นักวิชาการนิด้าร้องศาลรัฐธรรมนูญเบรกจำนำข้าว เหตุทำระบบการค้าพัง และรัฐเจ๊งไปแล้ว 9.8 หมื่นล้าน

แสดงความคิดเห็น

นักวิชาการนิด้า สุดทน ล่ารายชื่อกว่า 100 ราย ร้องศาลรัฐธรรมนูญล้มโครงการรับจำนำข้าว ชี้ขัด มาตรา 84 วรรค 1 ฐานบิดเบือนกลไกตลาด กีดกันระบบการค้าปกติ เตรียมรุกต่อหาทุกช่องทางสกัดการเปิดรับจำนำอีก เผยข้อมูล ธกส. รัฐเจ๊งแล้ว 9.8 หมื่นล้านบาทจากการจำนำรอบแรก

นายอดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดี คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยถึงการยื่นหนังสือร้องเรียนแก่ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีการไต่สวนให้ยับยั้งหรือยุติโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล เนื่องจากเห็นว่าการดำเนินโครงการเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2550 มาตรา84 (1) ที่ว่าถึงการสนับสนุนระบบเศรษฐกิจระบบเสรีและเป็นธรรม โดยอาศัยกลไกตลาดและสนับสนุนให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยต้องยกเลิกและละเว้นการตรากฏหมายและหลักเกณฑ์ที่ควบคุมธุรกิจซึ่งมีบทบัญญัติที่ไม่สอดคล้องกับความจำเป็นทางเศรษฐกิจ และต้องไม่ประกอบกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับเอกชน เว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ รักษาผลประโยชน์ส่วนรวม หรือการจัดให้มีสาธารณูปโภค

โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโครงการรับจำนำข้าว ได้แก่ 1.กลไกตลาดในการแยกแยะคุณภาพข้าวล้มเหลวเนื่องจากคุณภาพข้าวลดลง เพราะเป็นการรับซื้อข้าวแบบคละเกรด 2. เกษตรกรขาดแรงจูงใจในการผลิตข้าวคุณภาพดีโดยเน้นการปลูกข้าวที่มีระยะเวลาการเก็บเร็วได้ผลผลิตสูง 3.คุณภาพข้าวลดลงเนื่องจากการเก็บสต็อกข้าวจำนวนมาก และไม่มีการระบายออกสู่ตลาด 4.การกำหนดราคาจำนำที่สูงเกินราคาตลาด เป็นการส่งสัญญาณทางราคาที่บิดเบือน ทำให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกข้าวเกินศักยภาพนำไปสู่การบิดเบือนโครงสร้างการผลิตในภาคเกษตร มูลค่าการผลิตสินค้าเกษตรอื่นๆลดลง 5.โครงสร้างอุตสาหกรรมข้าวไทยที่พัฒนามาเป็นอย่างดีถูกทำลายลง 6.การประกาศราคาข้าวที่สูงขึ้นทำให้ประเทศไทยขาดความสามารถในการแข่งขันในตลาดการค้าข้าวโลกปัจจุบัน ราคาข้าวที่สูงขึ้นทำให้ประเทศไทยไม่สามารถส่งออกข้าวได้ทำให้มูลค่าการส่งออกข้าวของประเทศลดลง 46 % (จาก 7.4 ล้านตัน ลดลงเหลือ 3.9 ล้านตัน) และ 7.การระบายข้าวของรัฐ ต้องทำโดยการขายระหว่างรัฐต่อรัฐ(จีทูจี) ในราคาขาดทุนอย่างมากซึ่งเท่ากับเป็นการใช้เงินภาษีประชาชนทั้งประเทศเพื่อให้ผู้บริโภคในต่างประเทศซื้อข้าวไทยในราคาถูก

“เราได้มีการลงรายชื่อของผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการรับจำนำข้าว รวม 127 คน เป็นนักวิชาการของนิด้ากว่า 50 คน อาจารย์ของม.ธรรมศาสตร์ กว่า 20 คน รวมทั้งกลุ่มนักศึกษา ประชาชน และยังมีชาวนาบางส่วนที่เริ่มไม่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าวที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตข้าวในอนาคตสูงมากขึ้น โดยหลังจากนี้หากมีช่องทางอื่นๆก็จะรวบรวมรายชื่อไปฟ้องร้องอีก โดยการยื่นครั้งนี้ไม่ต้องการถึงขั้นล้มโครงการแต่ต้องการให้มีการปรับเพดานการรับจำนำข้าวที่เหมาะสมในราคาตลาดไม่เกิน 9 พัน – 1 หมื่นบาทต่อตัน และ ต้องจำกัดครอบครัวละไม่เกิน 25 ตันเท่านั้น เพื่อไม่ให้สร้างความเสียหายแก่ประเทศ”นายอดิศร์กล่าว

ทั้งนี้ มูลค่าความเสียหายเบื้องต้น จากข้อมูลของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ระบุว่า ต้นทุนในการใช้รับจำนำรวม 2.9 แสนล้านบาท 90 % ของมูลค่าทั้งหมดเป็นต้นทุนในการซื้อข้าว อีก 10 % เป็นค่าบริหารจัดการโครงการ ขณะที่การคาดการณ์รายรับที่จะได้จากโครงการ 1.93 แสนล้านบาท ทำให้โครงการสร้างความเสียหายเบื้องต้น 9.8 หมื่นล้านบาท

