ทีวีดิจิตอลกับการเปลี่ยนแปลงสังคมไทย

แสดงความคิดเห็น

เสียงคุณตาคนหนึ่งดังแว่วมาจากร้านรถเข็นริมฟุตบาธว่า “ทีวีดิจิตอล 48 ช่อง จะทำให้ชีวิตเราดีขึ้นจริงหรือ...” เป็นคำถามที่ดูเหมือนง่ายแต่ตอบยาก

เพราะหลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดขึ้นในสังคมไทยคำว่า “ปริมาณ” กับ “คุณภาพ” อาจไม่ได้เป็นสิ่งเดียวกัน และบ่อยครั้งคำว่าคุณภาพก็มักไม่เคยเกิดขึ้นกับชีวิตของคนด้อยโอกาสในสังคม

หากย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 50 ปี ที่แล้ว การเข้ามาของโทรทัศน์ระบบอนาล็อกภาคพื้นดินในประเทศไทยนับว่าเป็นสิ่งแปลกใหม่ที่สร้างความตื่นเต้นให้กับคนในสังคมไทยไม่น้อย และถ้ากลับไปถามคนรุ่นปู่ย่าตายายในครอบครัวของเราว่าเริ่มดูโทรทัศน์ครั้งแรกเมื่อใด หลายท่านอาจจะตอบว่า “ไม่รู้” เพราะไม่ได้จดจำหรืออาจหลงลืมไปแล้ว แต่บางท่านที่ความจำยังดีก็อาจจะตอบด้วยแววตาเป็นประกายและบอกเล่าเรื่องราวได้อย่างละเอียดว่า ประเทศไทยเริ่มออกอากาศรายการโทรทัศน์ในระบบขาวดำเป็นครั้งแรกในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เมื่อปี พ.ศ. 2498 โดยใช้ชื่อว่า "สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม" แต่ถ้าหากถามท่านต่อไปอีกนิดว่า แล้วโทรทัศน์ในยุคแรกนั้นมีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใด ผู้สูงอายุหลายท่านก็อาจตอบคำถามนี้ด้วยสีหน้ายิ้มแย้มและตอบอย่างมั่นใจมากกว่าเดิมว่า “ก็เพื่อความบันเทิงนะซิ”

คำถามดังกล่าวหลายคนอาจตอบได้ไม่ยากนักเนื่องจากบทบาทหน้าที่ดังกล่าวของโทรทัศน์ได้ถูกตอกย้ำและรับรู้กันอย่างแพร่หลายนับตั้งแต่ยุคแรกเริ่มของการเปิดสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 จวบจนกระทั่งถึงปัจจุบันสถานีโทรทัศน์ก็ยังคงทำหน้าที่ในการสร้างความบันเทิงมาโดยตลอดแต่อาจมีรูปแบบ เนื้อหา และวิธีการนำเสนอแตกต่างกันไปตามยุคสมัยและเทคโนโลยีการสื่อสาร เช่น รายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศในยุคแรกส่วนใหญ่เป็นการออกอากาศหรือแสดงสดในห้องส่ง (สตูดิโอ) ที่มีขนาดเล็กและมีฉากจำกัด แต่เมื่อมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสื่อสารในระยะต่อมา รายการโทรทัศน์จึงมีทั้งการออกอากาศสด การบันทึกเทป และผลิตรายการได้ทั้งในและนอกสตูดิโอ

