สันติภาพด้ามขวาน แสงสว่างปลายอุโมงค์

แสดงความคิดเห็น

พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการ สมช.

การลงนามเจรจาสันติภาพระหว่างเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่ง ชาติ (สมช.) ตัวแทนรัฐไทยกับหัวหน้าประสานงานต่างประเทศขบวนการบีอาร์เอ็นโคออร์ดิเน็ท เพื่อแก้ปัญหาความไม่สงบ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เรื้อรังมายาวนาน แต่พรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วยกับการลงนามที่ไม่มีกรอบการเจรจา และเจรจากับแกนนำบีอาร์เอ็นผิดตัว เท่ากับเติมเชื้อไฟสถานการณ์ภาคใต้ให้รุนแรงขึ้นอีก

จากนี้ไป สถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะเป็นอย่างไร พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการ สมช. ให้ความมั่นใจว่า ขณะนี้การแก้ไขปัญหาเดินตามนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2555-2557 ของ สมช. ซึ่งเกิดจากกระบวนความคิดภาคประชาชนทุกฝ่ายตกผลึกร่วมกัน เป็นคัมภีร์แก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว

โดยเฉพาะตามแผนยุทธศาสตร์ของ สมช.กำหนดให้เปิดพื้นที่ส่งเสริมกระบวนการพูดคุยกับกลุ่มบุคคลที่มีความเห็น มีอุดมการณ์ที่แตกต่างจากรัฐที่เลือกใช้ความรุนแรงต่อสู้กับรัฐ และร่วมมือกับต่างประเทศสนับสนุนกระบวนการดังกล่าว เพื่อแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งภายใต้รัฐธรรมนูญและตามหลักสากลที่ได้รับ การยอมรับ ไม่ใช่เงื่อนไขนำไปสู่การแบ่งแยกดินแดน

นโยบายนี้นายก รัฐมนตรี (น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) และนายนาจิบ ราซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย หยิบยกขึ้นมาหารือได้ข้อสรุปให้ สมช.ทั้ง 2 ฝ่ายอำนวยการให้มันเดินไปได้ โดยในเชิงการปฏิบัติตำรวจสันติบาลมาเลเซียเข้าไปจัดการแสวงหาตัวบุคคลใน กลุ่มบีอาร์เอ็นมาพูดคุย ก็ได้ตัว “ฮาซัน ตอยิบ” ตามที่สมัชชาบีอาร์เอ็นมีมติ 4 ต่อ 3 ให้เป็นตัวแทนเปิดเจรจากับรัฐไทยภายใต้กติกาต้องเจรจาลับ

“ฮาซัน ตอยิบ” เป็นระดับแกนนำทางความคิดเบอร์ 3 ของกลุ่ม มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าประสานงานต่างประเทศของขบวนการบีอาร์เอ็น และรองเลขาธิการขบวนการบีอาร์เอ็น คนนี้ไม่ธรรมดา เป็นตัวจริงแน่นอนตามที่หน่วยความมั่นคงของไทยและมาเลเซียยืนยันไว้ กลุ่มบีอาร์เอ็นเป็นกลุ่มหลักที่ก่อปัญหาในพื้นที่ ส่วนกลุ่มพูโลเป็นกลุ่มขบวนการทางความคิด เป็นตำนานในอดีต ไม่เหมือนกลุ่มบีอาร์เอ็นมีกองกำลัง “อาร์เคเค”

และยังมีกลุ่มกอง กำลังแยกออกไป กลุ่มหลังๆเข้มแข็งและกำลังมาแรงหลังถูกปลูกฝังซ้ำทางอุดมการณ์ตั้งแต่อายุ 10 ปีกว่า มาถึงวันนี้อายุ 20 ปีกว่า ปัจจุบันกองกำลังของแนวร่วมมีจำนวนหลักหมื่น แต่ที่มีประสิทธิภาพแค่ 3–4 พันคน และต้องยอมรับกลุ่มบีอาร์เอ็น มีกองกำลังในพื้นที่มากที่สุด โดยชุดปฏิบัติการอาร์เคเค แบ่งกองกำลังออกเป็นกองร้อย กระจายในพื้นที่ 3 จังหวัด ทำให้ควบคุมได้ยาก

ปัจจัยหลักที่กลุ่มบีอาร์เอ็นยอมเปิด เจรจา อาทิ 1.ประชาชนในพื้นที่พร้อมเป็นคนรัฐไทย ไม่ประสงค์ร่วมขบวนการแบ่งแยกดินแดน แต่ต้องการให้มีส่วนร่วมบริหารท้องถิ่น โดยอาจจะเป็นไปตามกฎหมายท้องถิ่นหรือมีกฎหมายการปกครองเขตพิเศษเหมือนเมือง พัทยา อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ

2.มาเลเซียส่งสัญญาณที่ดีร่วมมือกับไทย แก้ไขปัญหานี้ เหมือนบีบกลุ่มบีอาร์เอ็น ไม่ให้ก่อเหตุ เพราะการก่อเหตุจะสัมฤทธิผลได้เมื่อผู้ลงมือปฏิบัติสามารถหนีการไล่ล่าเข้า มาเลเซียได้ 3.มาเลเซียต้องการชิงการนำประเทศในประชาคมอาเซียน

เป็น ไปตามยุทธศาสตร์ร่วม 2 ประเทศในภาพรวมด้านเศรษฐกิจ อาชญากรรมข้ามชาติ ยาเสพติด การฟอกเงิน สิ่งเหล่านี้สัมพันธ์กันหมด และการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนมีกรอบชัดเจนบังคับให้แก้ไขปัญหาพื้นที่ความขัด แย้ง หากเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้วไทยยังใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะทำให้ประชาคมอาเซียนไม่แข็งแรง ไม่มีพลังต่อรองกับกลุ่มประเทศต่างๆในโลก เช่น สภาพยุโรป หรืออียู

ฉะนั้น เมื่อลงนามเจรจากับแกนนำบีอาร์เอ็นแล้วมันมีโอกาสพัฒนาการ สร้างบรรยากาศความไว้ใจซึ่งกันและกัน เริ่มสื่อสารกันมากขึ้นและยกระดับความไว้วางใจทีละนิด เมื่อเราพูดคุยกับองค์กรนำทางความคิดของบีอาร์เอ็นก็จะส่งสัญญาณไปที่ผู้ ปฏิบัติ แม้ไม่ใช่เรื่องง่ายที่แกนนำ

แนวคิดจะไปพูดคุยให้กลุ่มผู้ปฏิบัติให้เข้าใจ จะต้องใช้เวลาการสื่อสารพอสมควรเพราะ เหตุในพื้นที่เกิดจาก 3 ปัจจัย คือ 1.กลุ่มขบวนการ 2.กลุ่มต่างๆที่สำคัญยังไม่เปิดการพูดคุย เมื่อเริ่มพูดคุยจะมีข้อตกลงตามมา จะส่งสัญญาณไปกองกำลังหน่วยต่างๆในพื้นที่ เชื่อว่าส่วนใหญ่จะลดโทนก่อเหตุรุนแรงลง แต่กองกำลังมีหลายหน่วยอาจมีบางหน่วยที่ดื้ออยู่บ้าง 2 กลุ่มแรกก่อปัญหาในพื้นที่ 60% ที่เหลืออีก 40% เกิดจากกลุ่มที่ 3.ภัยแทรกซ้อนที่รวมในทุกมิติ ทั้งจากความขัดแย้งของนักการเมือง ผู้มีอิทธิพล ยาเสพติด ค้าของเถื่อน น้ำมันเถื่อน

โดยเฉพาะน้ำมัน เถื่อนมูลค่า 100 ล้านบาทต่อเดือน ขบวนการนี้ใช้กฎหมายฟอกเงินเข้าไปจัดการก็หยุดไม่ได้ เพราะเปลี่ยนวิธีการจ่ายเงินจากเดิมผ่านระบบ เป็นจับเงินสดยัดใส่กระสอบโยนลงบนเรือแลกกับน้ำมันไปเลย ภัยแทรกซ้อนทุกมิติสมประโยชน์กัน นักการเมืองท้องถิ่น นักการเมืองระดับชาติก็สัมพันธ์กันหมด รู้ๆกันอยู่ว่าใครเป็นใคร แต่ไม่มีใบเสร็จเอาผิดได้ เจ้าหน้าที่บางส่วนซึ่งเป็นส่วนน้อยที่รับค่าต๋งจากขบวนการนี้ก็เอาหูไปนา เอาตาไปไร่

