นักวิชาการสวด-ระบบการเมืองไทย เนื้อร้ายขายเสียง-ทาสทางการเมือง

แสดงความคิดเห็น

ภายในห้องสัมมนา ที่ รร.รามาการ์เด้นส์ วันที่ 28 ก.ย. สถาบันพระปกเกล้า จัดโครงการสัมมนาเรื่อง “ระบบการคัดสรรผู้แทนที่เหมาะสมกับสังคมไทย” ภายใต้โครงการศึกษา “รัฐธรรมนูญที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย” โดยนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวปาฐกถา เรื่อง “ระบบการคัดสรรผู้แทนที่พึงประสงค์” ว่า สำหรับปัญหาและอุปสรรคระบบการเลือกตั้งไทยมีด้วยกันหลายเรื่อง อาทิ

1.ปัญหาการสิทธิ์ขายเสียง ซึ่งถือเป็นปัญหาร้ายแรงในระบบการเลือกตั้งของไทยที่มีมาโดยตลอด จนเกิดความพยายามในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันหรือลดการซื้อสิทธิ์ขายเสียง รวมถึงความล้มเหลวในการกำหนดมาตรการต่างๆ ในการสกัดการซื้อสิทธิ์ขายเสียงที่เกิดขึ้น เพราะมิได้มุ่งที่จะแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิ์ขายเสียงอย่างแท้จริง แม้ว่าจะมีการแจกใบเหลือง-ใบแดง กับผู้ที่กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งก็ตาม โดยมูลเหตุจูงใจในการซื้อเสียงของพรรคการเมืองและนักการเมือง คือ ความต้องการที่จะเข้ามาเป็นรัฐบาล และความต้องการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีหรือตำแหน่งบริหารของนักการเมือง 2.ระบบการตรวจสอบอ่อนแอ คือ ถ้านายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าพรรคเสียงข้างมากในสภาเพียงพรรคเดียว จะทำให้การตรวจสอบฝ่ายบริหารไม่สามารถทำได้ และหัวหน้าพรรคมีลักษณะเป็นเผด็จการการเลือกตั้ง เพราะหัวหน้าพรรคจะมีอำนาจเหนือฝ่ายนิติบัญญัติ หรือถ้ารัฐบาลเป็นรัฐบาลพรรคเดียว หรือเป็นรัฐบาลผสมที่มีเสียงเกินครึ่งจำนวนมาก การตรวจสอบโดยการอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านก็จะไม่ต่างอะไรกับการปาหี่การเมือง

นายสมบัติ กล่าวต่อว่า 3.ระบบพรรคการเมืองไม่ใช่ของประชาชนอย่างแท้จริง เกิดระบบทาสทางการเมือง ไม่ได้ส่งเสริมให้พรรคการเมืองเกิดความเข้มแข็ง ไม่ใช่สมบัติของประชาชน แต่เป็นอำนาจของหัวหน้าพรรค และจากการที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ยุบพรรคการเมือง ทำให้พรรคการเมืองหลายพรรคต้องถูกยุบพรรค สิ่งเหล่านี้จึงทำให้ระบบพรรคการเมืองของไทยอ่อนแอลง ยกตัวอย่างประเทศที่พัฒนาแล้ว พรรคการเมืองจะเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง โดยเฉพาะประเทศอังกฤษ หากเลือกตั้งแล้วแพ้ หัวหน้าพรรคการเมืองก็จะยอมลาออก ไม่กลับเข้ามารับตำแหน่งอีก

นายสมบัติ กล่าวด้วยว่า เมื่อพิจารณาบริบทของสังคมเกี่ยวกับการเลือกตั้งนั้น สังคมใดที่เป็นประเทศด้อยพัฒนา หรือกำลังพัฒนา จะมีประชาชนที่เป็นชนชั้นล่างเกิดปัญหาความยากจนเป็นส่วนใหญ่ และเป็นผู้กำหนดผู้ปกครองในสังคมนั้น และมองว่าการตัดสินใจของคนกลุ่มนี้จะคำนึงถึงผลประโยชน์เฉพาะหน้า เช่น เลือกเครือญาติของตนหรือผู้ที่ใช้เงินซื้อเสียง โดยไม่คำนึงถึงคุณสมบัติของผู้สมัคร เมื่อได้ผู้แทนเข้ามาก็จะไม่ตรวจสอบการ ทำให้หน้าทำให้ผู้ที่เข้ามาบริหารก็จะมีทุจริตทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้าช้า ซึ่งแตกต่างจากประเทศที่พัฒนาแล้วที่มีประชาชนส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลาง มีการศึกษาการตัดสินใจเลือกผู้สมัครจะเลือกด้วยความอิสระ มีการตรวจสอบประวัติและพฤติกรรมของผู้สมัครทำให้ได้ผู้แทนที่มีความสามารถ และมีการตรวจสอบการทำงาน ทำให้ผู้ได้รับเลือกตั้งทำงานอย่างเต็มที่และประเทศเหล่านี้จะพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ อย่างไรก็ตามมองว่าคุณลักษณะสำคัญของนักการเมืองที่ดีควรจะเป็นผู้ยึดมั่นใน คุณธรรมทางการเมืองอย่างมั่นคง เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ เสียสละ โดยวิถีทางของนักการเมืองที่ดีควรจะเป็นผู้คิดดีทำดีอย่างมั่นคง มุ่งประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน มุ่งมั่นและไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค

ที่มา: บ้านเมืองออนไลน์ 29 ก.ย.2555
วันที่โพสต์: 30/09/2555 เวลา 18:17:22 ดูภาพสไลด์โชว์ นักวิชาการสวด-ระบบการเมืองไทย เนื้อร้ายขายเสียง-ทาสทางการเมือง

ชอบเรื่องนี้ไหม? ชอบ ไม่ชอบ ไม่มีความเห็น

ยังไม่มีเรตติ้ง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ภายในห้องสัมมนาที่ รร.รามาการ์เด้นส์ วันที่ 28 ก.ย. สถาบันพระปกเกล้า จัดโครงการสัมมนาเรื่อง “ระบบการคัดสรรผู้แทนที่เหมาะสมกับสังคมไทย” ภายใต้โครงการศึกษา “รัฐธรรมนูญที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย” โดยนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวปาฐกถา เรื่อง “ระบบการคัดสรรผู้แทนที่พึงประสงค์” ว่า สำหรับปัญหาและอุปสรรคระบบการเลือกตั้งไทยมีด้วยกันหลายเรื่อง อาทิ 1.ปัญหาการสิทธิ์ขายเสียง ซึ่งถือเป็นปัญหาร้ายแรงในระบบการเลือกตั้งของไทยที่มีมาโดยตลอด จนเกิดความพยายามในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันหรือลดการซื้อสิทธิ์ขายเสียง รวมถึงความล้มเหลวในการกำหนดมาตรการต่างๆ ในการสกัดการซื้อสิทธิ์ขายเสียงที่เกิดขึ้น เพราะมิได้มุ่งที่จะแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิ์ขายเสียงอย่างแท้จริง แม้ว่าจะมีการแจกใบเหลือง-ใบแดง กับผู้ที่กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งก็ตาม โดยมูลเหตุจูงใจในการซื้อเสียงของพรรคการเมืองและนักการเมือง คือ ความต้องการที่จะเข้ามาเป็นรัฐบาล และความต้องการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีหรือตำแหน่งบริหารของนักการเมือง 2.ระบบการตรวจสอบอ่อนแอ คือ ถ้านายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าพรรคเสียงข้างมากในสภาเพียงพรรคเดียว จะทำให้การตรวจสอบฝ่ายบริหารไม่สามารถทำได้ และหัวหน้าพรรคมีลักษณะเป็นเผด็จการการเลือกตั้ง เพราะหัวหน้าพรรคจะมีอำนาจเหนือฝ่ายนิติบัญญัติ หรือถ้ารัฐบาลเป็นรัฐบาลพรรคเดียว หรือเป็นรัฐบาลผสมที่มีเสียงเกินครึ่งจำนวนมาก การตรวจสอบโดยการอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านก็จะไม่ต่างอะไรกับการปาหี่การเมือง นายสมบัติ กล่าวต่อว่า 3.ระบบพรรคการเมืองไม่ใช่ของประชาชนอย่างแท้จริง เกิดระบบทาสทางการเมือง ไม่ได้ส่งเสริมให้พรรคการเมืองเกิดความเข้มแข็ง ไม่ใช่สมบัติของประชาชน แต่เป็นอำนาจของหัวหน้าพรรค และจากการที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ยุบพรรคการเมือง ทำให้พรรคการเมืองหลายพรรคต้องถูกยุบพรรค สิ่งเหล่านี้จึงทำให้ระบบพรรคการเมืองของไทยอ่อนแอลง ยกตัวอย่างประเทศที่พัฒนาแล้ว พรรคการเมืองจะเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง โดยเฉพาะประเทศอังกฤษ หากเลือกตั้งแล้วแพ้ หัวหน้าพรรคการเมืองก็จะยอมลาออก ไม่กลับเข้ามารับตำแหน่งอีก นายสมบัติ กล่าวด้วยว่า เมื่อพิจารณาบริบทของสังคมเกี่ยวกับการเลือกตั้งนั้น สังคมใดที่เป็นประเทศด้อยพัฒนา หรือกำลังพัฒนา จะมีประชาชนที่เป็นชนชั้นล่างเกิดปัญหาความยากจนเป็นส่วนใหญ่ และเป็นผู้กำหนดผู้ปกครองในสังคมนั้น และมองว่าการตัดสินใจของคนกลุ่มนี้จะคำนึงถึงผลประโยชน์เฉพาะหน้า เช่น เลือกเครือญาติของตนหรือผู้ที่ใช้เงินซื้อเสียง โดยไม่คำนึงถึงคุณสมบัติของผู้สมัคร เมื่อได้ผู้แทนเข้ามาก็จะไม่ตรวจสอบการ ทำให้หน้าทำให้ผู้ที่เข้ามาบริหารก็จะมีทุจริตทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้าช้า ซึ่งแตกต่างจากประเทศที่พัฒนาแล้วที่มีประชาชนส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลาง มีการศึกษาการตัดสินใจเลือกผู้สมัครจะเลือกด้วยความอิสระ มีการตรวจสอบประวัติและพฤติกรรมของผู้สมัครทำให้ได้ผู้แทนที่มีความสามารถ และมีการตรวจสอบการทำงาน ทำให้ผู้ได้รับเลือกตั้งทำงานอย่างเต็มที่และประเทศเหล่านี้จะพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ อย่างไรก็ตามมองว่าคุณลักษณะสำคัญของนักการเมืองที่ดีควรจะเป็นผู้ยึดมั่นใน คุณธรรมทางการเมืองอย่างมั่นคง เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ เสียสละ โดยวิถีทางของนักการเมืองที่ดีควรจะเป็นผู้คิดดีทำดีอย่างมั่นคง มุ่งประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...