อให้ฝ่ายอำมาตย์ หวั่นมวลชนเสื้อแดงตีตัวออกห่าง สั่งเดินหน้าออกกฎหมายนิรโทษกรรมอย่างจริงจัง ขณะที่ “อภิสิทธิ์” ดักคออย่าเอาเรื่องปรองดองมาบังหน้า เตือนการสร้างค่านิยมล้างผิดเป็นเรื่องอันตราย อนาคตจะมีแต่การใช้ความรุนแรง “ส.ว.สมชาย” แฉคนเสื้อแดงที่ติดคุกมีแค่ 32 คน “เรืองไกร-วิญญัติ” ร้อง กกต.กทม.ตรวจสอบแกนนำ ปชป.ปราศรัยผิดกฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่น กรณีที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย 42 คนเข้าชื่อเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมผู้กระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมืองฯ และนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ ตัวตั้งตัวตีครั้งนี้ พยายามกดดันรัฐบาลโดยประกาศจะใช้เอกสิทธิ์ ส.ส.เสนอในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรให้เลื่อนร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวขึ้นมาพิจารณาก่อนนั้น ล่าสุดวิปรัฐบาลยืนยันจะไม่นำเรื่องนี้ขึ้นมาพิจารณาเป็นวาระเร่งด่วน วิปรัฐไม่เร่งถก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เมื่อ เวลา 10.45 น. วันที่ 11 มี.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอำนวย คลังผา ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานวิปรัฐบาล เปิดเผยภายหลังการประชุมวิปรัฐบาลว่า ได้พิจารณาระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 13-14 มี.ค. โดยไม่มีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมผู้กระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมืองฯ ฉบับของนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ และ ส.ส.พรรคเพื่อไทยรวม 42 คน และยังไม่มีมติที่จะต้องเลื่อนร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวขึ้นมาพิจารณาเป็นวาระเร่งด่วน เพราะยังมีกฎหมายค้างพิจารณาหลายฉบับ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมต้องผ่านอีกหลายขั้นตอน เหมือนอย่างที่นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ดำเนินการอยู่ คือเชิญทุกหน่วยงานมาคุยให้ตกผลึกก่อน ส่วนที่นายวรชัยจะใช้เอกสิทธิ์เสนอให้เลื่อนวาระ ก็สามารถเสนอได้ แต่เสียงในสภาจะพิจารณาว่าควรเป็นวาระเร่งด่วนหรือไม่ นอกจากนี้ยืนยันว่าจะไม่มีการนำ พ.ร.บ.ปรองดอง 4 ฉบับที่ค้างอยู่ในสภามาพิจารณา ถ้าไม่มีใครหยิบขึ้นมาพิจารณาก็อยู่อย่างนั้น ในสภาทุกคนรู้เท่าเทียมกัน หมด ต้องเอาสิ่งที่มีเหตุมีผลเข้ามาคุยกัน อย่าไป คาดการณ์อะไรเกินขอบเขต สะกิด “วรชัย” เลิกดันทุรัง นายพีรพันธ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร พรรคเพื่อไทย ในฐานะวิปรัฐบาล กล่าวว่า แม้นายวรชัยสามารถใช้เอกสิทธิ์เสนอให้เลื่อนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมขึ้นมาพิจารณาก่อน แต่เสียงข้างมากในพรรคคงไม่เอาด้วย เพราะยังไม่ใช่ช่วงเวลาที่เหมาะสม คงต้องให้ทุกอย่างลงตัวมากกว่านี้ หากยังดึงดันจะทำให้เกิดความวุ่นวายอีกรอบ นายชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะวิปรัฐบาล กล่าวว่า การจะสร้างความ ปรองดองต้องคุยกับทุกฝ่ายก่อน หากเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเข้ามาคงถูกคาไว้เฉยๆ ในสภา ส่วนที่พรรคประชาธิปัตย์ยื่นเงื่อนไขเสนอให้ถอนร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง 4 ฉบับ ออกจากวาระการประชุมสภาก่อน เพื่อความสบายใจของทุกฝ่ายนั้น ไม่อยากให้พรรคประชาธิปัตย์มีเงื่อนไขใดๆ เพราะถ้าจะให้ถอนออกไปเลยคงไม่ได้ “เฟซบุ๊กรัฐสภา” ลบผลโพลนิรโทษ ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่เฟซบุ๊กของรัฐสภาชื่อ “รัฐสภาไทย” ที่ทีมงานด้านการประชาสัมพันธ์ของนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้จัดทำขึ้น และมีการโพสต์ข้อความตั้งแต่วันที่ 7 มี.ค.ที่ผ่านมา เพื่อสอบถามความคิดเห็นประชาชนว่าเห็นด้วยหรือไม่กับการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม แต่ปรากฏว่า เมื่อเวลา 23.00 น. วันที่ 10 มี.ค. เจ้าหน้าที่ได้ลบโพสต์แบบสำรวจดังกล่าว ทั้งที่มีประชาชนเข้ามาแสดงความเห็นเป็นจำนวนมาก ทำให้การวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้อย่างกว้างขวางในสังคมออนไลน์ซึ่งประชาชน บางคนต้องการให้มีการเปิดโหวตต่อไป ทั้งนี้จากการตรวจสอบพบว่ามีผู้นำข้อมูลแบบสำรวจนี้ไปโพสต์ต่อและอัพเด ทข้อมูลล่าสุดก่อนที่จะถูกลบว่า ช่วงเวลา 3 วันที่ผ่านมา แบบสำรวจนี้มีผู้กดเห็นด้วยกับการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมจำนวน 2,341 คน และไม่เห็นด้วย 7,455 คน ขณะที่ภายหลังการลบโพสต์ออกจากหน้าเฟซบุ๊กรัฐสภาไทยประมาณ 1 ชั่วโมง ผู้ดูแลเฟซบุ๊กได้โพสต์ข้อความว่า “การสำรวจโพลบนเฟซบุ๊กได้ฝังแบบเป็นการทำวิจัยแบบ social media” และ “การสำรวจโพลบนเฟซบุ๊กเป็นการทำวิจัยแบบ Social media monitoring research ซึ่งฝังคำถามไว้มากกว่า 30 แห่งในโลกออนไลน์เพื่อทำ seeding เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึก ดังนั้น ผลที่ท่านเห็นต้องรวบรวมจากทุกจุดแล้วมาวิเคราะห์ครับ ซึ่งจะเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 7-10 มีนาคม...ทีมงานวิจัยเชิงลึก” “เจริญ” ถก 5 กลุ่มดันนิรโทษกรรม อีก ด้านหนึ่งที่รัฐสภา เมื่อเวลา 10.00 น. นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็น ประธานการประชุมในเรื่องการออกกฎหมายนิรโทษกรรม โดยเชิญกลุ่มผู้ขัดแย้งทางการเมือง 11 กลุ่ม มาหารือ ปรากฏว่า มีเพียง 5 กลุ่มร่วมประชุมเท่านั้นคือ 1. พรรคเพื่อไทย ได้แก่ นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย นายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี 2. กลุ่ม นปช. ได้แก่ นายก่อแก้ว พิกุลทอง แกนนำ นปช. 3. ตัวแทนทหาร ได้แก่ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รอง ผบ.ทบ. และ พล.อ.ม.ล.ประสบชัย เกษมสันต์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม 4. ตัวแทนสมาคมผู้ประกอบการวิสาหกิจย่านราชประสงค์ ได้แก่ พ.ต.อ.