กฎหมายกับสันติภาพ

แสดงความคิดเห็น

กฎหมายกับสันติภาพ

โดย : ชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 19 ก.พ.56

ขอบคุณ... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/charnchao/20130219/490927/%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E.html

เป็นหัวข้อเรื่องที่กว้างไม่ว่าจะเขียนหรือพูดอาจใช้เวลาหมดไปนานมาก เพราะมีแง่มุมที่เชื่อมโยงกับหลายเรื่อง

ทำให้ทุกคนมีความเห็นแตกต่างกันในแต่ละประเด็นแตกต่างกันไป แต่ทุกคนเข้าใจได้ดีว่าหลักนิติธรรมคือหัวใจสำคัญของสังคมที่มีความสงบสุข

ปัญหาสำคัญประการหนึ่งคือ จะใช้กฎหมายอย่างไรให้เป็นเครื่องมือนำไปสู่สังคมที่สันติ ซึ่งดูไม่น่าจะเป็นประเด็นที่ต้องถกเถียงกันอีก แต่แล้วในที่สุดไม่ว่าจะเป็นกรณีความขัดแย้งทางการเมืองที่ยังคุกรุ่นอยู่ หรือกรณีความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีเหตุการณ์ตึงเครียดเกิดขึ้นมา อีก ยังมีประเด็นการบังคับใช้กฎหมายเข้ามาเป็นปัจจัยเกี่ยวข้องอยู่มาก

ด้วยความเป็นจริง กฎหมายไม่ได้อยู่อย่างแปลกแยกออกจากชีวิตประจำวันของประชาชน หรือไม่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทางการเมือง และกฎหมายมิใช่เรื่องสำหรับคนที่ร่ำเรียนมาเท่านั้นที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยว ด้วย แต่แท้จริงแล้ว กฎหมายมีที่มาที่ไปจากปัญหาความขัดแย้งในสังคมทั้งสิ้น ดังนั้น โดยธรรมชาติเนื้อหาของกฎหมายและวิธีการใช้กฎหมายจึงน่าจะสอดคล้องกับปัญหา อยู่แล้ว และทุกคนมีสิทธิและความสามารถในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อประโยชน์และความสุข ของตนเองได้อย่างเต็มที่ ความสำคัญจึงอยู่ที่ว่าจะใช้กฎหมายอย่างไรเท่านั้น ในเมื่อทุกคนก็มีส่วนได้เสียในการใช้กฎหมาย

กฎหมายเกี่ยวกับการจราจรและการใช้รถใช้ถนนจึงเป็นตัวอย่างที่ดีและใกล้ ตัวเรามากที่สุด ในแง่ที่ว่าทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ เป็นผู้ชายหรือผู้หญิง ย่อมมีโอกาสเท่าเทียมกันในการใช้กฎหมายเหล่านี้ และหากทุกคนนอกจากปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว หากมีโอกาสในการแสดงความคิดเห็นในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายก็สามารถทำได้ตาม ช่องทางของกฎหมายนั้นๆ หรือตามรัฐธรรมนูญนั่นเอง ส่วนผลที่เกิดขึ้นจากการเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายในเรื่องนี้ก็คือการที่ทุก คนได้ใช้รถใช้ถนนได้อย่างปลอดภัยก็ต้องถือว่าส่งผลให้สังคมโดยรวมเกิดความ สงบเรียบร้อยและสันตินั่นเอง

เมื่อมองภาพที่ขยายใหญ่ขึ้นและในปัญหาที่มีความซับซ้อนมากขึ้นไม่ว่าจะ เป็นความขัดแย้งทางการเมือง หรือกรณีความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ บทบาทของการใช้กฎหมายก็ไม่น่าจะแตกต่างกันมากนัก เพียงแต่ว่าผู้ที่เข้ามาเกี่ยวข้องหรือเข้ามามีส่วนได้เสียจะมีมากขึ้น และผลกระทบจากการใช้กฎหมายจะมีวงกว้างขยายมากขึ้น ทั้งในแง่ของประโยชน์และความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการใช้กฎหมาย