ขณะเดียวกันกองกำลังของขบวนการมีหลายระดับ กองกำลังระดับสัพเพเหระอ่อนแอสุด ถูกกลุ่มภัยแทรกซ้อนเอากองกำลังพวกนี้ไปใช้ประโยชน์ ว่าจ้างราคาเท่าไหร่ก็พร้อมจะไปทำ มันสมประโยชน์กันที่ในพื้นที่มีปัญหาขบวนการผิดกฎหมาย เจ้าหน้าที่จะต้องไปจมปลักอยู่กับฝ่ายขบวนการ เปิดช่องว่างให้ทำผิดกฎหมายได้ง่าย ภัยแทรกซ้อนจะเป็นตัวแปรแก้ไขปัญหาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยากพอสมควร

ปัญหานี้จะแก้ไขได้ต้องทำควบคู่กัน 3 วง คือ 1.หน่วยงานต่างๆในพื้นที่ของไทยต้องมีเอกภาพในการจัดการ 2.ความร่วมมือระหว่างประเทศกับมาเลเซีย และ 3.ประเทศมุสลิม ซึ่งมีอิทธิพลในองค์การความร่วมมืออิสลาม (โอไอซี) ทั้ง 3 วงต้องทำไปพร้อมๆกัน แต่ที่สำคัญคือความร่วมมือกับมาเลเซีย ที่จะบีบให้กลุ่มบีอาร์เอ็นหันกลับมาเจรจากับรัฐไทย

การเจรจาหลังทำ ข้อตกลงร่วมกับกลุ่มบีอาร์เอ็นจะเกิดขึ้นอีกครั้งวันที่ 28 มี.ค. ที่มาเลเซีย เพื่อกำหนดรายละเอียดกรอบข้อตกลง รายชื่อแต่ละฝ่ายจะส่งให้ดูกันก่อนว่ามีใครบ้าง จะต้องดูว่ามีรายชื่อของ “สะแปอิง บาซอ” และ “มะแซ อุเซ็ง” แกนนำบีอาร์เอ็นหรือไม่ และการเจรจากับกลุ่มอื่นๆจะต้องรอผลการเจรจาในวันที่ 28 มี.ค.ก่อน

หลาย ฝ่ายสงสัยปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะจบบนโต๊ะเจรจาหรือไม่ “ภราดร” ชี้ให้เห็นว่าเหตุการณ์สู้รบทั่วโลกล้วนเดินคู่ขนานไปกับการเจรจา และจบลงด้วยการเจรจา ดังนั้นเหตุการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ต้องจบลงด้วยการเจรจา เชื่อว่าจะดำเนินการแก้ไขปัญหาได้เร็วกว่าในอดีต เพราะมีตัวอย่างการแก้ปัญหาจากต่างประเทศให้เป็นแบบเรียนรัดแก้ไขปัญหา

และ ช่องทางตามมาตรา 21 พ.ร.บ.ความมั่นคงในราชอาณาจักร ก็เปิดพื้นที่ให้คนในขบวนการที่ถูกหมายจับไม่ต้องเข้าไปติดคุก ไม่ต้องกลัวอำนาจมืด ให้เข้ามามอบตัว รัฐไทยยืนยันพร้อมให้ความเป็นธรรมตามหลักนิติรัฐ

จัดตั้งรัฐปัตตานี เป้าหมายสุดท้ายของขบวนการแบ่งแยกดินแดนตามแผนบันไดขั้นที่ 7 และขณะนี้สถานการณ์อยู่ในขั้นบันไดที่ 6 จุดดอกไม้ไฟเตรียมการปฏิวัติ หลังการบันทึกเจรจาสันติภาพสถานการณ์จะเป็นอย่างไรต่อไป เลขาธิการ สมช.บอกด้วยความมั่นใจว่า “ต้องค่อยๆเป็นไปตามขั้นตอน...

