ชานชาลาประชาชน.

แสดงความคิดเห็น

ขอบคุณ... http://www.thaipost.net/tabloid/240213/70013

ไทยโพสต์ออนไลน์ 24 February 2556 - 00:00

ดีเบตทางการเมืองกับการสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตย

การเลือกตั้งในประเทศประชาธิปไตยที่มีการต่อสู้ทางการเมืองที่แหลมคม ระหว่างพรรคการเมืองใหญ่สองพรรคในหลายๆ ประเทศ การดีเบต คือการให้ข้อมูลสำหรับการตัดสินใจครั้งสำคัญแก่ประชาชน

การดีเบต (Debate) อันหมายถึง การถกถียง แลกเปลี่ยน ประชันวิสัยทัศน์ของผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยมีผู้ดำเนินรายการคอยตั้งประเด็นคำถาม กำหนด กติกา เวลา มารยาท ในการตอบคำถามของแต่ละคน

ดีเบต ด้านหนึ่ง คือ การแสดงวิสัยทัศน์ทางสาธารณะในนโยบายการเลือกตั้งของผู้สมัครแต่ละคน ด้านหนึ่งคือ การสร้างเงื่อนไขการมีส่วนร่วมทางเมืองของประชาชนกับผู้สมัครในเชิงสัญญาประชาคม

ล่าสุด การเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ระหว่างนายบารัค โอบามา ผู้สมัครพรรคเดโมแครต กับนายมิตต์ รอมนีย์ ผู้ท้าชิงจากพรรครีพับลิกัน ทำให้โลกได้รับรู้นโยบายสำคัญๆ ทั้งสองพรรค

การเลือกตั้งในประเทศไทย หลังเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535 ได้มีความพยายามจัดเวทีดีเบต ขององค์กรกลางบ้าง สถาบันวิชาการ เวทีภาคประชาชนบ้าง หลายครั้งได้รับความสนใจจากนักการเมือง

แต่การเมืองหลังรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่เป็นการแข่งขันระหว่างพรรคใหญ่สองพรรค หลายครั้งพรรคใหญ่บางพรรค มักจะไม่ให้ความสำคัญกับเวทีประชันวิสัยทัศน์อันเป็นสัญญาข้อผูกพันทางสังคม

ดังปรากฏการเลือกตั้ง เมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2548 ทักษิณ ชินวัตร หัวพรรคไทยรักไทย ขณะนั้น ก็เคยปฏิเสธเวทีดีเบตขององค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย โดยอ้างว่าการดีเบตไม่ใช่ธรรมเนียมของการเมืองไทย

การเลือกตั้งครั้งหลังสุด 3 กรกฎาคม 2554 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ อันดับที่ 1 พรรคเพื่อไทย ก็ขอปฏิเสธที่จะเข้าร่วมเวทีดีเบตที่จัดโดยมูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย (พีเน็ต)

ล่าสุด เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2554 ศูนย์วิจัยและติดตามนโยบายภาครัฐ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้จัดให้มีเวทีดีเบตประชันวิสัยทัศน์ผู้สมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร หมายเลข 16 พรรคประชาธิปัตย์, นายโฆสิต สุวินิจจิต หมายเลข 10 อิสระ, และพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส หมายเลข 11 อิสระ แต่ พล.ต.อ.พงศพัศ ผู้สมัครหมายเลข 9 ของพรรคเพื่อไทย ไม่ได้เข้าร่วมเวที

หลายส่วนอาจจะมองได้ว่าเวทีดีเบต หรือการประชันวิสัยทัศน์ทางการเมือง ไม่ใช่ตัวชี้ขาดที่จะทำให้ชนะการเลือกตั้ง หรืออาจไม่สำคัญเท่ากับการลงพื้นที่หาเสียงกับฐานมวลชนที่เป็นรูปธรรมมากกว่า

นักวิชาการบางคนถึงกับมองว่า การดีเบตหรือการประชันวิสัยทัศน์ ไม่ใช่จารีตของการเมืองไทย ซึ่งเป็นแบบระบอบรัฐสภา และการประชันโวหารกันด้วยวิธีนี้ไม่ได้มีส่วนพัฒนาทางการเมืองไทยเลย

แต่สำหรับคนส่วนใหญ่ที่ไม่ยึดติดอยู่กับการเมืองแบบจงรักภักดีต่อพรรคการเมือง หรือในฐานะลูกค้าของนักการเมือง จึงต้องการเวทีดีเบต เพื่อให้มีแสดงวิสัยทัศน์ทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้ง

เพราะด้านหนึ่งของการดีเบต คือ การมีส่วนร่วมของประชาชนที่ข้ามพ้นความเป็นตัวบุคคลและพรรคการเมืองไปสู่การมีส่วนร่วมเชิงนโยบาย เวทีดีเบต จึงเป็นเสมือนการสร้างเวทีสัญญาประชาคมทางสาธารณะที่มีเกิดข้อผูกมัดทางสังคม ที่นักการเมืองหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งจะต้องแสดงความรับผิดชอบ จึงเกิดกระบวนการตรวจสอบขึ้น ไม่ใช่การหาเสียงแบบเลื่อนลอยไร้รอยต่อกับประชาชน ไร้พันธะผูกมัด