เมื่อหันมามองปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขรัฐ ธรรมนูญ การเสนอให้มีการนิรโทษกรรม เพื่อเป็นทางออกในการจัดการความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้น หรือเจาะลึกลงไปในสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เกี่ยวกับการ ใช้กฎหมายพิเศษที่มีเนื้อหาเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในหลายด้านก็ ตาม การตัดสินใจและการบริหารการใช้กฎหมายในเรื่องเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดความสงบ และสันติหรือไม่จึงขึ้นอยู่กับกระบวนการและเป้าหมายที่ชัดเจน

ที่ว่าขึ้นอยู่กับกระบวนการจึงหมายความตั้งแต่กระบวนการที่ให้ทุกคนได้มี ส่วนร่วมในการใช้กฎหมาย ในการแสดงความคิดเห็นหรือการแสดงออกถึงประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิด ขึ้นจากการใช้กฎหมาย ซึ่งในรายละเอียดได้มีการพูดถึงแล้วบ้าง เช่น การลงประชามติสำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือการเชิญผู้นำศาสนา ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้มารับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการประกาศ เคอร์ฟิว รวมทั้งบทบาทของสื่อมวลชนที่เป็นช่องทางของสังคมในการแสดงความคิดเห็นและการ แสดงออกโดยทั่วไปอยู่แล้ว

ส่วนที่ว่าเป้าหมายของการตัดสินใจใช้กฎหมายอย่างไรให้เกิดสันติภาพนั้น อาจวัดได้จากทัศนคติของสังคมที่เข้าใจบทบาทของกฎหมายในฐานะเป็นเครื่องมือ สู่สันติภาพ ซึ่งในทางรูปธรรมยอมรับว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะตรวจพบได้ เพราะหลายครั้งมีการใช้กฎหมายเพื่อเอื้อต่อประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้อง หรือเพื่อกำจัดผู้ที่ไม่เห็นด้วยก็มี การแสดงให้ประชาชนเห็นเป้าหมายของการใช้กฎหมายว่าเป็นไปเพื่อสันติภาพจึง ขึ้นอยู่กับกระบวนการตัดสินใจข้างต้นประกอบด้วย มิฉะนั้นอาจเป็นได้ว่าตั้งเป้าหมายดีแต่พอถึงกระบวนการหรือวิธีใช้กฎหมาย กลับไม่ใช่สิ่งที่ตั้งเป้าหมายไว้

หลักนิติธรรมหรือกฎหมายจะเป็นเสาหลักให้สังคมเกิดสันติภาพได้หรือไม่ มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความเข้าใจกฎหมายและวิธีการในการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งในสถานการณ์ปัจจุบันต้องถือว่าประชาชนเกิดการเรียนรู้มากขึ้น ประกอบกับประชาคมนานาชาติเห็นว่ากรณีหลักนิติธรรมกับกระบวนการสันติภาพเป็น เรื่องสากลที่ใครก็สามารถแสดงความห่วงใยและเสนอความคิดเห็นได้ สังคมไทยไม่ควรถือว่าเป็นเรื่องภายในที่คนอื่นแทรกแซงไม่ได้

กฎหมายกับสันติภาพจึงเป็นเรื่องของทุกคนไม่ใช่ใครคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใด กลุ่มหนึ่งจะผูกขาดความคิดเห็นและการกระทำได้ แต่เป็นเรื่องของการมีส่วนร่วมกันตั้งแต่การกำหนดเป้าหมายและวิธีการในการ ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือนำไปสู่ความสงบและสันติ ประเด็นจึงอยู่ที่ว่าเราจะตัดสินใจในความเห็นที่แตกต่างกันอย่างไร คำตอบที่ได้จะแสดงถึงต้นทุนความเป็นประชาธิปไตยของสังคมไทยที่มีอยู่