อย่างไรก็ดี บทบาทหน้าที่ของโทรทัศน์ในยุคแรกไม่เพียงแต่ให้ความบันเทิงเท่านั้นแต่ยังมีบทบาทหน้าที่แอบแฝงหรือซ่อนเร้นทางการเมือง เช่น ในยุคของจอมพล ป. พิบูลสงคราม รายการโทรทัศน์นอกจากจะให้ความบันเทิงแล้วยังทำหน้าที่ในการปลูกฝังแนวคิดชาตินิยมและในยุคสมัย จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ใช้สถานีโทรทัศน์เป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อและสร้างความชอบธรรมจากการยึดอำนาจจากจอมพลป. พิบูลสงครามภายหลังจากการปฏิวัติสำเร็จ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้นำงบประมาณจากหน่วยงานทหารมาดำเนินการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เป็นแห่งที่ 2 ขึ้นในประเทศไทยและใช้ชื่อว่า “สถานีกองทัพบกช่อง 7” ระบบขาวดำในปี พ.ศ. 2500

ท่ามกลางกระแสการพัฒนาภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของ จอมพล พลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2504 เป็นต้นมา สถานีโทรทัศน์ก็ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาจากโทรทัศน์ระบบขาวดำมาสู่โทรทัศน์ระบบสีในปี พ.ศ. 2510 การพัฒนาช่องฟรีทีวีในประเทศไทยทั้ง 6 ช่อง ซึ่งประกอบด้วย ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 9 ช่อง NBT และช่อง Thai PBS รวมทั้งการพัฒนาระบบเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมแต่เป็นที่น่าสังเกตว่า การพัฒนาสถานีโทรทัศน์ในสังคมไทยที่ผ่านมา (ก่อนการปฏิรูปสื่อปี พ.ศ. 2540) รัฐมีอำนาจแบบเบ็ดเสร็จในการจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุโทรทัศน์และคลื่นโทรคมนาคม รวมทั้งการให้สัมปทานช่องสถานีโทรทัศน์กับผู้ประกอบการทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนส่งผลให้สถานีโทรทัศน์โดยส่วนใหญ่ถูกครอบงำโดยกลุ่มองค์กรธุรกิจการเมืองซึ่งมุ่งเน้นผลประกอบการทางธุรกิจและอำนาจทางการเมืองมากกว่าผลประโยชน์ของประชาชน

จากการครอบงำสื่อในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี พ.ศ. 2535 และการครอบงำสื่อของกลุ่มธุรกิจทางสถานีโทรทัศน์ช่องไอทีวี ปี พ.ศ. 2538 (ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสในยุคปัจจุบัน) ได้ปิดกั้นการทำหน้าที่ของสื่อที่ถูกต้องและเที่ยงตรง ส่งผลให้เกิดการปฏิรูปสื่อในระยะต่อมา ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ปี พ.ศ. 2540 กำหนดให้คลื่นความถี่เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประเทศทั้งในระดับชาติ ระดับท้องถิ่น และการแข่งขันเสรีและเป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญมาตรา 40 รวมทั้งการเกิดขึ้นของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 47 ปี พ.ศ. 2550 เพื่อทำหน้าที่จัดสรรโครงข่ายและแผนแม่บทกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการดำเนินธุรกิจให้ถูกต้องตามกฎหมาย

อาจกล่าวได้ว่า การเกิดขึ้นของทีวีดิจิตอล 48 ช่องปัจจุบันกำลังเป็นที่จับตามองเพราะเป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ของ กสทช.ว่า จะนำพาสังคมไทยให้หลุดพ้นจากการครอบงำสื่อของรัฐและกลุ่มธุรกิจที่ยาวนานกว่า 50 ปี หรือไม่ เนื่องจากหลักเกณฑ์ในการจัดสรรคลื่นให้กับบริการชุมชนบริการสาธารณะ และบริการธุรกิจยังอยู่ในช่วงโค้งสำคัญ รวมทั้งประเด็นการเข้าถึงพื้นที่สื่อสาธารณะของคนทุกกลุ่มโดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสก็ยังเป็นด่านสำคัญที่ กสทช.จะต้องฝ่าฟันไปให้ได้...โดย : อัญญาวีร์ อุนสวัสดิ์อาภา

ขอบคุณ... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/nation_u/20130306/493425/ทีวีดิจิตอลกับการเปลี่ยนแปลงสังคมไทย. html (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 มี.ค.56
วันที่โพสต์: 6/03/2556 เวลา 04:25:23

