ความเหลื่อมล้ำกับสิทธิมนุษยชน

แสดงความคิดเห็น

ขอบคุณ http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/charnchao/20130305/493203/ความเหลื่อมล้ำกับสิทธิมนุษยชน.html

บ้านเมืองออนไลน์ 5 มี.ค.56

ในที่นี้จะหมายถึงความเหลื่อมล้ำของรายได้ที่อาจเป็นผลพวงจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เป็นการมองมุมกลับจากโอกาสของการเพิ่มรายได้

และโอกาสของการสร้างงาน ที่จะเพิ่มมากขึ้นหลังจากการเข้าสู่ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงและการเมือง สังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มประเทศอาเซียน และเป็นมุมมองอย่างกว้างบนหลักการพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ในการมีมาตรฐาน คุณภาพชีวิตและความอยู่ดีกินดี ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตอย่างเสมอภาค เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย น้ำ เครื่องนุ่งห่ม และสุขภาวะที่เหมาะสม

หากมองถึงความเชื่อมโยงของทั้ง 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียนจะมองเห็นความสอดคล้องระหว่างหลักการพื้นฐานของ สิทธิมนุษยชนกับความอยู่ดีกินดีของประชากรอาเซียนทั้งในระดับปัจเจกและใน ระดับภูมิภาคได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะในแง่ที่ว่ารัฐสมาชิกอาเซียนจะต้องเตรียมความพร้อมกับผลกระทบทาง ด้านสิทธิมนุษยชนให้กับประชาชนของตนเองด้วย

จุดสำคัญอยู่ตรงที่ว่าหลังจากการสิ้นสุดของสงครามเย็น ระบบเสรีทางการค้าได้เป็นทิศทางสำคัญของเศรษฐกิจโลกประกอบกับกระบวนการโลกา ภิวัต ทั้ง 2 ประการนี้ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ขึ้นทั่วไปจนเป็นที่ประจักษ์ ซึ่งเรามีตัวเลขทางเศรษฐกิจมากมายที่สนับสนุนข้อมูลนี้ และผลกระทบต่อมาต้องยอมรับว่าความเหลื่อมล้ำทางรายได้ส่งผลให้เกิดความ เหลื่อมล้ำทางสังคมและความเป็นอยู่ตามไปด้วยเหมือนเงาตามตัวนั่นเอง

ความเหลื่อมล้ำทางรายได้และทางสังคมเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาความยากจนอัน เป็นมุมกลับของเป้าหมายสูงสุดของระบบเสรีทางการค้าที่มุ่งให้ทุกคนได้รับ ประโยชน์จากความเจริญทางเศรษฐกิจ จึงจำเป็นต้องมีมาตรการที่หลากหลายในการป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่จะเกิด ขึ้นในอนาคต และในหลายมาตรการที่เราจะต้องเตรียมคิดค้นมาใช้นี้ เห็นว่าหลักการพื้นฐานสิทธิมนุษยชนน่าจะเป็นอีกกรอบความคิดที่สำคัญได้

การมองว่าความเหลื่อมล้ำทางรายได้และทางสังคมจนเป็นเหตุให้เกิดปัญหาความ ยากจนเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่ง อาจมีผลดีในเชิงป้องกันอย่างน้อยที่สุดจะเป็นกรอบทิศทางให้แต่ละรัฐในสมาชิก อาเซียนเตรียมความพร้อมด้วยการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ลดความเหลื่อมล้ำทาง รายได้และทางสังคมควบคู่ไปกับการเปิดประตูให้ระบบเสรีทางการค้ามากขึ้น

ยุทธศาสตร์ประเทศไทยที่รัฐบาลประกาศแนวทางวันก่อนได้พูดถึงการลดความ เหลื่อมล้ำไว้ชัดเจนแต่เรายังจะต้องรอคอยการพัฒนามาตรการที่เป็นรูปธรรมมาก ขึ้นเพื่อให้ประเทศไทยได้เปรียบและมีศักยภาพในการแข่งขันภายในประชาคมอา เซียนสูงขึ้น และในขณะเดียวกันก็จะต้องคำนึงถึงผลกระทบทางลบไว้ด้วย

บทบาทของสถาบันทางสังคมต่างๆ ก็น่าจะต้องมีบทบาทสำคัญในประเด็นเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นบทบาทของศาลยุติธรรม องค์กรอิสระ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ และองค์กรอื่นๆ ในระบบงานยุติธรรมที่มีหน้าที่ในการอำนวยความเป็นธรรมอยู่ในฝ่ายบริหารในรูป แบบต่างๆ ก็ตาม บทบาทขององค์กรเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อความเหลื่อมล้ำทางรายได้และทางสังคม ทั้งทางบวกและทางลบอยู่มาก