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่โพสต์: 20/02/2556 เวลา 04:03:31

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กฎหมายกับสันติภาพ โดย : ชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 19 ก.พ.56 ขอบคุณ... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/charnchao/20130219/490927/%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E.html เป็นหัวข้อเรื่องที่กว้างไม่ว่าจะเขียนหรือพูดอาจใช้เวลาหมดไปนานมาก เพราะมีแง่มุมที่เชื่อมโยงกับหลายเรื่อง ทำให้ทุกคนมีความเห็นแตกต่างกันในแต่ละประเด็นแตกต่างกันไป แต่ทุกคนเข้าใจได้ดีว่าหลักนิติธรรมคือหัวใจสำคัญของสังคมที่มีความสงบสุข ปัญหาสำคัญประการหนึ่งคือ จะใช้กฎหมายอย่างไรให้เป็นเครื่องมือนำไปสู่สังคมที่สันติ ซึ่งดูไม่น่าจะเป็นประเด็นที่ต้องถกเถียงกันอีก แต่แล้วในที่สุดไม่ว่าจะเป็นกรณีความขัดแย้งทางการเมืองที่ยังคุกรุ่นอยู่ หรือกรณีความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีเหตุการณ์ตึงเครียดเกิดขึ้นมา อีก ยังมีประเด็นการบังคับใช้กฎหมายเข้ามาเป็นปัจจัยเกี่ยวข้องอยู่มาก ด้วยความเป็นจริง กฎหมายไม่ได้อยู่อย่างแปลกแยกออกจากชีวิตประจำวันของประชาชน หรือไม่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทางการเมือง และกฎหมายมิใช่เรื่องสำหรับคนที่ร่ำเรียนมาเท่านั้นที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยว ด้วย แต่แท้จริงแล้ว กฎหมายมีที่มาที่ไปจากปัญหาความขัดแย้งในสังคมทั้งสิ้น ดังนั้น โดยธรรมชาติเนื้อหาของกฎหมายและวิธีการใช้กฎหมายจึงน่าจะสอดคล้องกับปัญหา อยู่แล้ว และทุกคนมีสิทธิและความสามารถในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อประโยชน์และความสุข ของตนเองได้อย่างเต็มที่ ความสำคัญจึงอยู่ที่ว่าจะใช้กฎหมายอย่างไรเท่านั้น ในเมื่อทุกคนก็มีส่วนได้เสียในการใช้กฎหมาย กฎหมายเกี่ยวกับการจราจรและการใช้รถใช้ถนนจึงเป็นตัวอย่างที่ดีและใกล้ ตัวเรามากที่สุด ในแง่ที่ว่าทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ เป็นผู้ชายหรือผู้หญิง ย่อมมีโอกาสเท่าเทียมกันในการใช้กฎหมายเหล่านี้ และหากทุกคนนอกจากปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว หากมีโอกาสในการแสดงความคิดเห็นในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายก็สามารถทำได้ตาม ช่องทางของกฎหมายนั้นๆ หรือตามรัฐธรรมนูญนั่นเอง ส่วนผลที่เกิดขึ้นจากการเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายในเรื่องนี้ก็คือการที่ทุก คนได้ใช้รถใช้ถนนได้อย่างปลอดภัยก็ต้องถือว่าส่งผลให้สังคมโดยรวมเกิดความ สงบเรียบร้อยและสันตินั่นเอง เมื่อมองภาพที่ขยายใหญ่ขึ้นและในปัญหาที่มีความซับซ้อนมากขึ้นไม่ว่าจะ เป็นความขัดแย้งทางการเมือง หรือกรณีความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ บทบาทของการใช้กฎหมายก็ไม่น่าจะแตกต่างกันมากนัก เพียงแต่ว่าผู้ที่เข้ามาเกี่ยวข้องหรือเข้ามามีส่วนได้เสียจะมีมากขึ้น และผลกระทบจากการใช้กฎหมายจะมีวงกว้างขยายมากขึ้น ทั้งในแง่ของประโยชน์และความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการใช้กฎหมาย