เสรี ไขรัศมี 5. กลุ่มมัชฌิมา ได้แก่ นายเรืองศักดิ์ งามสมภาค ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย ขณะที่นางนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม ภรรยา พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม ตัวแทนญาติผู้สูญเสีย ไม่ได้มาร่วมประชุม แต่ส่งข้อเสนอเป็นเอกสารมาให้ ส่วนอีก 5 กลุ่ม ที่ไม่เข้าร่วมหารือคือ 1. พรรคประชาธิปัตย์ 2. กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 3. กลุ่มองค์การ พิทักษ์สยาม (อพส.) 4. กลุ่มเสื้อหลากสี 5. คณะกรรมการอิสระตรวจสอบ และค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ชงปล่อยตัวนักโทษการเมือง ต่อ มา เวลา 12.00 น. นายเจริญแถลงผลการ ประชุมว่า ที่ประชุมเห็นร่วมกันเป็นข้อสรุปเบื้องต้น 4 ข้อ ดังนี้ 1.ต้องการความปรองดอง ลดความขัดแย้ง โดยให้ทุกฝ่ายเสนอข้อคิดเห็นเพื่อหารือเป็นทางออกร่วมกัน 2.การให้อภัย มีสำนึกและแสดงความรับผิดชอบ ส่วนวิธีรายละเอียดและเงื่อนไขนั้น ทุกฝ่ายต้องมาออกแบบร่วมกัน ส่วนการที่จะทำให้พรรคประชาธิปัตย์และกลุ่มพันธมิตรฯเข้าร่วมหารือด้วยกัน นั้น จะพยายามเจรจากับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่มพันธมิตรฯ ให้ลดความหวาดระแวงเพื่อหันหน้ามาคุยกันได้ 3.การบรรเทาความขัดแย้งให้เกิดทัศนคติที่ดีในการรอออกกฎหมายนิรโทษกรรม อยากให้มีการปล่อยตัวชั่วคราวสำหรับนักโทษการเมืองที่ยังถูกคุมขังอยู่ เพื่อให้มีอิสระ และเสรีภาพในการต่อสู้คดีตามสิทธิขั้นพื้นฐานที่นักโทษพึงมี 4. การวิพากษ์วิจารณ์ของสื่อและพรรคการเมือง ขอให้ยึดประชาชนเป็นหลัก ไม่ใช่เพื่อคนใดคนหนึ่ง นัด “มาร์ค” เคลียร์ถอน ก.ม.ปรองดอง ผู้ สื่อข่าวถามถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์เรียกร้องให้ถอนร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ 4 ฉบับ ออกจากระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ก่อนที่จะเดินหน้าเรื่องกฎหมายนิรโทษกรรม นายเจริญกล่าวว่า จะเชิญนายอภิสิทธิ์มาหารือกับวิปรัฐบาลเพื่อจะทำให้เดินหน้าได้ ก่อนที่จะนัดประชุมครั้งต่อไป ส่วนกรณีที่นายปานเทพ พัวพงศ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรฯ ประกาศว่าหากสภาใช้เสียงข้างมากในการออกฎหมาย ก็จะใช้สิทธิชุมนุมนอกสภาทันทีนั้น คิดว่าสามารถพูดคุยกันได้ ทหารแนะทุกฝ่ายให้อภัยกัน ผู้ สื่อข่าวถามว่าการปล่อยตัวนักโทษการเมืองชั่วคราวจะดำเนินการอย่างไร นายเจริญตอบว่า ผู้ที่ ถูกคุมขังอยู่ก็ต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาล จะไม่เข้า ไปก้าวก่าย และหลังจากนี้จะแยกแยะประเด็นของผู้ที่กระทำความผิด ซึ่งยังไม่ทราบว่ามีเรื่องใดบ้าง ส่วนจะรวมผู้ถูกกล่าวหาคดีก่อการร้ายหรือไม่นั้น เห็นว่าเบื้องต้นสันนิษฐานว่าผู้ถูกคุมขังเป็นผู้บริสุทธิ์ เพราะคดีต่างๆถือเป็นข้อกล่าวหา ศาลยังไม่ตัดสินถึงที่สุด ส่วนการใช้ตำแหน่ง ส.ส. และหลักทรัพย์ยื่น ขอประกันตัว เชื่อว่าไม่มีปัญหา กระทรวงยุติธรรมมีกองทุนช่วยเหลือผู้ต้องหา ทั้งนี้ ระหว่างการหารือ ตัวแทนฝ่ายทหารให้ความเห็นว่าอยากให้ความปรองดอง เกิดขึ้น ทุกฝ่ายให้อภัยกัน และฝ่ายการเมืองต้องเจรจากันบ้าง ส่วนกรณีที่นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย และแกนนำ นปช. ระบุว่า จะใช้เอกสิทธิ์

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...