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เสียงคุณตาคนหนึ่งดังแว่วมาจากร้านรถเข็นริมฟุตบาธว่า “ทีวีดิจิตอล 48 ช่อง จะทำให้ชีวิตเราดีขึ้นจริงหรือ...” เป็นคำถามที่ดูเหมือนง่ายแต่ตอบยาก เพราะหลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดขึ้นในสังคมไทยคำว่า “ปริมาณ” กับ “คุณภาพ” อาจไม่ได้เป็นสิ่งเดียวกัน และบ่อยครั้งคำว่าคุณภาพก็มักไม่เคยเกิดขึ้นกับชีวิตของคนด้อยโอกาสในสังคม หากย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 50 ปี ที่แล้ว การเข้ามาของโทรทัศน์ระบบอนาล็อกภาคพื้นดินในประเทศไทยนับว่าเป็นสิ่งแปลกใหม่ที่สร้างความตื่นเต้นให้กับคนในสังคมไทยไม่น้อย และถ้ากลับไปถามคนรุ่นปู่ย่าตายายในครอบครัวของเราว่าเริ่มดูโทรทัศน์ครั้งแรกเมื่อใด หลายท่านอาจจะตอบว่า “ไม่รู้” เพราะไม่ได้จดจำหรืออาจหลงลืมไปแล้ว แต่บางท่านที่ความจำยังดีก็อาจจะตอบด้วยแววตาเป็นประกายและบอกเล่าเรื่องราวได้อย่างละเอียดว่า ประเทศไทยเริ่มออกอากาศรายการโทรทัศน์ในระบบขาวดำเป็นครั้งแรกในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เมื่อปี พ.ศ. 2498 โดยใช้ชื่อว่า "สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม" แต่ถ้าหากถามท่านต่อไปอีกนิดว่า แล้วโทรทัศน์ในยุคแรกนั้นมีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใด ผู้สูงอายุหลายท่านก็อาจตอบคำถามนี้ด้วยสีหน้ายิ้มแย้มและตอบอย่างมั่นใจมากกว่าเดิมว่า “ก็เพื่อความบันเทิงนะซิ” คำถามดังกล่าวหลายคนอาจตอบได้ไม่ยากนักเนื่องจากบทบาทหน้าที่ดังกล่าวของโทรทัศน์ได้ถูกตอกย้ำและรับรู้กันอย่างแพร่หลายนับตั้งแต่ยุคแรกเริ่มของการเปิดสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 จวบจนกระทั่งถึงปัจจุบันสถานีโทรทัศน์ก็ยังคงทำหน้าที่ในการสร้างความบันเทิงมาโดยตลอดแต่อาจมีรูปแบบ เนื้อหา และวิธีการนำเสนอแตกต่างกันไปตามยุคสมัยและเทคโนโลยีการสื่อสาร เช่น รายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศในยุคแรกส่วนใหญ่เป็นการออกอากาศหรือแสดงสดในห้องส่ง (สตูดิโอ) ที่มีขนาดเล็กและมีฉากจำกัด แต่เมื่อมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสื่อสารในระยะต่อมา รายการโทรทัศน์จึงมีทั้งการออกอากาศสด การบันทึกเทป และผลิตรายการได้ทั้งในและนอกสตูดิโอ อย่างไรก็ดี บทบาทหน้าที่ของโทรทัศน์ในยุคแรกไม่เพียงแต่ให้ความบันเทิงเท่านั้นแต่ยังมีบทบาทหน้าที่แอบแฝงหรือซ่อนเร้นทางการเมือง เช่น ในยุคของจอมพล ป. พิบูลสงคราม รายการโทรทัศน์นอกจากจะให้ความบันเทิงแล้วยังทำหน้าที่ในการปลูกฝังแนวคิดชาตินิยมและในยุคสมัย จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ใช้สถานีโทรทัศน์เป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อและสร้างความชอบธรรมจากการยึดอำนาจจากจอมพลป. พิบูลสงครามภายหลังจากการปฏิวัติสำเร็จ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้นำงบประมาณจากหน่วยงานทหารมาดำเนินการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เป็นแห่งที่ 2 ขึ้นในประเทศไทยและใช้ชื่อว่า “สถานีกองทัพบกช่อง 7” ระบบขาวดำในปี พ.