เมื่อหันมามองปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขรัฐ ธรรมนูญ การเสนอให้มีการนิรโทษกรรม เพื่อเป็นทางออกในการจัดการความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้น หรือเจาะลึกลงไปในสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เกี่ยวกับการ ใช้กฎหมายพิเศษที่มีเนื้อหาเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในหลายด้านก็ ตาม การตัดสินใจและการบริหารการใช้กฎหมายในเรื่องเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดความสงบ และสันติหรือไม่จึงขึ้นอยู่กับกระบวนการและเป้าหมายที่ชัดเจน ที่ว่าขึ้นอยู่กับกระบวนการจึงหมายความตั้งแต่กระบวนการที่ให้ทุกคนได้มี ส่วนร่วมในการใช้กฎหมาย ในการแสดงความคิดเห็นหรือการแสดงออกถึงประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิด ขึ้นจากการใช้กฎหมาย ซึ่งในรายละเอียดได้มีการพูดถึงแล้วบ้าง เช่น การลงประชามติสำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือการเชิญผู้นำศาสนา ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้มารับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการประกาศ เคอร์ฟิว รวมทั้งบทบาทของสื่อมวลชนที่เป็นช่องทางของสังคมในการแสดงความคิดเห็นและการ แสดงออกโดยทั่วไปอยู่แล้ว ส่วนที่ว่าเป้าหมายของการตัดสินใจใช้กฎหมายอย่างไรให้เกิดสันติภาพนั้น อาจวัดได้จากทัศนคติของสังคมที่เข้าใจบทบาทของกฎหมายในฐานะเป็นเครื่องมือ สู่สันติภาพ ซึ่งในทางรูปธรรมยอมรับว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะตรวจพบได้ เพราะหลายครั้งมีการใช้กฎหมายเพื่อเอื้อต่อประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้อง หรือเพื่อกำจัดผู้ที่ไม่เห็นด้วยก็มี การแสดงให้ประชาชนเห็นเป้าหมายของการใช้กฎหมายว่าเป็นไปเพื่อสันติภาพจึง ขึ้นอยู่กับกระบวนการตัดสินใจข้างต้นประกอบด้วย มิฉะนั้นอาจเป็นได้ว่าตั้งเป้าหมายดีแต่พอถึงกระบวนการหรือวิธีใช้กฎหมาย กลับไม่ใช่สิ่งที่ตั้งเป้าหมายไว้ หลักนิติธรรมหรือกฎหมายจะเป็นเสาหลักให้สังคมเกิดสันติภาพได้หรือไม่ มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความเข้าใจกฎหมายและวิธีการในการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งในสถานการณ์ปัจจุบันต้องถือว่าประชาชนเกิดการเรียนรู้มากขึ้น ประกอบกับประชาคมนานาชาติเห็นว่ากรณีหลักนิติธรรมกับกระบวนการสันติภาพเป็น เรื่องสากลที่ใครก็สามารถแสดงความห่วงใยและเสนอความคิดเห็นได้ สังคมไทยไม่ควรถือว่าเป็นเรื่องภายในที่คนอื่นแทรกแซงไม่ได้ กฎหมายกับสันติภาพจึงเป็นเรื่องของทุกคนไม่ใช่ใครคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใด กลุ่มหนึ่งจะผูกขาดความคิดเห็นและการกระทำได้ แต่เป็นเรื่องของการมีส่วนร่วมกันตั้งแต่การกำหนดเป้าหมายและวิธีการในการ ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือนำไปสู่ความสงบและสันติ ประเด็นจึงอยู่ที่ว่าเราจะตัดสินใจในความเห็นที่แตกต่างกันอย่างไร คำตอบที่ได้จะแสดงถึงต้นทุนความเป็นประชาธิปไตยของสังคมไทยที่มีอยู่

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...