...ขณะนี้สถานการณ์เหมือนจะหยุดนิ่ง ซอยเท้าอยู่กับที่ เริ่มนับถอยหลังสู่ภาวะปกติ ขบวนการแบ่งแยกดินแดนเริ่มไม่แข็งแรง การส่งกำลังบำรุงเริ่มมีปัญหา ไม่ค่อยมีสปอนเซอร์สนับสนุน สิ่งที่สำคัญเมื่อมาเลเซียส่งสัญญาณไม่เอาด้วยมันเดินลำบาก ถ้ามาเลเซียกับไทยเต็มที่ อินโดนีเซียเต็มที่มันก็ไปไม่เป็น เมื่อพื้นที่เคลื่อนไหวถูกจำกัด กลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดนจะหันกลับมาคุยกับรัฐไทยด้วยเหตุด้วยผล

ขั้น ตอนต่อไปเราจะเจรจากับแกนนำกลุ่มบีอาร์เอ็นอีกหลังจากท่านทักษิณ (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี) หารือกับประธานาธิบดีอินโดนีเซีย (ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน) ส่วนจะได้เจรจากับใคร เป็นแกนนำระดับไหนขึ้นอยู่กับกลไกของอินโดนีเซีย ที่อินโดนีเซียเหมือนเป็นต้นแบบการรบพิเศษ กองกำลังได้รับการฝึกที่ค่ายในอินโดนีเซีย ชื่อ สัญลักษณ์ของขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่ใช้ในไทยเป็นชื่อแบบอินโดนีเซียทั้ง นั้น ทั้งชื่อบีอาร์เอ็น ชื่อกองกำลังอาร์เคเค”

“ทีมข่าวการเมือง” ถามว่าเป็นความฝันหรือไม่ที่สันติภาพ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะสำเร็จในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ “ภราดร” ออกตัวว่า ต้องตั้งเป็นความฝันไว้ ความสำเร็จอาจจะยังไม่ใช่ แต่มันเริ่มต้นที่จะนำไปสู่ความสำเร็จแน่นอน เดิมการแก้ไขปัญหาเหมือนเดินวนอยู่ในเขาวงกต วันนี้เปิดประตูแล้วเจอแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ ในอุโมงค์มันมืดก็ค่อยๆคลำไป เดี๋ยวก็ออกจากปลายอุโมงค์ได้.ทีมข่าวการเมือง

ขอบคุณ http://www.thairath.co.th/column/pol/wikroh/331486

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 มี.ค.56
วันที่โพสต์: 11/03/2556 เวลา 03:48:02 ดูภาพสไลด์โชว์ สันติภาพด้ามขวาน แสงสว่างปลายอุโมงค์