ตัวอย่างที่เห็นกันได้ชัดเจนคือ คำพิพากษาของศาล หรือ คำวินิจฉัยของหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งการกำหนดนโยบายในด้านต่างๆ ที่อาจส่งผลต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม การจ้างงาน การกำหนดนโยบายการเงิน การคลัง ระบบภาษีอากร หรือแม้กระทั่งนโยบายทางความมั่นคง สิ่งเหล่านี้จะส่งผลทั้งโดยตรงและโดยอ้อมต่อประชาชนทั้งในทางปัจเจกและทั่ว ไปจนนำไปสู่ปัญหาความยากจนต่อมา และนั่นหมายความถึงการที่ประชาชนบางกลุ่มไม่อาจเข้าถึงมาตรฐานการดำเนิน ชีวิตและคุณภาพชีวิตขั้นต่ำอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกับกลุ่มอื่น

การว่างงานเนื่องจากการขาดทักษะที่ตลาดต้องการ การเจ็บป่วยอันเกิดจากภาวะมลพิษหรือจากการทำงาน การขาดแคลนที่ทำกินอันเนื่องมาจากการกว้านซื้อที่ดินของนายทุนต่างชาติ การไม่อาจเข้าถึงหลักประกันสุขภาพหรือหลักประกันสังคมอื่นๆ การเข้าไม่ถึงบริการสาธารณะด้านการอำนวยความยุติธรรม เป็นตัวอย่างของผลกระทบจากความเหลื่อมล้ำซึ่งอาจเกิดนโยบายหรือแนวปฏิบัติ ที่ขาดมุมมองของหลักพื้นฐานสิทธิมนุษยชน

การลดความเหลื่อมล้ำจึงเป็นทั้งวิธีการและเป้าหมายของการอยู่ดีกินดี คงไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะต้องมีความเท่าเทียมและเสมอภาคในทางเศรษฐกิจซึ่ง อาจจะดูผิดธรรมชาติในขณะที่ทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหานี้เป็นส่วนใหญ่ แต่การสร้างความสมดุลระหว่างการพัฒนาและการดำรงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ก็ น่าจะเป็นกรอบแนวคิดของการพัฒนาในระบบเสรีทางการค้าในยุคนี้ได้ เพราะเป้าหมายของการพัฒนาที่แท้จริงน่าจะหมายถึงสังคมที่มีศักยภาพร่วมกันใน จัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้และมีความสงบสุขนั่นเอง