ด้านหนึ่ง การดีเบตเป็นการสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตยที่สอดคล้องในอุดมการณ์เชิงนามธรรมและรูปธรรมการปฏิบัติ ทั้งในเชิงเนื้อหาและรูปแบบ เป็นการสร้างจุดเชื่อมที่สมดุลระหว่างการเมืองแบบฐานเสียงในพื้นที่กับการเมืองในมิติเครือข่ายที่เชื่อมโยงพื้นที่ทางสังคมในเชิงนามธรรมเข้าด้วยกัน

ดีเบต จึงเป็นการข้ามพ้นการแพ้ชนะทางการเมืองบนฐานประโยชน์ที่ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับ

การหนีเวทีดีเบตของผู้สมัครพรรคใหญ่ในหลายๆ ครั้งของการเลือกตั้งที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งอาจมองได้ว่า ไม่ต้องการผูกมัดตนเองไว้กับเวทีประชันวิสัยทัศน์ อันจะเป็นข้อผูกพันแบบสัญญาประชาคม

ด้านหนึ่งของการเมืองที่ไม่ต้องรับผิดชอบกับการหาเสียงแบบไร้ข้อผูกมัด ไร้ตรวจสอบ ไร้การมีส่วนร่วมของประชาชนในมิติที่หลากหลาย ก็อาจกลายเป็นการทำลายการมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมือง

แน่นอนการดีเบต ไม่ใช่ทั้งหมดของวัฒนธรรมการเมืองในระบอบประชาธิปไตย แต่เป็นการสร้างการมีส่วนร่วมที่แสดงถึงความรับผิดชอบของนักการเมืองที่ประชาชนสามารถตรวจสอบได้ง่ายที่สุด

ดีเบต จึงเป็นประชาธิปไตยที่ไม่ใช่แค่เปลือกนอกที่ต้องรอให้นักการเมืองเอามาแจกแบบประชานิยม และไม่ใช่การหาเสียงที่มองประชาชนเป็นแค่ลูกค้าทางการเมืองที่ต้องภักดีของพรรคการเมืองนั้นๆ

ถึงเวลาแล้วที่ภาคประชาชน จะต้องสร้างกติกาให้นักการเมืองเข้ามาอยู่ในกรอบผูกมัดทางสังคม ด้วยการสร้างเวทีดีเบตทางสาธารณะให้นักการเมืองแสดงความรับผิดชอบ สร้างระบบตรวจสอบที่เข้มแข็ง.