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการ สมช. การลงนามเจรจาสันติภาพระหว่างเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่ง ชาติ (สมช.) ตัวแทนรัฐไทยกับหัวหน้าประสานงานต่างประเทศขบวนการบีอาร์เอ็นโคออร์ดิเน็ท เพื่อแก้ปัญหาความไม่สงบ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เรื้อรังมายาวนาน แต่พรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วยกับการลงนามที่ไม่มีกรอบการเจรจา และเจรจากับแกนนำบีอาร์เอ็นผิดตัว เท่ากับเติมเชื้อไฟสถานการณ์ภาคใต้ให้รุนแรงขึ้นอีก จากนี้ไป สถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะเป็นอย่างไร พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการ สมช. ให้ความมั่นใจว่า ขณะนี้การแก้ไขปัญหาเดินตามนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2555-2557 ของ สมช. ซึ่งเกิดจากกระบวนความคิดภาคประชาชนทุกฝ่ายตกผลึกร่วมกัน เป็นคัมภีร์แก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว โดยเฉพาะตามแผนยุทธศาสตร์ของ สมช.กำหนดให้เปิดพื้นที่ส่งเสริมกระบวนการพูดคุยกับกลุ่มบุคคลที่มีความเห็น มีอุดมการณ์ที่แตกต่างจากรัฐที่เลือกใช้ความรุนแรงต่อสู้กับรัฐ และร่วมมือกับต่างประเทศสนับสนุนกระบวนการดังกล่าว เพื่อแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งภายใต้รัฐธรรมนูญและตามหลักสากลที่ได้รับ การยอมรับ ไม่ใช่เงื่อนไขนำไปสู่การแบ่งแยกดินแดน นโยบายนี้นายก รัฐมนตรี (น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) และนายนาจิบ ราซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย หยิบยกขึ้นมาหารือได้ข้อสรุปให้ สมช.ทั้ง 2 ฝ่ายอำนวยการให้มันเดินไปได้ โดยในเชิงการปฏิบัติตำรวจสันติบาลมาเลเซียเข้าไปจัดการแสวงหาตัวบุคคลใน กลุ่มบีอาร์เอ็นมาพูดคุย ก็ได้ตัว “ฮาซัน ตอยิบ” ตามที่สมัชชาบีอาร์เอ็นมีมติ 4 ต่อ 3 ให้เป็นตัวแทนเปิดเจรจากับรัฐไทยภายใต้กติกาต้องเจรจาลับ “ฮาซัน ตอยิบ” เป็นระดับแกนนำทางความคิดเบอร์ 3 ของกลุ่ม มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าประสานงานต่างประเทศของขบวนการบีอาร์เอ็น และรองเลขาธิการขบวนการบีอาร์เอ็น คนนี้ไม่ธรรมดา เป็นตัวจริงแน่นอนตามที่หน่วยความมั่นคงของไทยและมาเลเซียยืนยันไว้ กลุ่มบีอาร์เอ็นเป็นกลุ่มหลักที่ก่อปัญหาในพื้นที่ ส่วนกลุ่มพูโลเป็นกลุ่มขบวนการทางความคิด เป็นตำนานในอดีต ไม่เหมือนกลุ่มบีอาร์เอ็นมีกองกำลัง “อาร์เคเค” และยังมีกลุ่มกอง กำลังแยกออกไป กลุ่มหลังๆเข้มแข็งและกำลังมาแรงหลังถูกปลูกฝังซ้ำทางอุดมการณ์ตั้งแต่อายุ 10 ปีกว่า มาถึงวันนี้อายุ 20 ปีกว่า ปัจจุบันกองกำลังของแนวร่วมมีจำนวนหลักหมื่น แต่ที่มีประสิทธิภาพแค่ 3–4 พันคน และต้องยอมรับกลุ่มบีอาร์เอ็น มีกองกำลังในพื้นที่มากที่สุด โดยชุดปฏิบัติการอาร์เคเค แบ่งกองกำลังออกเป็นกองร้อย กระจายในพื้นที่ 3 จังหวัด ทำให้ควบคุมได้ยาก ปัจจัยหลักที่กลุ่มบีอาร์เอ็นยอมเปิด เจรจา อาทิ 1.