"บรรเจิด-สุรพล" เปิดตำราดับวิกฤต รธน.

แสดงความคิดเห็น

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 15 ก.พ.56

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1360845250&grpid=03&catid=03 (ขนาดไฟล์: 167)

การแก้ไขรัฐธรรมนูญเหมือนของร้อนที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร-องคาพยพพรรคเพื่อไทย และคนเสื้อแดงไม่อยากแตะ ไม่ว่าแดงในเสื้อคลุมอำมาตย์ หรือแดงในคราบไพร่ เว้นแต่เสื้อแดงหัวก้าวหน้า หลังจากถูกศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจเบรกการลงมติในวาระ 3 แนะนำให้ทำประชามติถามประชาชนผู้เป็นเจ้าของรัฐธรรมนูญก่อน

จนต้องโยนไป-มา ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาช่วยคิด-ยื้อ-ประวิงเวลา ออกไปถึง 2 ชุด ล่าสุดคณะทำงานศึกษาข้อกฎหมายการทำประชามติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ

มี "พงศ์เทพ เทพกาญจนา" รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ศึกษาธิการเป็นประธาน มอบหมายให้ 3 สถาบันการศึกษาด้านนิติศาสตร์-รัฐศาสตร์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยรามคำแหง กลับไปศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งโครงสร้างมาอีกครั้ง โดยขีดเส้นตายต้องทำให้เสร็จภายใน 60 วัน

แต่ล่าสุดเกิดอาการสะดุด เมื่อบางมหาวิทยาลัยตอบกลับมาว่าอาจทำไม่เสร็จตามกำหนด ทำให้คณะทำงานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย คิดแผนคู่ขนานเริ่มต้นรื้อฟื้นแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา

โดยใช้เวลาระหว่างรอให้ 3 สถาบันดำเนินการศึกษาหาทางออกการทำประชามติ ผนึก ส.ว.สายเลือกตั้งบางกลุ่มที่กำลังครบวาระผลักดันแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มา ส.ว.พ่วงประเด็นที่่ฝ่ายค้านเห็นพ้อง เพื่อบรรลุข้อตกลกโดยให้ต่ออายุ ส.ว.เลือกตั้งออกไป

"พีระพันธุ์ พาลุสุข" ส.ส.ยโสธร พรรคเพื่อไทย ในฐานะอดีตคณะทำงาน 11 อรหันต์ กล่าวว่า "ส่วนตัวเห็นว่าไม่จำเป็นต้องรอทำประชามติ หรือรอฟังความเห็นจากทั้ง 3 สถาบันการศึกษา ทั้ง 3 เรื่อง ฝ่ายค้านก็เห็นพ้องว่าควรแก้ไข เราสามารถแก้ไขเป็นรายมาตราได้ทันที"

และมีความเป็นไปได้เมื่อ "ถาวร เสนเนียม" ส.ส.สงขลา รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ตอบรับว่า "หากฝ่ายพรรคเพื่อไทยมีการเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นเรื่องการยุบพรรค คุณสมบัติของ ส.ว. หรือที่มาของคณะกรรมการในองค์กรอิสระต่าง ๆ ที่เห็นพ้องตรงกัน ก็พร้อมจะนำเข้าสู่การหารือในที่ประชุมของพรรค"

อย่างไรก็ตาม เป้าหมายการแก้ไขรัฐธรรมนูญในพรรคเพื่อไทย มิอาจมีสาระแค่นั้น หากยังหวังผลไปไกลถึงการเปลี่ยนโครงสร้าง-ลดอำนาจขององค์กรอิสระ อาทิ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง

ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ผู้ตรวจการแผ่นดิน อาจส่งผลสะเทือนจนกลายเป็นชนวนวิกฤตขัดแย้งรอบใหม่

ทำให้ 2 กูรูนิติศาสตร์อย่าง "ศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ" คณบดีคณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ "ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์" อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยลตามช่อง

มองตามเกม วิเคราะห์ความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญของนักการเมือง กับสภาพสังคมวิทยาของไทย สอดคล้องกันหรือไม่

"ศ.ดร.บรรเจิด" มองว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญของบ้านเรา ต้องทำให้สอดคล้องกับสภาพสังคมวิทยา และต้องขึ้นอยู่กับการตั้งโจทย์ หากตั้งโจทย์ผิด ทุกอย่างก็ผิด

เขายก 2 ตัวอย่างมาเปรียบเทียบให้เห็นภาพ คือฝรั่งเศส และเยอรมนี

"ฝรั่งเศสกับเยอรมนีเอาระบบรัฐสภาอังกฤษมาใช้ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะในฝรั่งเศสสถานการณ์การเมืองในปี ค.ศ. 1958 เกิดรัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ ท้ายที่สุดฝรั่งเศสต้องตั้งโจทย์ปฏิรูประบบการเมือง ประชาชนกับทหารบอกว่าต้องแก้วิกฤตให้ได้ภายใน 6 เดือน จึงไปเชิญนายพลชาร์ล เดอ โกล เข้ามาปฏิรูป ออกแบบระบบกึ่งประธานาธิบดี หลัง ค.ศ. 1958 ฝรั่งเศสมีเสถียรภาพมาจนถึงทุกวันนี้"