ที่มา: ไทยโพสต์ออนไลน์
วันที่โพสต์: 24/02/2556 เวลา 03:05:03

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ขอบคุณ... http://www.thaipost.net/tabloid/240213/70013 ไทยโพสต์ออนไลน์ 24 February 2556 - 00:00 ดีเบตทางการเมืองกับการสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตย การเลือกตั้งในประเทศประชาธิปไตยที่มีการต่อสู้ทางการเมืองที่แหลมคม ระหว่างพรรคการเมืองใหญ่สองพรรคในหลายๆ ประเทศ การดีเบต คือการให้ข้อมูลสำหรับการตัดสินใจครั้งสำคัญแก่ประชาชน การดีเบต (Debate) อันหมายถึง การถกถียง แลกเปลี่ยน ประชันวิสัยทัศน์ของผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยมีผู้ดำเนินรายการคอยตั้งประเด็นคำถาม กำหนด กติกา เวลา มารยาท ในการตอบคำถามของแต่ละคน ดีเบต ด้านหนึ่ง คือ การแสดงวิสัยทัศน์ทางสาธารณะในนโยบายการเลือกตั้งของผู้สมัครแต่ละคน ด้านหนึ่งคือ การสร้างเงื่อนไขการมีส่วนร่วมทางเมืองของประชาชนกับผู้สมัครในเชิงสัญญาประชาคม ล่าสุด การเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ระหว่างนายบารัค โอบามา ผู้สมัครพรรคเดโมแครต กับนายมิตต์ รอมนีย์ ผู้ท้าชิงจากพรรครีพับลิกัน ทำให้โลกได้รับรู้นโยบายสำคัญๆ ทั้งสองพรรค การเลือกตั้งในประเทศไทย หลังเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535 ได้มีความพยายามจัดเวทีดีเบต ขององค์กรกลางบ้าง สถาบันวิชาการ เวทีภาคประชาชนบ้าง หลายครั้งได้รับความสนใจจากนักการเมือง แต่การเมืองหลังรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่เป็นการแข่งขันระหว่างพรรคใหญ่สองพรรค หลายครั้งพรรคใหญ่บางพรรค มักจะไม่ให้ความสำคัญกับเวทีประชันวิสัยทัศน์อันเป็นสัญญาข้อผูกพันทางสังคม ดังปรากฏการเลือกตั้ง เมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2548 ทักษิณ ชินวัตร หัวพรรคไทยรักไทย ขณะนั้น ก็เคยปฏิเสธเวทีดีเบตขององค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย โดยอ้างว่าการดีเบตไม่ใช่ธรรมเนียมของการเมืองไทย การเลือกตั้งครั้งหลังสุด 3 กรกฎาคม 2554 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ อันดับที่ 1 พรรคเพื่อไทย ก็ขอปฏิเสธที่จะเข้าร่วมเวทีดีเบตที่จัดโดยมูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย (พีเน็ต) ล่าสุด เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2554 ศูนย์วิจัยและติดตามนโยบายภาครัฐ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้จัดให้มีเวทีดีเบตประชันวิสัยทัศน์ผู้สมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร หมายเลข 16 พรรคประชาธิปัตย์, นายโฆสิต สุวินิจจิต หมายเลข 10 อิสระ, และพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส หมายเลข 11 อิสระ แต่ พล.ต.อ.พงศพัศ ผู้สมัครหมายเลข 9 ของพรรคเพื่อไทย ไม่ได้เข้าร่วมเวที หลายส่วนอาจจะมองได้ว่าเวทีดีเบต หรือการประชันวิสัยทัศน์ทางการเมือง ไม่ใช่ตัวชี้ขาดที่จะทำให้ชนะการเลือกตั้ง หรืออาจไม่สำคัญเท่ากับการลงพื้นที่หาเสียงกับฐานมวลชนที่เป็นรูปธรรมมากกว่า นักวิชาการบางคนถึงกับมองว่า การดีเบตหรือการประชันวิสัยทัศน์ ไม่ใช่จารีตของการเมืองไทย ซึ่งเป็นแบบระบอบรัฐสภา และการประชันโวหารกันด้วยวิธีนี้ไม่ได้มีส่วนพัฒนาทางการเมืองไทยเลย แต่สำหรับคนส่วนใหญ่ที่ไม่ยึดติดอยู่กับการเมืองแบบจงรักภักดีต่อพรรคการเมือง หรือในฐานะลูกค้าของนักการเมือง จึงต้องการเวทีดีเบต เพื่อให้มีแสดงวิสัยทัศน์ทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้ง เพราะด้านหนึ่งของการดีเบต คือ การมีส่วนร่วมของประชาชนที่ข้ามพ้นความเป็นตัวบุคคลและพรรคการเมืองไปสู่การมีส่วนร่วมเชิงนโยบาย เวทีดีเบต จึงเป็นเสมือนการสร้างเวทีสัญญาประชาคมทางสาธารณะที่มีเกิดข้อผูกมัดทางสังคม ที่นักการเมืองหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งจะต้องแสดงความรับผิดชอบ จึงเกิดกระบวนการตรวจสอบขึ้น ไม่ใช่การหาเสียงแบบเลื่อนลอยไร้รอยต่อกับประชาชน ไร้พันธะผูกมัด ด้านหนึ่ง การดีเบตเป็นการสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตยที่สอดคล้องในอุดมการณ์เชิงนามธรรมและรูปธรรมการปฏิบัติ ทั้งในเชิงเนื้อหาและรูปแบบ เป็นการสร้างจุดเชื่อมที่สมดุลระหว่างการเมืองแบบฐานเสียงในพื้นที่กับการเมืองในมิติเครือข่ายที่เชื่อมโยงพื้นที่ทางสังคมในเชิงนามธรรมเข้าด้วยกัน ดีเบต จึงเป็นการข้ามพ้นการแพ้ชนะทางการเมืองบนฐานประโยชน์ที่ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับ การหนีเวทีดีเบตของผู้สมัครพรรคใหญ่ในหลายๆ ครั้งของการเลือกตั้งที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งอาจมองได้ว่า ไม่ต้องการผูกมัดตนเองไว้กับเวทีประชันวิสัยทัศน์ อันจะเป็นข้อผูกพันแบบสัญญาประชาคม ด้านหนึ่งของการเมืองที่ไม่ต้องรับผิดชอบกับการหาเสียงแบบไร้ข้อผูกมัด ไร้ตรวจสอบ ไร้การมีส่วนร่วมของประชาชนในมิติที่หลากหลาย ก็อาจกลายเป็นการทำลายการมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมือง แน่นอนการดีเบต ไม่ใช่ทั้งหมดของวัฒนธรรมการเมืองในระบอบประชาธิปไตย แต่เป็นการสร้างการมีส่วนร่วมที่แสดงถึงความรับผิดชอบของนักการเมืองที่ประชาชนสามารถตรวจสอบได้ง่ายที่สุด ดีเบต จึงเป็นประชาธิปไตยที่ไม่ใช่แค่เปลือกนอกที่ต้องรอให้นักการเมืองเอามาแจกแบบประชานิยม และไม่ใช่การหาเสียงที่มองประชาชนเป็นแค่ลูกค้าทางการเมืองที่ต้องภักดีของพรรคการเมืองนั้นๆ ถึงเวลาแล้วที่ภาคประชาชน จะต้องสร้างกติกาให้นักการเมืองเข้ามาอยู่ในกรอบผูกมัดทางสังคม ด้วยการสร้างเวทีดีเบตทางสาธารณะให้นักการเมืองแสดงความรับผิดชอบ สร้างระบบตรวจสอบที่เข้มแข็ง.

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...