ประชาชนในพื้นที่พร้อมเป็นคนรัฐไทย ไม่ประสงค์ร่วมขบวนการแบ่งแยกดินแดน แต่ต้องการให้มีส่วนร่วมบริหารท้องถิ่น โดยอาจจะเป็นไปตามกฎหมายท้องถิ่นหรือมีกฎหมายการปกครองเขตพิเศษเหมือนเมือง พัทยา อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2.มาเลเซียส่งสัญญาณที่ดีร่วมมือกับไทย แก้ไขปัญหานี้ เหมือนบีบกลุ่มบีอาร์เอ็น ไม่ให้ก่อเหตุ เพราะการก่อเหตุจะสัมฤทธิผลได้เมื่อผู้ลงมือปฏิบัติสามารถหนีการไล่ล่าเข้า มาเลเซียได้ 3.มาเลเซียต้องการชิงการนำประเทศในประชาคมอาเซียน เป็น ไปตามยุทธศาสตร์ร่วม 2 ประเทศในภาพรวมด้านเศรษฐกิจ อาชญากรรมข้ามชาติ ยาเสพติด การฟอกเงิน สิ่งเหล่านี้สัมพันธ์กันหมด และการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนมีกรอบชัดเจนบังคับให้แก้ไขปัญหาพื้นที่ความขัด แย้ง หากเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้วไทยยังใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะทำให้ประชาคมอาเซียนไม่แข็งแรง ไม่มีพลังต่อรองกับกลุ่มประเทศต่างๆในโลก เช่น สภาพยุโรป หรืออียู ฉะนั้น เมื่อลงนามเจรจากับแกนนำบีอาร์เอ็นแล้วมันมีโอกาสพัฒนาการ สร้างบรรยากาศความไว้ใจซึ่งกันและกัน เริ่มสื่อสารกันมากขึ้นและยกระดับความไว้วางใจทีละนิด เมื่อเราพูดคุยกับองค์กรนำทางความคิดของบีอาร์เอ็นก็จะส่งสัญญาณไปที่ผู้ ปฏิบัติ แม้ไม่ใช่เรื่องง่ายที่แกนนำ แนวคิดจะไปพูดคุยให้กลุ่มผู้ปฏิบัติให้เข้าใจ จะต้องใช้เวลาการสื่อสารพอสมควรเพราะ เหตุในพื้นที่เกิดจาก 3 ปัจจัย คือ 1.กลุ่มขบวนการ 2.กลุ่มต่างๆที่สำคัญยังไม่เปิดการพูดคุย เมื่อเริ่มพูดคุยจะมีข้อตกลงตามมา จะส่งสัญญาณไปกองกำลังหน่วยต่างๆในพื้นที่ เชื่อว่าส่วนใหญ่จะลดโทนก่อเหตุรุนแรงลง แต่กองกำลังมีหลายหน่วยอาจมีบางหน่วยที่ดื้ออยู่บ้าง 2 กลุ่มแรกก่อปัญหาในพื้นที่ 60% ที่เหลืออีก 40% เกิดจากกลุ่มที่ 3.ภัยแทรกซ้อนที่รวมในทุกมิติ ทั้งจากความขัดแย้งของนักการเมือง ผู้มีอิทธิพล ยาเสพติด ค้าของเถื่อน น้ำมันเถื่อน โดยเฉพาะน้ำมัน เถื่อนมูลค่า 100 ล้านบาทต่อเดือน ขบวนการนี้ใช้กฎหมายฟอกเงินเข้าไปจัดการก็หยุดไม่ได้ เพราะเปลี่ยนวิธีการจ่ายเงินจากเดิมผ่านระบบ เป็นจับเงินสดยัดใส่กระสอบโยนลงบนเรือแลกกับน้ำมันไปเลย ภัยแทรกซ้อนทุกมิติสมประโยชน์กัน นักการเมืองท้องถิ่น นักการเมืองระดับชาติก็สัมพันธ์กันหมด รู้ๆกันอยู่ว่าใครเป็นใคร แต่ไม่มีใบเสร็จเอาผิดได้ เจ้าหน้าที่บางส่วนซึ่งเป็นส่วนน้อยที่รับค่าต๋งจากขบวนการนี้ก็เอาหูไปนา เอาตาไปไร่ ขณะเดียวกันกองกำลังของขบวนการมีหลายระดับ กองกำลังระดับสัพเพเหระอ่อนแอสุด ถูกกลุ่มภัยแทรกซ้อนเอากองกำลังพวกนี้ไปใช้ประโยชน์ ว่าจ้างราคาเท่าไหร่ก็พร้อมจะไปทำ มันสมประโยชน์กันที่ในพื้นที่มีปัญหาขบวนการผิดกฎหมาย เจ้าหน้าที่จะต้องไปจมปลักอยู่กับฝ่ายขบวนการ เปิดช่องว่างให้ทำผิดกฎหมายได้ง่าย ภัยแทรกซ้อนจะเป็นตัวแปรแก้ไขปัญหาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยากพอสมควร ปัญหานี้จะแก้ไขได้ต้องทำควบคู่กัน 3 วง คือ 1.