"ส่วนเยอรมนีเอาระบบรัฐสภาอังกฤษมาใช้เหมือนไทย และฝรั่งเศส แต่เกิดคนละอาการ โดยเกิดเผด็จการรัฐสภา ให้ฮิตเลอร์พาประเทศไปสู่หายนะ สุดท้ายมาปฏิรูปการเมืองบนซากอิฐ เศษปูน ในปี ค.ศ. 1948 โดยให้คน 45 คนไปยกร่างรัฐธรรมนูญ พร้อมสร้างองค์กรขึ้นมาถ่วงดุลเสียงข้างมากที่ไม่ใช่เสียงข้างน้อยในสภา คือศาลรัฐธรรมนูญ"

"ส่วนโจทย์ของไทยคือ อำนาจการเมืองถูกผูกขาดโดยคนชั้นนำ ย้อนไป 80 ปี 2475-2500 ถูกผูกขาดโดยคณะราษฎร พ.ศ. 2506 ถูกผูกขาดโดยขุนศึก พ.ศ. 2517-2535 ผูกขาดโดยขุนศึกและ

ทุน หลัง พ.ศ. 2535 ถูกผูกขาดโดยทุน เห็นได้ว่าที่ผ่านมาไม่มีพื้นที่ประชาชนเลย จึงต้องเปิดพื้นที่ให้ประชาชน"

ด้าน "ศ.ดร.สุรพล" วิเคราะห์ความต้องการลดอำนาจ-ยุบศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่า

"เรากำลังถูกนักการเมืองหลอก"

"วันนี้นักการเมืองกำลังบอกว่าเป็นนักการเมืองได้รับการเลือกตั้ง อย่าให้ใครมาตรวจสอบ นอกจากตรวจสอบกันเอง

ทั้ง 3 ศาลมีมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2540 ก่อนรัฐประหารปี 2549 ไม่มีใครฝ่ายการเมืองพูดถึงประเด็นนี้เพราะเขาหลอกท่าน ถ้าเราให้นักการเมืองหลอกก็เป็นเคราะห์กรรมของไทย"

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
วันที่โพสต์: 22/02/2556 เวลา 04:43:57