ที่มา: บ้านเมืองออนไลน์
วันที่โพสต์: 5/03/2556 เวลา 05:02:37

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ขอบคุณ http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/charnchao/20130305/493203/ความเหลื่อมล้ำกับสิทธิมนุษยชน.html บ้านเมืองออนไลน์ 5 มี.ค.56 ในที่นี้จะหมายถึงความเหลื่อมล้ำของรายได้ที่อาจเป็นผลพวงจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เป็นการมองมุมกลับจากโอกาสของการเพิ่มรายได้ และโอกาสของการสร้างงาน ที่จะเพิ่มมากขึ้นหลังจากการเข้าสู่ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงและการเมือง สังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มประเทศอาเซียน และเป็นมุมมองอย่างกว้างบนหลักการพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ในการมีมาตรฐาน คุณภาพชีวิตและความอยู่ดีกินดี ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตอย่างเสมอภาค เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย น้ำ เครื่องนุ่งห่ม และสุขภาวะที่เหมาะสม หากมองถึงความเชื่อมโยงของทั้ง 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียนจะมองเห็นความสอดคล้องระหว่างหลักการพื้นฐานของ สิทธิมนุษยชนกับความอยู่ดีกินดีของประชากรอาเซียนทั้งในระดับปัจเจกและใน ระดับภูมิภาคได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะในแง่ที่ว่ารัฐสมาชิกอาเซียนจะต้องเตรียมความพร้อมกับผลกระทบทาง ด้านสิทธิมนุษยชนให้กับประชาชนของตนเองด้วย จุดสำคัญอยู่ตรงที่ว่าหลังจากการสิ้นสุดของสงครามเย็น ระบบเสรีทางการค้าได้เป็นทิศทางสำคัญของเศรษฐกิจโลกประกอบกับกระบวนการโลกา ภิวัต ทั้ง 2 ประการนี้ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ขึ้นทั่วไปจนเป็นที่ประจักษ์ ซึ่งเรามีตัวเลขทางเศรษฐกิจมากมายที่สนับสนุนข้อมูลนี้ และผลกระทบต่อมาต้องยอมรับว่าความเหลื่อมล้ำทางรายได้ส่งผลให้เกิดความ เหลื่อมล้ำทางสังคมและความเป็นอยู่ตามไปด้วยเหมือนเงาตามตัวนั่นเอง ความเหลื่อมล้ำทางรายได้และทางสังคมเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาความยากจนอัน เป็นมุมกลับของเป้าหมายสูงสุดของระบบเสรีทางการค้าที่มุ่งให้ทุกคนได้รับ ประโยชน์จากความเจริญทางเศรษฐกิจ จึงจำเป็นต้องมีมาตรการที่หลากหลายในการป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่จะเกิด ขึ้นในอนาคต และในหลายมาตรการที่เราจะต้องเตรียมคิดค้นมาใช้นี้ เห็นว่าหลักการพื้นฐานสิทธิมนุษยชนน่าจะเป็นอีกกรอบความคิดที่สำคัญได้ การมองว่าความเหลื่อมล้ำทางรายได้และทางสังคมจนเป็นเหตุให้เกิดปัญหาความ ยากจนเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่ง อาจมีผลดีในเชิงป้องกันอย่างน้อยที่สุดจะเป็นกรอบทิศทางให้แต่ละรัฐในสมาชิก อาเซียนเตรียมความพร้อมด้วยการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ลดความเหลื่อมล้ำทาง รายได้และทางสังคมควบคู่ไปกับการเปิดประตูให้ระบบเสรีทางการค้ามากขึ้น ยุทธศาสตร์ประเทศไทยที่รัฐบาลประกาศแนวทางวันก่อนได้พูดถึงการลดความ เหลื่อมล้ำไว้ชัดเจนแต่เรายังจะต้องรอคอยการพัฒนามาตรการที่เป็นรูปธรรมมาก ขึ้นเพื่อให้ประเทศไทยได้เปรียบและมีศักยภาพในการแข่งขันภายในประชาคมอา เซียนสูงขึ้น และในขณะเดียวกันก็จะต้องคำนึงถึงผลกระทบทางลบไว้ด้วย บทบาทของสถาบันทางสังคมต่างๆ ก็น่าจะต้องมีบทบาทสำคัญในประเด็นเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นบทบาทของศาลยุติธรรม องค์กรอิสระ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ และองค์กรอื่นๆ ในระบบงานยุติธรรมที่มีหน้าที่ในการอำนวยความเป็นธรรมอยู่ในฝ่ายบริหารในรูป แบบต่างๆ ก็ตาม บทบาทขององค์กรเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อความเหลื่อมล้ำทางรายได้และทางสังคม ทั้งทางบวกและทางลบอยู่มาก ตัวอย่างที่เห็นกันได้ชัดเจนคือ คำพิพากษาของศาล หรือ คำวินิจฉัยของหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งการกำหนดนโยบายในด้านต่างๆ ที่อาจส่งผลต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม การจ้างงาน การกำหนดนโยบายการเงิน การคลัง ระบบภาษีอากร หรือแม้กระทั่งนโยบายทางความมั่นคง สิ่งเหล่านี้จะส่งผลทั้งโดยตรงและโดยอ้อมต่อประชาชนทั้งในทางปัจเจกและทั่ว ไปจนนำไปสู่ปัญหาความยากจนต่อมา และนั่นหมายความถึงการที่ประชาชนบางกลุ่มไม่อาจเข้าถึงมาตรฐานการดำเนิน ชีวิตและคุณภาพชีวิตขั้นต่ำอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกับกลุ่มอื่น การว่างงานเนื่องจากการขาดทักษะที่ตลาดต้องการ การเจ็บป่วยอันเกิดจากภาวะมลพิษหรือจากการทำงาน การขาดแคลนที่ทำกินอันเนื่องมาจากการกว้านซื้อที่ดินของนายทุนต่างชาติ การไม่อาจเข้าถึงหลักประกันสุขภาพหรือหลักประกันสังคมอื่นๆ การเข้าไม่ถึงบริการสาธารณะด้านการอำนวยความยุติธรรม เป็นตัวอย่างของผลกระทบจากความเหลื่อมล้ำซึ่งอาจเกิดนโยบายหรือแนวปฏิบัติ ที่ขาดมุมมองของหลักพื้นฐานสิทธิมนุษยชน การลดความเหลื่อมล้ำจึงเป็นทั้งวิธีการและเป้าหมายของการอยู่ดีกินดี คงไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะต้องมีความเท่าเทียมและเสมอภาคในทางเศรษฐกิจซึ่ง อาจจะดูผิดธรรมชาติในขณะที่ทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหานี้เป็นส่วนใหญ่ แต่การสร้างความสมดุลระหว่างการพัฒนาและการดำรงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ก็ น่าจะเป็นกรอบแนวคิดของการพัฒนาในระบบเสรีทางการค้าในยุคนี้ได้ เพราะเป้าหมายของการพัฒนาที่แท้จริงน่าจะหมายถึงสังคมที่มีศักยภาพร่วมกันใน จัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้และมีความสงบสุขนั่นเอง

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...