หน่วยงานต่างๆในพื้นที่ของไทยต้องมีเอกภาพในการจัดการ 2.ความร่วมมือระหว่างประเทศกับมาเลเซีย และ 3.ประเทศมุสลิม ซึ่งมีอิทธิพลในองค์การความร่วมมืออิสลาม (โอไอซี) ทั้ง 3 วงต้องทำไปพร้อมๆกัน แต่ที่สำคัญคือความร่วมมือกับมาเลเซีย ที่จะบีบให้กลุ่มบีอาร์เอ็นหันกลับมาเจรจากับรัฐไทย การเจรจาหลังทำ ข้อตกลงร่วมกับกลุ่มบีอาร์เอ็นจะเกิดขึ้นอีกครั้งวันที่ 28 มี.ค. ที่มาเลเซีย เพื่อกำหนดรายละเอียดกรอบข้อตกลง รายชื่อแต่ละฝ่ายจะส่งให้ดูกันก่อนว่ามีใครบ้าง จะต้องดูว่ามีรายชื่อของ “สะแปอิง บาซอ” และ “มะแซ อุเซ็ง” แกนนำบีอาร์เอ็นหรือไม่ และการเจรจากับกลุ่มอื่นๆจะต้องรอผลการเจรจาในวันที่ 28 มี.ค.ก่อน หลาย ฝ่ายสงสัยปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะจบบนโต๊ะเจรจาหรือไม่ “ภราดร” ชี้ให้เห็นว่าเหตุการณ์สู้รบทั่วโลกล้วนเดินคู่ขนานไปกับการเจรจา และจบลงด้วยการเจรจา ดังนั้นเหตุการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ต้องจบลงด้วยการเจรจา เชื่อว่าจะดำเนินการแก้ไขปัญหาได้เร็วกว่าในอดีต เพราะมีตัวอย่างการแก้ปัญหาจากต่างประเทศให้เป็นแบบเรียนรัดแก้ไขปัญหา และ ช่องทางตามมาตรา 21 พ.ร.บ.ความมั่นคงในราชอาณาจักร ก็เปิดพื้นที่ให้คนในขบวนการที่ถูกหมายจับไม่ต้องเข้าไปติดคุก ไม่ต้องกลัวอำนาจมืด ให้เข้ามามอบตัว รัฐไทยยืนยันพร้อมให้ความเป็นธรรมตามหลักนิติรัฐ จัดตั้งรัฐปัตตานี เป้าหมายสุดท้ายของขบวนการแบ่งแยกดินแดนตามแผนบันไดขั้นที่ 7 และขณะนี้สถานการณ์อยู่ในขั้นบันไดที่ 6 จุดดอกไม้ไฟเตรียมการปฏิวัติ หลังการบันทึกเจรจาสันติภาพสถานการณ์จะเป็นอย่างไรต่อไป เลขาธิการ สมช.บอกด้วยความมั่นใจว่า “ต้องค่อยๆเป็นไปตามขั้นตอน... ...ขณะนี้สถานการณ์เหมือนจะหยุดนิ่ง ซอยเท้าอยู่กับที่ เริ่มนับถอยหลังสู่ภาวะปกติ ขบวนการแบ่งแยกดินแดนเริ่มไม่แข็งแรง การส่งกำลังบำรุงเริ่มมีปัญหา ไม่ค่อยมีสปอนเซอร์สนับสนุน สิ่งที่สำคัญเมื่อมาเลเซียส่งสัญญาณไม่เอาด้วยมันเดินลำบาก ถ้ามาเลเซียกับไทยเต็มที่ อินโดนีเซียเต็มที่มันก็ไปไม่เป็น เมื่อพื้นที่เคลื่อนไหวถูกจำกัด กลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดนจะหันกลับมาคุยกับรัฐไทยด้วยเหตุด้วยผล ขั้น ตอนต่อไปเราจะเจรจากับแกนนำกลุ่มบีอาร์เอ็นอีกหลังจากท่านทักษิณ (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี) หารือกับประธานาธิบดีอินโดนีเซีย (ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน) ส่วนจะได้เจรจากับใคร เป็นแกนนำระดับไหนขึ้นอยู่กับกลไกของอินโดนีเซีย ที่อินโดนีเซียเหมือนเป็นต้นแบบการรบพิเศษ กองกำลังได้รับการฝึกที่ค่ายในอินโดนีเซีย ชื่อ สัญลักษณ์ของขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่ใช้ในไทยเป็นชื่อแบบอินโดนีเซียทั้ง นั้น ทั้งชื่อบีอาร์เอ็น ชื่อกองกำลังอาร์เคเค” “ทีมข่าวการเมือง” ถามว่าเป็นความฝันหรือไม่ที่สันติภาพ 3

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...