จับตาจังหวะก้าวรัฐบาล"ยิ่งลักษณ์"สร้างภูมิคุ้มกันหรือขัดแย้งรอบใหม่

แสดงความคิดเห็น

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเลือกตั้งท้องถิ่นอย่างการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ที่เพิ่งผ่านพ้นไปนั้นมีผลกระทบต่อการเมืองระดับชาติ โดยเฉพาะกับพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะ “ผู้ชนะ”และพรรคเพื่อไทยในฐานะ “ผู้แพ้”

ผลชนะ-แพ้ จะนำมาซึ่งความชอบธรรมทางการเมืองต่อจากนี้ไปไม่มากก็น้อย กล่าวคือ พรรคประชาธิปัตย์ในฐานะ “ผู้ชนะ” สามารถพูดได้อย่างเต็มปากว่า ประชาชนชาวกรุงเทพฯยังให้ “ความไว้วางใจ” และให้ “โอกาส” ในการทำงานการเมืองต่อไป ขณะที่พรรคเพื่อไทยในฐานะ “ผู้แพ้” อธิบายปรากฏการณ์ครั้งนี้ว่าเป็นชัยชนะบนความพ่ายแพ้โดยหยิบคะแนนนิยมที่ผู้สมัครของพรรคได้รับ 1 ล้านกว่าคะแนนมาเป็น “ตัวประกัน”

การเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.หากเปรียบไปแล้วก็ไม่ต่างอะไรกับ “ฉากหนึ่ง” ในการเมือง “ฉากใหญ่”

“ฉากใหญ่” ที่พรรคเพื่อไทยยังทำหน้าที่รัฐบาล บริหารราชการแผ่นดินต่อไป ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ก็ทำหน้าที่ “ฝ่ายค้าน” ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล

คงเพราะปรากฏการณ์ “ล้านคะแนนชนล้านคะแนน” นี่แหละถึงทำให้พรรคเพื่อไทยต้องเคลื่อนไหวต่อทันทีเพื่อให้บรรลุเป้าหมายใน 2 เรื่องสำคัญ เรื่องหนึ่งคือ การนิรโทษกรรม กับอีกเรื่องคือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ

สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นเป็นเรื่องใหญ่ จำเป็นต้องใช้เวลากับโอกาสที่เหมาะสม แต่กับการนิรโทษกรรมซึ่งได้ถูก “ปูทาง” มาก่อนหน้านี้เป็นระยะ ๆ จากฝ่ายต่าง ๆ อย่างหลากหลาย และดำเนินไปควบคู่กับคำว่า “ปรองดอง” ซึ่งเป็นเรื่องที่สังคมอยากให้เกิดขึ้น

ดูความเคลื่อนไหวทั้งในส่วนของ นายเจริญ จรรย์โกมล ส.ส.ชัยภูมิ พรรคเพื่อไทย ในฐานะรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เชิญผู้เกี่ยวข้อง 8-10 ฝ่ายมาหารือในวันที่ 11 มี.ค.ที่จะถึงนี้ พร้อม ๆ กับความเคลื่อนไหวของ นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย แกนนำนปช.ที่รวบรวมรายชื่อส.ส.ยื่นเรื่องให้ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ส.ส.ขอนแก่น พรรคเพื่อไทยในฐานะประธานสภาผู้แทนราษฎร แล้วน่าจะประเมินได้ว่า พรรคเพื่อไทยหมายมั่นปั้นมืออีกครั้งที่จะใช้กลไก “รัฐสภา” ผลักดันให้เกิดขึ้นอีกครั้ง หลังสะดุดมาก่อนหน้านี้ที่มีการเสนอร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการสร้างความปรองดองเข้าสู่สภาถึง 4 ฉบับมาแล้วก่อนหน้านี้

ในระบอบรัฐสภา “เสียงข้างมาก” ซึ่งวันนี้คือพรรคเพื่อไทย อยู่ในฐานะที่ “ได้เปรียบ” แต่ “หัวใจ” สำคัญของการนิรโทษกรรมอยู่ตรงที่สังคมต้องมี “ความเห็นพ้อง” ถ้าตราบใดที่สังคมยังมี “ความเห็นต่าง” แม้จะมีการนิรโทษกรรมเกิดขึ้นก็ตาม แต่ความปรองดองจะไม่เกิดขึ้นตามมา