ศ. 2500 ท่ามกลางกระแสการพัฒนาภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของ จอมพล พลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2504 เป็นต้นมา สถานีโทรทัศน์ก็ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาจากโทรทัศน์ระบบขาวดำมาสู่โทรทัศน์ระบบสีในปี พ.ศ. 2510 การพัฒนาช่องฟรีทีวีในประเทศไทยทั้ง 6 ช่อง ซึ่งประกอบด้วย ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 9 ช่อง NBT และช่อง Thai PBS รวมทั้งการพัฒนาระบบเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมแต่เป็นที่น่าสังเกตว่า การพัฒนาสถานีโทรทัศน์ในสังคมไทยที่ผ่านมา (ก่อนการปฏิรูปสื่อปี พ.ศ. 2540) รัฐมีอำนาจแบบเบ็ดเสร็จในการจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุโทรทัศน์และคลื่นโทรคมนาคม รวมทั้งการให้สัมปทานช่องสถานีโทรทัศน์กับผู้ประกอบการทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนส่งผลให้สถานีโทรทัศน์โดยส่วนใหญ่ถูกครอบงำโดยกลุ่มองค์กรธุรกิจการเมืองซึ่งมุ่งเน้นผลประกอบการทางธุรกิจและอำนาจทางการเมืองมากกว่าผลประโยชน์ของประชาชน จากการครอบงำสื่อในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี พ.ศ. 2535 และการครอบงำสื่อของกลุ่มธุรกิจทางสถานีโทรทัศน์ช่องไอทีวี ปี พ.ศ. 2538 (ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสในยุคปัจจุบัน) ได้ปิดกั้นการทำหน้าที่ของสื่อที่ถูกต้องและเที่ยงตรง ส่งผลให้เกิดการปฏิรูปสื่อในระยะต่อมา ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ปี พ.ศ. 2540 กำหนดให้คลื่นความถี่เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประเทศทั้งในระดับชาติ ระดับท้องถิ่น และการแข่งขันเสรีและเป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญมาตรา 40 รวมทั้งการเกิดขึ้นของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 47 ปี พ.ศ. 2550 เพื่อทำหน้าที่จัดสรรโครงข่ายและแผนแม่บทกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการดำเนินธุรกิจให้ถูกต้องตามกฎหมาย อาจกล่าวได้ว่า การเกิดขึ้นของทีวีดิจิตอล 48 ช่องปัจจุบันกำลังเป็นที่จับตามองเพราะเป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ของ กสทช.ว่า จะนำพาสังคมไทยให้หลุดพ้นจากการครอบงำสื่อของรัฐและกลุ่มธุรกิจที่ยาวนานกว่า 50 ปี หรือไม่ เนื่องจากหลักเกณฑ์ในการจัดสรรคลื่นให้กับบริการชุมชนบริการสาธารณะ และบริการธุรกิจยังอยู่ในช่วงโค้งสำคัญ รวมทั้งประเด็นการเข้าถึงพื้นที่สื่อสาธารณะของคนทุกกลุ่มโดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสก็ยังเป็นด่านสำคัญที่ กสทช.จะต้องฝ่าฟันไปให้ได้...โดย : อัญญาวีร์ อุนสวัสดิ์อาภา ขอบคุณ... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/nation_u/20130306/493425/ทีวีดิจิตอลกับการเปลี่ยนแปลงสังคมไทย. html

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...