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 15 ก.พ.56 http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1360845250&grpid=03&catid=03 การแก้ไขรัฐธรรมนูญเหมือนของร้อนที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร-องคาพยพพรรคเพื่อไทย และคนเสื้อแดงไม่อยากแตะ ไม่ว่าแดงในเสื้อคลุมอำมาตย์ หรือแดงในคราบไพร่ เว้นแต่เสื้อแดงหัวก้าวหน้า หลังจากถูกศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจเบรกการลงมติในวาระ 3 แนะนำให้ทำประชามติถามประชาชนผู้เป็นเจ้าของรัฐธรรมนูญก่อน จนต้องโยนไป-มา ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาช่วยคิด-ยื้อ-ประวิงเวลา ออกไปถึง 2 ชุด ล่าสุดคณะทำงานศึกษาข้อกฎหมายการทำประชามติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มี "พงศ์เทพ เทพกาญจนา" รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ศึกษาธิการเป็นประธาน มอบหมายให้ 3 สถาบันการศึกษาด้านนิติศาสตร์-รัฐศาสตร์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยรามคำแหง กลับไปศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งโครงสร้างมาอีกครั้ง โดยขีดเส้นตายต้องทำให้เสร็จภายใน 60 วัน แต่ล่าสุดเกิดอาการสะดุด เมื่อบางมหาวิทยาลัยตอบกลับมาว่าอาจทำไม่เสร็จตามกำหนด ทำให้คณะทำงานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย คิดแผนคู่ขนานเริ่มต้นรื้อฟื้นแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา โดยใช้เวลาระหว่างรอให้ 3 สถาบันดำเนินการศึกษาหาทางออกการทำประชามติ ผนึก ส.ว.สายเลือกตั้งบางกลุ่มที่กำลังครบวาระผลักดันแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มา ส.ว.พ่วงประเด็นที่่ฝ่ายค้านเห็นพ้อง เพื่อบรรลุข้อตกลกโดยให้ต่ออายุ ส.ว.เลือกตั้งออกไป "พีระพันธุ์ พาลุสุข" ส.ส.ยโสธร พรรคเพื่อไทย ในฐานะอดีตคณะทำงาน 11 อรหันต์ กล่าวว่า "ส่วนตัวเห็นว่าไม่จำเป็นต้องรอทำประชามติ หรือรอฟังความเห็นจากทั้ง 3 สถาบันการศึกษา ทั้ง 3 เรื่อง ฝ่ายค้านก็เห็นพ้องว่าควรแก้ไข เราสามารถแก้ไขเป็นรายมาตราได้ทันที" และมีความเป็นไปได้เมื่อ "ถาวร เสนเนียม" ส.ส.สงขลา รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ตอบรับว่า "หากฝ่ายพรรคเพื่อไทยมีการเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นเรื่องการยุบพรรค คุณสมบัติของ ส.ว. หรือที่มาของคณะกรรมการในองค์กรอิสระต่าง ๆ ที่เห็นพ้องตรงกัน ก็พร้อมจะนำเข้าสู่การหารือในที่ประชุมของพรรค" อย่างไรก็ตาม เป้าหมายการแก้ไขรัฐธรรมนูญในพรรคเพื่อไทย มิอาจมีสาระแค่นั้น หากยังหวังผลไปไกลถึงการเปลี่ยนโครงสร้าง-ลดอำนาจขององค์กรอิสระ อาทิ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ผู้ตรวจการแผ่นดิน อาจส่งผลสะเทือนจนกลายเป็นชนวนวิกฤตขัดแย้งรอบใหม่ ทำให้ 2 กูรูนิติศาสตร์อย่าง "ศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ" คณบดีคณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ "ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์" อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยลตามช่อง มองตามเกม วิเคราะห์ความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญของนักการเมือง กับสภาพสังคมวิทยาของไทย สอดคล้องกันหรือไม่ "ศ.ดร.บรรเจิด" มองว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญของบ้านเรา ต้องทำให้สอดคล้องกับสภาพสังคมวิทยา และต้องขึ้นอยู่กับการตั้งโจทย์ หากตั้งโจทย์ผิด ทุกอย่างก็ผิด เขายก 2 ตัวอย่างมาเปรียบเทียบให้เห็นภาพ คือฝรั่งเศส และเยอรมนี "ฝรั่งเศสกับเยอรมนีเอาระบบรัฐสภาอังกฤษมาใช้ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะในฝรั่งเศสสถานการณ์การเมืองในปี ค.ศ. 1958 เกิดรัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ ท้ายที่สุดฝรั่งเศสต้องตั้งโจทย์ปฏิรูประบบการเมือง ประชาชนกับทหารบอกว่าต้องแก้วิกฤตให้ได้ภายใน 6 เดือน จึงไปเชิญนายพลชาร์ล เดอ โกล เข้ามาปฏิรูป ออกแบบระบบกึ่งประธานาธิบดี หลัง ค.ศ. 1958 ฝรั่งเศสมีเสถียรภาพมาจนถึงทุกวันนี้" "ส่วนเยอรมนีเอาระบบรัฐสภาอังกฤษมาใช้เหมือนไทย และฝรั่งเศส แต่เกิดคนละอาการ โดยเกิดเผด็จการรัฐสภา ให้ฮิตเลอร์พาประเทศไปสู่หายนะ สุดท้ายมาปฏิรูปการเมืองบนซากอิฐ เศษปูน ในปี ค.ศ. 1948 โดยให้คน 45 คนไปยกร่างรัฐธรรมนูญ พร้อมสร้างองค์กรขึ้นมาถ่วงดุลเสียงข้างมากที่ไม่ใช่เสียงข้างน้อยในสภา คือศาลรัฐธรรมนูญ" "ส่วนโจทย์ของไทยคือ อำนาจการเมืองถูกผูกขาดโดยคนชั้นนำ ย้อนไป 80 ปี 2475-2500 ถูกผูกขาดโดยคณะราษฎร พ.ศ. 2506 ถูกผูกขาดโดยขุนศึก พ.ศ. 2517-2535 ผูกขาดโดยขุนศึกและ ทุน หลัง พ.ศ. 2535 ถูกผูกขาดโดยทุน เห็นได้ว่าที่ผ่านมาไม่มีพื้นที่ประชาชนเลย จึงต้องเปิดพื้นที่ให้ประชาชน" ด้าน "ศ.ดร.สุรพล" วิเคราะห์ความต้องการลดอำนาจ-ยุบศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่า "เรากำลังถูกนักการเมืองหลอก" "วันนี้นักการเมืองกำลังบอกว่าเป็นนักการเมืองได้รับการเลือกตั้ง อย่าให้ใครมาตรวจสอบ นอกจากตรวจสอบกันเอง ทั้ง 3 ศาลมีมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2540 ก่อนรัฐประหารปี 2549 ไม่มีใครฝ่ายการเมืองพูดถึงประเด็นนี้เพราะเขาหลอกท่าน ถ้าเราให้นักการเมืองหลอกก็เป็นเคราะห์กรรมของไทย"

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...