ประเด็นลึก ๆ ที่คนเมืองหลวงออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.กันมากกว่าที่กกต.ประเมินไว้ ส่วนหนึ่งน่าจะมาจาก “ความกลัว” ที่คนกทม.ส่วนใหญ่มองว่า หากปล่อยให้ฝ่ายหนึ่ง “กินรวบ” จะส่งผลเสียหายต่อการเมือง จึงต้องเลือกเพื่อให้ฝ่ายตรวจสอบเข้มแข็งเพื่อควบคุมการบริหารงานของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้หาเสียงไว้

หากรัฐบาล “จับอารมณ์” ตรงนี้ได้ รัฐบาลต้องใช้ความได้เปรียบจากการเป็นรัฐบาลเดินหน้าสร้างผลงานเพื่อเรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมา มากกว่าที่จะเดินหน้าทางการเมืองอย่างไม่ลดละ

มีหลายต่อหลายเรื่อง หลายต่อหลายสถานการณ์ ที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ต้องรีบเดินหน้าเพื่อเรียกความเชื่อมั่นทางการเมืองกลับมาโดยเร็ว

ฉะนั้นการเร่งทำนโยบายจึงเป็น “งานหลัก” ที่รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ต้องทำให้เกิดขึ้นเป็น “รูปธรรม” กว่าที่ผ่านมา

หลายต่อหลายเรื่องที่ว่านั้น เช่น การกู้เงิน 3.5 แสนล้านบาทเพื่อแก้ไขปัญหาระบบ “น้ำ” ของประเทศ การออก พ.ร.บ.กู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาทเพื่อวางระบบพื้นฐานของประเทศ การเดินหน้านโยบาย “รับจำนำข้าว” ที่กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากว่ากำลังจะสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงให้กับงบประมาณของประเทศ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่รัฐบาลกำลังใช้วิธีการเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหา การต่อสู้ในศาลโลกกรณีพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชา ซึ่งจะมีการ “ขึ้นศาล” กันในช่วงเดือน เม.ย.ที่จะถึงนี้ หรือปัญหาด้านพลังงานซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของชาติ

จะเห็นว่าในช่วงที่ผ่านมาหลังเกิดการสะดุดใน 2 ปัญหาซึ่งเป็น “เงื่อนไข” ของความวุ่นวายทางการเมืองอย่างการนิรโทษกรรมกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นเรื่อง “การเมือง” ทำให้รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ มีเวลาในการทำ “บ้านเมือง” มากขึ้น

ในทางการเมือง “ผลงาน” ของรัฐบาลนั้นถือเป็น “ภูมิคุ้มกัน” และ “ใบรับประกัน” ความนิยมทางการเมืองได้เป็นอย่างดี อย่าลืมว่าพรรคเพื่อไทยมาได้วันนี้เพราะมีนโยบายโดนใจ ทำได้จริงและยั่งยืน ไม่ใช่มาเพราะผู้คนส่วนใหญ่ต้องการให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือทำอย่างหนึ่งอย่างใดในทางการเมือง

แต่หากพรรคเพื่อไทยเลือกที่จะเดินหน้าทางการเมืองในสถานการณที่สังคมอยากให้ทำงาน จึงไม่เป็นผลดีและจะกลายเป็นการไม่ยอมรับ ร้ายไปกว่านั้นอาจนำมาซึ่งปัญหาความขัดแย้ง “รอบใหม่” ซึ่งสุดท้ายพรรคเพื่อไทยนั่นแหละจะกลายเป็น “จำเลย” ไปซะเอง

4 ปีของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ซึ่งบัดนี้เดินมาได้ปีกว่า ยังเหลือเวลาอีก 2 ปีกว่าซึ่งถือว่าเป็นเวลาที่ไม่นานเลยสำหรับการเมืองไทย

กลับมาเล่นบท ’รัฐบาล“ จริง ๆ จัง ๆ ได้แล้ว.

ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/politics/189421 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 มี.ค.56
วันที่โพสต์: 10/03/2556 เวลา 03:42:24

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเลือกตั้งท้องถิ่นอย่างการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ที่เพิ่งผ่านพ้นไปนั้นมีผลกระทบต่อการเมืองระดับชาติ โดยเฉพาะกับพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะ “ผู้ชนะ”และพรรคเพื่อไทยในฐานะ “ผู้แพ้” ผลชนะ-แพ้ จะนำมาซึ่งความชอบธรรมทางการเมืองต่อจากนี้ไปไม่มากก็น้อย กล่าวคือ พรรคประชาธิปัตย์ในฐานะ “ผู้ชนะ” สามารถพูดได้อย่างเต็มปากว่า ประชาชนชาวกรุงเทพฯยังให้ “ความไว้วางใจ” และให้ “โอกาส” ในการทำงานการเมืองต่อไป ขณะที่พรรคเพื่อไทยในฐานะ “ผู้แพ้” อธิบายปรากฏการณ์ครั้งนี้ว่าเป็นชัยชนะบนความพ่ายแพ้โดยหยิบคะแนนนิยมที่ผู้สมัครของพรรคได้รับ 1 ล้านกว่าคะแนนมาเป็น “ตัวประกัน” การเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.หากเปรียบไปแล้วก็ไม่ต่างอะไรกับ “ฉากหนึ่ง” ในการเมือง “ฉากใหญ่” “ฉากใหญ่” ที่พรรคเพื่อไทยยังทำหน้าที่รัฐบาล บริหารราชการแผ่นดินต่อไป ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ก็ทำหน้าที่ “ฝ่ายค้าน” ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล คงเพราะปรากฏการณ์ “ล้านคะแนนชนล้านคะแนน” นี่แหละถึงทำให้พรรคเพื่อไทยต้องเคลื่อนไหวต่อทันทีเพื่อให้บรรลุเป้าหมายใน 2 เรื่องสำคัญ เรื่องหนึ่งคือ การนิรโทษกรรม กับอีกเรื่องคือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นเป็นเรื่องใหญ่ จำเป็นต้องใช้เวลากับโอกาสที่เหมาะสม แต่กับการนิรโทษกรรมซึ่งได้ถูก “ปูทาง” มาก่อนหน้านี้เป็นระยะ ๆ จากฝ่ายต่าง ๆ อย่างหลากหลาย และดำเนินไปควบคู่กับคำว่า “ปรองดอง” ซึ่งเป็นเรื่องที่สังคมอยากให้เกิดขึ้น ดูความเคลื่อนไหวทั้งในส่วนของ นายเจริญ จรรย์โกมล ส.ส.ชัยภูมิ พรรคเพื่อไทย ในฐานะรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เชิญผู้เกี่ยวข้อง 8-10 ฝ่ายมาหารือในวันที่ 11 มี.ค.ที่จะถึงนี้ พร้อม ๆ กับความเคลื่อนไหวของ นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย แกนนำนปช.ที่รวบรวมรายชื่อส.ส.ยื่นเรื่องให้ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ส.ส.ขอนแก่น พรรคเพื่อไทยในฐานะประธานสภาผู้แทนราษฎร แล้วน่าจะประเมินได้ว่า พรรคเพื่อไทยหมายมั่นปั้นมืออีกครั้งที่จะใช้กลไก “รัฐสภา” ผลักดันให้เกิดขึ้นอีกครั้ง หลังสะดุดมาก่อนหน้านี้ที่มีการเสนอร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการสร้างความปรองดองเข้าสู่สภาถึง 4 ฉบับมาแล้วก่อนหน้านี้ ในระบอบรัฐสภา “เสียงข้างมาก” ซึ่งวันนี้คือพรรคเพื่อไทย อยู่ในฐานะที่ “ได้เปรียบ” แต่ “หัวใจ” สำคัญของการนิรโทษกรรมอยู่ตรงที่สังคมต้องมี “ความเห็นพ้อง” ถ้าตราบใดที่สังคมยังมี “ความเห็นต่าง” แม้จะมีการนิรโทษกรรมเกิดขึ้นก็ตาม แต่ความปรองดองจะไม่เกิดขึ้นตามมา ประเด็นลึก ๆ ที่คนเมืองหลวงออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.