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ธุรกิจ วันที่ 2012-09-27 15:41:04
วันที่โพสต์: 30/09/2555 เวลา 18:11:56

ชอบเรื่องนี้ไหม? ชอบ ไม่ชอบ ไม่มีความเห็น

ยังไม่มีเรตติ้ง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นักวิชาการนิด้า สุดทน ล่ารายชื่อกว่า 100 ราย ร้องศาลรัฐธรรมนูญล้มโครงการรับจำนำข้าว ชี้ขัด มาตรา 84 วรรค 1 ฐานบิดเบือนกลไกตลาด กีดกันระบบการค้าปกติ เตรียมรุกต่อหาทุกช่องทางสกัดการเปิดรับจำนำอีก เผยข้อมูล ธกส. รัฐเจ๊งแล้ว 9.8 หมื่นล้านบาทจากการจำนำรอบแรก นายอดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดี คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยถึงการยื่นหนังสือร้องเรียนแก่ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีการไต่สวนให้ยับยั้งหรือยุติโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล เนื่องจากเห็นว่าการดำเนินโครงการเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2550 มาตรา84 (1) ที่ว่าถึงการสนับสนุนระบบเศรษฐกิจระบบเสรีและเป็นธรรม โดยอาศัยกลไกตลาดและสนับสนุนให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยต้องยกเลิกและละเว้นการตรากฏหมายและหลักเกณฑ์ที่ควบคุมธุรกิจซึ่งมีบทบัญญัติที่ไม่สอดคล้องกับความจำเป็นทางเศรษฐกิจ และต้องไม่ประกอบกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับเอกชน เว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ รักษาผลประโยชน์ส่วนรวม หรือการจัดให้มีสาธารณูปโภค โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโครงการรับจำนำข้าว ได้แก่ 1.กลไกตลาดในการแยกแยะคุณภาพข้าวล้มเหลวเนื่องจากคุณภาพข้าวลดลง เพราะเป็นการรับซื้อข้าวแบบคละเกรด 2. เกษตรกรขาดแรงจูงใจในการผลิตข้าวคุณภาพดีโดยเน้นการปลูกข้าวที่มีระยะเวลาการเก็บเร็วได้ผลผลิตสูง 3.คุณภาพข้าวลดลงเนื่องจากการเก็บสต็อกข้าวจำนวนมาก และไม่มีการระบายออกสู่ตลาด 4.การกำหนดราคาจำนำที่สูงเกินราคาตลาด เป็นการส่งสัญญาณทางราคาที่บิดเบือน ทำให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกข้าวเกินศักยภาพนำไปสู่การบิดเบือนโครงสร้างการผลิตในภาคเกษตร มูลค่าการผลิตสินค้าเกษตรอื่นๆลดลง 5.โครงสร้างอุตสาหกรรมข้าวไทยที่พัฒนามาเป็นอย่างดีถูกทำลายลง 6.การประกาศราคาข้าวที่สูงขึ้นทำให้ประเทศไทยขาดความสามารถในการแข่งขันในตลาดการค้าข้าวโลกปัจจุบัน ราคาข้าวที่สูงขึ้นทำให้ประเทศไทยไม่สามารถส่งออกข้าวได้ทำให้มูลค่าการส่งออกข้าวของประเทศลดลง 46 % (จาก 7.4 ล้านตัน ลดลงเหลือ 3.9 ล้านตัน) และ 7.การระบายข้าวของรัฐ ต้องทำโดยการขายระหว่างรัฐต่อรัฐ(จีทูจี) ในราคาขาดทุนอย่างมากซึ่งเท่ากับเป็นการใช้เงินภาษีประชาชนทั้งประเทศเพื่อให้ผู้บริโภคในต่างประเทศซื้อข้าวไทยในราคาถูก “เราได้มีการลงรายชื่อของผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการรับจำนำข้าว รวม 127 คน เป็นนักวิชาการของนิด้ากว่า 50 คน อาจารย์ของม.ธรรมศาสตร์ กว่า 20 คน รวมทั้งกลุ่มนักศึกษา ประชาชน และยังมีชาวนาบางส่วนที่เริ่มไม่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าวที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตข้าวในอนาคตสูงมากขึ้น โดยหลังจากนี้หากมีช่องทางอื่นๆก็จะรวบรวมรายชื่อไปฟ้องร้องอีก โดยการยื่นครั้งนี้ไม่ต้องการถึงขั้นล้มโครงการแต่ต้องการให้มีการปรับเพดานการรับจำนำข้าวที่เหมาะสมในราคาตลาดไม่เกิน 9 พัน – 1 หมื่นบาทต่อตัน และ ต้องจำกัดครอบครัวละไม่เกิน 25 ตันเท่านั้น เพื่อไม่ให้สร้างความเสียหายแก่ประเทศ”นายอดิศร์กล่าว ทั้งนี้ มูลค่าความเสียหายเบื้องต้น จากข้อมูลของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ระบุว่า ต้นทุนในการใช้รับจำนำรวม 2.9 แสนล้านบาท 90 % ของมูลค่าทั้งหมดเป็นต้นทุนในการซื้อข้าว อีก 10 % เป็นค่าบริหารจัดการโครงการ ขณะที่การคาดการณ์รายรับที่จะได้จากโครงการ 1.93 แสนล้านบาท ทำให้โครงการสร้างความเสียหายเบื้องต้น 9.8

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...