กันมากกว่าที่กกต.ประเมินไว้ ส่วนหนึ่งน่าจะมาจาก “ความกลัว” ที่คนกทม.ส่วนใหญ่มองว่า หากปล่อยให้ฝ่ายหนึ่ง “กินรวบ” จะส่งผลเสียหายต่อการเมือง จึงต้องเลือกเพื่อให้ฝ่ายตรวจสอบเข้มแข็งเพื่อควบคุมการบริหารงานของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้หาเสียงไว้ หากรัฐบาล “จับอารมณ์” ตรงนี้ได้ รัฐบาลต้องใช้ความได้เปรียบจากการเป็นรัฐบาลเดินหน้าสร้างผลงานเพื่อเรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมา มากกว่าที่จะเดินหน้าทางการเมืองอย่างไม่ลดละ มีหลายต่อหลายเรื่อง หลายต่อหลายสถานการณ์ ที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ต้องรีบเดินหน้าเพื่อเรียกความเชื่อมั่นทางการเมืองกลับมาโดยเร็ว ฉะนั้นการเร่งทำนโยบายจึงเป็น “งานหลัก” ที่รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ต้องทำให้เกิดขึ้นเป็น “รูปธรรม” กว่าที่ผ่านมา หลายต่อหลายเรื่องที่ว่านั้น เช่น การกู้เงิน 3.5 แสนล้านบาทเพื่อแก้ไขปัญหาระบบ “น้ำ” ของประเทศ การออก พ.ร.บ.กู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาทเพื่อวางระบบพื้นฐานของประเทศ การเดินหน้านโยบาย “รับจำนำข้าว” ที่กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากว่ากำลังจะสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงให้กับงบประมาณของประเทศ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่รัฐบาลกำลังใช้วิธีการเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหา การต่อสู้ในศาลโลกกรณีพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชา ซึ่งจะมีการ “ขึ้นศาล” กันในช่วงเดือน เม.ย.ที่จะถึงนี้ หรือปัญหาด้านพลังงานซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของชาติ จะเห็นว่าในช่วงที่ผ่านมาหลังเกิดการสะดุดใน 2 ปัญหาซึ่งเป็น “เงื่อนไข” ของความวุ่นวายทางการเมืองอย่างการนิรโทษกรรมกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นเรื่อง “การเมือง” ทำให้รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ มีเวลาในการทำ “บ้านเมือง” มากขึ้น ในทางการเมือง “ผลงาน” ของรัฐบาลนั้นถือเป็น “ภูมิคุ้มกัน” และ “ใบรับประกัน” ความนิยมทางการเมืองได้เป็นอย่างดี อย่าลืมว่าพรรคเพื่อไทยมาได้วันนี้เพราะมีนโยบายโดนใจ ทำได้จริงและยั่งยืน ไม่ใช่มาเพราะผู้คนส่วนใหญ่ต้องการให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือทำอย่างหนึ่งอย่างใดในทางการเมือง แต่หากพรรคเพื่อไทยเลือกที่จะเดินหน้าทางการเมืองในสถานการณที่สังคมอยากให้ทำงาน จึงไม่เป็นผลดีและจะกลายเป็นการไม่ยอมรับ ร้ายไปกว่านั้นอาจนำมาซึ่งปัญหาความขัดแย้ง “รอบใหม่” ซึ่งสุดท้ายพรรคเพื่อไทยนั่นแหละจะกลายเป็น “จำเลย” ไปซะเอง 4 ปีของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ซึ่งบัดนี้เดินมาได้ปีกว่า ยังเหลือเวลาอีก 2 ปีกว่าซึ่งถือว่าเป็นเวลาที่ไม่นานเลยสำหรับการเมืองไทย กลับมาเล่นบท ’รัฐบาล“ จริง ๆ จัง ๆ ได้แล้ว. ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/politics/189421

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...